มารยาททางใจ

ผู้มีมารยาททางใจคือผู้ที่ได้มีการปรับปรุงจิตใจให้ฝักใฝ่ในศีลธรรมคือเรา ทุกคนย่อมทราบว่าอะไรถูกอะไรผิดด้วยกันทั้งนั้นและย่อมใฝ่ในคุณงามความดี ด้วยกันทั้งนั้น เมื่อเราไม่ชอบอะไรคนอื่นก็คงไม่ชอบเหมือนกัน จึงควรวางตนเป็นคนช่างใช้ความคิดเสมอหลักธรรมเป็นแนวปฏิบัติดังนี้ คือ

มีพรหมวิหาร คือธรรมประจำใจของผู้ประเสริฐ หรือ ผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่กว้างขวางดุจพระพรหม 4 อย่าง ดังนี้

1. เมตตา ความรัก ความปรารถนาดี มีไมตรี ต้องการช่วยเหลือให้ทุกคนประสบประโยชน์และ ความสุข

2. กรุณา ความสงสาร อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์ ใฝ่ใจที่จะปลดเปลื้องยำยัดความทุกข์จากความเดือดร้อนของผู้อื่น

3. มุทิตา ความเบิกบานยินดี เมื่อเห็นผู้อื่นอยู่ดีมีความสุข ก็มีจิตใจแช่มชื่นเบิกบาน

4. อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง มีจิตราบเรียบ ไม่เอนเอียงด้วยรักหรือชังเมื่อมีคุณธรรมภายในเป็นพื้นฐาน จิตใจเช่นนี้แล้วย่อมทำให้การแสดงออกภายนอกเป็นไปอย่างบริสุทธิ์หนักแน่นและ จริงจังฉะนั้น

บุคคลพึงระวังสำรวมความคิดจิตใจที่มักจะแสดงออกมาให้เห็นทางกิริยาและวาจา ให้ถูกต้องแลงดงามเหมาะกับกาลเทศะและแก่บุคคลเวลาอยู่ในสมาคม หรือในที่สาธารณะ เป็นตัวอย่างต่อไปนี้

1. ในงานมงคลต่าง ๆ ควรแสดงสีหน้าเบิกบานสดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ

2. ในเวลาเยี่ยมคนป่วย ควรระมัดระวังกิริยาอาการให้เรียบร้อย ใช้คำพูดที่อ่อนโยนเพื่อปลอบใจผู้ป่วย ไม่พูดอะไรที่จะกระทบกระเทือนใจผู้ป่วย ไม่พูดอะไรที่จะกระทบกระเทือนใจผู้ป่วย ควรหาเรื่องสนุกมาเล่าสู่กันฟัง

3. ในงานเผาศพ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ควรแสดงกิริยาสงบและสงวนความรื่นเริงไว้ให้มากกว่าเวลาอื่นเช่น เผาศพแล้ว ไม่ควรยืนจับกลุ่มสนทนาร่าเริงกันทักทายกันพอสมควรแล้วกลับ ถ้าจะอยู่เผาจริงควรหาที่สมควรนั่งด้วยความสำรวมระวังแต่การไปช่วยงานศพของ เราในปัจจุบันมักจะเห็นกันว่าเป็นการษมาคมอย่างทั่วๆไปแขกมักจะอยู่นานโดย ถือว่าเป็นกันเองเมื่อเป็นเช่นนี้ก็เกิดจับกลุ่มสนทนาออกรสชาติสนุกสนานขึ้น มาซึ่งเป็นการผิดมารยาทอย่างยิ่งสุภาพชนควรรู้ว่าตนกำลังอยู่ในสังคมใด สถานที่เช่นใด จึงควรพยายามยั้งใจตนเองให้อยู่ในความพอดีเสมอ


ที่มา เวบประเพณีไทย