กำลังแสดงผล 1 ถึง 7 จากทั้งหมด 7

หัวข้อ: รำตรด

  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ อาเจา
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    155

    รำตรด

    อาเจาต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย ที่เอาหัวข้อ รำตรด มาตั้งกระทู้
    รำตรด (เรือมตรด) เป็นการละเล่นโบราณที่ชนพื้นเมืองเขมรแถบอีสานใต้เช่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษบางส่วน ใด้พากันเล่น ส่วนมากที่อาเจาเห็นก็คือช่วงเดือนเมษา กรกฏา แต่เดี๋ยวนี้หายากเต็มทีที่จะได้เห็นการละเล่นประเภทนี้ อาเจาอยากขอวอนท่านที่มี่ข้อมูลเกี่ยวกับการรำตรด(เรือมตรด)ช่วยกันอนุรักษ์ศิลปการละเล่นพื้นบ้านอันนี้ ซึ่งนับวันแทบไม่มีผู้คนใด้รู้จัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องที่ไม่ใช่คนพื้นที่ ก็แทบจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีการละเล่นประเภทนี้อยู่ในโลก ขอความกรุณาด้วยนะครับ ช่วยกันอนุรักษ์ศิลปะ รำตรด ของอีสานไต้ไว้ให้ลูกหลานใด้รับรู้ ก่อนที่คำว่า รำตรด จะเลือนลางหายไป .. อาเจาก็เชื่อเหมือนกันว่าท่านก็เป็นคนหนึ่งหละ ที่ไม่เคยใด้ยินการละเล่น รำตรด ว่าคืออะไร วอนท่านผู้รู้ช่วยกันเผยแพร่ด้วยนะครับ . อาเจาขอขอบคุณทุกท่านที่อุตส่าห์เสียสละเวลามารับรู้เรื่องราวที่กำลังจะเป็นอดีต..

  2. #2
    ศิลปิน,ช่างภาพอิสระ สัญลักษณ์ของ เพ็นนี
    วันที่สมัคร
    May 2009
    ที่อยู่
    Bangkok
    กระทู้
    1,308
    บล็อก
    2
    รำตรด...เพ็นนีเคยเห็นน่ะ ส่วนมากจะเล่นกันในช่วงสงกรานต์
    คล้ายๆกับการรำขอข้าว พอได้ข้าวหรือเงินมาก็จะเอาไปทำบุญ....


    เอิ้ก...ไม่ค่อยรู้วัฒนะธรรมประเพณีแถวบ้านเหมือนกัน...ย้อนมายุห้วยขวงด่นแล้ว...พะนะ

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ทิดแหล่
    วันที่สมัคร
    Jun 2008
    กระทู้
    435
    รำตรด หรือ เรือมตรด (เรือม ภาษาเขมรแปลว่า รำ , ตรด -อ่านออกเสียงควบกล้ำตามแบบฉบับภาษาเขมรนะครับ- อันนี้ไม่ทราบความหมายที่ชัดเจนนะครับ

    เท่าที่ผมจำความได้ ก็เคยเห็นเขา เรือมตรด ช่วงสงกรานต์ เหมือน เพ็นนี ว่านั่นแหละ ชาวบ้านก็จะรวมตัวกัน สี่ห้าคนขึ้นไป มีกลอง ฉิ่ง ฉาบ ที่ขาดไม่ได้ก็คือบาตรพระ เดินอุ้มไปตามบ้านเรือน ร้อง ลำ ทำ เพลงไปตามเรื่อง รับบริจาคตามกำลังศรัทธา หลังละบาท สองบาท (เมื่อก่อนนะครับ) ได้เงินมาก็เอาไปถวายพระที่วัด อาจจะไม่ครบถ้วนหรอกครับ อาจจะต้องหักค่าน้ำเมรัยบ้าง(เรียกว่าค่าดำเนินการ)แต่ผู้คนก็ไม่ถือสาหรอกครับ ถือว่าเป็นช่วงทำบุญ ทำทาน พวกผมเป็นเด็กน้อย ก็จะคอยแห่ แหน ไปกับขบวนเขานั่นหล่ะ สนุกดีครับ บางครั้ง ผู้ใหญ่เขาสงสาร ก็แบ่งเงินซื้อลูกอมให้อมคนละเม็ด สองเม็ด แค่นั้นก็สนุกสนานตามประสาเด็กแล้วครับ

    เรือมตรด ของคนไทยอิสานใต้ อาจจะเปรียบได้กับ แห่กันหลอน ของคนไทยอิสาน ครับ

    ข้อมูลเพิ่มเติมครับ (วิชาการ)
    http://www.culture.go.th/knowledge/h...i/TPA/2077.pdf

  4. #4
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ อาเจา
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    155
    อาเจาต้องขอขอบคุณหลายๆเด้อครับที่นำข้อมูลดีๆมาให่

  5. #5
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ๛หนุ่มบ้านไกล๛
    วันที่สมัคร
    Apr 2009
    กระทู้
    764
    บล็อก
    8
    เป็นการละเล่นในช่วงสงกรานต์ ในลักษณะการบอกบุญ และหารายได้เพื่อสมทบทุนสร้างสิ่งสา
    ธารณะประโยชน์ต่าง ๆ ของชาวบ้าน แต่ทุกวันนี้หาดูได้ยากมาก

  6. #6
    Banned

    วันที่สมัคร
    Jul 2008
    ที่อยู่
    Oil Field เพชรบูรณ์/กำแพงแสน
    กระทู้
    469

    ยังจำได้

    เรือม ตรด .............
    คำนี้ชินหูมากถ้าเป็นคนพื้นเพ อิสานไต้ โดยเฉพาะชาวสุรินทร์เหลาบ้านผ้ม
    ช่วงหลังสงกรานต์จะมีการแห่เหมือนแห่บั้งไฟ(แต่ไม่ไช่) ในอดีตจะมีการนำศิลปะดนตรีอิสานไต้ประกอบการแห่ฟ้อนรำไปรอบหมู่บ้าน
    เพื่อ ขอจัตตุปัจจัย นำมาสมทบถวายวัดเป็นกองผ้าป่าเล็กๆ หรือ อาจนำไปเพื่อวัตถุประสงค์ที่เป็นประโยชน์ทางสังคมอื่นๆ ปีหนึ่งอาจมีคณะ ตรด หลายคณะหลายกอง แล้วแต่การเรียกชื่อคณะตรดก้อเรียกตามชื่อหัวหน้ากองตรดผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัด เช่น ตรดตามืน ตรดตาเรียม เหล่านี้เป็นต้น

    .....ข้อมูลทั้งหมดเอามาจากประสบการณ์ที่ได้สัมผัสกับวิถีพื้นบ้าน สุรินทร์ ล้วนๆไม่ได้อ้างอิงวิชาการใดๆ ขอบคุณครับ.....

  7. #7
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5
    มาอ่านรายละเอียดแล้งจั่งฮู่วิถีชีวิตพี่น้องทางอีสานใต้จ้า ยายหละหว่าแหม่น รำไป ตดไป คักๆ ไผสิมาบริจาคเนาะ ฮ่าๆๆ หามาๆจ้าแนวดีๆเบิ้ดแล้วบ้ออาเจา
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •