กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: มาโซนไทพิน้องบ้านมหาเมอเบิ่งงานแห่ปราสาทเผิ้ง เมิงสกล

  1. #1
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บ่างกะเล็น
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    ที่อยู่
    บ้านม่วง สกล ชลบุรี
    กระทู้
    82

    มาโซนไทพิน้องบ้านมหาเมอเบิ่งงานแห่ปราสาทเผิ้ง เมิงสกล

    c06: ชาวสกลนครมีการฉลองเทศกาลออกพรรษาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากจังหวัดอื่นๆด้วยการสร้าง "ปราสาทผึ้ง"ถวายเป็น
    พุทธบูชา โดยชาวสกลนครเอารวงผึ้งที่คั้นน้ำออกแล้วต้มให้เปื่อย ทำเป็นดอกไม้ต่างๆ มาสร้างเป็นปราสาท ซึ่งก่อนนั้นทำกันอย่างง่ายๆคือเอากาบกล้วยมาทำเป็นโครงปราสาทร้อยให้ติดต่อกันด้วยตอกไม้ไผ่ เรียกว่า "แทงหยวก" จากนั้นประดับด้วยดอกผึ้งเป็นลวดลายต่างๆรวมทั้งเครื่องประดับอันได้แก่
    ไม้ขีด กระดาษ ดินสอ ผ้าฝ้ายและผ้าแพร ฯลฯ
    ในวันขึ้น๑๔ค่ำ เดือน๑๑ เป็นวันโฮม หรือวันรวมปราสาทผึ้งจากคุ้มต่างๆที่บริเวณวัด แต่ละคุ้มจะอยู่ซุ้มใครซุ้มมันรอบกำแพงวัด พอค่ำลง
    มีบรรดาหนุ่มๆจะมาเป่าแคน ดีดพิณและสีซอเดินเป็นกลุ่มๆไปรอบคุ้ม หนุ่มที่หมายตาสาวใดไว้ก็จะเข้าไป "แอ่ว" หรือจีบได้ โดยพ่อแม่ของสาว
    จะไม่ขัดขวางเหมือนวันปกติ รุ่งขึ้นจะมีการทำบุญตักบาตร เสร็จแล้วจัดขบวนแห่ปราสาทผึ้งแค่ละขบวนจะแห่ด้วยเกวียน ใช้คนเทียมแทนวัวควาย นางฟ้าปราสาทผึ้ง (ปัจจุบันเรียกเทพี)จะนั่งอยู่ตอนหน้าของเกวียน ตรงกลางเป็นปราสาทผึ้ง ขบวนแห่มีพิณ ฆ้อง กลองตามด้วยคนหนุ่มคนสาวและเฒ่าแก่ ประนมมือถือธูปเทียนแห่รวบพระธาตุเชิงชุมจนครบ ๓รอบเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
    ในปัจจุบันการทำปราสาทผึ้งและขบวนแห่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากรูปทรงของตัวปราสาทผึ้ง และการประดับประดาได้วิจิตรพิสดารมากมีการ
    ออกแบบลวดลายต่างๆไม่เหมือนในอดีต ขบวนแห่ที่เคยใช้เกวียนก็เปลี่ยนเป็นรถยนต์และเปลี่ยนสถานที่รวมขบวนจากบริเวณวัดมาอยู่ที่
    สนามมิ่งเมือง แต่ละปีจะมีขบวนแห่ยาวเป็นสิบกิโลเมตร มีสิ่งแปลกๆใหม่ๆเพิ่มขึ้นในขบวนแห่ปราสาทผึ้งคือ การแสดงเกี่ยวกับประเพณีโบราณ
    ของอีสาน เช่น การบุญข้าวสาก การตำข้าว การปรุงยาสมัยโบราณ รำมวยโบราณ การทำบุญข้าวประดับดิน และการปลุกพระ ตลอดจนถึงการแสดง
    นรก-สวรรค์ ว่าคนที่ตกนรกทุกข์ทรมานอย่างไร และคนที่ขึ้นสวรรค์จะได้รับความสุขแค่ไหน หลังจากที่มีการทอดถวายปราสาทผึ้งแล้ว วันรุ่งขึ้นจะมีการแข่งเรือกันที่หนองหาน สำหรับการแข่งเรือนั้นเดิมเป็นการแข่งเอาความสนุกสนานและสืบทอดประเพณีปัจจุบันเป็นการแข่งขัน เพื่อช่วงชิงรางวัลกันมากกว่า
    การแห่ปราสาทผึ้งของชาวสกลนครเป็นประเพณีเก่าแก่ โดยมีหลักฐานปรากฏอยู่ในตำนานเมืองหนองหาน(คือสกลนครในปัจจุบัน)กล่าวไว้ว่า
    ในสมัยขอมเรืองอำนาจและปกครองเมืองหนองหาน ในแผ่นดินพระเจ้าสุวรรณภิงคาระ ได้โปรดฯให้ข้าราชบริพารจัดทำต้นเผิ่ง(ต้นผึ้ง)ขึ้น
    ในวันออกพรรษา เพื่อแห่แหนคบงันที่วัดเชิงชุม(ปัจจุบันเรียกกันว่าวัดพระธาตุเชิงชุมวรมหาวิหาร) จากนั้นเมืองหนองหานได้จัดทำปราสาทผึ้ง
    ติดต่อกันมาทุกปี
    :em01)
    ขอบคุณหลายๆเด้อ
    esanclick
    http://www.esanclick.com/newses.php?No=15094

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวต้นฅนมุกดาหาร
    วันที่สมัคร
    Sep 2008
    ที่อยู่
    ..."มุกดาหาร"...
    กระทู้
    761
    ได้ความฮู้ประวัติของการแห่ประสาทผึ้งดีมากครับ

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ไทสกลฯ
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    กระทู้
    217
    อีกจั๊กหน่อย ฮอดเดือนธันวาคม เมืองสกลฯ ก่ะสิมี ประเพณีแห่ดาวอีก....ของพี่น้องชาวคริสต์ ฉลองคริสต์มาส...ดาวหลายขนาด แถมหลายสี มาเด้อมาเบิ่งดาว (นำกัน)

  4. #4
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม
    วันที่สมัคร
    Jul 2008
    กระทู้
    641
    เสียงพิณประจำงานนี้คือสิหนีบ่พ้นพิณร๊อคเขย่าโลก ปกเขียว เพราะวาคนดีตไทสกล ไทบ้านนาตาล อ.เต่างอย ปีผ่านๆมาผมก่ายังได้มีโอกาสไปรำมวยโบราณในงานนิคับ

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •