กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: นรก - สวรรค์-คำสาป “ตะรุเตาแห่งอันดามัน”

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    นรก - สวรรค์-คำสาป “ตะรุเตาแห่งอันดามัน”

    นรก - สวรรค์-คำสาป “ตะรุเตาแห่งอันดามัน”



    นรก - สวรรค์-คำสาป “ตะรุเตาแห่งอันดามัน”


    นรก - สวรรค์-คำสาป “ตะรุเตาแห่งอันดามัน”


    นรก - สวรรค์-คำสาป “ตะรุเตาแห่งอันดามัน”



    ตะรุเตา เคยเป็นเกาะนรก สถานที่คุมขังนักโทษอุฉกรรจ์ และนักโทษการเมืองในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง.


    วันนี้ เกาะนรกกลายเป็นเกาะสวรรค์ ที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกต่างก็พากันเดินทางไปสู่ ด้วยน้ำทะเลที่ใสสะอาด หาดทรายที่ขาวละเอียด ปะการังที่สวยงามและสมบูรณ์ อีกทั้งเป็นเพียงหมู่เกาะเดียวของกลางทะเลอันดามัน ที่รอดพ้นหายนะภัยสึนามิได้อย่างไม่น่าเชื่อ คลื่นสึนามิที่แสนจะทรงพลังเมื่อพัดเข้าสู่หมู่เกาะตะรุเตากลับเหมือนคลืนกระทบฝั่งธรรมดา ๆ เท่านั้น.




    ภาคนรกและคำสาป


    นรก - สวรรค์-คำสาป “ตะรุเตาแห่งอันดามัน”



    นรกบนเกาะตะรุเตา

    เกาะตะรุเตา นับเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของอุทยาน มีพื้นที่ 152 ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาที่มี สภาพเป็นป่าดิบชื้นซึ่งยังมีพรรณไม้และสัตว์ป่าที่น่าสนใจจำนวนไม่น้อย และมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นป่าชายเลน นอกจากนี้ยังมี อ่าวน้อยใหญ่ที่มีชายหาดสวยงามอยู่หลายแห่ง และในท้องทะเลของ เกาะตะรุเตา ยังมีพันธุ์ปลามากมายหลายชนิดรวมทั้ง เต่าทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 4 ชนิด



    คำว่า “ ตะรุเตา ” นี้ เพี้ยนมาจากคำว่า “ตะโละเตรา” ในภาษามลายูแปลว่า มีอ่าวมาก นอกจากสภาพธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์แล้ว เกาะตะรุเตา ยังมีประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำ โดยในปี พ.ศ. 2479 รัฐบาลมีนโยบายให้กรมราชทัณฑ์จัดหาสถานที่เพื่อจัดตั้งนิคมฝึกอาชีพ และเป็นสถานที่กักกันนักโทษ เกาะตะรุเตา ซึ่งอยู่ห่างไกลจากฝั่ง เต็มไปด้วยปัจจัยทางธรรมชาติที่เป็นอุปสรรคต่อการหลบหนี ก็ได้ถูกกำหนดให้เป็นสถานที่จัดตั้งนิคมดังกล่าว มีการจัดสร้างอาคารที่ทำการ บ้านพักของผู้คุม เรือนนอนนักโทษ และโรงฝึกอาชีพขึ้นที่อ่าวตะโละวาว และอ่าวตะโละอุดัง ในปี พ.ศ.2481 นักโทษชุดแรกจำนวน 500 คนก็ได้เดินทางมายัง ตะรุเตา และทยอยเข้ามาอีกเรื่อยๆ จนกระทั่งในช่วงปี พ.ศ.2482 รัฐบาลได้ส่งนักโทษการเมือง 70 คน ซึ่งเป็นกลุ่มนักโทษจากเหตุการณ์กบฏบวรเดชและกบฏนายสิบ มากักบริเวณอยู่ที่อ่าวตะโละอุดัง


    ในปี พ.ศ.2484 สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่อุบัติขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อนิคมฝึกอาชีพ ตะรุเตา เนื่องจากเกิดภาวะขาดแคลนอาหาร และยารักษาโรค นักโทษเจ็บป่วยล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ผู้คุมและนักโทษจำนวนหนึ่งจึงได้ออกปล้นสะดมเรือสินค้าที่ผ่านไปมาในน่านน้ำบริเวณช่องแคบมะละกา จนทำให้เรือสินค้าไม่กล้าล่องเรือผ่านมาในบริเวณนั้น ในปี พ.ศ.2489 รัฐบาลอังกฤษซึ่งปกครองมลายูอยู่ในขณะนั้น ได้ขออนุญาตจากรัฐบาลไทยในการส่งกองกำลังเข้าปราบปรามโจรสลัด ตะรุเตา จนสำเร็จ ต่อมากรมราชทัณฑ์ได้ประกาศยกเลิกนิคมฝึกอาชีพ ตะรุเตา และหลังจากนั้น เกาะตะรุเตา ก็ถูกทิ้งร้างเป็นเวลา 26 ปี จนกระทั่งวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2517 กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติตะรุเตาขึ้น โดยนับเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย


    ที่ตั้ง:
    จ.สตูล ประเทศไทย
    พิกัด:
    6°35′0″N, 99°39′0″E
    พื้นที่:
    931,250 ไร่ (1,490 ตร.กม.)
    จัดตั้ง:
    19 เมษายน 2517
    นักท่องเที่ยว:
    15,708 [2] คน (ปีงบประมาณ 2549)
    ดูแลโดย:
    สำนักอุทยานแห่งชาติ




    ภาคสวรรค์-สวรรค์อันดามันใต้


    ตะรุเตา สวรรค์อันดามันใต้


    นรก - สวรรค์-คำสาป “ตะรุเตาแห่งอันดามัน”


    นรก - สวรรค์-คำสาป “ตะรุเตาแห่งอันดามัน”


    นรก - สวรรค์-คำสาป “ตะรุเตาแห่งอันดามัน”


    วันนี้ เกาะนรกกลายเป็นเกาะสวรรค์ ที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกต่างก็พากันเดินทางไปสู่ ด้วยน้ำทะเลที่ใสสะอาด หาดทรายที่ขาวละเอียด ปะการังที่สวยงามและสมบูรณ์ อีกทั้งเป็นเพียงหมู่เกาะเดียวของกลางทะเลอันดามัน ที่รอดพ้นหายนะภัยสึนามิได้อย่างไม่น่าเชื่อ คลื่นสึนามิที่แสนจะทรงพลังเมื่อพัดเข้าสู่หมู่เกาะตะรุเตากลับเหมือนคลืนกระทบฝั่งธรรมดา ๆ เท่านั้น....


    นรก - สวรรค์-คำสาป “ตะรุเตาแห่งอันดามัน”



    นรก - สวรรค์-คำสาป “ตะรุเตาแห่งอันดามัน”



    แหล่งท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา

    อ่าวพันเตมะละกา

    อ่าวพันเตมะละกา มีชายหาดยาวขาวสะอาด เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติตะรุเตา และศูนย์บริการนักท่องเที่ยวซึ่งส่วนหนึ่งจัดเป็นนิทรรศการแสดงเรื่องของธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของ เกาะตะรุเตา อ่าวพันเตมะละกายังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม และจากอ่าวพันเตมะละกา ยังสามารถเดินขึ้นไปยังจุดชมวิวผาโต๊ะบูได้อีกด้วย



    อ่าวจาก เป็นอ่าวเล็กๆติดต่อกับอ่าวพันเตมะละกา


    อ่าวเมาะและ มีหาดทรายขาวสะอาด และดงมะพร้าวสวยงาม


    อ่าวสน ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 8 กิโลเมตร เป็นอ่าวรูปโค้งที่มีหาดทรายสลับกับหาดหิน และเป็นที่วางไข่ของเต่าทะเล


    อ่าวตะโละวาว

    อ่าวตะโละวาว อยู่ทิศตะวันออกของเกาะ เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ ตต.1 (ตะโละวาว) พื้นที่ประวัติศาสตร์แห่งนี้เคยเป็นสถานที่ตั้งนิคมฝึกอาชีพสำหรับนักโทษกักกันและนักโทษอุกฉกรรจ์ ปัจจุบันทางอุทยานฯได้จำลองอาคารสถานที่ที่เคยอยู่ในนิคมฝึกอาชีพ เช่น บ้านพักของผู้คุม เรือนนอนของนักโทษ โรงฝึกอาชีพ ไว้ในบริเวณดังกล่าว



    อ่าวตะโละอุดัง อยู่ทางทิศใต้ของเกาะ ห่างจากเกาะลังกาวี 8 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯที่ ตต.2 (ตะโละอุดัง) อดีตเป็นที่กักกันนักโทษการเมือง ซึ่งเป็นกลุ่มนักโทษจากเหตุการณ์กบฏบวรเดช และกบฏนายสิบ


    น้ำตกลูดู เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความสวยงาม อยู่ห่างจากอ่าวสนประมาณ 3 กิโลเมตร ซึ่งจากบริเวณอ่าวสนมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติไปยังน้ำตกลูดู


    ถ้ำจระเข้

    ถ้ำจระเข้ เป็นถ้ำที่มีความลึกประมาณ 300 เมตร ภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงามและมีลักษณะแตกต่างกันไป การเดินทางไปถ้ำจระเข้ต้องนั่งเรือหางยาวไปตามคลองพันเตมะละกา ซึ่งอุดมไปด้วย ป่าชายเลนที่มีไม้โกงกางจำนวนมากตลอดสองฝั่งคลองโดยใช้เวลาล่องเรือประมาณ 15 นาทีและใช้เวลา ชมถ้ำประมาณหนึ่งชั่วโมง ติดต่อได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวของอุทยานฯ ผู้ที่จะเที่ยวชมภายในตัวถ้ำควรนำไฟฉายไปด้วย



    จุดชมวิว “ผาโต๊ะบู” สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 60 เมตร อยู่ด้านหลังที่ทำการอุทยานฯ เป็นจุดชมทิวทัศน์ของเกาะบริเวณชายหาดอ่าวพันเตมะละกา จะเห็นเกาะบุโหลน เกาะกลาง เกาะไข่ เกาะอาดัง เกาะราวี หมู่เกาะเภตรา ใช้เวลาเดินขึ้นจุดชมวิวประมาณ 20 นาที

    เกาะไข่ เป็นเกาะเล็กๆ อยู่ระหว่างเกา ตะรุเตา กับ เกาะอาดัง หาดทรายขาวละเอียด น้ำใส ฟ้าสวย มีซุ้มประตูหิน ที่เด่นจนกลายเป็นสัญญลักษณ์ของการท่องเที่ยวจังหวัดสตูล


    เกาะอาดัง น้ำใส หาดทรายขาว มีแนวประการังอยู่รอบๆ บริเวณเกาะ เหมาะสำหรับ ดำน้ำตื้น มีที่พัก ร้านอาหารบริการ และที่นี่ในอดีตเคยเป็นแหล่งโจรสลัด


    น้ำตกโจรสลัด มีขนาดเล็ก มีแอ่งน้ำเก็บน้ำใว้ใช้ตลอดทั้งปี


    เกาะหินงาม เกาะขนาดเล็กอยู่ทางตอนใต้ของเกาะอาดัง หาดหิน ก้อนหินกลมเกลี้ยง คลื่นซัด สะท้อนแสง จะแวววาวงดงามมาก และมีคำสาปใว้ ใครเก็บหินมาจะมีอันเป็นไป


    เกาะหลีเป๊ะ เป็นที่อยู่ของชาวเลกลุ่มอุรักลาโว้ย ห่างเกาะอาดังไปทางใต้ 2 กิโลเมตร น้ำทะเลใส สวย มีรีสอร์ท รายรอบ ฝั่งหลังเกาะ ที่เรียกกันว่าอ่าวพัทยา หาดทรายขาว


    เกาะราวี มีหาดทรายขาว น้ำทะเลใส และหน้าหาดมีแนวประการัง และ บ้าน Nemo มากมาย ดำน้ำตื้นสวยมาก มีต้นไม้สีขาวที่ล้มลงมาเป็นฉากถ่ายภาพที่สวยสะดุดตา


    เกาะดง อยู่นอกสุดของหมู่เกาะ อาดัง-ราวี เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกน้ำ มีหินซ้อนที่เรียงรายอย่างงดงาม


    ผาชะโด อดีตเป็นจุดสังเกตการณ์ของกลุ่มโจรสลัด เพื่อเข้าโจมตีเรือสินค้า เป็นจุดชมทิวทัศน์สวยงามของท้องทะเล



    สถานะภาพของตะรุเตาปัจจุบัน

    ในปี พ.ศ.2525 อุทยานแห่งชาติตะรุเตาได้รับการยกย่องจากองค์การ UNESCO ให้เป็น มรดกแห่งอาเชียน (ASEAN Heritage Parks and Reserves)

    ผู้เข้าชมข้อมูลของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา : 122,684 คน/ครั้ง
    ข้อมูลปรับปรุง : 23 กันยายน 2552




    แหล่งข้อมูล

    1 อุทยานแห่งชาติ จากธรรมชาติสู่เขตอนุรักษ์, สำนักอุทยานแห่งชาติ, กรุงเทพฯ, 2545
    2 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

    …………………………………………….


    บันทึกนี้ที่ “นรกตะรุเตา”

    เรื่องเล่าจากสอ. ปีที่ 11 ฉบับที่ 5 มีนาคม – เมษายน 2545
    ตอน บันทึกนี้ที่ “นรกตะรุเตา” โดย กิตตินันท์ ยังเจริญ



    นรก - สวรรค์-คำสาป “ตะรุเตาแห่งอันดามัน”


    หากย้อนอดีตไปตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 ทะเลบริเวณเกาะตะรุเตา-ลังกาวี ถือเป็นเส้นทางเดินเรือข้ามมหาสมุทรอันสำคัญที่ชาวอินดูพวกแรกใช้เป็นอพยพ จากอินเดียผ่านมาทางพม่าและไทยไปอินโดนีเซีย ถือเป็นเกาะอาถรรพ์ที่หากใครหาญกล้าเข้าไปในป่าที่เขียวชอุ่มที่มีอยู่แน่น หนาบนเกาะ จะไม่ได้กลับออกมาอีก ส่วนผู้ที่อาศัยอยู่ตามอ่าวๆต่างของเกาะนี้ จะตกเป็นเหยื่อของความหนาวเย็น การจับไข้ อาการเพ้อ หรือแม้กระทั่งความตาย!?!


    กระทั่งปี พ.ศ. 2479 รัฐบาลในยุคนั้นได้เลือกเกาะตะรุเราให้เป็นนิคมฝึกอาชีพและกักขังนักโทษคดี อุจฉกรรจ์ในลักษณะทัณฑสถานธรรมชาติ หรือเรียกง่ายว่า “คุกเปิด”นั่นเอง เพราะเกาะตะรุเตามีชัยภูมิโอบล้อมไปด้วยผืนน้ำกลางทะเลลึกอันเวิ้งว้างที่ เป็นดังปราการธรรมชาติไม่ให้นักโทษหลบหนี นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยไข้ป่าและความโหดร้ายของสภาพอากาศ



    ใครที่จะคิดหนีนะหรือ บอกคำเดียวว่า ยากส์...เพราะหากรอดพ้นจากวิถีกระสุนของผู้คุมไปได้ ก็ต้องไปเผชิญกับฝูงปลาฉลามและจระเข้อันดุร้ายที่จะรอขย้ำเหยื่ออยู่ทุกเวลา


    ปี 2480 หลวงพิธานทัณฑทัย นำคณะสำรวจเดินทางฝ่ามรสุมอันรุนแรง ระลอกคลื่นซัดสาดโถมใส่เรือแทบแตกกระจาย ใต้ท้องน้ำสีครามเข้มฝูงฉลามร้ายแหวกว่ายอย่างรวดเร็ว เฝ้ารอคร่าทุกชีวิตที่พลาดพลั้ง ทุกเสี้ยวนาทีหมายถึงชีวิตที่อาจต้องสังเวย


    13 กรกฎาคม 2480 ใกล้พลบค่ำทีมนักสำรวจเหยียบย่างขึ้นฝั่งเป็นเกาะใหญ่ในทะเลอันดามัน งานทุกอย่างจึงเริ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทุกคนเร่งมือจัดตั้งค่ายที่พัก… เช้าวันรุ่งขึ้นการสำรวจจึงเริ่มขึ้น เวลาผ่านไป 11 เดือน การสำรวจเสร็จสิ้นลง ทุกอย่างเป็นไปตามวัตถุประสงค์สถานที่แห่งนี้ถูกเลือกให้เป็นสถานกักกันนักโทษ หรือเรียกว่า “นิคมฝึกอาชีพ” ของกรมราชทัณฑ์


    ปี 2481 นักโทษ 500 คนแรกเดินทางมาถึงเกาะแห่งนี้ ภารกิจคือการก่อสร้างปัจจัยพื้นฐาน และอีกไม่นานนักนักโทษชุดที่ 2 ก็ตามมา เป็นชาย 500 คน หญิง 20 คน มีหน้าที่ทำความสะอาดอาคาร บ้านพักต่างๆ



    ปี 2482 รัฐบาลประกาศให้หมู่เกาะแห่งนี้เป็นเขตหวงห้ามของกรมราชทัณฑ์ มีฐานะเป็นกอง โดย นายทองไท ทวีกาญจน์ เป็นผู้อำนวยการ คอยควบคุมนักโทษให้ทำงานหนักตั้งแต่อาทิตย์ขึ้นจนอาทิตย์ตกดิน ราวกลางปี ขุนอภิพัฒน์สุรทัณฑ์ เข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานที่ฝึกอาชีพแห่งนี้ เหตุการณ์ยังเป็นดำเนินไปอย่างปกติ ในปีเดียวกัน ขบถบวรเดช และ ขบถนายสิบ จำนวน 70 คน ถูกส่งมายังสถานกักกันแห่งนี้ ประกอบด้วยบุคคลสำคัญ หลายท่าน เช่น หม่อนเจ้าสิทธิพร กฤดากร (พระราชนัดดารัชกาลที่ 7 ) หลวงมหาสิทธิโวหาร(สอ เศรษฐบุตร ผู้เขียนพจนานุกรม ไทย-อังกฤษเป็นคนแรก) นาวาเอกพระยาศราภัยพิพัฒน์ (เลื่อน ศราภัยวานิช )ผู้วางแผนหลบหนีที่คุมขัง พร้อมกับพรรคพวก 4 คน คือ พระยาสุรพันธเสนี (อิ้น บุนนาค) ขุนอัคนีรถการ(อั๋น ไชยพฤษ์) นายหลุย คีรีวัต และนายแฉล้ม เลี่ยมเพ็ชรรัตน์ หลบหนีขึ้นทางฝั่งเกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซียสำเร็จ



    ปี 2482-2489 ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายบนเกาะใหญ่แห่งนี้ จำนวนนักโทษเพิ่มมากขึ้น เกือบ 3,000 คน แผ่นดินใหญ่ร้อนระอุด้วยไฟสงครามมหาเอเซียบูรพา ปัจจัยในการดำรงชีพที่ลำเลียงมาจากฝั่งขาดหาย ภาวะอดอยากเยี่ยมเยือนนิคมฝึกอาชีพแห่งนี้ ไข้มาลาเรียระบาดรุนแรงคร่าชีวิตนักโทษชาย หญิง และผู้คุม ร่วม 700 ชีวิต สถานการณ์เลวร้ายบีบคั้นอย่างหนัก หนทางที่จะมีอาหารประทังชีวิตมีเพียงเดียวคือ “ปล้น”


    ความโลภหลง ความอยากที่ไม่มีวันสิ้นสุด บดบังความรู้สึกผิดชอบชั่วดีจนหมดสิ้น จากการกระทำเพื่อประทังชีวิต กลับกลายเป็นการปล้นฆ่าอย่างโหดเหี้ยม เพียงหวังความร่ำรวยจากทรัพย์สินเงินทองที่ได้มาจากการแย่งชิง ….. เสียงเล่าลือถึงความโหดร้าย ความน่าสยดสยอง กล่าวขานกันทั่วทุกสารทิศ เป็นที่หวาดหวั่นต่อผู้เดินเรือทั่วไป มันคือที่มาของ “นรกตะรุเตา”






    [fm]http://www.hotlinkfiles.com/files/1841495_8ozgt/0001taleejaiCarabouw.swf[/fm]
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 24-10-2009 at 07:09.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ศิลปิน,ช่างภาพอิสระ สัญลักษณ์ของ เพ็นนี
    วันที่สมัคร
    May 2009
    ที่อยู่
    Bangkok
    กระทู้
    1,308
    บล็อก
    2
    สวยมากเลยค่ะ เห็นรูปแล้วก็อยากไป

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •