การฟ้อนรำพื้นบ้านอีสาน เซิ้งสวิง


สวิง เป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ำ ซึ่งผู้หญิงนิยมใช้ โดยใช้สวิงช้อน หรือตวัดวนไปมาเพื่อจับสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ฮวก(ลูกอ๊อด) แมงระงำ(ตัวอ่อนของแมลงปอ) ปลาตัวเล็กๆ เป็นต้น

การรำเซิ้ง ดั้งเดิม มีเฉพาะเซิ้งบั้งไฟ ซึ่งมีจังหวะดนตรีสนุกสนานไม่ช้า ไม่เร็วมาก เรียกจังหวะแบบนี้ว่า จังหวะเซิ้ง

เซิ้งสวิง เป็นการฟ้อนรำที่จำลอง หรือเล่าเรื่องราวการหาสัตว์น้ำของชาวบ้าน โดยใช้สวิงเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือ แสดงคู่ชาย-หญิง ก็ได้ หรือ แสดงเพียงผู้หญิงเท่านั้น ก็ได้

เซิ้งสวิงมีการประยุกต์กันมาเรื่อยๆ และในปี พ.ศ. 2515 ทางกรมศิลปากรจึงได้นำท่าฟ้อนของท้องถิ่นอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ มาปรับปรุงให้มีท่วงท่ากระฉับกระเฉงขึ้น ท่าฟ้อนจะแสดงให้เห็นถึงการออกไปหาปลา การช้อนปลา จับปลา และดีอกดีใจเมื่อหาปลาได้มากๆ ผู้แสดงฝ่ายหญิงจะเป็นผู้ถือสวิงไปช้อนปลา ส่วนฝ่ายชายจะนำข้องไปคอยใส่ปลาที่ฝ่ายหญิงจับได้

ดนตรี ใช้ลาย เซิ้งสวิง

ฟ้อนสวิง

อุปกรณ์ ฝ่ายหญิงถือสวิง, ชายสะพายข้อง

การแต่งกาย
- ฝ่ายหญิงสวมเสื้อแขนกระบอกคอกลม นุ่งซิ่นมัดหมี่ เกล้าผมมวยทัดดอกไม้
- ฝ่ายชายสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงขาก๊วย เอาผ้าขาวม้าคาดพุง

ฟ้อนสวิง


[WMA]paulpan/%E0%BE%C5%A7%BA%C3%C3%E0%C5%A7%CD%D5%CA%D2%B9/%E2%BB%A7%C5%D2%A7%C5%D2%C2%E0%AB%D4%E9%A7%CA%C7%D4%A7.wma[/WMA]


ที่มา อีสานคลับจุฬา