กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: ประวัติอำเภอกุมภวาปี

  1. #1
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ DK ยโสธร
    วันที่สมัคร
    Aug 2008
    กระทู้
    116

    ประวัติอำเภอกุมภวาปี

    กุมภวาปีมีฐานะเป็นเมือง จะตั้งเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่จากตำนานพื้นเมือง?ผาแดง-นางไอ่? ได้กล่าวว่า เมืองกุมภวาปีมีมาแต่สมัยขอมเรืองอำนาจในดินแดนนี้มีชื่อเดิมว่า?ชทีตานคร?หรือ?เพตานคร?ปกครองโดยพญานาคที่ปลอมตัวขึ้นมาดูความงามของนางไอ่คำ ต่อมาเมืองชทีตานครได้ล่มจม เพราะเกิดศึกชิงนางไอ่คำขึ้น ระหว่างท้าวผาแดงแห่งเมืองเผาพงศ์ ภูเขาควาย ประเทศลาว กับท้าวพังคี บุตรพญานาค แห่งเมืองนาตาล ศีกครั้งนั้นทำให้เมืองชทีตานครล่มจนกลายเป็นหนองหาน อ.กุมภวาปี เท่าทุกวันนี้
    เมื่อถึงปลายรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีกลุ่มชนจากท้องที่ต่างๆ เช่นกลุ่มของนายชาญ นางเลา หมื่นประเสริฐ ต้นตระกูล?ชาญนรา?และกลุ่มของมหาเสนาต้น ตระกูล?ฮามไสย์? เป็นต้น ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มน้ำหนองหาน เนื่องจากอยู่ใกล้หนองน้ำใหญ่ มีปลาชุกชุม ประชาชนจีงมีอาชีพปั้นหม้อดินเผา และจับปลาน้ำจืด หมู่บ้านนี้จึงมีชื่อว่า ?บ้านบึงหม้อ?
    ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระวรฤทธิฤาไชย ผู้ครองเมืองได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานตราตั้งชื่อเมืองนี้ เป็นทางการว่า ?กุมภวาปี? เพื่อให้สอดคล้องกับภูมิประเทศและชื่อหมู่บ้าน ซึ่งมาจากคำว่า?กุมภะ? แปลว่า หม้อ กับ ?วาปี? แปลว่าหนอง หรือบึง คำว่า ?กุมภวาปี? นามนี้ จึงปรากฏหลักฐานตั้งแต่นั้นมา และจากการบันทึกการเสด็จการครวจราชการ ของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรก ซึ่งได้มาตรวจราชการมณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ได้บันทึกเรื่องการเสด็จตรวจราชการและจัดพิมพ์ไว้ เมื่อปีวอก พ.ศ. 2463 มีความตอนหนึ่งว่า ??ข้ามห้วยอ้ายเต้นถึงเขตรเมืองกุมภวาปี เมืองนี้ยกเอาบ้านบึงหม้อ ตั้งขึ้นเปนเมือง เมื่อรัชกาลที่ 5 พระวรฤทธิฤาไชยผู้ว่าราชการเมืองกุมภวาปี มารับ?? นอกจากนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ยังได้เสด็จไปเที่ยวรอบหนองหาน และได้ทรงบันทึกเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับหนองหาร(ปัจจุบันเขียน?หนองหาน?) ไว้ว่า??..หนองหารนี้มีชื่อเสียงมาในพงศาวดารเป็นปนงใหญ่กว้างมาก มีชาวบ้านตั้งหาปลาอยู่โดยรอบ ทางเดินรอบหนองหารประมาณสองวัน มีท่าลงหนองที่บ้านเชียงแหว ระยะทางห่างจากเมืองกุมภวาปี 200 เส้น มีเกาะในหนองหาน เรียกกันว่า ?เกาะดอนแก้ว? มีหมู่บ้านและวัดบนเกาะนั้นด้วย น้ำหนองหารที่ไหลลงปาวไปตกลำพาชี เมืองกุมภวาปีมีราษฎรอยู่ประมาณ 6,000 คน มีชาวเมืองนครราชสีมา มาตั้งทำมาค้าขายอยู่หลายครัว?.? (อ.ทองไสย์ โสภารัตน์)
    ในปี พ.ศ. 2440 รัชการที่ 5 โปรดเกล้าฯให้กระทรวงมหาดไทย รวมเมืองกุมภวาปี หนองหาน หนองบัวลำภู และบ้านหมากแข้ง ตั้งขึ้นเป็นจังหวัดอุดรธานี เมืองกุมภวาปี จึงมีฐานะเป็นอำเภอ ขึ้นตรงต่อจังหวัดอุดรธานี โดยมีที่ว่าการอำเภอกุมภวาปี ตั้งอยู่ที่บริเวณโรงเรียนชุมชนบ้านน้ำฆ้อง(โรงเรียนอนุบาลกุมภวาปี-ปัจจุบัน) ตำบลพันดอน ปัจจุบันชาวบ้านนิยมเรียกว่า ?เมืองเก่า? และมีพระประสิทธิสรรพกร(บุปผา สีหะไตร) เป็นนายอำเภอคนแรก แบ่งการปกครองออกเป็น 5 ตำบลใหญ่ คือ ตำบลปะโค ตำบลพันดอน ตำบลอุ่มจาน ตำบลตูมใต้ และตำบลแชแล
    มีกำนันตำบลต่างๆ ตามลำดับดังนี้
    ตำบลปะโค ขุนปะโคคุณากร
    ตำบลพันดอน ขุนพันดอนดิสาร
    ตำบลอุ่มจาน ขุนอินทร์อุ่มจาน
    ตำบลตูมใต้ ขุนตูมคามิน
    ตำบลแชแล บุนระบิลแชแล
    ต่อมาระหว่าง พ.ศ. 2468 ? 2472 ร.อ.อ.หลวงนิคมพรรณาเขต (เขียน สีหะอำไพ)นายอำเภอคนที่ 9 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอกุมภวาปีจากบ้านน้ำฆ้อง มาตั้งที่บ้านดงเมือง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ?เมืองใหม่? ตำบลตูมใต้ (ตำบลกุมภวาปี ในบัจจุบัน) โดยมีเหตุผล 4 ประการคือ
    1. เพราะที่ตั้งเมืองเก่าเป็นที่ลุ่ม ถูกน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก และขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
    2. เพราะที่ตั้งเมืองใหม่ น้ำท่วมไม่ถึง ประกอบกับตั้งอยู่ริมน้ำปาว มีความอุดมสมบูรณ์ตลอดปี
    3. เพราะที่ตั้งเมืองใหม่ เป็นศูนย์กลางของทุกตำบล เหมาะแก่การขยายชุมชนใหม่ในอนาคต
    4. เพื่อสร้างเมืองใหม่รองรับกับทางรถไฟสายใหม่ ที่แยกจากเส้นทางอุดรธานีผ่านบ้านดงเมือง สู่สกลนครและนครพนม
    ต่อมาเมืองกุมภวาปีได้เจริญได้แตกเมืองต่างๆออกดังนี้
    1. แยกเป็นกิ่งอำเภอและเป็นอำเภอศรีธาตุ ปี พ.ศ. 2511
    2. แยกเป็นกิ่งอำเภอและเป็นอำเภอโนนสะอาด ปี พ.ศ. 2515
    3. แยกเป็นกิ่งอำเภอและเป็นอำเภอวังสามหมอ ปี พ.ศ. 2518
    4. แยกเป็นกิ่งอำเภอและเป็นอำเภอหนองแสง ปี พ.ศ. 2522
    5. แยกเป็นกิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคาร ปี พ.ศ. 2540

    พระมหาธาตุเจดีย์ หรือชื่อที่คุ้นหูของคนทั่วไปว่า ?พระธาตุดอนแก้ว?นั้น ประดิษฐานอยู่กลางวัดมหาธาตุเจดีย์บ้านดอนแก้ว หมู่ที่ ๕ ต.กุมภวาปี อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี เป็นเจดีย์ลักษณะทรงสี่เหลี่ยมคล้ายพระธาตุพนม สูงประมาณ ๑๘ วาเศษ ด้านทิศเหนือและทิศใต้กว้าง ๖ วา ๒ ศอก ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกกว้าง ๖ วาเศษ มีบันไดขึ้นลง ๒ ด้าน คือ ด้านทิศตะวันออกและด้านทิศตะวันตก
    องค์พระธาตุมีลักษณะการสร้าง ๒ ชั้นแต่ละชั้นมีภาพสลักเกี่ยวกับพุทธประวัติ เรื่องนรก-สวรรค์ วัสดุที่ใช้ก่อสร้างเป็นหินทรายรูปทรงสี่เหลี่ยมยาวประมาณ ๑ ศอก รอบนอกฉาบด้วยปูน สันนิษฐานว่าคงเป็นการซ่อมแซมในภายหลัง
    รององค์พระมหาธาตุเจดีย์มีใบเสมาและเสาหินตั้งอยู่ทั้งแปดทิศ มีลักษณะแปเหลี่ยมบ้างแบนบ้าง สูงตั้งแต่ ๒ - ๔ เมตร ปัจจุบันศิลปกรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ห่างจากองค์พระธาตุ ๑๕ - ๒๐ เส้น ก็ยังปรากฏอยู่ทั้งภายในและภายนอกวัด เข้าใจว่าเสาหินเหล่านี้คงเป็นเขตเมืองในยุคก่อนโน้น
    เสาหินเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าในยุคก่อนโน้นชุมชนแถบนี้คงมีความเจริญรุ่งเรืองมากและก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่วัดและบ้านที่มีความเจริญย่อมจะมีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ซึ่งเรื่องนี้อาจจะโยงไปผูกพันกับ ?หนองหาน? อันเป็นที่มาของนิยายรักปรัมปรา เรื่อง ?ผาแดง ? นางไอ่? ก็อาจเป็นได้
    นักโบราณคดีบางคนสันนิษฐานว่า พระธาตุดอนแก้ว ตลอดทั้งใบเสมาและเสาหินที่ปรากฏอยู่นั้น สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๓ หรือประมาณในพุทธศักราช ๑๑๐๐ - ๑๓๐๐ เพราะวัสดุที่ใช้ก่อสร้างเป็นหินทราย รวมทั้งภาพแกะสลักเป็นฝีมือช่างในสมัยทวารวดีตอนปลายหรือสมัยลพบุรีตอนต้น จึงแสดงให้เห็นว่าศิลปกรรมเหล่านี้มีมาก่อนปราสาทหินพิมาย ปราสาทเขาพนมรุ้ง หรือแม้แต่ปราสาทเขาพระวิหาร โดยมีทั้งตำนานและหลักฐานอ้างอิงจารึกไว้ว่า ?ได้มีพระอรหันต์คณะหนึ่งเดินทางไปนมัสการพระธาตุพนม กลับมาพระอริยเจ้าคณะนี้ได้เดินธุดงค์ผ่านหมู่บ้านดอนแก้วแต่ยังไม่พ้นหมู่บ้านก็มีพระอรหันต์รูปหนึ่งอาพาธขึ้นอย่างกระทันหัน และได้ละสังขารลงที่นี่ พระอรหันต์ที่เหลือจึงช่วยกันประชุมเพลิง และสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิของท่านไว้เมื่อปี พ.ศ. ๑๑ หลังสร้างพระธาตุพนมเสร็จ ๓ ปี จากนั้นเหล่าพระอรหันต์ก็เดินธุดงค์ต่อไป? ต่อมาเหตุการณ์บ้านเมืองก็เกิดความผันผวน องค์พระเจดีย์ใหญ่ถูกปล่อยทิ้งรกร้างมานาน ขณะนั้นเองได้มีพระธุดงค์ชาวเขมรรูปหนึ่งชื่อ ?หลวงปู่อุ้ม? เดินธุดงค์มาพบองค์พระเจดีย์ซึ่งอยู่ในสภาพปรักหักพัง หมู่บ้านดอนแก้วก็ร้างไม่มีผู้คนอาศัย หลวงปู่อุ้มจึงได้ชักชวนชาวบ้านใกล้เคียงช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ จนมีลักษณะงดงามเป็นสถานที่รวมจิตใจของชาวบ้านในปัจจุบัน
    นับแต่ พ.ศ. ๒๔๗๒ เป็นต้นมาได้มีผู้คนจากชัยภูมิและโคราชเข้าตั้งหลักแหล่งในบริเวณบ้านดอนแก้วมากขึ้น จึงได้มีการปฏิสังขรณ์พระมหาธาตุเจดีย์กันหลายครั้ง เพื่อให้องค์พระธาตุมีความแข็งแรงคงทนมากขึ้นกว่าเดิมในปี พ.ศ. ๒๕๑๓
    ชุมชนโบราณบ้านดอนแก้วนั้นมีลักษณะคล้ายกับเมืองโบราณสมัยทวารวดี โดยทั่วๆไปคือ มีคูน้ำคันดินล้อมรอบตัวเมือง และมีศาสนสถานที่สำคัญอยู่นอกตัวเมือง นั่นคือพระมหาธาตุเจดีย์ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มใบเสมาหินปักรอบๆตามคตินิยมเพื่อแสดงเขตสถานที่ศักดิ๋สิทธิ์คล้ายๆกับการปักใบเสมาเมืองฟ้าแดดสูงยาง อ.กมลาไสย์ จ.กาฬสินธุ์ เยื้ององค์พระธาตุไปทางทิศตะวันตก จะพบเห็นภาพสลักเป็นลวดลายธรรมชาติบางส่วน และจารึกภาษามอญที่มีสภาพลบเลือนไปมากแล้ว
    ในปี พ.ศ. 2513 นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร คณะโบราณคดี ซึ่งมีนายไพโรจน์ อังสนากุล เป็นผู้นำได้มาตรวจสอบอายุของใบเสมาและเสาหิน ตลอดทั้งองค์พระมหาธาตุเจดีย์ นักโบราณคดีเหล่านี้สันนิษฐานว่า ศิลปกรรมดังกล่าวมีอายุไม่น้อยกว่า ๑,๕๐๐ ปี ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ กรมศิลปากรได้มาปักหลักหมุดรอบองค์พระมหาธาตุเจดีย์และปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติไว้ด้วย
    สิ่งที่น่าสังเกตุคือหมู่บ้านดอนแก้วแห่งนี้ไม่มีแหล่งหินทรายที่ใช้ในการก่อสร้างเลย ผู้ก่อสร้างเอามาจากที่ใดเอามาได้อย่างไร ย่อมเป็นเรื่องที่อนุชนรุ่นหลังต้องศึกษาค้นคว้า หวงแหน และอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ต่อไปอีกนานแสนนาน
    อดีตคล้ายฝัน สู่ปัจจุบันอันรุ่งเรือง เป็นเมืองกุมภวาปี

    ย้อนยุคสู่โบราณกาล เมืองสุวรรณโคมคำหรือ ชะทีตานคร (บริเวณที่เป็นหนองหานในปัจจุบัน) มีพระยาขอมเป็นผู้ครองเมือง มีมเหสีเอกชื่อนางจันทร์ มีธิดาแสนสวยกิตติศัพท์ความงามขจรขจายเลื่องลือไปทั่วทุกสารทิศนามว่า ?ไอ่คำ? พระยาขอมมีน้องชายสองคน สถาปนาให้ไปครอง?เชียงเหียน?(ปัจจุบันเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม)คนหนึ่ง และครองเมือง ?สีแก้ว? (ปัจจุบันเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด)คนหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีหลานอีก 3 คน ให้ไปครองเมืองหงส์เมืองทองและเมืองฟ้าแดด ตามลำดับ นับว่าพระยาขอมนั้นเป็นเจ้าเมืองผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลวางฐานด้านการเมืองไว้อย่างแน่นหนาที่เดียว พระธิดาไอ่คำในวัยสาวกำดัดนั้นงามยิ่งกว่านางใดในปฐพี กิตติศัพท์เข้าหูเข้าตาหนุ่มหล่อแดนไกลนิสัยดีนามว่า ?ผาแดง? แห่งเมือง ?ผาโพง? ต้องขี่ม้าคู่ใจชื่อ ?บักสาม? ตามหาจนพบและผูกสมัครรักใคร่จนสัญญากันว่าจะร่วมหอลงโลงกันเลยทีเดียว
    กล่าวถึงเมืองศรีสัตนาคนหุตซึ่งมีพญานาคชื่อท้าวศรีสุทโธนาคครองเมือง มีโอรสชื่อ พังคีซึ่งโดยพื้นเพเดิมแล้วท้าวศรีสุทโธอยู่ที่เมืองหนองกระแส ที่ต้องอพยพมาครองเมืองศรีสัตนาคนหุตนี้ก็เพราะว่า ผิดใจกับสุวรรณนาคเพื่อนกัน จนเกิดสงครามรบพุ่งกัน เดือดร้อนถึงพระอินทร์ต้องส่งเทพบุตรลงมาห้ามศึก แล้วแบ่งเขตแดนให้ทั้งสองนาคปกครองคือ ศรีสุทโธนาคให้ครองแดนเหนือ ส่วนสุวรรณนาคให้ครองแดนใต้ แบ่งแนวเขตลงไปจรดทะเล นาคทั้งสองได้ขุดคลองจากหนองกระแสลงสู่ทะเลเป็นการแข่งผลงานและบารมีกันไปในตัว สุวรรณนาคขุดเป็นแม่น้ำน่านและตั้งเมืองนนทบุรี ส่วนศรีสุทโธขุดเป็นแม่น้ำโขง ตั้งเมืองศรีสัตนาคนหุต
    ฝ่ายพระยาจอมบิดาของไอ่คำนั้น เป็นเจ้าเมืองผู้คลั่งไคล้ไหลหลงในบุญแข่งบั้งไฟเป็นชีวิตจิตใจ นัยว่าเป็นการขอฝนจากพระยาแถนบนฟ้าให้ตกต้องตามฤดูกาล และเป็นเกมกีฬาที่เล่นเดิมพันตื่นเต้นเร้าใจ จนสืบทอดเป็นประเพณีทุกๆปี ณ กลางเดือนหกปีนั้น พระยาขอมจึงมีใบบอกไปยังหัวเมืองบริวารต่างๆให้ทำบั้งไฟหมื่นมาร่วมแห่และจุดแข่งขันลงเดิมพันกันในงานบุญบั้งไฟพระยาขอม ฝ่ายท้าวผาแดงทราบข่าวก็ทำบั้งไฟหมื่นมาร่วมแข่งขันด้วย โดยเป็นคู่พนันกับพระยาขอมเลยทีเดียว พระยาขอมเองก็นกรู้ รู้เป็นนัยๆว่าไอ้หนุ่มหล่อชาวผาโพงผู้นี้ หมายปองธิดาแสนสวยของตนอยู่ ด้วยความเชื่อมั่นในบั้งไฟของตน พระยาขอมจึงลั่นวาจาท้าเดิมพันกับผาแดงว่า ถ้าบั้งไฟของตนแพ้บั้งไฟของท้าวผาแดง จะยกพระธิดาไอ่คำให้ทันที แต่ผลการแข่งขันปรากฎว่า บั้งไฟพระยาขอมซุ(เผาดินดำในกระบอกทิ้งจนหมดไม่ยอมขยับเขยื้อน) บั้งไฟท้าวผาแดงแตก จึงเสมอกันผาแดงจึงพกเอาความผิดหวังและเสียใจกลับเมืองผาโพง
    ข่าวงานบุญบั้งไฟครั้งนี้ก็ไม่วายจะเล็ดลอดไปเข้าหูท้าวพังคีลูกชายแสนดีของศรีสุทโธนาคเข้าจนได้ พังคีได้แปลงกายมาสังเกตการณ์ด้วย แต่ไม่ได้นำบั้งไฟมาแข่งขันเพราะความเป็นนาคทำบั้งไฟไม่เป็น เมื่อท้าวพังคีได้ยลโฉมอันงดงามของธิดาไอ่คำเข้าก็หลงรัก กลับบ้านถึงกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ไม่เป็นอันกินอันนอน จึงขอลาบิดาเพื่อมาขอความรักจากไอ่คำให้ได้ บิดาก็ห้ามไว้เพราะเห็นอันตรายจากเผ่าพันธ์ที่แตกต่างกัน ถึงบิดาจะห้ามอย่างไร พังดีก็หาฟังไม่ จึงพาเสนาบริวารเดินทางสู่ชะทีตานครแห่งพระยาขอมอีกครั้งหนึ่ง ด้วยความหวังที่จะเข้าใกล้ตัวไอ่คำมากที่สุด พังคีจึงแปลงกายเป็นกระรอกด่อน(กระรอกเผือก) แขวนกระดิ่งทองไว้ที่คอและกระโดดไปตามกิ่งไม้ ยอดไม้ ใกล้หน้าต่างปราสาทของธิดาไอ่คำ บรรดาเสนาบริวารก็แปลงกายเป็นสรรพสัตว์ต่างๆ คอยอารักขาเจ้านายอย่างใกล้ชิด พระธิดาไอ่คำเห็นกระรอกด่อนสวยงามพร้อมเสียงกระดิ่งทองแขวนคอที่ไพเราะวนเวียนมาใกล้ ก็นึกอยากได้มาเลี้ยงไว้ จึงสั่งคณะนายพรานให้ตามจับมาให้ได้ ฝ่ายนายพรานก็จัดขบวนตามไล่จับกระรอกด่อนจนสุดปัญญาจะตามจับได้ จึงยิงด้วยหน้าไม้กะจะไม่ให้ถูกที่สำคัญตาย แต่ลูกหน้าไม้ก็ทะลุหัวใจเจ้ากระรอกด่อนจนถึงแก่ความตายจนได้ เรียกว่าตายเพราะความรักความหลงโดยแท้ ก่อนสิ้นใจตายท้าวพังคีในร่างของกระรอกด่อนได้อธิษฐานว่า?ขอให้เนื้อของข้ามีรสอร่อยที่สุด และมีเหลือเฟือไม่รู้จักหมด พอแก่การให้คนได้กินทั่วบ้านทั่วเมือง? เมื่อกระรอกด่อนตายแล้ว เกิดหนังเหนียวแหวะ(ชำแหละ)ไม่เข้า เดือดร้อนถึงหมอผีต้องแก้เคล็ดให้เชียง(คนสึกจากการบวชเณร)เป็นคนแหวะ(ชำแหละ) จึงได้เนื้อกระรอกที่อร่อยและแจกจ่ายกันกินจนทั่วเมืองไม่รู้จักหมด ยกเว้นแต่แม่ร้าง แม่หม้ายเขาไม่แบ่งให้กินด้วย เพราะถือว่าไม่ได้ทำประโยชน์ให้ทางราชการ หรือจะถือเป็นเคล็ดอะไรสักอย่างก็ได้ จึงไม่แบ่งให้กิน ดังมีคำประพันธ์เป็นสำนวนอีสานว่า ?คนเทิงค่ายพากันกินกระฮอกด่อน ยังแต่ฮ้างและหม้ายเขานั้นบ่ให้กิน? และยังมีเจ้านายผู้ใหญ่คุ้มหนึ่งในเมืองชะทีตา เรียกว่า ?คุ้มหลวง? ก็ไม่กินเนื้อกระรอกด่อนด้วย จึงเมื่อถึงคราวเมืองชะทีตาล่มจมลงคุ้มเจ้านายก็ยังเป็น ?คุ้มหลวง? ซึ่งเป็นเกาะหนึ่งอยู่กลางหนองหาน และ?ดอนแม่หม้าย? ก็กลายมาเป็น ?บ้านดอนแก้ว? อันมีพุทธสถานสำคัญที่คนกราบไหว้อยู่ในปัจจุบัน
    ในห้วงเวลาเดียวกันกับที่ชาวชะทีตานคร กำลังแบ่งเนื้อกระรอกด่อนกินกันอย่างสุขสำราญอยู่นั้น ท้าวผาแดงซึ่งมีความรักต่อไอ่คำจนสุกงอมสุดจะห้ามใจได้ รีบขึ้นม้า ?บักสาม? คู่ใจจากเมืองผาโพงสู่ชะทีตานครทันที ไอ่คำก็ต้อนรับขับสู้ด้วยความรักใคร่เป็นอันดี จัดสุรา อาหารคาวหวานมาเลี้ยงดูอย่างเต็มคราบ ผาแดงเห็นลาบเนื้อกระรอกด่อนก็รู้และไม่ยอมกินลาบเนื้อนั้น ก็เพราะว่ารู้ที่มาที่ไปของเจ้าเนื้อนั้นเป็นอย่างดี จึงแซวไอ่คำว่า ?ผู้ดีจั่งเจ้า สั่งมากินกะฮอกด่อน เจ้าบ่ย่านเมืองบ้านหล่มหลวงบ๊อ??พร้อมกับอธิบายให้ไอ่คำฟังว่ากระฮอกด่อนนั้นไม่ธรรมดา แต่เป็นท้าวพังคีลูกชายสุทโธนาคแปลงกายมา ไอ่คำฟังแล้วก็รู้สึกหนาวเยือกขึ้นมาทันที ขาดคำผาแดง?พลันก็เกิดเสียงอึกทึกแผ่นดินไหวโครมครืน สะเทือนเลื่อนลั่นตามมา เนื่องจากเสนาอำมาตย์ของท้าวพังคีพลับไปรายงานท้าวศรีสุทโธผู้บิดาว่า พังคีถูกลูกดอกนายพรานเมืองชะทีตาสิ้นชีวิตแล้ว ชาวบ้านชาวเมืองกำลังแล่เนื้อเอาเกลือทาประกอบเป็นอาหารกิน ท้าวศรีสุทโธโกรธมากจึงยกพลนาคดำดินบุกชะทีตานครกะให้ราบเป็นหน้ากลอง สั่งฆ่าทุกชีวิตที่กินเนื้อพังคี ฝ่ายผาแดงก็รีบพาไอ่คำซ้อนท้ายม้าบักสามหนีไปทันที นางไอ่คว้าได้สมบัติสำคัญประจำเมืองสวมแหวนให้แก่ผาแดง ส่วนตัวเองได้ฆ้อง กลอง ประจำเมืองติดตัวไปด้วย รีบขึ้นซ้อนท้ายม้าผาแดงคนรัก หนีสุดขีดสู่เมืองผาโพง ข้างทัพของพญานาคก็ไล่ล่ากระชั้นชิดเข้ามาเรื่อย ชะทีตาทั้งเมืองถูกกองทัพนาคคำดินยุบพังลงใต้บาดาล คงทิ้งไว้แต่ดอนหลวงกับดอนแม่ม่ายเท่านั้น เรียกว่ากองทัพนาคลุยไปที่ใดแห่งนั้นก็จะพังทลายไปหมดสิ้น มักบักสาม ยามเมื่อบรรทุกผาแดงเจ้านายคนเดียวก็คึกคะนองวิ่งไปได้รวดเร็วปานลมพัด แต่เมื่อมีนางไอ่และฆ้อง กลองพ่วงเข้าไปด้วยก็เริ่มอ่อนแรงลงทุกขณะ ผาแดงจึงสั่งให้นางทิ้งสัมภาระลง นางไอ่ก็โยนกลองทิ้งไปก่อนจนเกิดร่องรอยกลายเป็น ?ห้วยกองสี? ในปัจจุบัน มาได้อีกครู่หนึ่งก็ได้โยนฆ้องทิ้งลงไป ร่องรอยของฆ้องนั้นก็ได้กลายเป็น ?ห้วยน้ำฆ้อง? ต่อมา และเมื่อม้าบักสามวิ่งต่อไปอีกพักหนึ่งก็ยิ่งอ่อนแรงลงมากหกล้มลง ร่องรอยที่บักสามหกล้มก็กลายมาเป็น?ห้วยสามพาด? (บักสามพลาดท่า) กองทัพนาคตามมาทันจนได้..จึงให้หางกระหวัดรัดเอาตัวไอ่คำหลุดจากหลังม้าลงใต้บาดาลทันใด ผาแดงตั้งสติได้รีบกระตุ้นบังเหียนม้าบักสามจ้ำอ้าวหนีสุดชีวิตต่อไป ทัพนาคยังตามอีกเพราะแหวนของไอ่คำที่นิ้วของผาแดง พอนึกได้จึงถอดแหวนทิ้งไป การตามล่าผาแดงของกองทัพนาคจึงสิ้นสุดลง



    ผลของสงครามเถื่อนเพื่อดับแค้นของท้าวศรีสุทโธนาคครั้งนั้น ทำให้เมืองเอกชะทีตานครได้ล่มสลายจมสู่บาดาลกลายมาเป็น ?หนองหาน?ของอำเภอกุมภวาปีในปัจจุบัน ซึ่งเราภูมิใจเรียกว่า ?หนองหานสายธารแห่งชีวิต? ตามคำขวัญของอำเภอกุมภวาปีในสมัยนายรุ่งฤทธ์ มกรพงศ์ เป็นนายอำเภอกุมภวาปี ส่วนเม่ร้างแม่หม้ายทั้งหลายได้รับความผิดหวังและน้อยเนื้อต่ำใจที่เขาไม่ปันเนื้อกระรอกด่อนให้กินด้วยเหมือนชาวบ้านทั่วไป ก็มารวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนต่างหาก กองทัพพญานาคก็ละเว้นไว้ไม่ถล่มให้จมลงจนเหลือไว้เป็นเกาะกลางน้ำเรียกกันว่า ?ดอนแม่หม้าย? จนกลายมาเป็นบ้าน ?ดอนแก้ว? ตราบเท่าทุกวันนี้
    จากตำนาน ผาแดงนางไอ่ที่เล่ามาโดยสังเขปนี้ พอจะมีหลักฐานทางโบราณคดี เป็นเครื่องยืนยันให้สอดดล้องกับสภาพบ้านเมืองที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันหลายประการ น่าเชื่อถือว่าจะมีมูลความจริงอยู่มากคือ?
    1. ดอนแม่หม้าย กลายมาเป็น บ้านดอนแก้ว
    2. คุ้มหลวง (ที่พักเจ้านายฝ่ายใน)กลายมาเป็น ดอนหลวง ซึ่งเป็นเกาะอยู่กลางหนองหาน
    3. บ้านคอนสาย (กิ่ง อ.กู่แก้ว) เป็นสถานที่ที่นายพรานคอนธนู และขึ้นสายธนูเตรียมจะยิงกะรอกด่อน
    4. บ้านเมืองพรึก เป็นสถานที่ชาวบ้านกำก้อนดิน ก้อนหิน ขว้างปากระรอก พรึก(พึก)คือการหว่านหรือขว้างวัตถุทีละมากๆ
    5. บ้านแชแล เป็นที่กระรอกเดินผิดทาง (ภาษาอิสาน- แซแล แปลว่า ออกนอกเส้นทาง)
    6. บ้านพันดอน เป็นที่ป่าไม้มากมายพรานไล่ยิงกระรอกจนจนมุม มาตายอยู่บริเวณนี้
    7. บ้านเซียบ เมื่อไล่ล่ากระรอกด่อนเสร็จแล้ว ทีมพรานก็เมื่อยหล้าจึงหยุดพักเอาแรงเลยงีบหลับ(เซียบ)ไปพักหนึ่ง
    8. บ้านเชียงแหว เป็นสถานที่ที่ชำแหละ(แหวะ)เนื้อกระรอก โดยคนชำแหละเป็นเซียง(คนที่สึกจากการบวชเณร)แบ่งกันกิน
    9. บ้านห้วยกองสี เป็นสถานที่ที่นางไอ่คำโยนกลองทิ้งไป
    10. บ้านน้ำฆ้อง เป็นสถานที่ที่นางไอ่ทิ้งฆ้องลงไป
    11. บ้านห้วยสามพาด เป็นสถานที่ที่ม้าบักสามของผาแดง หกล้มลง
    12. หนองแหวน(อยู่ทิศเหนือบ้านเชียงแหว)เป็นสถานที่ที่ผาแดงถอดแหวนโยนทิ้งลงไป

  2. #2
    ดีเจ นักจัดรายการ สัญลักษณ์ของ ข้าวปาด
    วันที่สมัคร
    Oct 2006
    ที่อยู่
    finland
    กระทู้
    756
    บล็อก
    1
    ขอบคุณเจ้าของกะทุ้เด้อจ้า ได้รุ้ประวัติแล้วบาดนิ ขนาดอยุ่ อำเภอหนองแสงแท้ๆๆ ยังบ่รุ้ว่า แยกตะปี พศ ได่อยุ่ อิอิ พอดีได้มาอ่านจั่งฮุ้ ขอบคุณอีกเทือจ้า

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •