กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: ประวัติ หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก (ใช้เป็นข้อมูลเพื่อวิทยาทานเท่านั้น)

  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวต้อม
    วันที่สมัคร
    Jan 2009
    ที่อยู่
    คนอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
    กระทู้
    347

    ประวัติ หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก (ใช้เป็นข้อมูลเพื่อวิทยาทานเท่านั้น)

    ประวัติโดยสังเขป

    พระอาจารย์ วิรพล ฉัตติโก (หลวงปู่เณรคำ)


    วัดป่าขันติธรรม บ้านยาง ต.ยาง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ


    ประวัติ หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก (ใช้เป็นข้อมูลเพื่อวิทยาทานเท่านั้น)

    “พระอาจารย์วิรพล ฉัตติโก” หรือ “หลวงปู่เณรคำ”ประธานสงฆ์แห่งวัดป่าขันติธรรม บ้านยาง ต.ยาง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ เป็นพระนักปฏิบัติจิตบำเพ็ญภาวนากัมมัฏฐานรุ่นใหม่ พระนักพัฒนา และพระนักเทศน์ชื่อดัง ที่มีความตั้งใจจะเป็นแบบอย่างที่ดีของพุทธศาสนิกชนชาวเมืองศรีสะเกษ สร้างแรงศรัทธาเลื่อมใสให้กับชาวบ้านศรัทธาญาติโยม
    ให้ประพฤติปฏิบัติในหลักธรรมคำสอนแห่งพระพุทธองค์



    หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก มีนามเดิมว่า “วิรพล สุขผล” ถือกำเนิดที่บ้านทรายมูล ต.ทรายมูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2522 เป็นบุตรคนที่ 4 ของคุณพ่อรัตน์ สุขผล และคุณแม่ สุดใจ สุขผล มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน เป็นผู้ชายหมด เมื่อองค์หลวงปู่เณรคำบวชเป็นพระภิกษุแล้ว ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนา ว่า “ฉัตติโก”
    “พระอาจารย์ วิรพล ฉัตติโก”


    ประวัติ หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก (ใช้เป็นข้อมูลเพื่อวิทยาทานเท่านั้น)

    พระเดชพระคุณท่าน หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก ได้มีปฎิปทาตั้งมั่นตามแนวทางคำสอนขององค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตั้งแต่ครั้งยังเป็นเด็กอายุ 6 ขวบ ได้มีศรัทธาในการปฏิบัติจิต บำเพ็ญภาวนากรรมฐานมาโดยตลอด ทุกวันพระจะหยุดเรียน และนุ่งขาวห่มขาวเข้าไปถือศีลบำเพ็ญภาวนาในวัด ตั้งแต่เช้าจรดค่ำจะมีอิริยาบถแห่งการปฏิบัติธรรมอยู่ตลอด ไม่มีด่างพร้อย ไม่มีการพลั้งเผลอแม้แต่น้อย ทั้งวันจะเดินจงกรมสลับกับการนั่งภาวนาใต้ร่มไทร ช่วงกลางวันจะไปนอนในป่าช้า ตรงที่เป็นโบกปูนใช้สำหรับเผาผี โดยไม่เคยมีความกลัวหรือหวั่นวิตกอะไร จิตนั้นนิ่งโดยตลอด ทั้งๆ ที่ไม่เคยบำเพ็ญมาก่อนในชาตินี้ ในปัจจุบันชาติเพิ่งจะเริ่มต้น แต่ผลของการปฏิบัติมันก็เกิดขึ้นทันที นี่เป็นสัญญาณบ่งบอก เป็นหมายเหตุบอกถึงความจริงในการบำเพ็ญบารมีของแต่ละคนว่า “แม้เราบำเพ็ญในชาตินี้หรือว่าชาติไหนๆ ผลของการปฏิบัติบำเพ็ญนั้นมันยังคงอยู่เหมือนเดิม ไม่เสื่อมไปไหน” วันธรรมดาก็ไปโรงเรียน พอพักเที่ยงจะไปนั่งสมาธิใต้ร่มไม้ เลิกเรียนจะเข้าไปไหว้พระก่อนกลับจากโรงเรียน และเดินจงกรมกลับบ้านทุกวันเป็นกิจภายใน ที่ไม่มีใครรู้ได้นอกจากตัวเอง

    ประวัติ หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก (ใช้เป็นข้อมูลเพื่อวิทยาทานเท่านั้น)


    พอเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา ท่านคิดอยู่เสมอว่า “ถ้าเสร็จจาก ภารกิจทางโลกแล้ว เราจะไม่กลับมา ทางโลกอีก เราคงเคยเกิดมาหลายชาติแล้ว เราคงพอแก่การเกิดได้แล้วในชาตินี้ เห็นอะไรก็เกิดความสลดสังเวชไปหมด จึงเป็นแนวทางทำให้รู้สึกเหมือนกับว่า เรารู้มาก่อน เห็นมาก่อน ตั้งแต่อดีตชาติ เหมือนกับเราจะได้ต่อเติมเส้นทางแห่งการปฏิบัติธรรมการบำเพ็ญเพียรเพื่อให้ หลุดพ้น” เลิกเรียนจึงไปปักกลด นั่งบำเพ็ญภาวนาที่อยู่ที่กระต๊อบกลางน้ำ ที่ปลายนาของโยมพ่อโยมแม่ทุกวัน วันพระจะถือกลดไปโรงเรียนด้วย พอเลิกเรียนจะเข้าไปปักกลดบำเพ็ญภาวนาที่วัด บางครั้งก็ไปปักกลดนั่งบำเพ็ญภาวนา อยู่ที่กระต๊อบกลางน้ำที่ปลายนาของโยมพ่อโยมแม่ทั้งคืนจนสว่าง ปฏิบัติเช่นนี้เป็นกิจวัตร

    ประวัติ หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก (ใช้เป็นข้อมูลเพื่อวิทยาทานเท่านั้น)

    จากการปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องมาตลอด จนกระทั่งอายุได้ 13 ขวบ ครั้งหนึ่งขณะนั่งบำเพ็ญภาวนาที่กระต๊อบกลางน้ำนั้น ตัวของท่านลอยขึ้น พอมาเดินจงกรมอยู่บนคันนา ก็เดินเหนือพื้นดินโดยเท้าไม่ได้แตะพื้นดินเลย และอีกครั้งหนึ่งท่านได้นั่งบำเพ็ญภาวนานานติดต่อถึง 5 ชั่วโมง จนถึงเวลาประมาณ ตี 2 จะไปอาบน้ำในบ่อน้ำ พอลุกจากที่นั่งภาวนาตัวเบา……….หวิว เหมือนกับว่าเท้าไม่ได้แตะฝุ่นละอองบนพื้นเลย เดินลงไปในบ่อน้ำก็ไม่จมน้ำ ถือว่าเป็นปรากฏการณ์อันมหัศจรรย์ เกิดกำลังใจ ยิ่งทำให้เร่งความเพียรหนักขึ้น และเป็นหนทางให้ออกบวช

    ครั้นอายุได้ 15 ปี ท่านได้ออกบวชเป็นสามเณร ที่วัดภูเขาแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีท่านหลวงปู่โชติ อาภัคโค เป็นอุปัชฌาย์ บรรพชาเสร็จแล้ว ได้ไปจำพรรษาที่วัดป่าดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ระยะหนึ่ง


    ประวัติ หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก (ใช้เป็นข้อมูลเพื่อวิทยาทานเท่านั้น)

    จากนั้นเดินทางจาริกธุดงค์ ปักกลดอยู่ถ้ำภูตึก บ้านคุ้มปากมูล อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ขณะนั่งบำเพ็ญภาวนาอยู่ในถ้ำภูตึกนั้น มีงูเหลือมตัวหนึ่งเลื้อยมาพาดขา พาดตักบ้าง บางคืนนอนอยู่ งูเหลือมจะเลื้อยมาขดอยู่บนหน้าอก หนักมาก แต่จิตไม่มีการวิตกกังวลหรือกลัวอันใดเลย เพราะชีวิตนี้บูชาคุณพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้าเป็นใหญ่ที่สุด พระธรรมเป็นใหญ่ที่สุด
    พระอริยสงฆ์เป็นใหญ่ที่สุด ตอนนั้นคิดแต่ว่า เราต้องทำหน้าที่ให้ถึงพระพุทธเจ้า ทำให้ถึงพระธรรม ทำให้ถึงซึ่งความเป็นพระอริยสงฆ์ ความกลัวทั้งหลายจึงไม่มี และได้บำเพ็ญภาวนาอยู่ในถ้ำภูตึกนั้นคนเดียวนานถึง 3 เดือน

    ต่อจากนั้นก็ลงจากถ้ำภูตึกไป และจาริกธุดงค์ไปเรื่อยๆ ปรากฏว่าเริ่มเห็นสิ่งอัศจรรย์เยอะแยะมากมายเกิดขึ้น เช่น สิ่งลี้ลับต่างๆ ที่คนทั่วไปมองไม่เห็น มองเห็นมุมโลกสองมุม คือ มุมมืดและมุมสว่างแห่งการเวียนว่ายตายเกิด มองเห็นสวรรค์ มองเห็นอบายภูมิ ประกอบด้วยนรก เปรตและอสุรกาย และเริ่มออกทำการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างต่อเนื่องมาตลอดจนถึงปัจจุบัน


    บรรดาสานุศิษย์ทั้งหลาย ได้ให้การยอมรับและเคารพนับถือพระเดชพระคุณท่าน หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก เป็นอย่างยิ่งว่า เป็นพระสงฆ์สาวก ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามแนวทางคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่ง


    ประวัติ หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก (ใช้เป็นข้อมูลเพื่อวิทยาทานเท่านั้น)
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย บ่าวต้อม; 19-09-2009 at 19:00.

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวต้อม
    วันที่สมัคร
    Jan 2009
    ที่อยู่
    คนอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
    กระทู้
    347






    ที่มาของชื่อ “หลวงปู่เณรคำ”

    เมื่อครั้ง พระเดชพระคุณท่าน หลวงปู่เณรคำ ท่านไปจาริกธุดงค์อยู่ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ พุทธศาสนิกชนพากันไปกราบคารวะนมัสการและได้มองเห็นองค์หลวงปู่ ซึ่งท่านนั่งบำเพ็ญภาวนาอยู่ในกลดบาง ๆ เป็นพระแก่ชรา แต่พอท่านเปิดกลดออกมาก็กลายเป็นเณรน้อยออกไปบิณฑบาต ขากลับจากบิณฑบาต พุทธศาสนิกชนบางคน ได้มองเห็นองค์หลวงปู่ท่านเป็นพระแก่ชรา อายุราว 80 ถึง 90 ปี ผมหงอก หลังค่อม เหี่ยวย่น หนังยาน บางคนฝันเห็นพระเดชพระคุณท่าน หลวงปู่เณรคำ ไปยืนอยู่บนหัวเตียงเดี๋ยวเป็นเณรน้อยอายุน้อย ๆ เดี๋ยวก็กลายเป็นพระที่แก่ชรามาก
    ตั้งแต่นั้นมาก็เริ่มมีคนเรียก ตามสิ่งที่เขาเห็น “หลวงปู่” หรือ “หลวงปู่เณรคำ” ฉัตติโก อ่านว่า ฉัตติโก






    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย บ่าวต้อม; 19-09-2009 at 18:48.

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •