การละเล่นพื้นบ้าน ชื่อ
ไก่ขึ้นร้าน : การเล่นของเด็ก
ภาค ภาคใต้
จังหวัด สุราษฎร์ธานี



อุปกรณ์ และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
๑.. ผู้เล่น ๒ - ๕ หรือมากกว่าก็ได้
๒. ไม้ไผ่เหลากลมขนาดโต และยาวเท่าดินสอหรือจะใช้ไม้อื่นที่มีลักษณะเดียวกันก็ได้ไม้นี้เรียกว่า "ไม้ชั่ง" ไม้ชั่งนี้มีจำนวน เช่น ๑๐ , ๑๕ หรือ ๒๐ อัน เป็นต้นวิธีการเล่น
วิธีเล่นจะตกลงกันว่าใครจะเล่นก่อนเล่นหลัง ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ใช้วิธีการชั่งไม้แข่งกันว่าใครจะได้มากกว่า วิธีช่างจะเอาไม้ชั่งตามที่กำหนดวางในมือข้างที่ถนัด โยนขึ้นแล้วเอาหลังมือรับแล้วโยนขึ้นอีก ใช้ด้านฝ่ามือรับ ทุกคนผลัดกันเล่นเช่นนี้คนละครั้งใครรับไม้ได้มากกว่าก็ได้เล่นก่อน คนได้จำนวนรองลงมาก็เล่นถัด ๆ มาตามลำดับในการเล่นมีต่างกันเขตพื้นที่ในจังหวัดพังงา ผู้เล่นจะตกลงกันว่าจะใช้ไม้กี่อัน หลังจากชั่งไม้แข่งกันหาผู้เล่นก่อนหลังได้แล้ว ผู้เล่นก่อนจะโยนไม้ชั่งทั้งหมดขึ้นแล้วรับด้วยหลังมือ
โดยไม้ชั่งขึ้นจากหลังมือแล้วรับไม่ให้ได้เพียง ๑ อัน ถ้ารับได้ ๑ อัน ไม้ที่รับได้นั้นแยกไว้ต่างหากเป็นคะแนน แล้วเล่นต่อไปเช่นนี้เรื่อย ๆ จนกว่าจะตาย การตายเกิดจากรับไม้ไม่ได้เลย หรือได้เกิน ๑ อัน จะต้องเปลี่ยนให้คูแข่งขันคนต่อไปเล่นต่อ เล่นเช่นนี้จนหมดไม้ในมือ แล้วนับดูว่าไม้ชั่งที่แต่ละคนรับได้มีจำนวนคนละเท่าใด คนที่ได้ไม้ชั่งมากที่สุดเป็นคนชนะโอกาสหรือเวลาที่เล่น
ไก่ขึ้นร้าน เป็นการเล่นอย่างหนึ่งของเด็ก นั่งเล่นในที่ร่มได้ทุกแห่ง ในเวลายามว่าง อีกอย่างหนึ่งเครื่องมือและอุปกรณ์จะต้องพร้อมถึงจะเล่นได้

คุณค่า / แนวคิด / สาระ
๑. ทำให้เกิดความสนุกสนานในการเล่น
๒. ฝึกความเป็นคนเคารพกติกา
๓. ฝึกความเป็นคนช่างสังเกต (เพราะเวลารับต้องดูว่าไม้อันไหนแยกตัวต่างหากก็เลือกรับอันนั้น)
๔. ช่วยการใช้กล้ามเนื้อมือ
๕. ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ