คดีนี้มีอยู่ว่า แม่ของเด็กหลังคลอดบุตรสาวแล้วทิ้งให้พ่อเป็นผู้เลี้ยงบุตรสาว
ของตน โดยแม่ไม่สนใจที่จะเลี้ยงดู หนีไปมีสามีใหม่ จนกระทั่งบุตรสาว
อายุ ๑๗ ปี แตกเนื้อสาว มีหนุ่มอ่อน หนุ่มแก่ หนุ่มใกล้ตาย มาติดพัน
อยู่มาวันหนึ่ง ได้ถูกหนุ่มใกล้ตาย อายุอานามประมาณ ๕๐ ปี ลากไป
ข่มขืน เกือบตาย เมื่อหนีมาได้ ได้มาเล่าเรื่องให้พ่อฟัง พ่อได้ยินเช่นนั้น
จึงหมายจะแจ้งความให้หนุ่มใกล้ตายติดคุกหัวโต จึงไปแจ้งความกับร้อยเวร
เมื่อร้อยเวรรับแจ้งความ จึงดำเนินการไปตามเรื่อง ตามราว และจับกุม
หนุ่มใกล้ตาย ส่งเข้าเรือนจำ ติดคุกระหว่างสอบสวน-พิจารณาคดีของศาล
ปรากฎว่า ศาลตั้ง ๓ ศาล ยกฟ้อง คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทรณ์ และ
ศาลฎีกา เหตุ พ่อไม่มีอำนาจฟ้องเพราะมิใช่ผู้ปกครอง ทั้งๆ ที่เลี้ยงลูกมา
ตั้งแต่เกิด จนเป็นสาว อายุ ๑๗ ปี
มีคำถามว่า ทำไม
คำตอบ คือ พ่อ กะแม่ ไม่ได้สมรสกัน คือไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ทำให้บุตรที่เกิดมา เป็นบุตรของมารดา ไม่ใช่ของบิดาแต่ประการใด
แต่หากบุตรอายุ ๑๕ ปีลงมา คดีก้อจะเป็นความผิดต่อแผ่นดิน ยอมกันไม่ได้
หากอายุบุตรเกิน ๑๕ ปี บางข้อหา เช่นข่มขืน (มีหลายข้อหานะที่ยอมกันบ่ได้)
จะยอมกันได้ ถือว่าเป็นความผิดต่อส่วนตัว ผู้เสียหาย(พ่อ) ต้องร้องทุกข์ตามระเบียบ
อัยการจึงจะมีสิทธิฟ้อง คือคดีนี้ศาลถือว่าพ่อไม่ใช่ผู้เสียหายนั้นเอง....งง ไหม