ดื่ม ชาเขียว ชาดำ ชาขาว หรือ ชาแดง



ปัจจุบันนี้คนไทยเรามีการนิยมดื่มชากันมากขึ้นเพราะเชื่อว่า จะเป็นผลดี และเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ จนกระทั่งมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับชาหลายชนิดให้เลือกจนเลือกกันไม่ถูก ทั้งที่เป็นเครื่องดื่ม หรือการนำชาเขียวเป็นส่วนผสมใส่ในอาหารต่างๆ เช่น เค้ก ไอศกรีมชาเขียว นมชาเขียว ขนมปังชาเขียว ดิฉันเองก็เป็นคนหนึ่งที่สนใจเรื่องชาจนมีหลายคนถามถึงว่า การใส่ชาเขียวลงในเครื่องสำอางต่างๆ เช่น สบู่, แชมพู, ครีมบำรุงผิวต่างๆ นั้นได้ประโยชน์จริงๆ หรือ วันนี้เราลองมาดูกันเกี่ยวกับเรื่องชาว่าเป็นอย่างไรกัน

ชาทุกชนิดจะทำมาจากต้นชาที่มีชื่อว่า Camellia sinensis ส่วนชื่อที่เรียกต่างกันนั้นเนื่องจากขบวนการผลิตภัณฑ์ใบชาที่ต่างกัน ชาเขียว (green tea) นั้นจะเอาใบชามาอบ (steam) และทำให้แห้ง (dry) ซึ่งเป็นขบวนการที่ยังทำให้ใบชามีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) พวก โพลีฟีนอลส์ (polyphenols) อยู่ ส่วน ชาดำ (black tea) นั้นจะผ่านขบวนการอ็อกซิเดชั่น (oxidation) ต่อไปทำให้มีการลดลงของสารต้านอนุมูลอิสระ ชาอูหลง (Oolong) จะผ่านขบวนการผลิตที่อยู่ระหว่างชาเขียว และชาดำทำให้รสชาติ กลิ่น สารต้านอนุมูลอิสระอยู่ระหว่างชาเขียว และชาดำด้วย
ชาขาว (white tea) นั้นผลิตจากประเทศจีน ที่มีขบวนการผลิตภัณฑ์ที่น้อยลงทำให้มีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาเขียว เวลาชงจะได้สีออกจางๆ และรสชาติที่นุ่มนวล ส่วนที่ได้ยินคำว่า
ชาแดง (red tea) นั้นก็มีความหมายหลายอย่างเหมือนกัน เป็นภาษาที่มาจากภาษาจีน ซึ่งตรงกับความหมายทางตะวันตกว่า ชาดำ (black tea) หมายถึง ชาอูหลง ดังที่ได้กล่าวข้างต้น หมายถึง "ชา" ที่ได้จากพืช Aspalanthus linearis ในอเมริกาตอนใต้ ซึ่งจะเห็นว่าจริงๆ แล้วไม่ใช่ชาเพราะชาที่แท้จริง (real tea ) ต้องได้จากพืช Camellia sinesis ซึ่งชาแดงชนิดนี้จะไม่มีคาเฟอีนและ
แทนนิน (tannins)


ปัจจุบันมีคนพยายามอ้างว่าเป็นน้ำดื่มสุขภาพ (health beverage) แต่ยังมีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับชาเขียว

สารที่อยู่ในใบชา
1 สารคาเฟอีน (caffeine) สารตัวนี้เป็นที่ถกเถียงกันในวงการแพทย์ว่ามีประโยชน์ หรือ โทษกันแน่ แต่โดยทั่วไปยอมรับกันว่าถ้าดื่มไม่เกินวันละ 200 มิลลิกรัม ก็ไม่มีผลเสียอะไร ซึ่งในปริมาณนี้จะเท่ากับการดื่มกาแฟประมาณวันละ 2 ถ้วย (ถ้วยละประมาณ 8 ออนซ์) เท่ากับชาวันละประมาณ 5 ถ้วย (ใบชาจะมีคาเฟอีนประมาณ 30-40% ของกาแฟ)
2 สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของต่างๆ ตัวที่สำคัญคือ กลุ่มโพล
3 ฟีนอลส์ (polyphenols) ที่เด่นๆ คือ epigallocatechin-3-gallate (EGCG หรือ catechins) ประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระนั้นมีมากมายตั้งแต่การป้องกันการเกิดโรคต่างๆ จนถึงมะเร็ง (รายละเอียดอ่านได้จากเรื่อง antioxidant cocktail ที่ผมเขียนไว้ในเล่มพฤษภาคมมาแล้ว)
4 สารแทนนิน (tannin) ซึ่งช่วยในการบรรเทาอาการท้องเสีย ควรต้มหรือแช่ชานานๆ เพื่อให้ได้สารแทนนิน
5 แร่ธาตุอื่นๆ เช่น ฟลูออไรด์ วิตามินเอ วิตามินบี 1 บี 2 และอื่นๆ อีกหลายชนิด
นอกจากนี้ก็ยังมีการใส่ชาเขียวลงในเครื่องสำอางต่างๆ เช่น สบู่, แชมพู, ครีมบำรุงผม นั้นยังไม่มีการทดสอบที่ดีพอทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในคนที่จะบอกว่าได้ผลจริง

ผู้ที่ควรระวังในการดื่มชา
โดยปกติแล้วถือว่าชาเป็นเครื่องดื่มที่มีความปลอดภัยสูง ยกเว้นในบางคนที่อาจโดนกระตุ้นด้วยสารคาเฟอีนง่าย (เช่นเดียวกับกาแฟ) ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ไทรอยด์ โรคกระเพาะ หรือคนที่นอนหลับยาก ก็ไม่ควรดื่มชา กาแฟ หลัง 18.00 (หรือ12.00) ด้วย

เดี๋ยวนี้เขามีมีชาเขียวขายเป็นแบบถุงเล็กๆ สำหรับแช่และราคาไม่แพงมากเหมือนสมัยก่อน เพราะบางคนบอกว่าการดื่มชาก็คล้ายๆ กับดื่มไวน์ในใบชาแต่ชนิดแม้จะพันธุ์เดียวกันแต่ปลูกในที่ต่างกัน หรือเก็บเกี่ยวในฤดูกาลที่ต่างกันก็จะให้รสที่ต่างกันด้วย



อ้างอิง numwan.com