การละเล่นพื้นบ้านชื่อ
บ่าขี้เบ้าทราย
ภาคเหนือ
จังหวัด น่าน



อุปกรณ์
๑. กองทราย
๒. ลูกขี้เบ้าทราย ลูกขี้เบ้าทำมาจากทรายที่ละเอียดพอควร หากเป็นทรายหยาบมักจะไม่ค่อยแข็งแรงเท่าที่ควร ลูกขี้เบ้ามี

วิธีทำ
๑.๑ นำทรายที่ละเอียดพอมาหนึ่งกำมือ เอาน้ำใส่ในทราย พอปั้นเป็นรูปกลม ๆ ได้ น้ำไม่ควรมากเกินและน้อยเกินไป เพราะการปั้นทรายให้เป็นรูปกลม ๆ ต้องใช้น้ำให้พอเหมาะ
๑.๒ พอปั้นทรายให้เป็นรูปกลม ๆ แล้ว นำทรายนั้นมาคลุกกับทรายอีกจนแข็ง หาก ทำให้เนื้อทรายผิวนอกเกิดสีผิวคล้ำเข้มกว่าผิวปกติ จะแข็งมากกว่าลูกอื่น ๆ และจะให้แข็งขึ้นไปอีกก็ต้องนำไปฝังดินหรือทรายให้นานกว่า ๔ - ๕ วันขึ้นไป
วิธีการเล่นลูกขี้เบ้า มีอยู่ ๒ วิธี คือ
๑. เล่นแบบ ๒ ลูก คือ ในกองทรายให้ขุดหลุมลงไปให้มีทางยาวเป็นหนึ่งทาง ให้ตรงกลางหลุมลึกกว่าตรงปลายหลุม แล้วให้ลูกขี้เบ้าของเด็กสองคนมาชนกัน หากใครเป็นฝ่ายแตกฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายแพ้ไปทำมาเล่นใหม่
๒. เล่นแบบ ๔ ลูก คือ การเล่นแบบที่ ๑ แต่มีลูกขี้เบ้าทรายมากกว่า ๒ นี้ ผู้เล่นต้องขุดหลุมเป็นทางมากกว่า ๑ ทางขึ้นไป เช่น เล่นแบบ ๔ ลูก ผู้เล่นก็มี ๔ คน ลูกขี้เบ้าคนละลูก ขุดหลุมทรายออกให้เป็นรูปกากบาท ให้ตรงกลางหลุมลึกกว่าตรงปลายหลุม แล้วผู้เล่นก็นำลูกขี้เบ้าทั้ง ๔ คน นำเอามาวางบนปากหลุม ทุกคนก็ปล่อยลงไปพร้อมกัน ดูว่าลูกใครแตกน้อยที่สุดผู้นั้นก็ชนะ

โอกาสหรือเวลาที่เล่น
ลูกขี้เบ้าทำมาจากทราย ฉะนั้นการเล่นลูกขี้เบ้าก็จะต้องเล่นในที่ที่มีทราย เวลาเด็กไปเล่นกันในวัดก็มักจะพบเด็กเล่นลูกขี้เบ้ากัน แต่พอระยะหลัง ๆ กองทรายที่จะให้เด็กเล่นกันหาไม่ค่อยได้ลูกขี้เบ้าจึงหาดูได้ยากขึ้น จึงมักจะเล่นกันในช่วงสงกรานต์ที่มีการขนทรายเข้าวัด

คุณค่า / แนวคิด / สาระ
บ่าขี้เบ้าทราย เป็นการละเล่นที่ฝึกความคิดที่จะสร้างให้ลูกบ่าขี้เบ้าแข็งแรง เป็นการฝึกความอดทนและทำให้กล้ามเนื้อส่วนแขนขาใช้งานและบริหารให้แข็งแรงขึ้น และทำให้เป็นผู้ยอมรับในกติกาการเล่น