การละเล่นพื้นบ้านชื่อ
มังคละ
ภาคเหนือ
จังหวัด พิษณุโลก

อุปกรณ์และวิธีการเล่น
๑. กลองมังคละ เป็นกลองหนังหน้าเดียวขนาดเล็กทำจากไม้ขนุน หน้ากลองมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๕ นิ้ว หุ้มด้วยหนัง กลองยาวประมาณ ๑๐ นิ้ว
๒. ปี่ มีลักษณะคล้ายปี่ชวา ๑ เลา
๓. กลองสองหน้า ๒ ขนาด ขนาดใหญ่ เรียกว่ากลองยืน ขนาดเล็กเรียกว่า กลองหลอน ตีจังหวะขัดล้อกัน
๔. เครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ ฆ้อง ๓ ใบ แขวนอยู่บนคานหาม ฉิ่ง และฉาบใหญ่ ๒

วิธีการเล่น
มีผู้ถือหรือสะพายกลองไว้เบื้องหลัง ให้ผู้เล่นอีกคนถือหวายยาวประมาณ ๑๗ นิ้ว ๒ อัน แล้วเดินตีกลองไปตามจังหวะเมื่อตีจะเกิดเสียงดัง โกร๊ก ๆ

โอกาส
มังคละ มักนิยมเล่นในงานมงคลต่างๆเพื่อความสนุกสนานครื้นเครง เช่น งานแห่นาค แห่กฐิน งานกลางแจ้งต่าง ๆ

สาระ
เป็นดนตรีพื้นบ้านในเขตภาคเหนือตอนล่าง เป็นที่นิยมกันมานาน มีหลักฐานว่าดนตรีมังคละเล่นกันมานานกว่า ๑๐๐ ปี เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดพิษณุโลก