สมัยทวารวดี

การแต่งกายของบุคคลสมัยทวารวดี พิจารณาจากภาพประติมากรรมตกแต่ง โบราณสถานต่างๆ ซึ่งกรมศิลปกร ขุดได้จากตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรีและ อำเภอ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี แสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมของทวารวดี มีลักษณะคล้ายคลึง กับวัฒนธรรมของชาวอินเดีย

การแต่งกายของไทยสมัยทวารวดี สมัยศรีวิชัย

การแต่งกายที่กรมศิลปกรจัดทำขึ้นจาก แบบอย่างประติมากรรมในชุดนี้ แสดงให้เห็น ตอนนำเครื่องสักการะ ไปบูชาพระพุทธรูป สตรีชาวทวารวดีส่วนใหญ่ทำผมเกล้ามวย หรือถักเปียเป็นจอมสูงขึ้นไปเหนือศรีษะ รัดตรงกลาง ให้ตอนบนสยายออก เป็นแฉกๆ อย่างน่าชม บางครั้งก็พบว่าถักเปียจัดเรียงเป็นเส้นลงมา เป็นกรอบวงหน้า นิยมประดับ ด้วยต่างห ูทำเป็นแผ่นกลมหรือห่วงกลม ตกแต่งส่วนคอด้วย สายสร้อย ทำเป็น แผ่นทับทรวง เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนม เปียกปูน จำหลักเป็นลวดลายนก ไม่นิยม การสวมเสื้อ ใช้ผ้าสะพายเฉียงบางๆ เฉวียงบ่าซ้ายไพล่ มาข้างขวา ประดับต้นแขน ด้วยกำไรเล็กๆ ซึ่งทำด้วยทองคำสำริดและลูกปัดมีค่าสีต่างๆ ไม่สวมรองเท้า นุ่งผ้าผืนเดียวทับซ้อนกัน ข้างหน้า แล้วทิ้งชายแนบลำตัว

สมัยศรีวิชัย

การแต่งกายของชาวศรีวิชัย ซึ่งอาศัยอยู่ในแหลมมาลายู เกาะสุมาตตราและชวา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-17 ส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายคลึงกับอินเดีย กรมศิลปกร ได้จัดเครื่องเเต่งกายเลียนเเบบประติมากรรม ที่พบในสมัยนี้สมมติ เป็นชาวศรีวิชัยฐานะ ต่างๆ ถือดอกไม้ ธูป เทียน เดินทักษิณาวัฏรอบองค์พระบรมธาตุไชยา อันเป็นปูชนียสถาน ที่สำคัญ ในสมัยนั้น

การแต่งกายของไทยสมัยทวารวดี สมัยศรีวิชัย

การแต่งกายของสตรี นิยมเกล้าผมยาวทำเป็นรูปพุ่มทรงข้าวบิณฑ์สามกลีบ แล้วเกล้าผมสูงเป็นลำขึ้นไป รวบผมด้วยรัดเกล้า ปล่อยชายปรกลงมาด้านหน้า บางทีทำทรงผมมุ่นมวยเป็นทรงกลมเหนือศรีษะ แต่ใช้รัดเกล้า รัดเป็นชั้นๆ แล้วปล่อยชายผม ให้ประบ่าทั้งสองข้าง ผู้หญิงสมัยนี้ชอบตกแต่งด้วยต่างหูแผ่นกลม จำหลักเป็น กลีบดอกไม้ขนาดใหญ่บ้างทำเป็นลายเชิงกรวยหรือก้านต่อ ดอกบ้าง ตบแต่งลำคอด้วยกรองคอเส้นเกลี้ยง มีทับทรวงประบ่า ลำแขน ประดับด้วยทองกร หรือพาหุรัดทำด้วยโลหะลูกปัด ร้อยเป็นพวงอุบะ นุ่งผ้าครึ่งแข้ง มีปลายบาน ยกขอบก็มี ที่นุ่งผ้าผืนยาวบางแนบเนื้อ คล้ายของผู้ชายก็มี ขอบผ้าชั้นบนทำเป็นวงโค้ง เห็นส่วน ท้องบางทีมีเข็มขัดผ้า ปล่อยชายลงไปทางด้านขวา นิยมใส่กำไรมือและเท้า