ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คือผู้ที่มีคุณสมบัติดังนี้
มีสัญชาติไทย ถ้าแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง เช่น ถ้าเราอาศัยอยู่ใน อบต. ก็เลือกนายก อบต. กับ ส.อบต. เช่นกัน ถ้าอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล ก็เลือก นายกเทศมนตรี กับ ส.ท. เป็นต้น

การเลือกตั้งท้องถิ่นทุกระดับต้อง เตรียมพร้อม เหมือนกันดังนี้
20 วัน ก่อนวันเลือกตั้งตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ที่ที่ว่าการอำเภอที่ ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เขตชุมชนหรือที่เลือก ตั้ง
15 วัน ก่อนวันเลือกตั้งเจ้าบ้านจะได้รับหนังสือแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อให้ตรวจสอบชื่อ-นามสกุลและที่เลือกตั้ง
10 วัน ก่อนวันเลือกตั้งหากเห็นว่าไม่มีชื่อตนเองหรือมี ชื่อผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้งปรากฏในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ยื่น คำร้องขอเพิ่มขึ้น-ถอนชื่อต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น

หลักฐานที่ใช้ในการเลือกตั้ง
ก่อนไปลงคะแนนใช้สิทธิเลือกตั้ง ขอให้เตรียมหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
บัตรประจำตัวประชาชน (บัตรหมดอายุใช้ได้)
บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับบำเหน็จบำนาญ
บัตรประจำตัวหรือหลักฐานที่ราชการออกให้โดยต้องมีรูปถ่ายและหมายเลขประจำตัวประชาชน เช่น ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง(พาสปอร์ต)

ที่มาจาก กกต.