กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: วันนี้ในอดีต 21 กรกฎาคม

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    วันนี้ในอดีต 21 กรกฎาคม

    วันนี้ในอดีต 21 กรกฎาคม



    พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นลำดับที่ 3 ในราชวงศ์จักรี

    พ.ศ. 2374 วันชาติของประเทศเบลเยี่ยม

    พ.ศ. 2442 วันเกิดของ เออเนสต์ แฮมมิงเวย์ นักเขียนที่มีชื่อชาวอเมริกัน เขาได้รับรางวัลพูลิตเซอร์จากนวนิยายเรื่อง The Old Man And The sea เฒ่าทะเล เมื่อปี พ.ศ. 2496 และได้รับรางวัลโนเบลในปีต่อมา จากนวนิยายอีกเรื่องก็คือ A Fareweel To Arms ทั้ง 2 เรื่องนี้มีผู้นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ และส่งมาฉายที่เมืองไทยด้วย

    พ.ศ. 2497 เปิดประชุมเพื่อหยุดยิงในอินโดจีน ที่นครเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ เรียกว่า สนธิสัญญาเจนีวา ทำให้เวียตนามต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เวียตนามเหนือและใต้

    พ.ศ. 2502 สหรัฐปล่อยเรือ ซานวานา ซึ่งเป็นเรือพาณิชย์ที่ใช้พลังงานปรมณู ลำแรกของโลกลงน้ำ

    พ.ศ. 2503 นางสิริมาโว บรันดราไนยเก ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีศรีลังกา นับเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของโลก

    พ.ศ. 2504สหรัฐฯส่งยานอวกาศ ลิเบอร์ตี้ เบลล์ 7 ขึ้นสู่วงโคจร พร้อมนักบินชื่อ เวอร์ยิล กริสซอม



    .......................................................................................
    .......................................................................................
    .......................................................................................







    วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิสหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นลำดับที่ 3 ในราชวงศ์จักรี


    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

    วันนี้ในอดีต 21 กรกฎาคม



    วันนี้ในอดีต 21 กรกฎาคม


    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่าฉิม เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐ ณ ตำบลอัมพวา เมืองสมุทรสาคร ในขณะพระราชบิดายังทรงดำรงพระยศเป็นหลวงกระบัตร เมืองราชบุรี
    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรง เข้ารับการศึกษาจากวัดระฆังโฆสิตาราม โดยฝากตัวเป็นศิษย์กับพระวันรัต (ทองอยู่) เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา พระองค์ได้ตามเสด็จพระบรมชนกนาถ (พระราชบิดา) ไปราชการสงครามด้วย และเมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถก็ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระนามว่าพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์จึงได้รับการสถาปนาพระยศขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ ๒๒ พรรษา ก็ได้ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และเสด็จจำพรรษาที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) อยู่นาน ๓ เดือน (๑ พรรษา) จึงทรงลาผนวช

    ต่อมาในปี พ. ศ. ๒๓๔๙ พระองค์ทรงได้รับสถาปนาเลื่อนยศขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หลังจากนั้นอีกเพียง ๒ ปี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคต จึงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรี พระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ ขณะมีพระชนมายุ ๔๒ พรรษา

    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรง มีพระอัครมเหสีพระนามว่า สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่าบุญรอด เป็นพระธิดาในพระเจ้าพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม ๗๓ พระองค์ โดยประสูติในพระอัครมเหสี ๓ พระองค์ ได้แก่
    ๑. เจ้าฟ้าชายราชกุมาร สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ
    ๒. สมเด็จเจ้าฟ้าชายมงกุฎ ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔
    ๓ สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฑามณี ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า
    เจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๒ ในสมัยรัชกาลที่ ๔


    ประสูติในเจ้าจอมมารดาเรียม พระสนมเอก ๓ พระองค์ ได้แก่
    ๑. พระองค์เจ้าชายทับ ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
    ๒. พระองค์เจ้าชายป้อม สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
    ๓. พระองค์เจ้าชายหนูดำ สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์


    พระราชกรณียกิจ
    พระราชกรณียกิจด้านการทำนุบำรุงประเทศ และป้อมปราการ



    วันนี้ในอดีต 21 กรกฎาคม


    วันนี้ในอดีต 21 กรกฎาคม



    ระยะแรก ของ การก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ พม่าก็ยังคงรุกรานประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองและป้อมปราการต่างๆ ขึ้นเพื่อให้เป็นเมืองหน้าด่านคอยป้อมป้องกันข้าศึกที่จะยกเข้ามาทางทะเลที่เมืองสมุทรปราการ และที่เมือง ปากลัด (ปัจจุบันคือ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ) โดยมีพระราชบัญชาให้กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ เป็นแม่กองก่อสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ขึ้นที่ปากลัด พร้อมป้อมปีศาจผีสิง ป้อมราหู และป้อมศัตรูพินาศแล้วโปรดเกล้าฯให้อพยพครอบครัวชาวมอญจากปทุมธานีมาอยู่ที่นครเขื่อนขันธ์

    นอกจากนี้ พระองค์ ยังทรงให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เป็นแม่กองจัดสร้างป้อมผีเสื้อสมุทร ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราบศึก ป้อมปราการ ป้อมกายสิทธ์ ขึ้นที่เมืองสมุทรปราการ และโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพย์ไปคุมงานก่อสร้างป้อมเพชรหึงส์เพิ่มเติมที่เมือง นครเขื่อนขันธ์ การสร้างเมืองหน้าด่านและป้อมปราการต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกเข้ามาถึงพระนครได้โดยง่าย ถือว่าพระองค์มีสายพระเนตรที่ยาวไกลยิ่งนัก

    พระราชกรณียกิจด้านการป้องกันประเทศ
    ในรัชสมัยของ พระ บาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พม่าได้ยกทัพเข้ามาตีไทยอยู่หลายครั้งด้วยกันตั้งแต่พระองค์ครองราชย์ได้ เพียง ๒ เดือน พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่าก็ได้ทรงแต่งตั้งแม่ทัพพม่า ๒ นาย คืออะเติ้งหงุ่นและสุเรียงสาระกะยอ โดยให้แม่ทัพอะเติ้งหงุ่นยกทัพเรือเข้ามาตีทางหัวเมืองชายทะเลตะวันตก และสามารถตีเมืองตะกั่วทุ่งตะกั่วป่า รวมถึงล้อมเมืองถลางไว้ ก่อนที่กอง ทัพไทยจะยกลงไปช่วยและตีทัพพม่าจนแตกพ่ายไป ส่วนแม่ทัพสุเรียงสาระกะยอได้ยกกำลังมาทางบกเพื่อเข้าตีหัวเมืองด้านทิศใต้ ของไทย และสามารถตีได้เมืองมะลิวัน ระนอง และกระบี่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงส่งกองทัพลงไปช่วยเหลือทหารพม่าสู้ กำลังฝ่ายไทยไม่ได้ก็ถอยทัพหนีกลับไป

    ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ พระเจ้าปดุงเสด็จสวรรคต พระเจ้าจักกายแมงได้สืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าปดุง และคิดจะยกทัพมาตีไทยอีก โดยสมคบกับพระยาไทรบุรีซึ่งเปลี่ยนใจไปเข้ากับฝ่ายพม่า แต่เมื่อทราบว่าฝ่ายไทยจัดกำลังทัพเตรียมรับศึกอย่างเข้มแข็ง พม่าก็เกิดเกรงกลัวว่าจะรบแพ้ไทยอีก จึงยุติไม่ยกทัพเข้ามา จนอีก ๓ ปีต่อมา พระเจ้าจักกายแมงก็ทรงชักชวนพระเจ้าเวียดนาม มินมางกษัตริย์ญวนให้มาช่วยตีไทย แต่ฝ่ายญวนไม่ยอมร่วมด้วย พอดีกับที่ขณะนั้นเกิดสงครามกับอังกฤษจึงหมดโอกาสที่จะมาตีไทยอีกต่อไป


    พระราชกรณียกิจด้านการปกครอง
    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงบริหารบ้านเมืองโดยให้เจ้านายรับหน้าที่ในการบริหารงานราชการในกรมกองต่างๆ เท่ากับเป็นการให้เสนาบดีได้มีการปรึกษาข้อราชการก่อนจะนำความขึ้นกราบบังคมทูล ทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้ผ่อนผันการเข้ารับราชการของพลเมืองชายเหลือเพียงปีละ ๓ เดือน (เข้ารับราชการ ๑ เดือน แล้วไปพักประกอบอาชีพส่วนตัวอีก ๓ เดือน สลับกันไป) นอกจากนี้ยังทรงรวบรวมพลเมืองให้เป็นปึกแผ่นมีหน่วยราชการสังกัดแน่นอน โดยพระราชทานโอกาสให้ประชาชนสามารถเลือกหน่วยราชการที่สังกัดได้

    พระองค์ได้ทรงส่งเสริมข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถให้มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่ตนถนัด ในรัชกาลนี้จึงปรากฏพระนามและนามข้าราชการที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช (น้อย ณ นคร) ขุนสุนทรโวหาร (ภู่) เป็นต้น และด้วยความที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชประสงค์ให้พลเรือนของพระองค์เป็นคนดี จึงได้ทรงออกพระราชบัญญัติเรื่อง ห้ามเลี้ยงไก่ นก ปลากัด ไว้ชน กัด หรือทำการอื่นๆ เพื่อการพนัน และออกพระราชกำหนดห้ามสูบฝิ่น ขายฝิ่น ซื้อฝิ่น พร้อมทรงกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน ทำให้ประเทศไทยไม่เกิดสงครามฝิ่นแบบต่างชาติ


    พระราชกรณียกิจด้านการทำนุบำรุงพระศาสนา

    วันนี้ในอดีต 21 กรกฎาคม

    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ ทรงฟื้นฟู พระพุทธศาสนาอย่างมากมายหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการก่อสร้างศาสนสถาน ทรงโปรดฯให้สร้างวัดขึ้นใหม่หลายวัด ได้แก่ วัดสุทัศนเทพวราราม วัดชัยพฤกษมาลา วัดโมลีโลกยาราม วัดหงสาราม และวัดพระพุทธบาทที่ สระบุรี ซึ่งสร้างค้างไว้ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รวมทั้งโปรดเกล้าฯให้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชวราราม โดยสร้างพระอุโบสถพระปรางค์ พร้อมทั้งพระวิหารขึ้นใหม่ เพื่อเป็นพระอารามประจำรัชกาล
    การศึกษา พระ ปริยัติธรรมของพระสงฆ์ในยุคนี้ก็รุ่งเรืองเป็นอย่างมาก โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขหลักสูตรจากปริญญาตรี โท เอก มาเป็นเปรียญธรรม ๓ ประโยคถึง ๙ประโยค ทำให้พระภิกษุ สามเณร มีความรู้ภาษาบาลีแตกฉานยิ่งขึ้น นอกจากนี้พระองค์ยังทรงออกพระราชกำหนดให้ประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา โดยห้ามล่าสัตว์ ๓วัน และรักษาศีล ถวายอาหารบิณฑบาต ทำทาน ปล่อยสัตว์ สดับฟังพระธรรมเทศนาเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา


    พระราชกรณียกิจด้านศิลปวัฒนธรรม



    วันนี้ในอดีต 21 กรกฎาคม


    ในด้านการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทั้งทางด้านประติมากรรม ด้านการดนตรี แต่ที่โดด เด่นที่สุดเห็นจะเป็นในด้านวรรณคดี จนอาจเรียกได้ว่ายุคนี้เป็นยุคทองของวรรณคดีไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ละครรำรุ่งเรืองถึงขีดสุด ด้วยพระองค์ทรงเป็นกวีเอก และทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเล่มด้วยกัน เช่น รามเกียรติ์ตอนลักสีดา วานรถวายพล พิเภกสวามิภักดิ์ สีดาลุยไฟ นอกจากนี้ยังมีพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ ๖ ว่าเป็นยอดกลอนบทละครรำ

    ส่วนบทละครนอก พระ บาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นมา ๕ เรื่องด้วยกัน ได้แก่ ไชยเชษฐ์ สังข์ทอง มณีพิชัย ไกรทอง และคาวี พระองค์ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเห่เรือ เรื่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาว หวาน ซึ่งมีความไพเราะและแปลกใหม่ไม่ซ้ำแบบกวีท่านใด เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น ๕ ตอน คือ เห่ชมเครื่องคาว เห่ชมผลไม้ เห่ชมเครื่องคาวหวาน เห่ครวญเข้ากับนักขัตฤกษ์ และบทเจ้าเซ็น ซึ่งบทเห่นี้เข้าใจกันว่าเป็นการชมฝีพระหัตถ์ในด้านการทำอาหารของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีนั่นเอง นอกจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ทรงเป็นยอดกวีเอกแล้วในยุคสมัยนี้ยังมียอดกวีที่มี ชื่อเสียงอีกลายคน เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร, นายนริทร์ธิเบศ, และสุนทรภู่ เป็นต้น

    องค์การ ศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ยกย่องพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก เนื่องด้วยทรงสร้างสรรค์วรรณคดีที่ทรง คุณค่าทางวัฒนธรรมไว้เป็นมรดกของชาติจำนวนมากรวมถึงทรงปกครองบ้านเมืองให้ ราษฎรได้อยู่เย็นเป็นสุขภายใต้พระบรมโพธิสมภาร และเนื่องด้วยในรัชกาลนี้มีละครนอกช้างเผือกคู่พระบารมีถึง ๓ เชือก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงมีพระราชดำริให้แก้ไขธงชาติไทยจากที่เคยใช้ธงแดงมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มาเป็นรูปช้างเผือกอยู่ในวงจักรติดในธงพื้นแดง และใช้เป็นธงชาติสืบต่อกันมาจนถึงรัชกาลที่ ๖

    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครองราชย์สมบัติถึงปี พ.ศ. ๒๓๖๗ รวมอยู่ในสิริราชสมบัตินาน ๑๕ ปี ก็ทรงพระประชวรด้วยพิษไข้ มิได้รู้สึกพระองค์ จึงไม่ได้พระราชทานราชสมบัติให้แก่ผู้ใด และทรงพระประชวรด้วยพิษไข้อยู่ ๓ วันก็เสด็จสวรรคตในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถือว่าเป็นแผ่นดินทองแห่งวรรณกรรม ด้วยพระองค์มีพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งในด้านศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสถาปัตยกรรม วรรณกรรม รวมถึงนาฏกรรม เห็นได้จากมรดกทางวัฒนธรรมที่พระองค์ทรงเป็นผู้สร้างไว้ให้กับอนุชนรุ่นหลัง อุทยานพระบรมราชานุสรณ์รัชกาลที่ ๒ ที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ถือเป็นสถานที่ที่แสดง ให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้อย่าง ชัดเจนที่สุดและในอุทยานแห่งนี้ก็ได้ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์เพื่อให้ประชาชนได้เคารพสักการะด้วย



    เกร็ดความรู้

    อุทยานรัชกาลที่ ๒

    วันนี้ในอดีต 21 กรกฎาคม

    อุทยานพระ บรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยของมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเป็นองค์ประธาน เพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นทั้งนักรบ นักปกครอง ศิลปิน กวีและช่าง ซึ่งได้พระราชทานศิลปวัฒนธรรมอันงดงามประณีตไว้เป็นมงคลแก่ชาติ และปรากฏพระเกียรติคุณแพร่หลายไปในนานาประเทศ จนได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก และได้ส่งเสริมให้มีการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฉลองพระบรมราชสมภพครบรอบ ๒๐๐ ปี เมื่อพ.ศ. ๒๕๑๑ พร้อมจัดสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ฯ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยมีจุดประสงค์ให้เป็นศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรมไทยในรัชสมัยของพระองค์ และเพื่อให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียงนั้นด้วย

    สถานที่ตั้งของอุทยานร.๒ อยู่ที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ติดกับวัดอัมพวันเจติยาราม ที่เชื่อกันว่าเคยเป็นที่ตั้ง นิวาสถานดั้งเดิมของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เนื้อที่ ๑๑ ไร่ของอุทยาน ร.๒ แห่งนี้ พระราชสมุทรเมธี อดีตเจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยาราม เป็นผู้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินของบริเวณพระอารามให้ (เดิมเป็นนิวาสถานของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชชนนี ภายหลังพระราชทานให้เป็นสมบัติของวัด) โดยที่ดินดังกล่าวอยู่ติดกับวัดอัมพวันเจติยาราม ด้านหนึ่งติดกับถนนแม่กลอง-บางนกแขวก ส่วนอีกด้านหนึ่งติดริมแม่น้ำแม่กลอง

    สุนทรภู่ กวีเอกในสมัยรัชกาลที่ ๒
    สุนทรภู่ เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๓๒๙ ในรัชกาลที่ ๑ บิดามารดาชื่อใดไม่ปรากฏ ทราบเพียงว่ามารดามีเชื้อสายผู้ดี และทำหน้าที่แม่นมของพระธิดาในกรมพระราชวังหลัง ส่วนบิดานั้นบวชเป็นพระอยู่ที่วัดบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เรียนหนังสือที่วัดชีปะขาวหรือวัดศรีสุดารามในปัจจุบัน ครั้นมีความรู้ดีแล้ว มารดานำไปฝากเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง แต่อยู่ได้ไม่นานก็ลาออกไปเป็นเสมียน สุนทรภู่รับราชการไม่ก้าวหน้านัก เพราะติดนิสัยรักกาพย์กลอน กระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๒ จึงเป็นที่โปรดปรานให้เป็น ?ขุนสุนทรโวหาร? (ภู่) เรียกสั้นๆ ว่า ?สุนทรภู่? ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ?พระสุนทรโวหาร? ถึงแก่กรรมเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘ อายุได้ ๗๐ ปี

    หนังสือบทกลอน ที่สุนทรภู่แต่งมีมากมาย ที่ได้ยินแต่ชื่อเรื่องยังหาฉบับไม่พบก็มี ที่หายสาบสูญไปแล้วไม่ได้ยินชื่อเรื่องก็มี แต่เรื่องที่ยังมีต้นฉบับอยู่ในปัจจุบันมี ๒๔ เรื่องคือ
    - นิราศ ๙ เรื่อง ได้แก่ นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศเมืองสุพรรณ นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา นิราศพระแท่นดงรัง นิราศพระปฐม และนิราศเมืองเพชรบุรี
    - นิทาน ๕ เรื่อง ได้แก่ โคบุตร พระอภัยมณี พระไชยสุริยา ลักษณวงศ์ และ สิงหไกรภพ
    - สุภาษิต ๓ เรื่อง ได้แก่ สวัสดิรักษา เพลงยาวถวายโอวาท และสุภาษิตสอนหญิง
    - บทละคร ๑ เรื่อง คือ เรื่องอภัยนุราช
    - บทเสภา ๒ เรื่อง ได้แก่ ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม และเรื่องพระราชพงศาวดาร
    - บทเห่กล่อม ๔ เรื่อง ได้แก่ เห่เรื่องจับระบำ เห่เรื่องกากี เห่เรื่องพระอภัยมณี และเห่เรื่องโคบุตร


    ข้อมูลจาก

    chaoprayanews.com/2009/03/16/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4/

    .......................................................................................





    COLOR="Blue"]ประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 3 ( พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ) ( 21/กรกฎาคม/ 2367 ?02/เมษายน/2394 )


    วันนี้ในอดีต 21 กรกฎาคม


    วันนี้ในอดีต 21 กรกฎาคม



    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาเจษฏาบดินทร์ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งราชจักรีวงศ์ พระนามเดิมว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ หรือ พระองค์ชายทับ"

    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะแม เวลาค่ำ ๑๐.๓๐ นาฬิกา (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับเจ้าจอมมารดาเรียม ซึ่งภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๙ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ รวมสิริดำรงราชสมบัติได้ ๒๕ ปี ๗ เดือน ๒๓ วัน
    ทรงมีเจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม ๕ พระองค์ มีพระราชโอรส-ราชธิดา ทั้งสิ้น ๕๑ พระองค์ เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช ๑๒๑๒ เวลา ๗ ทุ่ม ๕ บาท ตรงกับวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ รวมพระชนมพรรษา ๖๓ พรรษา
    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระนามเต็มว่า "สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไสย สมุทัยดโรมน สากลจักรวาลาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาธิบดี ศรีสุวิบูลย คุณอถพิษฐ ฤทธิราเมศวร ธรรมิกราชาธิราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว"
    พระราชประวัติ


    เมื่อครั้งที่ทรงกำกับราชการกรมท่า (ในสมัยรัชกาลที่ ๒) ได้ทรงแต่งสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอันมาก พระราชบิดาทรงเรียกพระองค์ว่า "เจ้าสัว" เมื่อรัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคต มิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด ขุนนางและพระราชวงศ์ต่างมีความเห็นว่าพระองค์ (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์) ขณะนั้นมีพระชนมายุ ๓๗ พรรษา ทรงรอบรู้กิจการบ้านเมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้าและการปกครอง จึงพร้อมใจกันอัญเชิญครองราชย์เป็นรัชกาลที่ ๓

    พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา
    พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา ในรัชกาลที่ ๓

    พระราชกรณียกิจ
    พระองค์ทรงปกครองประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเสริมสร้างกำลังป้องกันราชอาณาจักร โปรดให้สร้างป้อมปราการตามปากแม่น้ำสำคัญ และหัวเมืองชายทะเล

    การคมนาคม
    ในรัชสมัยของพระองค์ใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ ทั้งในการสงครามและการค้าขาย คลองจึงมีความสำคัญมากในการย่นระยะทางจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง จึงโปรดฯให้มีการขุดคลองขึ้น เช่น คลองบางขุนเทียน คลองบางขนาก และ คลองสุนัขหอน


    การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
    พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก และได้ทรงสร้างพระพุทธรูปมากมายเช่น พระประธานในอุโบสถวัดสุทัศน์ วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดปรินายกและวัดนางนอง ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น 3 วัด คือ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดเทพธิดารามและวัดราชนัดดาราม ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดเก่าอีก 35 วัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 วัดอรุณราชวราราม วัดราชโอรสาราม เป็นต้น

    การศึกษา
    ทรงทำนุบำรุง และ สนับสนุนการศึกษา โปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แต่งตำราเรียนภาษาไทยขึ้นเล่มหนึ่งคือ หนังสือจินดามณี โปรดเกล้าฯ ให้ผู้รู้นำตำราต่างๆ มาจารึกลงในศิลาตามศาลารอบพุทธาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ปั้นตึ้งไว้ตามเขามอและเขียนไว้ตามฝาผนังต่างๆ มีทั้งอักษรศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ พุทธศาสตร์ โบราณคดี ฯลฯ เพื่อเป็นการเผยแพร่วิชาการสาขาต่างๆ จึงอาจกล่าวได้ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของกรุงสยาม
    ด้านความเป็นอยู่

    พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร ด้วยมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า ไม่ทรงสามารถจะบำบัดทุกข์ให้ราษฎรได้ หากไม่เสด็จออกนอกพระราชวัง เพราะราษฎรจะร้องถวายฏกาได้ต่อเมื่อพระคลังเวลาเสด็จออกนอกพระราชวังเท่านั้น จึงโปรดให้นำกลองวินิจฉัยเภรีออกตั้ง ณ ทิมดาบกรมวัง ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อราษฎรผู้มีทุกข์จะได้ตีกลองร้องถวายฏีกาไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อให้มีการชำระความกันต่อไป โดยพระองค์จะคอยซักถามอยู่เนืองๆ ทำให้ตุลาการ ผู้ทำการพิพากษาไม่อาจพลิกแพลงคดีเป็นอื่นได้

    ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีศาสนาจารย์และนายแพทย์ชาวอเมริกันและอังกฤษเดินทางเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาเพิ่มมากขึ้น หนึ่งในจำนวนนี้คือศาสนาจารย์ แดน บีช บรัดเลย์ เอ็ม.ดี. หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนามของ หมอบรัดเลย์ ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ และการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคและการทำผ่าตัดขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้หมอบรัดเลย์ยังได้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้น (ปี พ.ศ. 2379) ทำให้มีการพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรกโดยพิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์เป็นภาษาไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2339 ต่อมาปี พ.ศ. 2485 หมอบรัดเลย์พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก

    ในด้านการหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 หมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์แถลงข่าวรายปักษ์เป็นภาษาไทย ชื่อ บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) มีเรื่องสารคดี ข่าวราชการ ข่าวการค้า ข่าวเบ็ดเตล็ด ฉบับแรกออกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387

    หนังสือบทกลอนเล่มแรกที่พิมพ์ขายและผู้เขียนได้รับค่าลิขสิทธิ์คือ นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (ม.ร.ว. กระต่าย อิสรางกูร) โดย หมอบรัดเลย์ ซื้อกรรมสิทธิ์ไปพิมพ์ในราคา 400 บาท เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2404 และตีพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404

    เหตุการณ์สำคัญในสมัย
    โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดพิธีอุปราชาภิเษก ให้พระองค์เจ้าอรุโณทัยขึ้นเป็นที่ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราชเจ้า
    การเจริญสัญญาทางพระราชไมตรีเป็นฉบับแรกกับประเทศอังกฤษ
    การค้าขายกับต่างประเทศและการเก็บอากรต่างๆ
    การเผาโรงฝิ่น และมีการออกหวย ก.ข. เป็นครั้งแรก
    เกิดสุริยุปราคาถึง ๕ ครั้ง
    เกิดอหิวาตกโรคระบาด มีคนตายมากกว่า ๓๐,๐๐๐ คน ฯลฯ
    พ.ศ. ๒๓๖๗ โปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไทยไปช่วยอังกฤษรบพม่า
    พ.ศ. ๒๓๖๘ เฮนรี เบอร์นี ขอเข้ามาทำสัญญาค้าขาย
    พ.ศ. ๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรฯ เป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปปราบ กำเนิดวีรกรรมท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพหน้าเป็นเจ้าพระราชสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก
    พ.ศ. ๒๓๗๐ เริ่มสร้างพระสมุทรเจดีย์
    พ.ศ. ๒๓๗๑ ร้อยเอกเจมส์โลว์ จัดพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรก มิชชันนารีอเมริกันเดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในเมืองไทย
    พ.ศ. ๒๓๗๒ เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) จับเจ้าอนุวงศ์ จัดส่งลงมากรุงเทพฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก
    -กำเนิดสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
    -โปรดเกล้าให้ทำการสังคายนาเป็นภาษาไทย
    -ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง และสร้างวัดใหม่ คือวัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา วัดเฉลิมพระเกียรติ และวัดพระเชตุพนฯลฯได้ตั้งโรงเรียนหลวง (วัดพระเชตุพน) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็กในสมัยนี้ และได้ถือกำเนิดนิกายธรรมยุติขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ) ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๒ ได้ตั้งคณะธรรมยุติขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ
    -พ.ศ. ๒๓๗๕ ประธานาธิบดีแจคสัน แห่งสหรัฐอเมริกา ส่งเอ็ดมันต์ โรเบิร์ต เข้ามาขอเจริญพระราชไมตรีทำการค้ากับไทย
    -พ.ศ. ๒๓๗๖ ญวนเกิดกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพใหญ่ผู้สำเร็จราชการไปรบกับญวน
    -พ.ศ. ๒๓๘๐ หมอบรัดเลย์ คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้หมอหลวงไปหัดปลูกฝีกับหมอบรัดเลย์
    -พ.ศ. ๒๓๘๑ เกิดกบฏหวันหมาดหลี
    -พ.ศ. ๒๓๘๒ ทรงประกาศห้ามสูบฝิ่น เพื่อส่งเสริมศีลธรรมในบ้านเมือง
    พ.ศ. ๒๓๘๕ หมอบรัดเลย์ พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
    พ.ศ. ๒๓๘๙ ญวนขอหย่าทัพกับเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโลหะปราสาทวัดราชนัดดาราม
    พ.ศ. ๒๓๙๐ ทรงอภิเษกให้ นักองค์ด้วง เป็น สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี ครองกรุงกัมพูชา
    พ.ศ. ๒๓๙๑ ญวนขอเจริญพระราชไมตรีดังเดิม กองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กลับกรุงเทพฯ
    พ.ศ. ๒๓๙๓ อังกฤษ และสหรัฐฯ ขอแก้สนธิสัญญา
    พ.ศ. ๒๓๙๔ เสด็จสวรรคต


    วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    .......................................................................................
    .......................................................................................
    ......................................................................................
    .
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 22-07-2009 at 10:49.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ฝ่ายเทคนิคและโปรแกรม สัญลักษณ์ของ ต่วง
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    กระทู้
    1,826
    ขอบคุณน้องเล็กสำหรับสาระน่ารู้

  3. #3
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197
    วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2374 วันชาติของประเทศเบลเยี่ยม

    ประเทศเบลเยียม หรือ ราชอาณาจักรเบลเยียม เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ

    เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ๆ ได้แก่ฟลานเดอร์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอร์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย

    คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ Belgi? และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศัย

    มีหลักฐานการดำรงอยู่ของชุมชนโบราณมานานมากกว่า 2,000 ปีโดยขุดพบโครงกระดูกมนุษย์และภาพเขียนโบราณในถ้ำตอนกลางของประเทศริมฝั่งแม่น้ำเมิส (la Meuse)
    ในปีพ.ศ. 600 จูเลียส ซีซาร์ขยายอำนาจของจักรวรรดิโรมันมายังดินแดนเบลเยียมปัจจุบัน โดยเอาชนะชนเผ่าเคลติกที่ชื่อ Belgae และก่อตั้งเป็นจังหวัด Gallia Belgica ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 ดินแดนแถบนี้ก็ตกไปอยู่ในการควบคุมของชนเผ่าแฟรงก์ ก่อตั้งราชวงศ์เมโรแวงเจียง พระเจ้าโคลวิสที่ 1 ทรงรับคริสต์ศาสนาเข้ามาสู่อาณาจักร หลังจากยุคของโคลวิสแล้ว อาณาจักรของพวกแฟรงก์ก็เริ่มแตก จนกระทั่งถึงยุคของพระเจ้าชาร์เลอมาญ ซึ่งครองราชย์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1311 จนถึง 1357 ซึ่งได้รวบรวมอาณาจักรแฟรงก์ ปกครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรป

    หลังจากพระเจ้าชาร์เลอมาญสิ้นพระชนม์ อาณาจักรก็ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเบลเยียมปัจจุบันเป็นของพระเจ้าโลแธร์ ซึ่งปกครองอาณาจักรกลาง ในขณะที่ส่วนที่เหลือตกเป็นของฝรั่งเศส อาณาจักรกลางภายหลังตกไปอยู่ภายใต้กษัตริย์เยอรมันของอาณาจักรตะวันออก ดินแดนเบลเยียมถูกแบ่งออกเป็นรัฐขุนนางเล็กๆจำนวนมาก ซึ่งต่อมารวบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเบอร์กันดี หลังจากการอภิเษกสมรสของพระนางแมรีแห่งเบอร์กันดีกับเจ้าชายมักซิมิลันจากราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ซึ่งต่อมาขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันศักดิ์สิทธิ์ ดินแดนเบลเยียมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ได้ตกทอดไปถึงพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งสเปน พระนัดดาของพระเจ้ามักซิมิลัน

    ในรัชสมัยของพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน พระราชโอรสของพระเจ้าชาลส์ ได้เกิดความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ โดยพระเจ้าเฟลิเปพยายามที่จะปราบปรามนิกายโปรเตสแตนต์ ดินแดนทางตอนเหนือ ซึ่งสนับสนุนนิกายโปรเตสแตนต์ รวมตัวกันเป็นสาธารณรัฐเนเธอร์แลนด์ ในขณะที่ดินแดนทางใต้ ประกอบด้วยเบลเยียมและลักเซมเบิร์กในปัจจุบัน ยังอยู่ภายใต้การปกครองของสเปน เรียกชื่อว่าเนเธอร์แลนด์ใต้

    ต่อมา ฝรั่งเศสได้ขึ้นเป็นมหาอำนาจในยุโรป พื้นที่ประเทศต่ำได้เป็นสนามรบ เบลเยียมได้เปลี่ยนมือไปยังออสเตรีย จนกระทั่งหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1ได้ยึดเบลเยียมในปีพ.ศ. 2338 ยุติการปกครองของสเปนและออสเตรียในบริเวณนี้ หลังจากการสิ้นสุดของจักรวรรดิฝรั่งเศสของนโปเลียน กลุ่มประเทศต่ำได้รวมกันอีกครั้งเป็นสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ในปีพ.ศ. 2358

    เกิดการปฏิวัติในเบลเยียมในปีพ.ศ. 2373 ก่อตั้งเป็นรัฐเอกราช และเลือกเจ้าชายเลโอโปลด์จากราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 1 โดยมีการปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยแบบรัฐสภาในปีพ.ศ. 2374

    เบลเยียมได้รับคองโกเป็นอาณานิคมในปีพ.ศ. 2451 จากที่เคยเป็นดินแดนส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 เยอรมนีเข้ารุกรานเบลเยียมในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เบลเยียมเข้าครอบครองรวันดา-อุรุนดี (ปัจจุบันคือประเทศรวันดาและบุรุนดี) ซึ่งเป็นอาณานิคมของเยอรมนีในช่วงสงคราม เบลเยียมถูกรุกรานจากเยอรนีอีกครั้งในสงครามโลกครั้งที่สอง จนกระทั่งถูกปลดปล่อยโดยกองทัพสัมพันธมิตร คองโกได้รับเอกราชในปีพ.ศ. 2503 ในขณะที่รวันดา-อุรุนดีได้รับในอีกสองปีถัดมา

    หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เบลเยียมเข้าร่วมนาโต ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่บรัสเซลส์ และจัดตั้งกลุ่มเบเนลักซ์ร่วมกับเนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก เบลเยียมเป็นหนึ่งในหกสมาชิกก่อตั้งของประชาคมถ่านหินและเหล็กยุโรปในปีพ.ศ. 2494 และในปีพ.ศ. 2500 ก่อตั้งประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรปและประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งต่อมาคือสหภาพยุโรป เบลเยียมเป็นที่ตั้งของหน่วยงานหลายอย่างของสหภาพ อาทิเช่น คณะกรรมาธิการยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป เป็นต้น

    การเมืองและการปกครอง
    เบลเยียมมีระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยแบบรัฐสภา พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ซึ่งพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การปกครองของเบลเยียมนั้นมีเน้นไปทางอำนาจปกครองตนเองของสองชุมชนหลัก ซึ่งมีมีปัญหาความแตกแยกจากความแตกต่างทางภาษา ในปีพ.ศ. 2536 ได้มีการปรับปรุงรัฐธรรมนูญครั้งสำคัญ โดยบัญญัติให้เบลเยียมเป็นสหพันธรัฐ หลังจากเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่พ.ศ. 2513
    รัฐสภากลางของเบลเยียมนั้นใช้ระบบสภาคู่ โดยประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ดัตช์: de Kamer van Volksvertegenwoordigers; ฝรั่งเศส: la Chambre des Repr?sentants) และวุฒิสภา (ดัตช์: de Senaat; ฝรั่งเศส: le S?nat) วุฒิสภานั้นประกอบด้วยนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง 40 คน และอีก 21 คนแต่งตั้งโดยสภาชุมชนสามสภา สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 150 คนจากเขตเลือกตั้ง 11 เขต เบลเยียมนั้นมีการกำหนดการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2435

    พรรคการเมือง
    พรรคการเมืองของเบลเยียมนั้น มีลักษณะแบ่งตามกลุ่มภาษาอย่างชัดเจน พรรคการเมืองของเบลเยียมอยู่ในสามกลุ่มหลักๆ คือ กลุ่มพรรคคริสเตียนเดโมแครต แบ่งเป็น Centre d?mocrate humaniste (CDH) และ Christen-Democratisch & Vlaams (CD&V) กลุ่มพรรคสังคมนิยม ประกอบด้วย Parti Socialiste (PS) และ Socialistische Partij ? Anders (SP.A) และกลุ่มพรรคเสรีนิยม ได้แก่ Mouvement R?formateur (MR) และ Vlaamse Liberalen en Democraten (VLD) นอกจากสามกลุ่มหลักนี้แล้ว ยังมีกลุ่มพรรคกรีน ได้แก่ พรรค Ecolo และ Groen! ซึ่งเป็นพรรคของผู้พูดภาษาฝรั่งเศสและฟลามส์ตามลำดับ
    การแบ่งเขตการปกครอง

    ชาววัลลูนและชาวฟลามส์ในเบลเยียมมีความแตกต่างกันทั้งทางภาษา ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจและการเมือง ในปี พ.ศ. 2511 ความตึงเครียดระหว่างประชากรในพื้นที่ที่ใช้ภาษาดัตช์และที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสได้ทวีความรุนแรงขึ้น จนบางครั้งถึงขั้นจลาจล สถานการณ์นี้นำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ-ราชอาณาจักร โดยแบ่งออกเป็นสามเขต คือ เขตฟลามส์ เขตวัลลูน และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ แต่ละเขตมีรัฐบาลท้องถิ่นปกครองตนเอง และมีรัฐบาลกลางบริหารประเทศโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ

    การปกครองของเบลเยียมแบ่งออกเป็นสามระดับ ได้แก่ รัฐบาลสหพันธรัฐ มีศูนย์กลางอยู่ที่บรัสเซลส์ ชุมชนภาษาสามชุมชน ได้แก่ ฟลามส์ ฝรั่งเศส และเยอรมัน และสามภูมิภาค ได้แก่ เขตฟลามส์ หรือฟลานเดอร์ เขตวัลลูน หรือวัลโลเนีย และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์
    เบลเยียมมีพรมแดนติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส (620 กม.) เยอรมนี (167 กม.) ลักเซมเบิร์ก (148 กม.) และเนเธอร์แลนด์ (450 กม.) มีพื้นที่รวม 30,528 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ำ 250 กม.? ภูมิประเทศของเบลเยียมแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ที่ราบชายฝั่ง ที่ราบสูงกลาง และที่สูงอาร์เดนส์


    ภูมิประเทศ
    ที่ราบชายฝั่งของเบลเยียม ประกอบด้วยเนินทรายจำนวนมาก ลึกเข้ามาในแผ่นดินเป็นที่ราบทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และคลอง ที่สูงอาร์เดนส์เป็นเขตที่เป็นป่าหนาแน่น ยกตัวสูงขึ้นเฉลี่ย 460 เมตร อยู่ในทางตะวันออกเฉียงใต้ของเบลเยียม พื้นที่แถบนี้มีลักษณะเป็นหิน ไม่เหมาะกับเกษตรกรรม มีจุดที่สูงที่สุดของเบลเยียมคือซิญาลเดอปอตราญ (Signal de Portrange) สูง 694 เมตร

    แม่น้ำสายหลักของเบลเยียมได้แก่แม่น้ำเอสโก (Escaut; สเคลด์ ? Schelde) และแม่น้ำเมิส (Meuse; มาส ? Maas) ซึ่งมีต้นน้ำอยู่ที่ฝรั่งเศส แม่น้ำเอสโกเป็นแม่น้ำสายหลักของเบลเยียม ผ่านท่าเรือแอนต์เวิร์ป บรัสเซลส์ และเกนท์


    ภูมิอากาศ
    ภูมิอากาศชายฝั่งทะเลมีลักษณะชื้นและไม่รุนแรงนัก ในขณะที่ลึกเข้ามาในพื้นทวีปอุณหภูมิจะมีช่วงความเปลี่ยนแปลงสูงกว่า ในเขตที่สูงอาร์เดนส์มีฤดูร้อนที่ร้อนสลับกับฤดูหนาวที่หนาวเย็น ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อเดือนในบรัสเซลส์ อยู่ระหว่าง 55 มิลลิเมตร ในเดือนกุมภาพันธ์ จนถึง 78 มิลลิเมตรในเดือนกรกฎาคม ในขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของบรัสเซลส์อยู่ที่ 15-18 องศาเซลเซียสในเดือนมิถุนายนถึงกันยายน และลงต่ำอยู่ที่ 3 องศาในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ จากรายงานของสหประชาชาติในปีพ.ศ. 2546 คุณภาพน้ำในแม่น้ำของเบลเยียมอยู่ในระดับต่ำสุดจากทั้งหมด 122 ประเทศ


    เศรษฐกิจ
    เบลเยียมเป็นประเทศแรกในภาคพื้นทวีปยุโรปที่เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยมีการพัฒนาการทำเหมืองแร่ ตีเหล็ก และอุตสาหกรรมสิ่งทอ เบลเยียมได้พัฒนาสาธารณูปโภคด้านการขนส่ง ทั้งท่าเรือ คลอง รถไฟ และทางหลวง เชื่อมเศรษฐกิจเข้ากับประเทศอื่นในยุโรป เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของประชาคมยุโรป และสนับสนุนการขยายอำนาจของสหภาพยุโรปเพื่อรวมเศรษฐกิจของชาติสมาชิก เบลเยียมเข้าร่วมใช้สกุลเงินยูโรในปีพ.ศ. 2542 และทดแทนฟรังก์เบลเยียมอย่างสมบูรณ์ในปีพ.ศ. 2545 ทั้งนี้ เบลเยียมเข้าร่วมสหภาพศุลกากรและสกุลเงินกับประเทศลักเซมเบิร์กตั้งแต่ปีพ.ศ. 2465 ในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง วัลโลเนียเป็นเขตที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสูง หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ฟลานเดอร์เริ่มมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยปรากฏการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมี ในเขตวัลโลเนีย อุตสาหกรรมเหล็กเริ่มสูญเสียความสามารถทางการแข่งขัน จนกระทั่งเกิดวิกฤติการน้ำมัน พ.ศ. 2516 และ พ.ศ. 2522 ส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะตกต่ำ หลังจากนั้น ศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศขยับไปทางเขตฟลานเดอร์

    เศรษฐกิจของเบลเยียมมีจุดเด่นคือ ผลิตภาพของแรงงาน รายได้ประชาชาติ และการส่งออกต่อประชากรสูง การส่งออกของเบลเยียมคิดเป็นมากกว่าสองในสามของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีเอ็นพี)โดยเบลเยียมได้เปรียบจากตำแหน่งที่ตั้งที่อยู่ในศูนย์กลางพื้นที่ที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจสูง เบลเยียมเป็นสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา


    ประชากร
    ในปีพ.ศ. 2549 เบลเยียมมีประชากรประมาณ 10.5 ล้านคน โดยอาศัยอยู่ในเขตฟลามส์ราว 6 ล้านคน เขตวัลลูนราว 3.4 ล้านคน และราว 1 ล้านคนในเขตเมืองหลวง คิดเป็นความหนาแน่นทั้งประเทศ 344 คนต่อตารางกิโลเมตร เขตเทศบาลที่มีผู้อยู่อาศัยมากได้แก่ แอนต์เวิร์ป (4.66 แสนคน) เกนต์ (2.35 แสนคน) ชาร์เลอรัว (2 แสนคน) ลีแยช
    (1.88 แสนคน) บรัสเซลส์ (1.45 แสนคน) เป็นต้น


    ภาษา
    เบลเยียมมีภาษาราชการ 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาดัตช์ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน โดยคาดว่า มีผู้พูดภาษาดัตช์เป็นภาษาหลักราว 60 เปอร์เซนต์ และประมาณ 40 เปอร์เซนต์สำหรับภาษาฝรั่งเศส โดยภาษาเยอรมันมีผู้พูดน้อยกว่า 1 เปอร์เซนต์ ผู้พูดภาษาดัตช์ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือของประเทศ โดยเป็นภาษาราชการของเขตฟลามส์และชุมชนฟลามส์ และหนึ่งในสองภาษาราชการของเขตเมืองหลวง ผู้พูดภาษาฝรั่งเศสกระจุกตัวอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ เป็นภาษาราชการของชุมชนฝรั่งเศส อีกหนึ่งภาษาราชการของเขตเมืองหลวง และภาษาหลักของเขตวัลลูน ภาษาเยอรมันมีผู้พูดอยู่ในเขตชายแดนตะวันออกของประเทศ เป็นภาษาราชการในบางส่วนของวัลลูน ภาษาอื่นๆที่มีผู้พูดในเบลเยียมได้แก่ ภาษาวัลลูน ภาษาปีการ์ด ภาษาชองเปนัว และภาษาลอแรง


    ศาสนา
    คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเป็นศาสนาหลักของเบลเยียม จากการสำรวจและศึกษาศาสนาในปีพ.ศ. 2544 ประชากรร้อยละ 47 ของประเทศประกาศตนเป็นคาทอลิก และมีประชากรมุสลิมประมาณ 364,000 คน หรือราว 3.5 เปอร์เซนต์ของประชากร


    วัฒนธรรม
    ฟลานเดอร์เป็นแหล่งกำเนิดของจิตรกรที่มีชื่อเสียงหลายยุคสมัย ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 บริเวณยุโรปเหนือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา จิตรกรชาวฟลามส์คนสำคัญของยุคนี้ประกอบไปด้วย ยาน ฟาน แอค โรเคียร์ ฟาน เดอร์ เวย์เดน และปีเตอร์ บรูเคล ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟลานเดอร์มีจิตรกรที่มีชื่อเสียงมากของยุคคือปีเตอร์ พอล รูเบนส์ และแอนโทนี ฟาน แดค[17]
    ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 เบลเยียมเกิดรูปแบบและสำนักแตกต่างกันมากมาย มีจิตรกรที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติเช่น เจมส์ เอนซอร์ และเรเน มากริตต์ นอกจากนี้ เบลเยียมยังมีสถาปนิกชื่อดังสองคน ซึ่งเป็นศิลปินอาร์ตนูโวคนแรกๆ คือวิคเตอร์ ฮอร์ตา และเฮนรี ฟาน เดอ เฟลด์ เบลเยียมยังเป็นต้นกำเนิดของแซกโซโฟน ประดิษฐ์โดยอดอล์ฟ แซกซ์ ในปีพ.ศ. 2483


    ประเพณี
    ตลอดปี เบลเยียมมีงานเทศกาลท้องถิ่นจำนวนมาก ขบวนยักษ์และมังกรในหลายเมืองของเบลเยียมได้รับการยอมรับในประกาศผลงานชิ้นเอกมุขปาฐะและมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (อังกฤษ:Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity) ของยูเนสโก ได้แก่ อาต บรัสเซลส์ เดนเดอร์มอนด์ เมเคเลน และมงส์ งานเทศกาลที่สำคัญในเบลเยียมอีกอย่างหนึ่ง คือวันนักบุญนิโคลาส 6 ธันวาคม เรียกในภาษาดัตช์ว่าซินเตอร์คลาส (Sinterklaas)



    กีฬา
    กีฬายอดนิยมของเบลเยียมคือฟุตบอลและจักรยาน เอดดี เมิร์กซ ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักกีฬาจักรยานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล เบลเยียมผลิตนักเทนนิสหญิงมือหนึ่งของโลกถึงสองคน คือ คิม ไคลสเตอร์ส และจัสติน เอแนง


    อาหาร
    เบลเยียมมีชื่อเสียงในด้านการผลิตช็อกโกแลต โดยมียี่ห้อช็อกโกแลตหลายยี่ห้อที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เช่น Godiva, Neuheus และ Guylian นอกจากนี้ เบลเยียมยังเป็นประเทศที่นิยมเบียร์ มีเบียร์มากกว่า 450 ชนิด ชาวเบลเยียมเป็นที่รู้กันดีว่าชื่นชอบวัฟเฟิลและมันฝรั่งทอดเฟรนช์ฟรายส์ ซึ่งมีการสันนิษฐานว่ามีต้นกำเนิดจากประเทศนี้ อาหารสำคัญของประเทศอีกอย่างหนึ่งคือหอยแมลงภู่ เซิร์ฟร่วมกับมันฝรั่งทอด


    .......................................................................................
    .......................................................................................
    .......................................................................................




    วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 นางสิริมาโว บรันดราไนยเก ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีศรีลังกา นับเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของโลก

    นางสิริมาโว บรันดราไนยเก







    นายกฯหญิงคนแรก

    สำหรับนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของโลกคือ นางสิริมาโว บันดาราไนยาเก ผู้นำของศรีลังกา ในปี 2503 สมัยนั้นศรีลังกามีชื่อประเทศว่า ซีลอน จนปี 2515 เมื่อซีลอนเป็นสาธารณรัฐ จึงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นศรีลังกา

    นางสิริมาโวเป็นนายกรัฐมนตรีศรีลังกา 3 สมัย ก่อนจะเกษียณจากการเมืองด้วยวัยถึง 84 ปี เพื่อเปิดทางให้ลูกสาวตัวเอง คือประธานาธิบดีจันทริกา กุมาระตุงคะ เลือกนายกรัฐมนตรีสายเหยี่ยวมาทำหน้าที่แทน

    จากนั้นไม่นาน นางสิริมาโวเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายในปี 2543 ระหว่างเดินทางกลับไปบ้านเกิดไปเมืองกัมพาหะ ไม่ไกลจากกรุงโคลัมโบ เมืองหลวง

    เส้นทางการเมืองของนางสิริมาโว คล้ายๆ กับผู้นำหญิงในภูมิภาคเอเชียใต้ คือก้าวเข้ามาด้วยความเป็นภรรยาผู้นำ

    สามีของนางสิริมาโว คือนายโซโลมอน บันดาราไนยเก เป็นนายกรัฐมนตรีที่ถูกลอบฆ่าตายในปี 2504 จากนั้นพรรคเสรีภาพของนางสิริมาโว ก็ชนะการเลือกตั้งถล่มทลาย นางสิริมาโวได้ฉายาว่า ม่ายเจ้าน้ำตา เพราะระหว่างกล่าวหาเสียง พูดถึงนโยบายพรรคของสามีก็ร้องไห้ทุกครั้ง

    ด้านชีวิตส่วนตัว นางสิริมาโวเกิดในครอบครัวชนชั้นปกครอง เรียนโรงเรียนคริสต์ แต่เป็นพุทธศาสนิกชน แต่งงานตอนอายุ 24 ปี สามีรวยเช่นกันเป็นเจ้าของที่ดิน ทั้งสองมีลูก 3 คน ตอนแรกทำหน้าที่แม่บ้าน แต่เมื่อสามีตาย จึงต้องเข้าสู่การเมืองเอง


    .......................................................................................
    .......................................................................................
    .......................................................................................
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 21-07-2009 at 15:21.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  4. #4
    DJ team สัญลักษณ์ของ james007
    วันที่สมัคร
    Jul 2008
    ที่อยู่
    ฝรั่งเศส
    กระทู้
    120
    ดีจังเลยจ้ารู้ละเอียดกั่วคนโตมาจากเบลเยี่ยมอีกจ้า อิอิอิ รุ้ลายละเอียดแต่ว่าสิให้มาเรียงอักษรคือวิหคราตรีแล้วเลยจ้า มื้อนี้เปนวันชาติของเบลเยี่ยมจ้า มา เด้อมาเบิ่ง พลุนำกันมื้อแลงจ้า

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •