กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 10

หัวข้อ: คนขี่หลังควาย

  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ทิดแหล่
    วันที่สมัคร
    Jun 2008
    กระทู้
    435

    คนขี่หลังควาย

    ช่วงนี้ฝนตกริน ( ปรอย ๆ ) เกือบทุกวัน ได้พูดคุยกับญาติพี่น้องที่ทำนา ทุกคนบอกว่าปีนี้ฝนฟ้าดีเหลือเกิน ได้ลงนาปักดำกันทุกคน หากภูมิอากาศไม่แปรปรวน ( เช่น ฝนทิ้งช่วง หรือน้ำหลากนอกฤดู ซึ่งมักเกิดขึ้นบ่อย ๆ ) ปีนี้น่าจะได้ข้าวได้ปลากันถ้วนหน้า ฟังแล้วก็ได้แต่ภาวนาเอาใจช่วยพี่น้องผู้ทำไร่ ทำนา

    เห็นท้องทุ่งเขียวขจีด้วยต้นข้าว และฝนตกปรอยๆ แล้วก็อดรำลึกนึกถึงสมัยเมื่อยังอยู่ลุยในท้องทุ่งเหลือเกิน สมัยเมื่อยังเป็นเด็กน้อย หน้าที่หลัก (ซึ่งไม่มีการมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษร) ของผมคือเลี้ยงควายครับ ที่บ้านผมมีควาย อยู่ 2 ตัว เป็นตัวเมียทั้งคู่ ซึ่งผมจะถูกเพื่อนๆ ล้อเสมอว่าเลี้ยงควายตัวเมีย ซึ่งผมเองก็อายเหมือนกัน เคยถามพ่อว่า ทำไมไม่ซื้อความตัวผู้ บักเถิ๊ก ตัวใหญ่ เขากาง (เหมือนเพื่อนๆ ของผม) พ่อบอกว่าควายตัวผู้มีลูกไม่ได้ ซ้ำยังมักไล่ขวิด ไล่ชน ควายตัวอื่นอีก ดีไม่ดีไปชนควายตัวอื่น เขาหลุด เขาหัก ก็จะโดนปรับโดนไหมอีก แต่ควายตัวเมียให้ลูกปีละตัว อันไหนดีกว่ากัน หลังจากนั้นผมก็ไม่คิดอยากเลี้ยงควายตัวผู้อีกเลย

    หลังจากทุกคนลงนา ปักดำกันแล้ว พื้นที่การเลี้ยงควายก็จะน้อยลง หรือแทบไม่มีเลย การเลี้ยงควายยามนี้ จึงเป็นเรื่องลำบากพอดู ส่วนมากก็จะผูกล่ามไว้ตามหัวไร่ปลายนาหรือริมทาง แล้วก็เกี่ยวหญ้ามาให้ควายกิน ซึ่งวิธีนี้ค่อนข้างน่าสงสารควาย เนื่องจากจะถูกมัดล่ามไว้ที่เดิมในที่อันจำกัด และเจ้าของควายก็เอาหญ้ามาให้กินประมาณวันละ 2 ครั้ง คือช่วงสายๆ (เกือบเพล) ครั้งหนึ่ง และช่วงบ่าย ๆ (ช่วงละครวิทยุของคณะเกศทิพย์หรือละครสยาม81) อีกครั้งหนึ่ง หรือหากใครขยันหน่อย ก็จะเอาหญ้าให้ควายอีกครั้งตอนควายเข้าคอกแล้ว

    สำหรับผมนั้น พ่อบอกว่า จะเลี้ยงควายแบบคนอื่นนั้น สงสารควาย เขาช่วยไถนา ให้เราได้ปักดำจนเสร็จ แล้วเอาเขามาล่ามไว้ให้อยู่ที่เดิมๆ น่าสงสาร อย่างน้อยก็ให้เขาได้เดินเลาะและเล็มหญ้าตามสัญชาตญาณเขาบ้างก็ยังดี ซึ่งวิธีการของพ่อที่ถือปฏิบัติกันมาตลอดคือ ช่วงเช้าจะเอาควายไปล่ามไว้ที่สวน (โชคดีที่เรามีสวนอยู่ท้ายหมู่บ้าน จึงพอมีบริเวณล่ามควายได้โดยไม่ซ้ำที่กัน ) เมื่อล่ามควายแล้วก็ออกไปเกี่ยวหญ้ามาให้ควายกินเหมือนคนอื่นๆ นั่นแหละ แต่ช่วงบ่าย หลังจากกินข้าวเที่ยงแล้ว ก็จะเอาควายทั้งสองตัว ออกไปกินหญ้าตามคันแท (คันนา) ซึ่งผมก็จะขี่หลังควายตัวหนึ่งและถือเชือกของควายอีกตัวหนึ่ง เลาะไปตามคันนา โดยผมจะวางแผนว่าวันนี้ จะไปเส้นทางไหน (คันนาไหน) พรุ่งนี้ และวันถัดไป จะไปเส้นทางไหน บ่อยครั้งก็ข้ามไปคันนาของญาติที่มีที่นาติดกัน

    ผมเลี้ยงควายด้วยการขี่หลังควายตามคันนาทุกวัน (ในช่วงฤดูนี้) ซึ่งหากเป็นวันธรรมดา หลังจากเลิกเรียน ผมจะรีบเปลี่ยนชุดแล้วเลาะลิ่วไปนาทันที โดยจะแข่งกับเพื่อนที่เป็นญาติกันและที่นาใกล้ๆกัน ว่าใครจะถึงนาก่อนกัน ซึ่งพ่อผมก็จะจูงควายเลาะและเล็มหญ้าตามคันนารออยู่แล้ว

    ทุกวันนี้ไม่ค่อยมีคนเลี้ยงควาย หรือไม่ค่อยมีควายให้คนเลี้ยงแล้ว และในหลายแห่ง หลายที่ ผมเห็นป้ายปักตามคันนามีข้อความว่า

    ?ห้ามเกี่ยวหญ้าและนำควายมาเลี้ยงบริเวณนี้? .-

  2. #2
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    เว่ามาแล้วคึดฮอดตอนเป็นเด็กน้อยน้อครับ เลิกเรียนมาข่อยกะฟ้าวเปลี่ยนเสื้อผ้า ไปฮับควายนำอีพอข่อย และขี่หลังมัน มันกะเล็มหญ้านำคันแถ กบเขียดโดดลงน้ำจ๋อมแจ๋ม ๆ ๆ

    ยามมื่อแลงสิฟังรายการ นิทานชาวบ้านสำราญม่วนซืน ของคณะ 99 การละคร สิมี ชัยกมล รุ่งเรืองเวช เพิ่มพร วงษ์ลักษณ์ ปัญญา ศรีกุลวงศ์ อรสา ศรีเมืองทอง เติมศักดิ์ วงศ์ละคร เอกมร วาจาเฉลียว มหาเขียว ผมดอกเลา ประมาณนี้ล่ะที่จำได้ เป็นเครือข่องน่อง

    เว่ามาแล้ว อยากกลับไปเป็นเด็กน้อยอีกนิน้อครับ ซูมื่อนี่กะอายุหลาย แต่กะพยายามคิดว่าเจ้าของเป็นเด็กน้อยอยู่ กะมีคนว่า คือปัญญาอ่อนแถะพะนะ บ่มีคนเตือนเลารึ พะนะ ว่าให้ข่อยแมะ ข่อยล่ะซังหลาย อิ อิ

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ไทสกลฯ
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    กระทู้
    217

    อ่านไป...เสียงเพลง "ชมทุ่ง" ก่ะแว่วมากระทบโสต

    เรื่องราวในอดีตก่ะผุดออกมาเป็น ฉาก ๆ ขี่ควายกลับจากนายามแลง เฮ็ดไปมะลำมะลอย ขี่ควายหันหลังแหมะ...คิดแต่ว่าควายฮู่จักทางเมือเฮือนอยู่...ควายพาบุป่าบักเล็บแมวสั่นแหล่ว...เจ็บเทิงหนามฮะ...เจ็บเทิงตกควายพ่อม..!!

    สิแม่นอันนี่หละเนาะ...ภาษาพระ เพิ่นเอิ้นว่า..สัญญา็ !

  4. #4
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา
    Mr.Reception
    สัญลักษณ์ของ คนตระการ...
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    กระทู้
    4,209
    ผมกะเคยเลี้ยงควาย มาแต่น้อยคือกันครับ..เฮือนผมสิมีแต่ควายด่อน (ควายเผือก) ตอนนี่กะยังมีอยู่.....

  5. #5
    มิสบ้านมหา 2010
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ เขมราฐ
    วันที่สมัคร
    Sep 2008
    ที่อยู่
    กลางท่งเมืองเขมฯ
    กระทู้
    1,946
    น้องเขมกะเคยเลี้ยงควายนำคันแทนาค่ะแต่บ่เคยขี่หลัง ย่อนว่าเคยขี่เทื่อหนึ่งตอนเป็นเด็กน้อย ตกลงทางหัวมันเขามันเสียบเสื้อจนหว่าขาด แต่นั่นมาหลาบปานหยังบ่ขี่หลังควายอีกจักเทื่อ เว้าแล้วกะคิดฮอดยามนาเนาะค่ะ

  6. #6
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ บ่าวกุดชุม
    วันที่สมัคร
    Sep 2008
    ที่อยู่
    กุดชุม
    กระทู้
    584
    บล็อก
    3
    ผมกะเคยขี่คือกัน แต่เป้นเด็กน้อย พ่อว่าสิขายควายโตนี้ล่ะแต่งเมียให้
    บาดใหญ่มาล่ะว่าให้หาเงินมาแต่งเอง โอย พ่อหนอพ่อ....................

  7. #7
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา
    Mr.Reception
    สัญลักษณ์ของ คนตระการ...
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    กระทู้
    4,209
    กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ เขมราฐ
    น้องเขมกะเคยเลี้ยงควายนำคันแทนาค่ะแต่บ่เคยขี่หลัง ย่อนว่าเคยขี่เทื่อหนึ่งตอนเป็นเด็กน้อย ตกลงทางหัวมันเขามันเสียบเสื้อจนหว่าขาด แต่นั่นมาหลาบปานหยังบ่ขี่หลังควายอีกจักเทื่อ เว้าแล้วกะคิดฮอดยามนาเนาะค่ะ
    อย่าสิไปขี่มัเด้อหล่า ย้านหลังมันสิบ่อดี.. อาจสิหลังเกือบหักได้ อิอิ5555

  8. #8
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวจัย
    วันที่สมัคร
    Jun 2008
    กระทู้
    2,872
    ตอนเป็นเด็กน้อยบ่าวใจเคยไปเลี้ยงควายคือกันครับ ตอนแลงมาขี่ควายเข้าบ้าน
    พอดีมีหมู่เล่นพิเลนมา#จาด#ควาย ควายตกใจแล่นหนีบ่าวจัยตกลงมาแข่วหักสองซี่หมู่ผมกะถูกไม้คานแม่คือกัน
    ตั้งแต่นั้นมาบ่ขี่อีกเลย หลาบปานตอดแมวคือเขาว่าล่ะครับ5555+++++


    #จาด# ทำให้ตกใจ จ๊ะเอ๋ แม่นบ่ล่ะ555+++
    หล่อคืออ้าย กินข้าวบายกบตั๋วะหล่า

  9. #9
    ร่วมกิจกรรมนำความรู้ สัญลักษณ์ของ เซียนเมา
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    Suratthani
    กระทู้
    1,450
    ตอนผมเป็นเด็กน้อย ชุมชนคนอิสานกะมีการเลี้ยงควายยุคับ เฮ็ดนานำ (แต่ก่อนคนอิสานอยู่ปักษ์ใต้อยู่รวมกันเป็นหมู่บ้าน บ่ใด้อยู่กระจัดกระจายคือซุมื่อนี่)

  10. #10
    บรรยกาศเลี้ยงควายหาเบิ่งยากจ้า...บ่เห็นอีกแล้วจ้า เด็กน้อยว่า

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •