โชว์วัฒนธรรมฯรับลมหนาว สืบสานตำนานอวดชาวโลก
"ยี่เป็ง? เป็นประเพณีลอยกระทงตามประเพณีล้านนาที่จัดทำขึ้นในวันเพ็ญเดือน 2 ของชาวล้านนา ยี่เป็ง เป็นภาษาคำเมืองในภาคเหนือ คำว่า ?ยี่? แปลว่า สอง และคำว่า ?เป็ง? ตรงกับคำว่า ?เพ็ญ? หรือพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งชาวไทยในภาคเหนือจะนับเดือนทางจันทรคติเร็วกว่าไทยภาคกลาง 2 เดือน ทำให้เดือนสิบสองของไทยภาคกลาง ตรงกับเดือนยี่ หรือเดือน 2 ของไทยล้านนา ประเพณียี่เป็งจะเริ่มตั้ง แต่วันขึ้น 13 ค่ำ ซึ่งถือว่าเป็น ?วันดา? หรือวันจ่าย

ประเพณี ''ยี่เป็ง''

ประเพณี ''ยี่เป็ง''

ของ เตรียม ไปทำบุญเลี้ยงพระที่ วัด พอถึงวันขึ้น 14 ค่ำ พ่ออุ้ยแม่อุ้ยตลอดจนผู้มีจิตศรัทธาก็จะพากันไปถือศีล ฟังธรรม และทำบุญเลี้ยงพระ ที่วัด มีการทำกระทงขนาดใหญ่ตั้งไว้ที่ลานวัด ในกระทงนั้นจะใส่ของกินของใช้ ใครจะเอาของมาร่วมสมทบด้วยก็ได้เพื่อเป็นทานแก่คนยากจน ครั้นถึงวันขึ้น 15 ค่ำ จึงนำกระทง ใหญ่ที่วัด และกระทง เล็ก ๆ ของส่วนตัวไปลอยในลำน้ำในท้องถิ่นของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะลอยในลำน้ำแม่ระมิงค์ หรือแม่น้ำปิงที่เปรียบเสมือนสายโลหิตใหญ่หล่อเลี้ยงชาวเชียงใหม่และแผ่นดิน ล้านนามาหลายชั่วอายุคน

ประเพณี ''ยี่เป็ง''

ประเพณี ''ยี่เป็ง''

สำหรับงานบุญประเพณียี่เป็งนอกจากจะ มีการปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามต่าง ๆ แล้ว ยังมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน และถนนหนทางด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา พอตกกลางคืนก็จะมีมหรสพและการละเล่นมากมาย มีการแห่โคมไฟพร้อมกับมีการจุดประทีป หรือผางปะติ๊บ เพื่อบูชาพระรัตนตรัย การจุดบอกไฟ หรือดอกไม้ไฟ การจุดโคมไฟประดับตกแต่งตามวัดวาอาราม และการปล่อยโคมลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ ชั้นดาว ดึงส์ตามประ เพณีที่สืบต่อกันมาหลายร้อยปีในแผ่นดินล้านนา

ประเพณี ''ยี่เป็ง''

ประเพณี ''ยี่เป็ง''