ตำนานเจ้าแม่ระฆัง




ตำนานเจ้าแม่ระฆัง





ในสมัยก่อนเมื่อยังไม่มีนาฬิกา ในประเทศจีนจะใช้วิธีตีกลองบอกเวลา ต่อมาพระจักรพรรดิองค์หนึ่งคิดจะสร้างระฆังใหญ่ใช้ตีบอกเวลา เพื่อให้เสียงไปได้ไกลยิ่งขึ้น จึงมีรับสั่งให้สร้างระฆังเหล็ก ขนาดใหญ่ 10 ตัน เสนาบดีผู้รับคำสั่งจึงไปเกณฑ์ช่างเหล็กฝีมือดีทั่วราชอาณาจักรมาช่วยกันสร้าง หัวหน้าชื่อเติ้ง ช่างเติ้งมีบุตรสาวสวยและฉลาด


เมื่อช่างเติ้งมาทำระฆังเหล็ก เขาก็ยังอารมณ์ดี เมื่อกลับบ้านก็จะเล่าให้บุตรสาวและภรรยาฟังถึงความคืบหน้าของการหล่อระฆังทุกวัน พอถึงสองเดือนก็หล่อระฆังเสร็จพระจักรพรรดิมาทอดพระเนตรก็ทรงไม่พอพระทัยที่ระฆังเหล็กเป็นสีดำไม่งดงาม และเมื่อลองให้ตีก็มีเสียงไม่ไพเราะกังวาน พระ จักรพรรดิกริ้วมากจึงสั่งเสนาบดีว่าให้ทำเป็นระฆังเงิน และให้ทำเสร็จภานใน 2 เดือน ถ้าเสร็จไม่ ทันจะประหารชีวิตช่างทุกคน รวมทั้งเสนาบดีด้วย ทุกๆคนรู้สึกตกใจและไม่สบายใจ แต่ช่างเติ้งก็ ปลอบใจทุกคน และตั้งต้นหล่อระฆังด้วยเงิน ซึ่งก็ดำเนินไปด้วยดี แต่ตอนจวนจะเสร็จ เวลาหล่อ ระฆังจะไม่รวมตัวเป็นรูปตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะทดลองทำอย่างไร ช่างเติ้งเริ่มรู้สึกกังวลไม่สบายใจแต่ก็พยายามปกปิดไม่ให้ภรรยาและบุตรสาวทราบ แต่บุตรสาวเป็นคนช่างสังเกตรู้ว่าบิดากำลังมี ทุกข์ และเมื่อใกล้ถึงกำหนดสองเดือน ช่างเติ้งก็ไม่กลับบ้าน ทำงานอยู่ที่โรงหล่อ


วันหนึ่งบุตรสาวอดรนทนไม่ได้จึงเดินทางไปที่โรงหล่อ และถามถึงสาเหตุที่ทำงานจนไม่ยอมกลับ บ้าน ช่างเติ้งก็ไม่ตอบแต่นายช่างที่เป็นเพื่อนจึงเล่าให้ฟังว่า วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่จะต้องหล่อระฆัง ให้เสร็จ มิฉะนั้นทุกคนจะต้องถูกประหารชีวิตทั้งหมด แต่ระฆังที่หล่อก็ยังไม่ยอมหลอมตัว บุตรสาวจึงตัดสินใจกระโดดไปที่เตาเผาเพื่อช่วยให้ระฆังหลอมตัว ช่างเติ้งเห็นบุตรสาวกระโดดลงไปในเตา หล่อก็ตกใจวิ่งจะฉวยตัวลูกสาวไว้ก็ได้แต่รองเท้าของนางติดมือมาข้างเดียว แต่ทันใดนั้นก็เกิดสิ่ง มหัศจรรย์ ระฆังเงินซึ่งไม่ยอมหลอมตัวเป็นรูประฆัง ก็สามารถหลอมรวมตัวได้สนิท เป็นอันว่า นายช่างเติ้งสามารถหล่อระฆังได้สำเร็จภายในสองเดือนโดยที่ทุกคนรอดชีวิต


ระฆังนี้มีเสียงกังวานดังไปถึง 40 ลี้ แต่ระฆังนี้จะทอดเสียงตอนจบว่า "เซียะ เซียะ เซียะ" ซึ่งมีความหมายว่า"ขอรองเท้า" ปัจจุบันระฆังเหล็กที่ใช้ไม่ได้นั้นยังคงอยู่ที่หลังหอระฆังเงินนี้ในกรุงปักกิ่ง และใกล้ๆกับหอระฆัง บรรดานายช่างได้สร้างศาลอุทิศให้แก่บุตรสาวของนายช่างเติ้ง และผู้คนได้นับถือบูชาเป็นเจ้าแม่ระฆังสืบมา