กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: คนต่างด้าวขอแปลงและโอนสัญชาติเป็นคนไทย

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    คนต่างด้าวขอแปลงและโอนสัญชาติเป็นคนไทย

    คนต่างด้าวขอแปลงและโอนสัญชาติเป็นคนไทย



    การแนะนำว่าด้วยการยื่นคำร้องขอแปลงสัญชาติเป็นไทย(โดยย่อ)

    อาศัยอำนาจตามระเบียบไม่เกี่ยวกับคดีลักษณะ 88 ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 และกระทรวงมหาดไทยวางระเบียบกวดขันเรื่องการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ลงวันที่ 2 กันยายน 2512 ผู้ยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทยต้องมีคุณสมบัติอยู่ในเกณฑ์ ดังนี้

    1.ผู้ยื่นแปลงสัญชาติเป็นไทยต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยต่อเนื่องกันนาน 10 ปี อายุ 40ปี ถ้าต่ำกว่านั้นต้องมีเหตุอื่นประกอบ เช่น มีภรรยาเป็นคนสัญชาติไทยและมีบุตรเกิดในประเทศไทย หรือเป็นนักศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือ วิทยาลัยที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี

    2.ประกอบอาชีพเป็นหลักฐานมั่นคง ถ้าเป็นลูกจ้างหรือพนักงาน ต้องมีรายได้เดือนละ 5,000 บาท ขึ้นไป

    3.ไม่เคยมีประวัติต้องโทษ เว้นประมาทหรือลหุโทษ แต่ไม่เกิน 2 ครั้ง
    4.พูดและฟังภาษาไทยเข้าใจ


    หลักฐานประกอบการยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย

    1.ถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านทั้งครอบครัว มีชื่อผู้ยื่นคำขอฯภรรยา และบุตรทุกคน รวม 1 ชุด

    2.ถ่ายรูปผู้ยื่นคำขอฯ ขนาด 2 นิ้วครึ่ง จำนวน 12 รูป ชายแต่งชุดสากล หรือชุดพระราชทาน หญิงแต่งกายสุภาพ

    3.ถ่ายใบเสร็จภาษีเงินได้ ภ.ง.ด.90หรือ91ประจำปี พ.ศ.2522-2533-2534 หรือนำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 90 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร มาประกอบ

    4 นำใบเสร็จหรือบัตรอนุโมทนาบัตรที่เคยบริจาคเงินบำรุงการกุศลสาธารณะประโยชน์ต่างๆรวบรวมมาให้มาก

    5.นำใบเสร็จค่าเล่าเรียน หรือ หนังสือรับรองการเรียนของบุตรซึ่งกำลังเรียนมาประกอบหากบุตรจบการศึกษาแล้วให้ถ่ายประกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตรมาประกอบคนละ 1 แผ่น

    6.ถ่ายสูจิบัตร (ใบเกิด) ของบุตรมาประกอบคนละ 1 แผ่น หรือถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของบุตร ด้านหน้า - หลัง คนละ 1 แผ่น หากเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ให้ถ่ายมาด้วย

    7.ถ่ายใบสำเนาการสมรส ( ด.ร.3 ) 1 แผ่น ( มีภรรยาเป็นคนไทย ต้องจดทะเบียนสมรสก่อนยื่นคำขอฯ )

    8.ถ่ายใบทะเบียนการค้า ใบทะเบียนพาณิชย์ หนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนฯ หรือบริษัท ( ถ้ามีอย่างใดให้ถ่ายประกอบเรื่องอย่างละ 1 แผ่น )

    9.นำหนังสือรับรองเงินฝากธนาคาร ให้ธนาคารที่เปิดบัญชีฝากเงินไว้ออกหนังสือรับรอง หรือถ่ายสมุดฝากเงินธนาคาร หน้าที่มีชื่อและหน้าที่มียอดฝากครั้งสุดท้ายประกอบ

    10.ถ้าเป็นลูกจ้าง หรือพนักงาน ให้บริษัทฯห้างฯหรือสำนักงานออกหนังสือรับรองหน้าที่ และเงินเดือนที่ได้รับ โดยทำหนังสือถึงสารวัตร แผนก 1 กองกำกับการ 3 กองตำรวจสันติบาลพร้อมกับถ่ายใบทะเบียนการค้าฯทะเบียนพาณิชย์ หนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนฯ หรือบริษัทฯ (ผู้ลงชื่อรับรองต้องเป็นผู้มีอำนาจผูกพันกับสถานประกอบการนั้น)

    11.ถ่ายใบอนุญาตทำงาน 1 ชุด หน้า 2 - 3 -4 - 5 และหน้าอื่นๆ ที่ลงรายการไว้ อนึ่ง ใบอนุญาตทำงานลงตำแหน่ง อาชีพหรือวิชาชีพ ลักษณะของงาน ท้องที่ที่ได้รับอนุญาต ชื่อนายจ้าง หรือสถานที่ทำงานจะต้องตรงกับอาชีพปัจจุบัน

    12.คำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ( ป.ช.1 ) หน้าที่ 4 ต้องมีผู้รับรอง 2 คน มีสัญชาติไทยลงชื่อ รับรอง และผู้รับรองต้องมาให้เจ้าหน้าที่ทำการสอบสวน เพื่อยื่นยันหลักทรัพย์ และความ ประพฤติของผู้ขอแปลงสัญชาติ

    13.ถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของภรรยา ด้านหน้า - หลัง 1 แผ่น

    14.ถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวทุกหน้าที่มีการบันทึก รวม 2 ชุด

    15.ถ่ายบัตรประจำตัวผู้รับรองด้านหน้า และหลังคนละ 1 แผ่น

    16.วันมายื่นคำร้องฯต้องนำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ใบอนุญาตทำงาน และสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านมาด้วย


    การพิสูจน์สัญชาติ
    มีเงื่อนไขดังนี้

    ?บุตรของต่างด้าวที่เกิดในต่างประเทศ มีสัญชาติเป็นชาวต่างชาติ

    ?บิดาหรือมารดาคนหนึ่งคนใดต้องมีสัญชาติไทยขั้นตอนของการขอพิสูจน์สัญชาติบุตรซึ่งเป็นคน ต่างด้าวเป็นคนไทย

    ?ขอพิสูจน์สัญชาติที่กองตรวจคนเข้าเมือง

    ?ยื่นคำร้องที่ทำการอำเภอและจังหวัดที่บิดาหรือมารดาสัญชาติไทยมีภูมิลำเนาอยู่ในทะเบียน บ้าน

    ?กระทรวงมหาดไทยอนุญาตแล้วและจะกลับมาอำเภอและจังหวัดที่ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน ของบิดาหรือมารดาที่เป็นคนไทย เพื่อเข้าชื่อบุตรต่างด้าวในทะเบียนบ้าน



    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวจอหอ
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    ayutthaya
    กระทู้
    316

    คนต่างด้าวขอแปลงและโอนสัญชาติเป็นสัญชาติไทย

    การได้มาซึ่งสัญชาติไทย
    1.การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด
    2.การได้สัญชาติไทยภายหลังการเกิด
    3.การเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน
    4.การได้สัญชาติโดยคำสั่งของฝ่ายบริหาร

    สำหรับคนต่างด้าวที่จะขอแปลงและโอนสัญชาติมาเป็นสัญชาติไทย ได้ตามข้อ 2.คือการได้สัญชาติไทยภายหลังการเกิด ได้แก่
    1.การได้สัญชาติโดยการสมรส คือการถือสัญชาติของหญิงชาวต่างชาติตามสามีที่เป็นคนไทย แต่การสมรสกับสามีที่เป็นคนไทยการสมรสไม่เป็นผลทำให้ผู้นั้นได้สัญชาติไทยตามสามีโดยทันที แต่ต้องอาศัยเจตนาของหญิงนั้นประกอบด้วย และเป็นดุลพินิจของฝ่ายปกครองที่จะออกคำสั่งทางปกครองที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้หญิงนั้นได้สัญชาติไทย จะเห็นได้ว่าการอนุญาตหรือไม่อนุญาตเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุด
    มีข้อสังเกตว่าการได้สัญชาติไทยโดยการสมรสนี้สงวนไว้เฉพาะกับหญิงต่างด้าวเท่านั้นหาได้ใช้กับชายต่างด้าวด้วยไม่ ชายต่างด้าวแม้จะสมรสกับหญิงไทยโดยชอบด้วยกฎหมายไทย ก็หามีผลทำให้ชายต่างด้าวนั้นได้รับสัญชาติไทยตามภริยาไปด้วยไม่ สำหรับการหย่า แม้หญิงที่สมรสกับสามีที่เป็นคนไทยและได้รับสัญชาติไทยแล้ว แม้ต่อมาคู่สมรสได้หย่าขาดจากกันฝ่ายหญิงก็ยังคงมีสัญชาติไทยต่อไป สัญชาติไทยของหญิงหาได้สิ้นสุดตามการสมรสไปไม่
    ตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 กฎหมายยอมรับวิธีการแปลงสัญชาติออกเป็น 2 ประเภทคือ
    1.การแปลงสัญชาติโดยวิธีปกติ จะมีเงื่อนไขที่ค่อนข้างเคร่งครัดมาก
    2.การแปลงสัญชาติโดยวิธีพิเศษ นั้นจะสงวนไว้เฉพาะกับบุคคลที่มีคุณสมบัติเฉพาะเจาะจงตามที่กฎหมายระบุไว้เท่านั้นคือ ต้องเป็นบุคคลที่ได้ทำคุณงามความดีให้กับประเทศไทยหรือเป็นบุตรหรือภริยาของผู้ที่ได้ขอแปลงสัญชาติไทย หรือเคยเป็นคนไทยมาก่อนและต่อมาได้เสียสัญชาติไปไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม
    ที่สำคัญที่สุดคือการได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติจะมีผลก็ต่อเมื่อคำสั่งทางปกครองที่ออกโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ตราบใดที่คำสั่งดังกล่าวยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาจะถือว่าคนต่างด้าวผู้นั้นมีสัญชาติไทยไม่ได้

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •