กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: จุลินทรีย์คุมโรคระบาดในนาข้าว

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ pcalibration
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    เมืองฉะเชิงเทรา(แปดริ้ว)
    กระทู้
    1,883
    บล็อก
    1

    จุลินทรีย์คุมโรคระบาดในนาข้าว

    จุลินทรีย์คุมโรคระบาดในนาข้าว[IMG]จุลินทรีย์คุมโรคระบาดในนาข้าวข้าวที่ทดสอบด้วยไอโซเลท K8S3 พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อฯที่ก่อโรคได้.จุลินทรีย์คุมโรคระบาดในนาข้าวเชื้อบริสุทธิ์บนอาหารแข็งซึ่งกำลังสร้างสปอร์.
    คัดจุลินทรีย์ ผลิตสารปฏิชีวนะ คุมโรคระบาดในนาข้าว
    แม้ว่าประเทศไทยจะส่งออกผลผลิต "ข้าว" มาเนิ่นนาน โดยมีปริมาณมากเป็นอันดับต้นๆ แต่เราก็ต้องหาแนวทางในการแก้ปัญหา "โรคซึ่งเกิดจากจุลินทรีย์" ชนิดต่างๆทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกษตรกรต้องหันไปพึ่ง "สารเคมี"
    ฉะนี้...เพื่อให้ไทยเราเป็น "ต้นน้ำ" ซึ่ง ผลิตอาหารที่ปลอดภัยป้อนสู่ครัวโลก ดร.กรรณิการ์ ดวงมาลย์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหา-วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงทำการวิจัยศึกษา การใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ ที่มีความสามารถในการผลิตสารปฏิชีวนะ ควบคุมและกำจัดโรคในข้าว ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สำ-นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)...จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่สามารถผลิตสารปฏิชีวนะที่สำคัญในสิ่งแวดล้อม จะอยู่ในกลุ่มแอคติโนมัยสีท ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก พบได้ทั่วไปในธรรมชาติอย่าง ดินรอบรากพืช ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มนี้จะมีบทบาทสำคัญต่อการย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์ ส่งผลทำให้เกิดการหมุนเวียนของธาตุอาหารในสิ่งแวดล้อม บางชนิดย่อยสลายฟอสฟอรัสในดินให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ บางชนิดผลิตสารที่ช่วยควบคุมการเจริญของจุลินทรีย์ก่อโรคในพืช ทำให้พืชเติบโตได้ดีหรือทนต่อสภาวะที่แห้งแล้งได้ดี
    ดร.กรรณิการ์ บอกว่า ปัจจุบันโรคที่พบในข้าวมีอยู่หลายชนิด เช่น โรคไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคกาบใบแห้ง โรคถอดฝักดาบ โรคขอบใบแห้ง ดังนั้น การศึกษาแนวทางวิธีใช้จุลินทรีย์ฯที่มีความสามารถในการผลิตสารปฏิชีวนะ เพื่อแย่งอาหารและยึดครองพื้นที่ส่วนต่างๆของพืช มาช่วยควบคุมเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร
    โดยขั้นตอนขบวน การทำวิจัย เริ่มแรกทีมงาน เก็บดินรอบรากข้าวจากนา ในหลายจังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี เชียงใหม่ กาฬสินธุ์ นนทบุรี กรุงเทพฯ และ ดินรอบรากพืช ซึ่งเก็บจากจังหวัด นครปฐม ทำการแยกเชื้อ "แอคติโนมัยสีท" จากนั้นศึกษาคุณสมบัติยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ที่ก่อโรค ไปพร้อมกับจำแนกสายพันธุ์ เพื่อนำไปใช้ ยับยั้งโรคในนาข้าว โดย เฉพาะแปลงเกษตรอินทรีย์...หลังจากแยกเชื้อฯ ได้แล้ว จึงนำมาผ่านขบวนการต่างๆในห้องวิจัย กระทั่งได้เชื้อบริสุทธิ์บนอาหารแข็ง เลี้ยงต่อกระทั่งสร้างสปอร์กระทั่งเจริญดี ก่อนทำเป็นสปอร์แขวนลอย แล้วจำแนกตามกลุ่มสีที่แบ่งได้ 7 กลุ่ม (ตามลักษณะสีสปอร์) ในจำนวนนี้ พบว่าสปอร์สีเทามีจำนวนสมาชิกมากที่สุด เสร็จแล้วนำไปวิเคราะห์ชนิดของ diaminopimelic acid (DAP) ที่เป็นองค์ประกอบในผนังเซลล์ผ่านการย่อย พบว่า ไอโซเลท ส่วนใหญ่ เป็นกลุ่ม สเตรพโตมัยสีท นำมาทดสอบการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ก่อที่เป็นสาเหตุโรค ขอบใบแห้ง โรคถอดฝักดาบ โรคใบจุดสีน้ำตาล และ โรคกาบใบแห้ง ให้ผลว่า ไอโซเลท K8S3 มีคุณสมบัติเสามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์สูงสุด อีกทั้งยังมีผลต่อการงอกของเมล็ดข้าวได้ดีที่สุดเหมือนกับ Streptomyces hygroscopicus จากคุณสมบัติดังกล่าวทีมวิจัยจึงนำศึกษาต่อไป โดยใช้เมล็ดข้าวแช่ในกล้าเชื้ออายุ 24 ชั่วโมง ดูผลการงอก รวมทั้งความสูงของต้นข้าว พบว่าให้ค่าความสูงเฉลี่ยสูงกว่าชุดควบคุม และเป็นได้ว่าไอโซเลท K8S3 นอกจากช่วยสร้างฮอร์โมนพืชแล้วยังช่วยกระตุ้นให้ข้าวงอก เจริญได้ดี ที่สำคัญยังสามารถยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคในที่ติดมากับเมล็ดข้าวได้
    และ...หากมีการส่งเสริมงานวิจัยให้เป็นรูปธรรม เกษตรกรสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในแปลงนาได้ เชื่อว่าอนาคตประเทศไทยจะมีผลิตผลคุณภาพปลอดสารตกค้าง ส่งออกอย่างแน่นอน.

    ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ

  2. #2
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197
    ขอบคุณมากนะคะ สำหรับสิ่งดีๆๆที่มอบให้กันตลอดเวลาค่ะ
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •