หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 12

หัวข้อ: ข้อปฏิบัติในการใส่บาตร

  1. #1
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ sarate_n
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    chonburi
    กระทู้
    103

    ข้อปฏิบัติในการใส่บาตร

    การใส่บาตรเป็นการขัดเกลากิเลสอย่างหนึ่ง บังเอิญไปอ่านเรื่องนี้แล้วเห็นว่าสมควรที่ พุทธศาสนิกชนควรทราบเอาไว้ เพื่อจะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องและได้บุญกุศลจากการทำบุญจ้า

    1. นิมนต์พระ

    หลังจากที่เราเตรียมสำรับกับข้าวเรียบร้อยแล้ว เราก็ยืนรอพระที่จะเดินบิณฑบาตผ่านมา
    การยืนรอพระในขั้นตอนนี้ ควรศึกษาให้ดีเสียก่อนว่า เส้นทางนี้มีพระเดินผ่านหรือไม่
    ไม่ใช่ว่าไปรอบนทางสายเปลี่ยวที่ไม่มีพระเดินผ่าน คงไม่ได้ใส่กันพอดี
    รอซักพัก พอมีพระเดินมาก็นิมนต์ท่าน
    การนิมนต์ ก็ควรใช้คำว่า "นิมนต์ครับ/ค่ะท่าน" แค่นี้พระท่านก็ทราบแล้ว
    ตอนเป็นพระเคยเดินบิณฑบาตที่ตลาดเขมร โยมนิมนต์ด้วยถ้อยคำอันรื่นหูว่า "ท่านเจ้าประคุณเจ้าคะ นิมนต์เจ้าค่ะ" ( ใช้คำไฮโซมาก)
    มีอีกทีนึงโยมใช้คำว่า "นิมนต์เจ้าค่ะ พระอาจารย์ " ( เอ่อ โยม อาตมาเพิ่งบวชอาทิตย์เดียว) การนิมนต์พระควรนิมนต์ด้วยความสำรวมและใช้เสียงดังพอประมาณ
    โยมบางคนเรียกพระด้วยเสียงอันดัง "นิ โมนน!!" (แง้ ทำไมต้องตะคอกด้วย - -")
    การนิมนต์ควรสังเกตอายุของพระด้วย
    ถ้าอายุน้อยกว่าเราหรือว่าเยอะกว่าไม่มากก็เรียกว่าหลวงพี่ ถ้ามีอายุหน่อยก็เรียกหลวงน้า ถ้าแก่พรรษามากก็เรียกหลวงตา หรือนอกจากนี้ก็อาจจะเรียกหลวงอา หลวงลุง หลวงปู่ฯลฯ แล้วแต่จะลำดับญาติ อย่างฉันปีนี้อายุ ๒๓ ปี หน้าตาค่อนข้างเด็ก แต่เคยมีโยมใช้คำว่า "นิมนต์ค่ะ หลวงลุง " ทำเอาเสีย self จนอยากสึกออกไปทำ baby face
    โยมบางคนคงเขินอายพระ เนื่องจากไม่ค่อยได้ใส่บาตรเท่าไร เวลาพระเดินมาก็ยื่นมือออกมาทำท่ากวักๆ ทำเหมือนพระเป็นรถเมล์
    หลังจากนิมนต์พระ ก็เข้าสู่ขั้นตอนถัดไปคือ


    2. จบ

    อันนี้ไม่ได้หมายความว่าเรื่องจบแล้วนะ
    การจบ หมายถึง การเอามาทูนไว้ที่หัวแล้วอธิษฐาน
    การจบ ควรใช้เวลาอธิษฐานแต่พองาม ไม่ต้องอธิษฐานนานจนเกินไป
    เคยมีโยมนิมนต์ไปรับบาตร ไอเราก็เดินไปเปิดฝาบาตรรอรับ โยมก็จบอยู่ ขอบอกว่านานมากกกกกกก นานจนรู้สึกได้ นานจนอดคิดไม่ได้ว่า " โยมขออะไรเราน้า ?"


    3. ถอดรองเท้า ยืนด้วยเท้าเปล่า

    จริงๆแล้ว จุดประสงค์ของการถอดรองเท้าคือเป็นการให้ความเคารพพระสงฆ์โดยการไม่ยืนสูงกว่าท่าน เพราะเวลาพระสงฆ์บิณฑบาตจะเดินเท้าเปล่า แต่มีญาติโยมบางคนไม่เข้าใจเกี่ยวกับการถอดรองเท้าซึ่งมีหลายประเภทเหมือนกัน เช่น
    บางคนถอดรองเท้าอย่างเรียบร้อยแต่ยืนบนรองเท้า - -" ( สูงกว่าเดิมอีก)
    บางคนถอดรองเท้าและยืนบนพื้นจริง แต่ว่าตัวเองยืนบนฟุตบาท พระยืนบนพื้นถนนซะงั้น ( หนักกว่าเก่า)
    เคยมีเรื่องเล่าว่า มีโยมคนนึงยืนใส่บาตรพระ พระเห็นว่าโยมใส่รองเท้าเลยแนะนำโยมไปว่า
    พระ : "โยม อาตมาว่าโยมควร ถอดรองเท้าใส่บาตร นะ"
    โยมมีสีหน้าตกกะใจ ตอบพระไปว่า
    โยม : เอ่อ จะดีเหรอคะ
    พระ : ไม่เป็นไรหรอกโยม
    โยมก็จัดแจงถอดรองเท้า ยกขึ้นมาพร้อมกับถามพระว่า
    โยม : จะให้ใส่ข้างเดียวหรือว่าสองข้างเลยคะ
    อิบ้า!! ท่านหมายถึงถอดรองเท้าเวลาใส่บาตร ไม่ใช่ถอดรองเท้าเอามาใส่ในบาตร
    อันนี้เป็นเรื่องที่หลวงน้าท่านนึงเล่าให้ฟังระหว่างฉันเพล ( เรื่องขำขันขณะฉันเพล)
    พอถอดรองเท้าเสร็จก็เข้าสู่ขั้นตอนที่สี่


    4. ใส่บาตร


    อันนี้ถือเป็นจุดไคลแมกซ์ของการใส่บาตร
    สิ่งสำคัญที่ทุกคนมองข้ามก็คือควรดูว่าของที่นำมาใส่บาตรนั้น เสียรึเปล่า
    บางคนมีเจตนาอยากทำบุญดี แต่ดันไปซื้อของเสียมาใส่บาตร
    พระฉันไป เข้าห้องน้ำไป
    พวกร้านค้าก็จริงๆ บางครั้งเอาของค้างคืนมาขายเอากำไร ไม่สนใจพระเจ้า เห็นแก่ตัว หากินกับพระ
    ก็ฝากด้วยนะครับ เด๋วทำบุญจะได้บาปเปล่าๆ
    นอกจากนี้ ของที่นำมาใส่ ถ้าเพิ่งปรุงสุกเสร็จ ควรดูด้วยว่ามันร้อนมากรึเปล่า
    เคยมีโยมใส่แกง ร้อนมากๆๆ บาตรเกือบหล่น ทั้งนี้เพราะบาตรทำจากโลหะ นำความร้อนได้ดี ปริมาณไม่ควรมากจนเกินไป
    เคยมีโยมใส่บาตรด้วย "กล้วย ๓ หวี"
    กล้วยเล็บมือนาง กล้วยไข่ อาตมาไม่ว่า
    แต่นี่ใส่ "กล้วยหอม" ( อันนี้เกิดกับตัวเองจริงๆ)
    คิดดู "กล้วยหอม ๓ หวี" อยู่ในบาตร หนักมากกกก จนอยากบอกโยมว่า "โยม อาตมาไม่ใช่ช้าง"
    การใส่ก็ควรวางในบาตรด้วยอาการสำรวม
    โยมผู้หญิงบางคนกลัวโดนพระจัด พอถุงกับข้าวถึงแค่ปากบาตร ก็ปล่อยลงมา ตุ๊บ!! นึกว่ากาลิเลโอกลับชาติมาทดลองเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก (วางดีๆก็ได้ 55)
    ขั้นตอนต่อไปคือ


    5. รับพร

    หลังจากใส่บาตรเสร็จ พระสงฆ์ส่วนมากก็จะให้พร
    เราเป็นญาติโยม ก็ประนมมือรับพรกันตามระเบียบ โดยอาจยืนหรือนั่งยองๆ ก็ได้ ก้มหัวแต่พองาม
    เคยมีโยมยืนประนมมือ แต่ก้มหน้ามาแทบชนพระ ห่างจากหน้าพระประมาณคืบเดียว (ไม่ต้องใกล้ชิดศาสนาขนาดนั้นก็ได้โยม (ตอนนั้นให้พรเบาๆ เพราะไม่มั่นใจเรื่องกลิ่นปาก)
    ถ้าเป็นโยมผู้หญิงก็นั่งให้เรียบร้อย เหมาะสม
    ระหว่างนี้ก็อุทิศส่วนกุศลให้คนที่รัก เจ้ากรรมนายเวรและอื่นๆ ก็ว่ากันไป


    การใส่บาตรที่อยากแนะนำก็มีประมาณเท่านี้
    ขั้นตอนการทำบุญง่ายๆ
    ตื่นเช้ามาใส่บาตรกันเถอะ

    ที่มา : Forward mail

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ พิณอิสระ
    วันที่สมัคร
    Sep 2008
    ที่อยู่
    ขอนแก่น อุดรธานี และสุรินทร์
    กระทู้
    503
    สาธุ อนุโมทนา ครับ ที่หาแนวมาให้อ่าน
    หลวงพี่วัดได๋กะซะมาคิกขุ คิกขุ แท้เน๊าะ
    อยากไปพายย่ามนำก้นเด้

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ไผ่หวาน
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    PATTAYA CITY
    กระทู้
    729
    บล็อก
    14
    สาธุ อนุโมทนา ครับ ที่หาแนวมาให้อ่าน
    หลวงพี่วัดได๋กะซะมาคิกขุ คิกขุ แท้เน๊าะ
    อยากไปพายย่ามนำก้นเด้


    ลักษณะประมาณนี้ น่าจะเป็นคำเว้าของ พระมหาสมปอง

  4. #4
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ pcalibration
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    เมืองฉะเชิงเทรา(แปดริ้ว)
    กระทู้
    1,883
    บล็อก
    1
    ตักบาตรแล้วก่ะมารับพรเด๊อคุณโยม

    สัพพีตีโย วิวัชฌันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุมา
    (สับ-พี-ติ-โย-วิ-วัด-ชัน-ตุ-สับ-พะ-โร-โค-วิ-นัด-สะ-ตุ-มา)
    เตภะวัตวันตะราโย สุขี ฑีฆายุโก ภะวะอะภิวา
    (เต-พะ-วัด-วัน-ตะ-รา-โย-สุ-ขี-ที-คา-ยุ-โก-พะ-วะ-อะ-พิ-วา)
    ทันนะสีลิส สะนิสจัง วุฒธาปะจายิโน จัตตาโร
    (ทัน-นะ-สี-ลิด-สะ-นิด-จัง-วุด-ทา-ปะ-จา-ยิ-โน-จัด-ตา-โร)
    ธัมมา วัตทันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง
    (ทำ-มา-วัด-ทัน-ติ-อา-ยุ-วัน-โน-สุ-ขัง-พะ-ลัง)

  5. #5
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

    บิณฑบาตรถอดเกิบ ระวังเหยียบแก้วเด้อครับหลวงพี่ อิอิ

  6. #6
    ศิลปิน นักร้อง นักแสดง
    มิสบ้านมหา 2011
    สัญลักษณ์ของ ผู้ก่อการรัก
    วันที่สมัคร
    Feb 2006
    ที่อยู่
    HappyLand ดินแดนแห่งความสุข, Thailand
    กระทู้
    3,161
    อ่านไปกะหัวไปอยู่คนเดียวเนาะ

    อ่านแล้วกะคึดว่าเป็นพระมหาสมปองคือกันจ้า เอ แต่ในนี้บอกว่าเคยเป็นพระ

    แสดงว่าต้องไม่ใช่พระมหาสมปองแน่ๆ เลย เขียนได้น่ารักเชียว
    ล้มแล้วฟื้นยืนสู้ชูช่อใหม่ เพราะต้นยังสดใสผลิใบเขียว
    ลุกขึ้นต้านลมฝนต้นเป็นเกลียว รากยึดเหนี่ยวซับซ้อนกับพื้นดิน



  7. #7
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ไทสกลฯ
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    กระทู้
    217
    กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ pcalibration
    ตักบาตรแล้วก่ะมารับพรเด๊อคุณโยม

    สัพพีตีโย วิวัชฌันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุมา
    (สับ-พี-ติ-โย-วิ-วัด-ชัน-ตุ-สับ-พะ-โร-โค-วิ-นัด-สะ-ตุ-มา)
    เตภะวัตวันตะราโย สุขี ฑีฆายุโก ภะวะอะภิวา
    (เต-พะ-วัด-วัน-ตะ-รา-โย-สุ-ขี-ที-คา-ยุ-โก-พะ-วะ-อะ-พิ-วา)
    ทันนะสีลิส สะนิสจัง วุฒธาปะจายิโน จัตตาโร
    (ทัน-นะ-สี-ลิด-สะ-นิด-จัง-วุด-ทา-ปะ-จา-ยิ-โน-จัด-ตา-โร)
    ธัมมา วัตทันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง
    (ทำ-มา-วัด-ทัน-ติ-อา-ยุ-วัน-โน-สุ-ขัง-พะ-ลัง)



    เอ๋า..หลวงพี่ก่ะดาย.. มาสัพพีฯ ลัดกันไวแท้.. ให้อาตมา ยะถาฯ ก่อนแน มันจังสิขลัง..ผู้เพิ่นอยากกรวดน้ำซั่นดอก....หุหุ

  8. #8
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ พิณอิสระ
    วันที่สมัคร
    Sep 2008
    ที่อยู่
    ขอนแก่น อุดรธานี และสุรินทร์
    กระทู้
    503

    โอ๊ยเน๊าะ........มาหลวงพี่หลายแท้นอ

    นิมนต์เด้อข่าน้อย

    มา มา หมู่เฮา มารับพร อิอิ

  9. #9
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ มั่วหน่าฮ่าน
    วันที่สมัคร
    Jan 2007
    กระทู้
    1,781
    หลวงพ่อๆ..เอาต้มไก่บ่ครับ

  10. #10
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ กำลังใจ
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    1,529
    บล็อก
    1
    สิ่งดีมีประโยชน์ที่ทุกคนควรทราบ

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •