ชื่อ
ประเพณีการแข่งเรือยอกอง
ภาคใต้
จังหวัด นราธิวาส



ความสำคัญของประเพณี
ประเพณีการแข่งเรือยอกอง หรือที่ชาวนราธิวาสเรียกว่า "คอฆอล" ซึ่งเป็นภาษาพื้นเมืองของคนท้องถิ่นในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเรียกตามลักษณะของเรือ เพราะมีขนาดไม่เล็กและไม่ใหญ่ ซึ่งมีความสวยงามมาก ถ้ายิ่งเรือที่ประกอบเสร็จใหม่ จะมีการทาสีตกแต่งลวดลายอันประณีตบรรจงอย่างสวยงามมาก ซึ่งในอดีตเรือตัวนี้จะมีการนำเรือยอกองมาใช้ในการประกอบอาชีพการทำประมงจนถึงในปัจจุบันก็ยังมีอยู่ การแข่งขันเรือยอกองได้เริ่มมีการแข่งขันใน พ.ศ. ๒๕๒๓ และได้หยุดไประยะหนึ่ง แล้วได้มีการจัดการแข่งขันขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ก็ได้มีการจัดการแข่งขันเรือยอกอง อย่างจริงจังขึ้น พร้อม ๆ กับการแข่งขันเรือกอและ และเรือยาว ซึ่งเรือทั้ง ๒ ประเภทนี้ได้จัดให้มีการแข่งขันมานานแล้ว และเรือยอกองยังได้เป็นเรือประเภทหนึ่งที่ได้ทำการแข่งขันหน้าพระที่นั่ง ซึ่งเรือที่ชนะจะได้รับรางวับถ้วยพระราชทาน

ช่วงเวลาที่มีการแข่งขันเรือยอกอง
การแข่งขันเรือยอกองหรือคอฆอลนั้นได้จัดให้มีประเพณีการแข่งขันกัน ตามโอกาส หรือเมื่อมีพิธีการต่าง ๆ โดยเฉพาะในการแข่งขันหน้าพระที่นั่งเป็นประจำทุกปี ที่มีการแปรพระราชฐานพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์

พิธีกรรมของการแข่งเรือยอกอง
ในการแข่งขันเรือยอกองนั้นได้มีการจัดแบ่งการแข่งขันดอกเป็น ๒ ประเภท คือ
ประเภทชาย จะมีฝีพาย ๕ คน ระยะทาง ๕๐๐ เมตร
ประเภทหญิง จะมีฝีพาย ๕ คน ระยะทาง ๓๐๐ เมตร และมีการสวมเสื้อชูชีพด้วย
และจะมีความเชื่อเป็นส่วนบุคคลในการแข่งขันเรือยอกองเพื่อที่จะทำให้เรือของตนนั้นเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน

สาระของประเพณีการแข่งเรือยอกอง
ในการแข่งเรือยอกอง จะมีการฝึกซ้อมก่อนการแข่งขัน เพื่อให้เกิดความสามัคคีของฝีพายที่จะพายเรือยอกองในการแข่งขันเพื่อให้มีความพร้อมเพรียงและเข้าจังหวะกัน ในการพาย ซึ่งจะส่งเสริมความสามัคคีและเกิดความสนุกสนานขึ้นอีกด้วย