หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 14

หัวข้อ: พ่อไปแจ้งความลูกถูกข่มขืน-ศาลยกฟ้อง

  1. #1
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    ทำงานที่อำเภอพรเจริญ จ.หนองคาย
    กระทู้
    107

    พ่อไปแจ้งความลูกถูกข่มขืน-ศาลยกฟ้อง

    คดีนี้มีอยู่ว่า แม่ของเด็กหลังคลอดบุตรสาวแล้วทิ้งให้พ่อเป็นผู้เลี้ยงบุตรสาว
    ของตน โดยแม่ไม่สนใจที่จะเลี้ยงดู หนีไปมีสามีใหม่ จนกระทั่งบุตรสาว
    อายุ ๑๗ ปี แตกเนื้อสาว มีหนุ่มอ่อน หนุ่มแก่ หนุ่มใกล้ตาย มาติดพัน
    อยู่มาวันหนึ่ง ได้ถูกหนุ่มใกล้ตาย อายุอานามประมาณ ๕๐ ปี ลากไป
    ข่มขืน เกือบตาย เมื่อหนีมาได้ ได้มาเล่าเรื่องให้พ่อฟัง พ่อได้ยินเช่นนั้น
    จึงหมายจะแจ้งความให้หนุ่มใกล้ตายติดคุกหัวโต จึงไปแจ้งความกับร้อยเวร
    เมื่อร้อยเวรรับแจ้งความ จึงดำเนินการไปตามเรื่อง ตามราว และจับกุม
    หนุ่มใกล้ตาย ส่งเข้าเรือนจำ ติดคุกระหว่างสอบสวน-พิจารณาคดีของศาล
    ปรากฎว่า ศาลตั้ง ๓ ศาล ยกฟ้อง คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทรณ์ และ
    ศาลฎีกา เหตุ พ่อไม่มีอำนาจฟ้องเพราะมิใช่ผู้ปกครอง ทั้งๆ ที่เลี้ยงลูกมา
    ตั้งแต่เกิด จนเป็นสาว อายุ ๑๗ ปี
    มีคำถามว่า ทำไม
    คำตอบ คือ พ่อ กะแม่ ไม่ได้สมรสกัน คือไม่ได้จดทะเบียนสมรส
    ทำให้บุตรที่เกิดมา เป็นบุตรของมารดา ไม่ใช่ของบิดาแต่ประการใด
    แต่หากบุตรอายุ ๑๕ ปีลงมา คดีก้อจะเป็นความผิดต่อแผ่นดิน ยอมกันไม่ได้
    หากอายุบุตรเกิน ๑๕ ปี บางข้อหา เช่นข่มขืน (มีหลายข้อหานะที่ยอมกันบ่ได้)
    จะยอมกันได้ ถือว่าเป็นความผิดต่อส่วนตัว ผู้เสียหาย(พ่อ) ต้องร้องทุกข์ตามระเบียบ
    อัยการจึงจะมีสิทธิฟ้อง คือคดีนี้ศาลถือว่าพ่อไม่ใช่ผู้เสียหายนั้นเอง....งง ไหม

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม
    วันที่สมัคร
    Jul 2008
    กระทู้
    641
    แบบนี้ต้องแจ้ง ประวีณาคับ รับรองเพิ่นซอยได้

  3. #3
    ร่วมกิจกรรมนำความรู้ สัญลักษณ์ของ เซียนเมา
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    Suratthani
    กระทู้
    1,450
    พ่อไม่มีอำนาจฟ้องเพราะมิใช่ผู้ปกครอง ทั้งๆ ที่เลี้ยงลูกมาตั้งแต่เกิด จนเป็นสาว อายุ ๑๗ ปี
    โอ้ กฎหมายแนวนี่กะมีเนาะ ถ้าโตลูกสาวเองซึ่งเป็นผุเสียหายโดยตรง แจ้งความเองใด้บ่ครับ

  4. #4
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ บ่าวเขื่องใน
    วันที่สมัคร
    Aug 2008
    กระทู้
    31
    กรณี เรื่องนี้นะครับ ขออนุญาต ออกความคิดเห็นสักนิดนะครับ เรื่องนี้ ที่จริงพนักงานสอบสวน ในขณะทำการสอบสวน ก็ต้องดำเนินการ ตาม ป.วิอาญา ซึ่งบัญญัติให้การสอบสวนเด็กที่มีอายุไม่เกิน 18ปี ต้องจัดให้บุคคลตามที่ระบุไว้ ใน ม.133 ทวิ ซึ่ง พนักงานสอบสวน ทราบดีอยู่แล้วว่า บิดาซึ่งเลี้ยงดูบุตรมาตั้ง 17ปี และไม่ใช่บิดาที่ถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้ง พิสูจน์ไม่ได้ว่า บิดามิได้จดทะเบียนรับรองบุตร ดังนั้น บุตร จึงเป็นบุตรโดยชอบธรรมของมารดา ดังนั้น บิดา จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่แท้จริงและมิใช่ผู้ใช้อำนาจปกครองและมิใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมที่จะมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย ตาม ป.วิ อาญา ม.5(1)และ ป.พ.พ. มาตรา 1546
    ไม่ทราบว่า (พงส) ได้ดำเนินการ ติดต่อ มารดาของผู้เสียหายหรือไม่ อันนี้ คือประเด็น 1
    ไม่ทราบว่า ขณะที่ ทำการสอบสวน(พงส) ได้จัดให้ บุคคลดังต่อไปนี้.-
    1.นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์
    2.บุคคลที่เด็กร้องขอ
    3.พนักงานอัยการ (นี่แหละสำคัญ เพราะเป็นผู้เสียหายด้วย)
    และ ตาม ป.วิอาญา มาตรา 6 บัญญัติไว้เกี่ยวกับผู้เสียหายที่เป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมฯลฯ
    ซึ่ง อ้างอิงฎีกาที่ 2958/2541 ซึ่งเปรียบเทียบกับคดีที่ อ้ายบุญมี ไทโนนสัง ตั้งกระทู้ไว้ คือกันเป๊ะเลย ถ้าอ้างตามฎีกา ศาลบ่น่าสิยกฟ้อง ครับ เพราะ แม้บิดาจะไม่ใช่ผู้มีอำนาจโดยชอบธรรมแต่ก็เข้าหลัก ตามมาตรา 6 ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ซึ่งมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถจะทำการตามหน้าที่ได้ บิดาก็อาจร้องขอต่อศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งตนเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้ บิดาจึงมีอำนาจฟ้อง(รายละเอียดมีมากครับเรื่องนี้ เอาเฉพาะที่เข้าใจนะครับ)
    สรุป กะเลยบ่รู้ว่า พนักงานสอบสวน ดำเนินการสอบสวนแบบได๋ อาจสิมีเรื่องบางเรื่องที่เฮาบ่รู้จริงเนาะครับ เว้าไปสิว่าก้าวก่าย งานสอบสวนเพิ่น นะครับ กระทู้นี้แม้ไม่สมบูรณ์สักปานได๋ กะขอกราบอภัยสำหรับท่านผู้รู้นะครับ มีหยังเพิ่มเติมหรือเสนอแนะกะแนะนำได้นะครับ น้อมรับด้วยความปรารถนาดี นะครับ

  5. #5
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ sompoi
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    ที่อยู่
    japan
    กระทู้
    5,708
    บล็อก
    23
    ขอบคุณผู่ข้างบนนิสำหรับรายละเอียดข้อมูลในการเป็นวิทยาทานค่ะ..อิอิ
    ปล..เว่าเป็นทางการกะเป็นอยู่ตั้วล่ะเนาะ เอิ๊กๆๆ
    มองต่าง..อย่างปลง

  6. #6
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    ทำงานที่อำเภอพรเจริญ จ.หนองคาย
    กระทู้
    107
    บ่าวเขื่องใน
    ตัวอย่างดังกล่าว
    เป็นฎีกาเก่าครับ
    ก่อน ป.วิอาญา มาตรา ๑๓๔/๑.. ๑๓๔/๔
    จะแก้ไข
    และแนะนำให้บิดา ควรระวัง
    ในการไปแจ้งความ(กรณีบุคคลทั่วไป ที่บ่ได่เรียน หลักสูตร นบ. ครับ)
    หากเป็นไปได่ ควรให้บุตรสาวแจ้งความเองโดยผู้ปกครองร่วมฟังการสอบสวน
    แต่คิดว่า พนักงานสอบสวน คงจะอุดช่องว่างของฎีกานี้แล้วละ
    ขอบคุณนะครับ
    ที่ร่วมแสดงความคิดเห็นมา

  7. #7
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ เมษา
    วันที่สมัคร
    Jan 2009
    ที่อยู่
    ไทย & ยูเค
    กระทู้
    967
    โอ้.. กฎหมายไทย !?! บ่มีคำสิเว่าดอก

  8. #8
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ บ่าวเขื่องใน
    วันที่สมัคร
    Aug 2008
    กระทู้
    31
    ต้องกราบขอโทษ อ้ายบุญมี ไทโนนสัง เด้อครับ กรณีที่อ้างอิง นี่ เอาฎีกาที่ อ.ดร.เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ เพิ่นเขียนอธิบาย หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วย การดำเนินคดีในขั้นตอนก่อนการพิจารณา และอธิบายเพิ่มเติม มาตราที่แก้ไข ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา ฉบับที่ 25,26,27,28,29
    และกราบขออภัย กรณีอ้าง มาตราต่างๆเพื่อความเข้าใจ เป็นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2551 ครับ
    อีกอย่าง มาตรา ที่บ่าวเขื่องใน อ้าง เป็น มาตรา 6 (ผู้แทนเฉพาะคดี) กับและมาตรา 133 ทวิ เกี่ยวกับ การสอบสวนเด็กอายุ บ่เกิน 18ปี(ซึ่งเป็นผู้เสียหายครับ) บ่แหม่น มาตรา 134/1ว่าด้วย กรณี เด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ตกเป็นผุ้ต้องหา ครับ และมาตรา 134/4 เป็นการถามคำให้การผู้ต้องหาและแจ้งสิทธิผุ้ต้องหาครับ คนละประเด็นที่ อ้ายบุญมี ตั้งกระทู้ขึ้นครับ ข้อพิจารณาของประเด็น คือ
    1. ไผคือผู้เสียหายที่แท้จริง
    2. บิดาบ่สามารถเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมได้ เนื่องจาก ไม่ได้สมรสกับมารดา และบ่ดั้ยรับรองบุตร ตาม กฎหมายแพ่ง
    3. เป็นหยังศาลจั่งยกฟ้อง
    และกรณี ที่ว่า บิดา ควรระวัง ในเรื่องการไปแจ้งความ นั้น ประชาชน ส่วนมากสิบ่ค่อยรู้เรื่องกฎหมายปานได๋ เข้าใจแต่ว่า จะของคือพ่อ เลี้ยงดูมา ตั้งแต่กำเนิดให้การศึกษาและที่สำคัญให้ใช้นามสกุล พ้อม กะเลยเข้าใจว่า เป็นผู้แทนโดยชอบธรรม มีสิทธิทุกอย่างในตัวบุตรเนาะครับ กะต้องอยู่กับตำรวจซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนและเป็นต้นธารของการสอบสวน ที่จะต้องสอบสวนด้วยความเที่ยงธรรม โดยอาศัยหลักของกฎหมายอธิบายข้อกฎหมายให้ ผู้เป็นพ่อให้ได้รับทราบเนาะอ้ายเนาะ
    ตามหลักแล้ว เด็กหรือผู้เยาว์บ่สามารถแจ้งความร้องทุกข์เองได้โดยลำพังดอกครับ กะต้องมีผู้ปกครองหรือผู้แทนโดยชอบธรรมเข้าแจ้งความ พร้อมทั้งนั่งฟังการสอบสวนร่วมกับเด็ก
    อั่น อั่น บ่าวเขื่องใน บ่ดั้ยเรียน นบ.ดอกครับ บังเอิญ บ้านติดกับ นบ. ตรงข้าม สมาคมชาวปักษ์ใต้ ถนนกาญจนาภิเษก กะเลย พอรู้เรื่อง กฎหมายตกใส่หัว ป๊อก ป๊อก สุมื้อ นั่นหนา หยอกอ้ายเล่นเด้อ ครับ
    สรุป แล้ว กะแชร์ความรู้กันม่วนๆเนาะครับอ้าย เรียนกฎหมายเล่มเดียวกัน แต่ตีความไปคนละทาง นั่นละครับ เพิ่นว่าเป็นนักกฎมายที่ดียิ่งครับ สิ่งสำคัญ เฮาบ่ถิ่มหลักกฎหมาย นะครับ ขอบคุณครับอ้ายที่ได้มีโอกาสสนทนากฎหมาย ม่วนๆครับ โอกาสหน้า มาม่วนกันใหม่เนาะครับเนาะ อ้าย

  9. #9
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม
    วันที่สมัคร
    Jul 2008
    กระทู้
    641
    เรียนกฏหมายนิเครียดบ่คับ ผมอยากไปเรียนอยู่คับด้านกฏหมาย ผมยังเลือกทางเลือกบ่ได้คับ วาสิเรียนกฏหมายดีบ่

  10. #10
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวนิติกร
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    กระทู้
    149
    ขอบคุณ ท่านนักกฎหมาย หลาย ๆ ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นในกระทู้ ช่วยกันกันแตกประเด็นโลดครับ เป็นประโยชน์ทั้งกับตนเอง และกะผู้อื่น

    จั้งซี้ละวิชากฎหมาย ศึกษาแบบให้ม่วน มันกะม่วน ศึกษาแบบปวดหัวมันกะปวดหัว แบ่งปันความรู้กันเด้อครับ

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •