กระแตไต่ไม้

ขับปัสสาวะด้วยกระแตไต่ไม้
กระแตไต่ไม้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Drynaria quercifolia(L.) J. Sm

ชื่ออื่น : กูดขาฮอก, กูดอ้อม, กูดไม้ (เหนือ); กระปรอกว่าว (ปข, ปจ); ใบหูช้าง, สะไบนาง (กจ); หัวว่าว(ปข); หว่าว (ปน)

วงศ์ : POLYPODIACEAE

ลักษณะ : ไม้ล้มลุกจำพวกเฟิร์น เลื้อยเกาะ เหง้าปกคลุมด้วยเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม ใบมีสองชนิด คือ ใบที่ไม่สร้างสปอร์ รูปไข่ ไม่มีก้านใบ กว้างประมาณ 20 ซม. ยาวได้ถึง 32 ซม. ขอบใบเว้าเป็นแฉกตื้น ๆ และใบที่สร้างสปอร์ รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 50 ซม. ยาวได้ถึง 80 ซม. ขอบใบเว้าลึก เนื้อใบเหนียว สีเขียวหม่น เป็นมัน ก้านใบยาว กลุ่มอับสปอร์กลมหรือรูปขอบขนานเรียงเป็นสองแถวอยู่ระหว่างเส้นใบหลัก

คุณสมบัติทางยา พื้นบ้านอีสานใช้เหง้า 3-4 เหง้าผสมกับลำต้นเอื้องเงิน 1 ต้น ต้มน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 2-3 ครั้ง บำรุงเลือดตำรายาไทยใช้ เหง้า เป็นยาสมานคุมธาตุ ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ แก้ปัสสาวะพิการ (อากรปัสสาวะปวด หรือกะปริบกะปรอยหรือขุ่นข้น สีเหลืองเข้ม หรือมีเลือด) ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลือง หรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) สารสกัดแอลกอฮอล์ไม่มีพิษเฉียบพลัน

ขับปัสสาวะด้วยกระแตไต่ไม้ ที่มา : อาจารย์นิยม ชลิตะนาวิน และอาจารย์ธราดล จิตจักร ขับปัสสาวะด้วยกระแตไต่ไม้


เซื้อซาติแฮ้งอย่าเหม็นสาบกุยกัน
เกิดเป็นคนอีสานให้ฮักแพงกันไว้
ไผเฮ็ดดีให้ซ่อยยู้ ซอยซูอย่าย่านเหลิน
ไผเฮ็ดผิดให้ซอยเว้า ไขแก้ดอกซอยกัน ซันดอกหวา