กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา...ศิลปการฟ้อนแบบราชสำนัก

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ญา ทิวาราช
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    825
    บล็อก
    17

    บ้านมหาโพสต์ ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา...ศิลปการฟ้อนแบบราชสำนัก

    ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา...ศิลปการฟ้อนแบบราชสำนัก การฟ้อนของชาวล้านนาในอดีตจะประกอบไปด้วยลีลาท่าทางที่เลียนแบบหรือดัดแปลงมาจากธรรมชาติ มักจะมีลักษณะเป็นศิลปะตามเผ่าพันธู์โดยแท้จริง กล่าวคือ มีความเชื่องช้า แช่มช้อย สวยงาม ไม่มีลีลาท่าทางที่ซับซ้อนยุ่งยาก เป็นกระบวนท่าง่ายๆ สั้นๆ มักแสดงเป็นชุดมีมากมายหลายรูปแบบและเรียกชุดการแสดงหรือกระบวนฟ้อนนั้นๆ ตามเชื้อชาติของผู้ฟ้อน ซึ่งเรียกตามภาษาถิ่นพื้นเมืองว่า "ช่างฟ้อน" (จ้างฟ้อน) และหมายรวมกันทั้งหมดชายหญิงคำว่า "ฟ้อน" หมายถึงการแสดงออกด้วยท่าทางต่าง ๆ จะโดยธรรมชาติหรือปรุงแต่งไปแล้วก็ตาม ซึ่งจะตรงกับคำว่า "รำ" ในภาษาถิ่นกลาง ด้วยเหตุนี้ภาษาถิ่นล้านนาจึงเรียกกระบวนการรำชุดต่างๆ ทั้งหมดว่า "ฟ้อน " มาตั้งแต่อดีต เช่นฟ้อนแห่ครังทาน ฟ้อนผี ฟ้อนม่าน ฟ้อนเงี้ยว ฯลฯช่วงหลังปี พ.ศ.2457 เป็นต้นมา การฟ้อนในล้านนาเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นด้วยเหตุที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้กราบบังคมทูลลาพระบาทสมเด็จพระมงกุลเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 กลับมาประทับ ณ นครเชียงใหม่ ในการเสด็จกลับมาครั้งนี้ พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้นำแบบอย่างการฟ้อนรำในราชสำนักสยามมาเผยแพร่ในนครเชียงใหม่ พร้อมทั้งนำครูละครดนตรีจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาฝึกหัดถ่ายทอดให้กับตัวละครในวังของท่านและคุ้มเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่และเป็นเหตุให้การฟ้อนในเชียงใหม่เกิดการแตกต่างขึ้นเป็น 2 แบบคือ แบบที่ 1. เป็นแบบที่มีมาแต่เดิม เรียกทางวิชาการว่า "แบบพื้นเมืองหรือแบบดั้งเดิม" แบบที่ 2. เป็นแบบที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เรียกทางวิชาการว่า "แบบราชสำนัก" ด้วยเหตุเหล่านี้ จึงทำให้ชุดฟ้อนของเดิมเกิดความแตกต่างกันมากมายและเกิดกระบวนฟ้อนใหม่ๆ ขึ้นมามากมายพอสมควร ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา เป็นกระบวนฟ้อนที่เกิดขึ้นจากพระดำริของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีที่ทรงตั้งพระทัยจะให้เป็นการฟ้อนที่แปลกไปจากการฟ้อนที่เคยมีอยู่ ดังนั้นจึงรับสั่งให้หาตัวระบำของพม่ามารำถวาย โดยทรงคิดว่า ถ้าท่ารำของพม่าสวยงามเหมาะสมก็จะดัดแปลงและนำมาผสมกับท่ารำของไทย เป็นรำพม่าแปลงสักชุดหนึ่ง จึงได้นักแสดงชายชาวพม่าและนักแสดงหญิงชาวมอญ ชื่อเม้ยเจ่งตา มารำถวายทอดพระเนตร จึงทรงรับไว้เป็นครูฝึกอยู่ระยะหนึ่ง การถ่านทอดแต่ละครั้งพระราชชายาเจ้าดารารัศมีจะเสด็จมาควบคุมอย่างใกลชิดและทรงเห็นว่าท่ารำของผู้ชายไม่ค่อยน่าดูมากนัก จึงรับสั่งให้ครูฝึกผู้หญิงแสดงท่ารำของระบำพม่าที่เคยแสดงในที่รโหฐานของกษัตริย์พม่าให้ทอดพระเนตร ซึ่งทรงพอพระทัยมากจึงทรงดัดแปลงท่าฟ้อนร่วมกับครูฟ้อนชาวพม่า ชื่อสล่าโมโหย่ หรือโกโมโหย่ (เจ้าอินทนนท์ราชบุตรของเจ้าแก้วนวรัฐเรียก ปู่ชะโหย่) กลายเป็นระบำหรือฟ้อนชุดใหม่ ทรงให้ผู้ฟ้อนทั้งหมดแต่งกายเป็นกำเบ้อ หรือ ผีเสื้อ สวมใส่เสื้อผ้าถุง ติดปีกแบบนก ติดหนวดที่ศรีษะแบบผีเสื้อเป็นสีน้ำเงินให้เป็นการฟ้อนเลียนแบบพม่า เรียกว่า "เหว่ยเสี่ยนต่า" หรือ "เหว่ยเสี่ยนต่านานโบ่ง" แบบของการฟ้อนนี้มาจากราชสำนักพม่า โดยใช้เพลง "เหว่ยเสี่ยนต่า" ประกอบการฟ้อน เรียกกันแต่แรกว่า "ฟ้อนกำเบ้อ" (ผีเสื้อ) แสดงครั้งแรกในงานฉลองพระตำหนักของพระองค์ ที่สร้างขึ้นใหม่บนดอยสุเทพและจะใช้วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่บรรเลงประกอบการฟ้อนเมื่อคราพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จเลียบมณฑลพายัพและได้เสด็จมาเสวยพระกระยาหารค่ำ พระราชชายาฯจึงได้จัดฟ้อนชุดนี้แสดงให้ทอดพระเนตร แต่ทรงเปลี่ยนเครื่องแบบจากชุดผีเสื้อ มาเป็นระบำในที่รโหฐาน ตามคำบอกเล่าเดิมจึงได้กลายเป็น "ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา" เมื่อปี พ.ศ.2469 นี้เองหลังจากการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการแต่งตัวของผู้ฟ้อนเกิดขึ้นทำให้กลายเป็น 2 แบบ คือ แบบที่ 1. ผู้แสดงทั้งหมดเป็นสตรีล้วน แต่งกายแบบพม่าคือนุ่งผ้าถุงแบบพม่ายาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนยาวชายเสื้อสั้นแค่เอวเล็กน้อยมีผ้าแพรสีต่างๆ คล้องคอ ชายผ้ายาวถึงระดับเข่า เกล้าผมมวยกลางศรีษะปล่อยชายลงมาข้างแก้ม มีดอกไม้สดประดับมวยผมและมีอุบะห้อยลงมากับชายผมแบบที่ 2. ผู้แสดงแต่งกายเป็นชายพม่าแถวหนึ่ง สตรีพม่าแถวหนึ่ง หม่อมแส หัวหน้าครูฝึกได้ทูลถามว่า ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตานี้ จะใช้การแต่งกายชาวแถวหนึ่ง หญิงแถวหนึ่งจะสมควรไหม ทรงมีรับสั่งตอบว่า "...เราซ้อมตามแบบอย่างระบำในที่รโหฐานของเขาก็ต้องรักษาระเบียบประเพณีของเขาไว้ ระบำชุดนี้ต้องใช้หญิงล้วนตามธรรมเนียม หากว่าท่ารำซ้ำกันจะตัดออกเสียบ้างก็ดีจะได้ไม่เบื่อตา การรักษาประเพณีเดิมเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าอยากใช้การแต่งกายเป็นพม่าชายบ้าง ก็ดัดแปลงเป็น "ม่านเม่เล้" เป็นชายแถวหนึ่ง หญิงแถวหนึ่งก็ได้..."เพลงที่ใช้บรรเลงมีสำเนียงแบบพม่า จึงเรียกกันว่า "เพลงม่าน" แต่ชาวพม่าเรียกเพลงนี้ว่า "เพลงโยเดีย" (ไทยอยุธยา) และไม่สามารถสืบหาความเป็นมาของเพลงได้คำร้องของเพลงประกอบการฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา จะเป็นสำเนียงพม่าแต่ชาวพม่าบอกว่าไม่ใช่ภาษาพม่า มอญก็บอกว่าไม่ใช่ภาษามอญ สันนิษฐานว่าเดิมคงเป็นภาษาพม่า แต่จากการรับช่วงสืบต่อกันมาหลายทอด จึงทำให้อักขระวิบัติ กลายรูปจนเจ้าของภาษาดั่งเดิมฟังไม่เข้าใจก็อาจเป็นได้ความสวยงามของท่ารำและเพลงร้องของฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตานี้ นับได้ว่าเป็นกระบวนการผสมผสานและประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแบบการฟ้อนในราชสำนักของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ที่สมควรจะได้รับการถ่ายทอดและอนุรักษ์รูปแบบให้คงความถูกต้องไว้สืบทอดต่อไป



    ที่มา.........เอกสารประกอบ ม.จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ พิณอิสระ
    วันที่สมัคร
    Sep 2008
    ที่อยู่
    ขอนแก่น อุดรธานี และสุรินทร์
    กระทู้
    503
    ต๋อนไป่เฮียนตี้เจียงใหม่ ข้าเจ้าเกยแต่ได้ผ่อ ฟ้อนเล็บ เต้านั้นล่ะเจ้า อย่างอื่นบะห่อนได้ผ่อซักเตื้อ กึ๊ดผ่อบะออกว่า ฟ้อนม่านมุ้ยเซียงตา นี้ เป็นจะใด กะใคร่ผ่อเน๊าะเจ้า ขอบคุณจ๊าดนักตี้เล่ามาหื้อฟังน่ะเจ้า ขอบคุณเจ้า

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •