แห่พระเวสขี่ช้างเข้าเมือง

แห่พระเวสเข้าเมือง

อำเภอเชียงคาน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเลย ที่มีสภาพภูมิประเทศที่เป็นที่ราบลุ่ม สภาพอากาศเย็นสบาย ภูมิอากาศขึ้นอยู่กับตามฤดูกาล ในสมัยโบราณอำเภอเชียงคานยังไม่เจริญ ถนนหนทางก็เป็นลูกรัง บ้านเรือนก็เป็นบ้านไม้เก่าๆ อยู่กันตามอัตภาพของชุมชน อยู่ติดแม่น้ำโขงซึ่งเป็นแม่น้ำที่กั้นพรหมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว มีแก่งคุดคู้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวบงาม ห่างจากตัวเชียงคานประมาณ 2 กิโลเมตร
ชาวเชียงคานมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนกับเป็นพี่เป็นน้อง กัน มีความรัก มีความสามัคคี มีจิตใจโอบอ้อมอารีย์ มีน้ำใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นคนใจบุญ ชอบทำบุญ จะเห็นได้จากมีวัดวาอารามมากมายถึง 9 วัด และแบ่งกันเป็นคุ้มๆ ซึ่งชาวบ้านแต่ละคุ้มวัดได้ร่วมแรงร่วมใจกัน ทำนุบำรุงศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองกันมาโดยตลอด ตามบรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ยาย ที่ได้พากันทำเอาไว้ โดยเฉพาะการจัดงานตามขนบธรรมเนียมประเพณีประจปีของทุกวัน ในภาพที่ท่านเห็นอยู่นี้ เป็นภาพชบวนแห่บุญเดือนหก ของชาวคุ้มวัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นงานประจำปีวคุ้มวัดมหาธาตุเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่ชาวเชียงคานได้ ให้ความเคารพ กราบไหว้ สักการบูชา และเป็นวัดที่ชาวบ้านมีความนับถือเชื่อในในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ของ องค์พระธาตุ ซึ่งขณะนั้นมีคุณแม่แพงตา สายจันทร์และคุณแม่ดอกไม้ พรหมสาสน์ เป็นแม่บ้านคุ้มวัดนี้ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2513 คุณแม่ทั้ง 2 ได้พาชาวคุ้มร่วมกันจัดงานประเพณีประจำปีขึ้นที่เรียกว่า งานบุญเดือนหก หลังจากที่วัดต่างๆทั้ง 8 วัด ได้จัดงานบุญพระเวสสันดรผ่านไปหมดแล้ว เหลือวัดมหาธาตุจะเป็นวัดสุดท้าย ในการแห่บุญพระเวสสันดรประจำปี ชาวเชียงคานส่วนใหญ่ ทั้งคุ้มเหนือและคุ้มใต้ จะตั้งตารอคอยเล่นบุญวัดมหาธาตุ เพราะเป็นบุญที่คึกคัก สนุกสนากว่าทุกวัด วันเริ่มบุญวันแรกก็จะมีขบวนแห่ดอกไม้ข้าวผาม ซึ่งบอกให่รู้ว่า วันรุ่งขึ้นก็จะเป็นวันแห่พระเวสสันตร ในวันแห่พระเวสสันดร ตอนเช้าก็จะมีพิธีทางศาสนา ตอนบ่ายชาวคุ้มวัดก็จะเตรียมขบวนแห่รอบเมืองเชียงคาน ในบวนแห่นั้นก็จะมีหลายอย่างด้วยกัน เช่น ขบวนบั้งไฟ ขบวนพระเวสสันดร ขบวนชาวคุ้มใส่ชุดขาว ถือขันดอกไม้ ธูปเทียน เดินตามขวบอย่างสวยงามและพร้อมเพรียงกัน นอกจากนี้แล้วก็ยังมีกันเอานางแมวมาใส่กรง ให้สองคนหามกรงแมว เดินตามขบวน ชาวบ้านก็จะร้องขอฝนไปด้วย ซึ่งความเชื่อนี้บางครั้งก็อัศจรรย์จริงๆ มีฝนตกลงมา ขบวนแห่ก็ยิ่งสนุกกันใหญ่ เพราะชาวบ้านเขาจะจันกันโยนลงขี้โคลนที่อยู่ตามข้างถนน พอขบวนแห่ไปถึงโรงเรียนวิจิตรวิทยาก็จะมีการจุดบั้งไฟ เสร็จจากนั้นขบวนก็จะเคลื่อนต่อไปถึงวัด พอตกกลางคนก็จะมีงานมหรสพหลายอย่าง มีของเล่นเด็กที่เป็นชิงช้าสวรรค์ ยิงปืน มีภาพยนตร์ หมอลำ และรำวงชาวบ้าน ที่ให้ความสนุกสนาน และให้ความบันเทิงแก่ชาวเชียงคานเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีการจุดบั้งไฟดอกอยู่บริเวณลานวัด ไฟจะพุ่งขึ้นนั้น สูงและสวยงาม ซึ่งนับว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่สมัยนี้จะหาดูได้ยาก ส่วนศาลาก็จะมีการเทศนากัณฑ์พระเสสันดรตลอดคืนจนสว่าง เรื่องที่ข้าพเจ้าได้เล่ามาทั้งหมดนี้ คิดว่ายังประทับใจคนรุ่นเก่าที่อยู่ในช่วงนั้นหลายคน ข้าพเจ้าก็เป็นคนหนึ่งที่ได้คลุกคลีอยู่กับขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม เนื่องจากว่าคุณแม่แพงตา สายจันทร์ ได้พาทำบุญมาตลอด ตั้งแต่เล็กจนโต ดังที่ท่านเห็นในภาพ ขบวนแห่คนที่นั่งอยู่บนหลังช้างคือ พระเสสันดร ซึ่งคงจำชื่อไม่ได้แล้วเพราะเป็นเวลานานเหลือเกิน คนแก่ที่ยืนจับไม้เท้าใส่ชุดสีขาวคือ ชูชก แสดงโดยนายคำ พรมหุ่ง ชาวคุ้มวัดมหาธาตุ เด็กผู้ชายที่แสดงเป็นชาลีคือ ด.ช.พูลสุข สุวรรณดี (แอ็ด) บ้านอยู้หน้าประตูวัดธาตุ และที่สำคัญที่ยืนอยู่คู่กับชาลี ก็คือ กัญหา นั้นแหละค่ะ เด็กหญิงรัตนมณี สายจันทร์ ลูกสาวคุณแม่แพงตา สาจันทร์ เกิดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2507
จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่วิทยาลัยครูเลย ปัจจุบันคือ นางรัตนมณี รัตนพีระพัฒน์ (ร้านสุพรรณี เชียงคานเทเลคอม)
ด้วย อนิสงฆ์แห่งบุญบารมีของคุณแม่แพงตา ที่อบรมสั่งสอนลูกให้รู้จักการทำบุญ การทำความดี การช่วยเหลือสังคม มาตั้งแต่เด็กๆ ข้าพเจ้ารู้สึกรักแม่ รักครอบครัว รักญาติพี่น้อง มีความรู้สึกเมตตา สงสาร ที่เห็นผู้อื่นได้รับความลำบาก เข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนาเป็นประจำ และร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับประเพณี วัฒนธรรม ของพื้นบ้านมาตลอด จนได้รับความไว้วางใจจากชาวคุ้มวัดป่ากลาง ให้เป็นประธานชุมชนคุ้มวัดป่ากลาง และมีความคิดว่าจะเจริญรอยตามคณแม่เท่าที่จะทำได้ และจะพยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุดให้สมกับที่ชาวคุมได้ให้ความไว้วางใจ และขอให้ทุกคนได้ร่วมแรงร่วมใจกัน รักษาขนบธรรมนียมประเพณีอันดีงามของราชาวเชียงคานไว้สืบไป

ที่มา นางรัตนมณี รัตนาพีระพัฒน์