การฟ้อนรำพื้นบ้านอีสาน เซิ้งแหย่ไข่มดแดง

อาหารอีสานส่วนใหญ่จะได้มาจากธรรมชาติ ทั้งที่เป็นสัตว์เล็ก สัตว์น้อย และพืชพันธุ์ต่างๆ นับได้ว่าชาวอีสานเป็นนักกินผู้หนึ่งทีเดียว ไข่มดแดงนับเป็นอาหารประจำถิ่นอีสาน จนสามารถนำมาขายจนกลายเป็นอาชีพได้ ทางภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูบุรีรัมย์(ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์) เห็นว่าควรจะอนุรักษ์อาชีพแหย่ไข่มดแดงนี้ในรูปของการแสดง จึงได้ทำการศึกษาถึงขั้นตอนการนำไข่มดแดงลงมาของชาวบ้าน โดยอาจารย์ประชัน คะเนวัน และอาจารย์ดรรชนี อุบลเลิศ เป็นผู้เขียนรายละเอียดของขั้นตอนการแหย่ไข่มดแดงโดยละเอียด การแสดงเซิ้งแหย่ไข่มดแดงเป็นการอนุรักษ์อาชีพของชาวอีสานอย่างหนึ่ง

เครื่องแต่งกาย ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย เสื้อคอกลมแขนสั้น มีผ้าขาวม้าคาดเอว และใช้ผ้าขาวม้าโพกศีรษะ ฝ่ายหญิงสวมเสื้อแขนกระบอก 3 ส่วนคอกลม ห่มสไบ นุ่งผ้าซิ่นมัด
หมี่สั้นแค่เข่า

ฟ้อนแหย่ไข่มดแดง

เครื่องดนตรี ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนจะใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานลายเซิ้ง

อุปกรณ์สำหรับการแสดง ครุใส่น้ำ ตะกร้าผูกปลายไม้ยาว ผ้าสำหรับกวนมดแดง การจัดการแสดงลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้

เดินทางออกจากบ้าน หญิงถือครุใส่น้ำ ชายถือไม้ยาวสำหรับแหย่รังมดแดง และเหน็บผ้าสำหรับกวนมดแดง มองหารังมดแดง แหย่มดแดงได้เทลงในครุใส่น้ำ
นำผ้ากวนมดแดง เพื่อแยกตัวมดออกจากไข่มดแดง เทน้ำออกจากครุ
เก็บอุปกรณ์เดินทางกลับบ้าน



[WMA]paulpan/%E0%BE%C5%A7%BA%C3%C3%E0%C5%A7%CD%D5%CA%D2%B9/%E2%BB%A7%C5%D2%A7%BA%C3%C3%E0%C5%A7%20-%20%E1%CB%C2%E8%E4%A2%E8%C1%B4%E1%B4%A7.wma[/WMA]