กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: ถ้วยตราไก่

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ pcalibration
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    เมืองฉะเชิงเทรา(แปดริ้ว)
    กระทู้
    1,883
    บล็อก
    1

    ถ้วยตราไก่

    ถ้วยตราไก่ถ้วยตราไก่
    ชามไก่

    "ชามไก่" หรือเรียกทั่วไปว่า "ชามตราไก่" ภาษาแต้จิ๋วเรียก "โกยอั้ว" เป็นชามที่เหมาะกับการใช้ตะเกียบพุ้ย คือรูปทรงแปดเหลี่ยมเกือบกลม ปากบาน ข้างชามด้านนอกมีรอยบุบเล็กน้อยรับกับเหลี่ยม ขามีเชิง วาดลวดลายด้วยมือบนเคลือบขี้เถ้า เป็นรูปไก่ขนคอและลำตัวสีแดง หางและขาสีดำ เดินอยู่บนหญ้าสีเขียว มีดอกโบตั๋นสีชมพูออกม่วง ใบสีเขียวตัดเส้นด้วยสีดำอยู่ด้านซ้าย มีต้นกล้วย 3 ใบสีเขียวตัดเส้นด้วยสีดำอยู่ด้านขวา บางใบมีค้างคาวห้อยหัวอยู่ฝั่งตรงข้ามกับไก่ มีดอกไม้ ใบไม้เล็กๆ แต้มก้นชามด้านใน
    ยุคแรกชามไก่มี 4 ขนาด คือ ขนาดปากกว้าง 5 นิ้ว (เสี่ยวเต้า) 6 นิ้ว (ตั่วเต้า) 7 นิ้ว (ยี่ไห้) และ 8 นิ้ว (เต๋งไห้) โดยชามขนาด 5-6 นิ้ว สำหรับใช้ในบ้านและร้านข้าวต้มชั้นผู้ดี ส่วนขนาด 7-8 นิ้ว สำหรับกุลี เพราะกินจุ
    วิธีผลิตแบบโบราณ เริ่มจากผสมดินโดยย่ำด้วยเท้าและนวดด้วยมือแล้วปั้นตบเป็นดินแผ่น อัดลงแม่พิมพ์ หมุนขึ้นรูปชามด้วยมือ ปาดด้วยไก๊ (ไม้ปาดตัดเป็นรูปโค้ง) ต่อขา ทิ้งชามที่ขึ้นรูปแล้วให้แห้งโดยธรรมชาติ ก่อนชุบเคลือบขี้เถ้า แกลบ ปูนและดินขาว จากนั้นบรรจุลงจ๊อนำไปเรียงในเตามังกร เผาด้วยฟืน เมื่อสุกดีแล้วนำชามมาเขียนลายด้วยพู่กัน
    แล้วเผาด้วยฟืนในเตาอบรูปกลมประมาณ 5-6 ชั่วโมง รอจนชามเย็นจึงบรรจุใส่เข่งพร้อมส่งจำหน่าย
    ชามไก่กำเนิดในจีนเมื่อกว่าร้อยปี ฝีมือชาวจีนแคะตำบลกอปี อำเภอไท้ปู มณฑลกวางตุ้ง และจีนแต้จิ๋วตำบลปังโคย ซึ่งมีเขตติดต่อทางใต้ ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง พ่อค้าจีนถนนทรงวาด กรุงเทพฯ สั่งชามไก่เข้ามาขาย ขณะนั้นราคาถูกมาก กระทั่งเกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่น ชามไก่ขาดตลาดและราคาสูงขึ้น ต่อมาปี 2480 ช่างจีนในไทยเริ่มก่อเตามังกรเพื่อผลิตเครื่องปั้นดินเผาเอง ก่อนย้ายขึ้นจังหวัดลำปาง หลังจากพบดินขาวที่อำเภอแจ้ห่ม ชามไก่ลำปางเริ่มผลิตเมื่อ พ.ศ.2500 โดยชาวไท้ปู 4 คน คือ นายซิมหยู นายเซี่ยะหยุย แซ่อื้อ นายซิวกิม แซ่กว็อก และนายซือเมน แซ่เทน ร่วมก่อตั้ง "โรงงานร่วมสามัคคี" ที่บ้านป่าขาม อำเภอเมือง ก่อนแยกตัวเปิดกิจการตนเองในอีก 3 ปีถัดมา
    ระหว่างปี 2502-2505 ชาวจีนตั้งโรงงานผลิตถ้วยชามที่ลำปางมากขึ้น รวมถึงผลิตชามไก่ที่เริ่มด้วยขว้างดินขาวลำปางหมักเปียกลงบนพิมพ์ซึ่งหมุนบนล้อจักรยาน ใช้แผ่นไม้ตัดเป็นรูปโค้งขนาดเหมาะมือ (จิ๊กเกอร์มือ) แต่งดินให้ได้รูปทรงถ้วย ต่อขา เคลือบขี้เถ้าแกลบ การเผาใช้เตามังกรโบราณแบบกอปี ฟืนไม้ ส่วนการวาดลายไก่ก็ฝึกคนท้องถิ่นตวัดพู่กันจีนวาดเป็นส่วนๆ ต่อเติมจนเต็มรูปแบบในแต่ละใบ แต่ละคนจับพู่กัน 2-3 ด้ามในเวลาเดียวกัน แต่ความยุ่งยากของกรรมวิธีทำให้ผลิตภัณฑ์ออกมาไม่ทันความต้องการ
    ชามไก่เริ่มเปลี่ยนรูปแบบเมื่อโรงงานใช้เครื่องปั้น หรือเครื่องจิ๊กเกอร์ ชามจึงมีรูปกลมไม่เป็นเหลี่ยม มีขาในตัว ที่สุดเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อโรงงานเสถียรภาพที่อ้อมน้อย สมุทรสาคร สร้างเตาอุโมงค์เผาด้วยน้ำมันเตาในปี 2505 เผาถ้วยชามแบบเผาครั้งเดียวได้ ชามช่วงนี้ ตัวไก่สีเขียว หางน้ำเงิน ดอกไม้ชมพู ลดความละเอียดลงแต่ทำตลาดได้ดี เนื่องจากราคาถูกและไม่ถลอกง่าย จวบจนปี 2506 โรงงานถ้วยชามเริ่มหันไปผลิตถ้วยชามแบบญี่ปุ่นซึ่งเข้ามาแทนที่ ลำปางเป็นเพียงจังหวัดเดียวที่ผลิตชามไก่อย่างต่อเนื่อง แต่หาช่างฝีมือที่คงรูปแบบเดิมยาก อีกทั้งสีที่วาดมีราคาแพง ลายไก่เปลี่ยนมาใช้สีชมพู หางน้ำเงิน แซมใบไม้เขียวเข้ม
    พ.ศ.2516 ขณะที่ชามไก่ขนาด 6 นิ้ว มีราคาเพียงใบละ 40 สตางค์ เพราะเป็นชามในยุคหลังที่เปลี่ยนไปจากเดิมมาก กลายเป็นสินค้าราคาถูก จึงเริ่มมีการสะสมและกว้านซื้อชามไก่ในรุ่นแรกๆ จนทำให้ชามไก่รุ่นนั้นหายไปจากตลาด ถึงทุกวันนี้จึงเป็นสินค้าสูงค่าเพราะหา (ของแท้) ยาก

    ที่มา : นสพ.ข่าวสดคอลัมส์น้าชาติรู้ไปโม้ด

  2. #2
    ร่วมกิจกรรมนำความรู้ สัญลักษณ์ของ เซียนเมา
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    Suratthani
    กระทู้
    1,450

    ถ้วยตราไก่

    จากของที่แทบจะหาค่าไม่ใด้ กลายเป็นของมีราคา เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ของทุกอย่างยิ่งเก่ายิ่งมีราคา...ยกเว้นแม่ออกยุเฮือน หึย..จั่งแม่น แก่ง่ายตายซ้าราคากะบ่มี แฮ่งโดนแฮ่งเมิ๊ดราคา(สำหรับผุมีดอกเด้อ ผุบ่มีกะดีไป ฮ่าฮ่าฮ่า)

    ::)::)::)

  3. #3
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ หนุ่มเหงาคนไกลบ้าน
    วันที่สมัคร
    May 2008
    กระทู้
    2,307
    อยู่บ้านยังมียุเด้อครับถ้วยตราไก่ อยู่วัดแฮงหลายครับ

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •