กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 12

หัวข้อ: ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง

Threaded View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง

    ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง

    ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง

    ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง

    ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง

    ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง จัดให้มีขึ้นในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ณ วัดคลองครุ
    จังหวัดสมุทรสาคร
    ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวรามัญ ปฏิบัติเพื่อเป็นการบูชาพระสงฆ์
    การตักบาตรน้ำผึ้งนั้นชาวรามัญเชื่อว่ามีอานิสงส์มาก พระสงฆ์จะเก็บน้ำผึ้งไว้เพื่อใช้เป็นยาในคราวจำเป็น
    เพราะเป็นส่วนผสมของยาโบราณที่สำคัญ พระสงฆ์ไม่สามารถจัดหามาเองได้ ชาวบ้านจึงจัดให้มีการตักบาตร
    น้ำผึ้งขึ้น ความเชื่อในเรื่องการถวายน้ำผึ้งแก่พระภิกษุสงฆ์แล้วได้อานิสงส์มากนั้น สืบเนื่องมาจาก
    ตำนานที่ว่า ในสมัยพระทีปังกรพุทธเจ้า มีพระปัจเจกโพธิรูปหนึ่งอาพาธ ประสงค์ที่จะได้น้ำผึ้งมาผสมโอสถ
    เพื่อบำบัดอาการอาพาธ
    วันหนึ่งได้ไปบิณฑบาตในชนบทใกล้ชายป่า ขณะที่พระปัจเจกโพธิกำลังโปรดสัตว์อยู่นั้น ได้พบชายชาวบ้านป่า
    เกิดกุศลจิตขึ้นกับชายผู้นั้นหวังที่จะถวายทานแด่พระปัจเจกโพธิ แต่ด้วยตนเองยากจน
    ไม่มีอาหารอื่นใดจะถวายพระนอกจากน้ำผึ้งจำนวนหนึ่ง ด้วยจิตศรัทธาอย่างเปี่ยมล้นและสูงส่งของชายผู้นั้น
    เมื่อรินน้ำผึ้งลงในบาตรของพระปัจเจกโพธิ เกิดปรากฏการณ์อัศจรรย์คือ น้ำผึ้งเกิดเพิ่มพูนขึ้นจน
    เต็มบาตรและล้นบาตรในที่สุด ขณะนั้นมีหญิงชาวบ้านคนหนึ่งกำลังทอผ้าเห็นน้ำผึ้งล้นบาตร ด้วยจิตศรัทธา
    ในพระปัจเจกโพธิ เกรงว่าน้ำผึ้งจะเปื้อนมือพระ จึงรีบนำผ้าที่ทอแล้วถวายแด่พระปัจเจกโพธิ
    เพื่อซับน้ำผึ้งที่ล้นนั้น ชายผู้นั้นอธิษฐานด้วยอานิสงส์แห่งการถวายน้ำผึ้งเป็นทาน
    ขอเป็นพลังปัจจัยให้ได้เกิด เป็นผู้มั่งคั่งเป็นผู้มีอำนาจ
    ส่วนหญิงที่ถวายผ้าได้อธิษฐานขอให้ได้เกิดเป็นผู้ที่มีความงามและมีโภคยทรัพย์
    ต่อมาเมื่อทั้งสองมรณะแล้วได้อุบัติใหม่ในโลกมนุษย์
    ชายผู้ถวายน้ำผึ้งได้บังเกิดเป็นพระราชาผู้มีความเข้มแข็ง และมั่งคั่ง
    ส่วนหญิงผู้ถวายผ้าได้บังเกิดเป็นธิดาของพระราชาอีกเมืองหนึ่ง มีความงามและความมั่งคั่งเช่นกัน
    นอกจากนี้อานิสงส์ของการถวายน้ำผึ้งนี้มีตำนานที่เกี่ยวกับพระฉิมพลี หรือพระสิวลีอีกทาง หนึ่งว่า
    ในอดีตกาลครั้งที่มีพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า \"พระวิปัสสี\"
    พระสิวลีได้ถือกำหนดเป็นชาวบ้านนอก ในชนบท วันหนึ่งได้ไปในเมืองระหว่างทางกลางป่านั้นได้พบรวงผึ้ง
    จึงไล่ตัวผึ้งให้หนีไปแล้วตัดกิ่งไม้ถือรวง ผึ้งเข้าไปในเมือง
    ในพระนครขณะนั้นพระราชาและชาวเมืองกำลังแข่งกันทำบุญถวายทานแด่พระวิปัสสี สัมมาสัมพุทธเจ้า
    พร้อมด้วยพระสงฆ์ โดยจัดสรรสิ่งของวัตถุทานอันประณีตถวาย ถวายแข่งกันถึง ๖ ครั้ง ก็ไม่มีใครแพ้ใครชนะ
    ชาวเมืองจึงช่วยกันตรวจดูสิ่งของวัตถุทานที่ถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้าว่าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งบ้าง
    พร้อมทั้งให้คนไปดูที่ประตูเมืองว่าจะมีใครนำสิ่งของอันนอกเหนือจากที่มีอยู่มาขายบ้าง เพราะ
    เกรงว่าพระราชาจะซื้อสิ่งของเหล่านั้นแล้วนำมาถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้า ฝ่ายตนก็จะแพ้ในการถวายทานใน
    ครั้งนี้ ขณะนั้นชาวบ้านนอกที่ถือรวงผึ้งเดินเข้าประตูเมืองมา
    คนเฝ้าประตูเห็นเข้าจึงขอซื้อรวงผึ้งในราคาที่สูงมาก เพราะไม่มีใครนำรวงผึ้งมาถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้าเลย
    ชายผู้เป็นเจ้าของรวงผึ้งสงสัยจึงถามขึ้น ชายผู้ขอซื้อจึงเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังโดยตลอด
    ชายผู้เป็นเจ้าของรวงผึ้งไม่ยอมขายแต่ขอร่วมถวายทานแด่ พระวิปัสสีพุทธเจ้าด้วย
    ชาวเมืองต่างก็ปลื้มปิติและยินดีกับเจ้าของรวงผึ้งนั้น จึงช่วยกันนำรวงผึ้งมาบีบคั้น
    น้ำผึ้งใส่ถาดทองคำใบใหญ่ผสมกับนมเนยคลุกเคล้ากันจนรสดี เสร็จแล้วจึงนำน้ำผึ้งผสมรสดีไปถวายพระ
    วิปัสสีพุทธเจ้าและพระสงฆ์ทั้งหลายอย่างทั่วถึง และด้วยอานิสงส์ของการถวายทานด้วยน้ำผึ้งครั้งนี้
    เมื่อสิ้นอายุขัยของชายผู้เป็นเจ้าของ รวงผึ้งแล้วได้บังเกิดในเทวโลกท่องเที่ยวเสวยสุขอยู่ช้านาน
    จึงจุติมาเป็นพระราชาในกรุงพาราณสี และเมื่อ
    พระราชาสิ้นพระชนม์แล้วได้อุบัติมาเป็นพระราชกุมารในราชวงศ์ศากยราช มีพระมารดาทรงพระนามว่า
    พระนางสุปปวาสา บันดาลโชคลาภให้แก่พระบิดาและพระมารดาเป็นอันมาก เมื่อประสูติแล้วจึงได้รับพระ นามว่า
    \"สิวลีกุมาร\" เมื่อเจริญวัยแล้วได้ออกผนวชในสำนักของพระสารีบุตร
    และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ สมบูรณ์ด้วยปัจจัยลาภ และในสมัยพุทธกาล ขณะที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ
    วัดป่าเลไลยก์ ในขณะที่ออก เทศนาโปรดสัตว์ให้หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
    ปรากฏว่ามีสัตว์น้อยใหญ่นำผลไม้และน้ำผึ้งมาถวาย เพื่อให้ พระองค์ได้เสวยประทังชีวิต
    มนุษย์จึงถือว่าน้ำผึ้งเป็นทิพย์โอสถที่สามารถนำมาบริโภคบำรุงชีวิตให้แข็งแรงและยืนยาวปราศจากโรคภัยไข้เ
    จ็บทั้งปวง กล่าวได้ว่า น้ำผึ้งเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาตั้งแต่สมัยโบราณ ประเพณี
    ตักบาตรน้ำผึ้งของชาวรามัญจึงถือกำหนดขึ้นมาจากตำนานและความเชื่อที่กล่าวมาข้างต้น
    ในปัจจุบันนี้น้ำผึ้งเริ่มหายากขึ้น ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งจึงค่อยๆ เลือนหายไป และผู้คนที่
    มาทำบุญก็เริ่มเปลี่ยนจากน้ำผึ้งมาเป็นน้ำตาลทรายบ้าง น้ำหวานบ้าง
    แต่ก็ยังคงมีผู้ที่นำน้ำผึ้งมาทำบุญตาม ประเพณีอยู่ทางจังหวัดสมุทรสาครจึงได้ร่วมกับวัดคลองครุทำการฟื้นฟูและอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัด คือ
    ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งขึ้นเพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้คนรุ่นหลังได้เห็นและ
    เข้าใจถึงคุณค่าของวัฒนธรรมอันดีงามของจังหวัดสมุทรสาครต่อไป
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nuzing; 20-07-2009 at 19:43.
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •