กำลังแสดงผล 1 ถึง 7 จากทั้งหมด 7

หัวข้อ: ประเพณีการทอดกฐิน

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ญา ทิวาราช
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    825
    บล็อก
    17

    บ้านมหาโพสต์ ประเพณีการทอดกฐิน

    การทอดกฐิน เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรมค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง คำว่ากฐิน แปลว่ากรอบไม้หรือสะดึง สำหรับใช้ขึงผ้าเย็บจีวรของพระภิกษุ การทอดกฐินคือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำห้ารูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น
    การที่มีประเพณีทอดกฐินมีเรื่องว่า ในครั้งพุทธกาล พระภิกษุชาวปาไถยรัฐ (ปาวา) ผู้ทรงธุดงค์ จำนวน ๓๐ รูป เดินทางไกลไปไม่ทันเข้าพรรษา เหลือทางอีกหกโยชน์จะถึงนครสาวัตถี จึงตกลงพักจำพรรษาที่เมืองสาเกตตลอดไตรมาส เมื่อออกพรรษาจึงเดินทางไปเฝ้าพระบรมศาสดา ณ เชตวันมหาวิหารนครสาวัตถี ภิกษุเหล่านั้นมีจีวรเก่า เปื้อนโคลน และเปียกชุ่มด้วยน้ำฝน ได้รับความลำบากตรากตรำมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงถือเป็นมูลเหตุ ทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุที่จำพรรษาครบสามเดือนกรานกฐินได้ และให้ได้รับอานิสงส์ ห้าประการคือ
    ๑) เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
    ๒) ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบ
    ๓) ฉันคณะโภชน์ได้
    ๔) ทรงอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา
    ๕) จีวรอันเกิดขึ้นนั้นจะได้แก่พวกเธอ และได้ขยายเขตอานิสงส์ห้าอีกสี่เดือน นับแต่กรานกฐินแล้วจนถึงวันกฐินเดาะเรียกว่า มาติกาแปด คือการกำหนดวันสิ้นสุดที่จะได้จีวร คือ
    กำหนดด้วยหลีกไป กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ กำหนดด้วยตกลงใจ กำหนดด้วยผ้าเสียหาย กำหนดด้วยได้ยินข่าว กำหนดด้วยสิ้นหวัง กำหนดด้วยล่วงเขต กำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน
    ฉะนั้น เมื่อครบวันกำหนดกฐินเดาะแล้ว ภิกษุก็หมดสิทธิ์ต้องรักษาวินัยต่อไป พระสงฆ์จึงรับผ้ากฐินหลังออกพรรษาไปแล้ว หนึ่งเดือนได้ จึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้
    การทอดกฐินในปัจจุบัน ถือว่าเป็นทานพิเศษ กำหนดเวลาปีหนึ่งทอดถวายได้เพียงครั้งเดียว ตามอรรถกถาฎีกาต่าง ๆ พอกำหนดได้ว่าชนิดของกฐินมีสองลักษณะ คือ
    จุลกฐิน การทำจีวร พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำให้เสร็จภายในกำหนดหนึ่งวัน ทำฝ้าย ปั่น กรอ ตัด เย็บ ย้อม ทำให้เป็นขันธ์ได้ขนาดตามพระวินัย แล้วทอดถวายให้เสร็จในวันนั้น
    มหากฐิน คืออาศัยปัจจัยไทยทานบริวารเครื่องกฐินจำนวนมากไม่รีบด่วน เพื่อจะได้มีส่วนหนึ่งเป็นทุนบำรุงวัด คือทำนวกรรมบ้าง ซ่อมแซมบูรณของเก่าบ้าง ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่า กฐินสามัคคี
    การทอดกฐินในเมืองไทย แบ่งออกตามประเภทของวัดที่จะไปทอด คือพระอารามหลวง ผ้าพระกฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง หรือโปรดเกล้า ฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ไปพระราชทาน เครื่องกฐินทานนี้จัดด้วยพระราชทรัพย์ของพระองค์เอง เรียกว่า กฐินหลวง บางทีก็เสด็จไปพระราชทานยังวัดราษฎร์ด้วย นิยมเรียกว่า กฐินต้น ผ้ากฐินทานนอกจากที่ได้รับกฐินของหลวงโดยตรงแล้ว พระอารามหลวงอื่น ๆ จะได้รับ กฐินพระราชทาน ซึ่งโปรดเกล้า ฯ พระราชทานผ้ากฐินทาน และเครื่องกฐินแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ส่วนราชการ หรือเอกชนให้ไปทอด โดยรัฐบาลโดยกรมศาสนาจัดผ้าพระกฐินทาน และเครื่องกฐินถวายไป ผู้ได้รับพระราชทานอาจจะถวายจตุปัจจัย หรือเงินทำบุญที่วัดนั้นโดยเสด็จในกฐินพระราชทานได้
    ส่วนวัดราษฎร์ทั่วไป คณะบุคคลจะไปทอดโดยการจองล่วงหน้าไว้ก่อนตั้งแต่ในพรรษา ก่อนจะเข้าเทศกาลกฐินถ้าวัดใดไม่มีผู้จอง เมื่อใกล้เทศกาลกฐิน ประชาชนทายกทายิกาของวัดนั้น ก็จะรวบรวมกันจัดการทอดกฐิน ณ วัดนั้นในเทศกาลกฐิน
    การจองกฐิน วัดราษฎร์ทั่วไป นิยมทำเป็นหนังสือจองกฐินไปติดต่อประกาศไว้ยังวัดที่จะทอดถวาย เป็นการเผดียงสงฆ์ให้ทราบวันเวลาที่จะไปทอด หรือจะไปนมัสการเจ้าอาวาสให้ทราบไว้ก็ได้ สำหรับการขอพระราชทานผ้าพระกฐินไปทอด ณ พระอารามหลวงให้แจ้งกรมการศาสนา เพื่อขึ้นบัญชีไว้กราบบังคมทูลและแจ้งให้วัดทราบ ในทางปฏิบัติผู้ขอพระราชทานจะไปติดต่อกับทางวัดในรายละเอียดต่าง ๆ จนก่อนถึงวันกำหนดวันทอด จึงมารับผ้าพระกฐิน และเครื่องกฐินพระราชทานจากกรมศาสนา
    การนำกฐินไปทอด ทำได้สองอย่าง อย่างหนึ่งคือนำผ้ากฐินทานกับเครื่องบริวารที่จะถวายไปตั้งไว้ ณ วัดที่จะทอดก่อน พอถึงวันกำหนดเจ้าภาพผู้เป็นเจ้าของกฐิน หรือรับพระราชทานผ้ากฐินทานมาจึงพากันไปยังวัดเพื่อทำพิธีถวาย อีกอย่างหนึ่ง ตามคติที่ถือว่าการทอดกฐินเป็นการถวายทานพิเศษแก่พระสงฆ์ที่ได้จำพรรษาครบไตรมาส นับว่าได้กุศลแรง จึงได้มีการฉลองกฐินก่อนนำไปวัดเป็นงานใหญ่ มีการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้านของผู้เป็นเจ้าของกฐิน และเลี้ยงผู้คน มีมหรสพสมโภช และบางงานอาจมีการรวบรวมปัจจัยไปวัดถวายพระอีกด้วยเช่น ในกรณีกฐินสามัคคี พอถึงกำหนดวันทอดก็จะมีการแห่แหนเป็นกระบวนไปยังวัดที่จะทอด มีเครื่องบรรเลงมีการฟ้อนรำนำขบวนตามประเพณีนิยม
    การถวายกฐิน นิยมถวายในโบสถ์ โดยเฉพาะกฐินพระราชทาน ก่อนจะถึงกำหนดเวลาจะเอาเครื่องบริวารกฐินไปจัดตั้งไว้ในโบสถ์ก่อน ส่วนผ้ากฐินพระราชทานจะยังไม่นำเข้าไป พอถึงกำหนดเวลาพระสงฆ์ที่จะรับกฐิน จะลงโบสถ์พร้อมกัน นั่งบนอาสนที่จัดไว้ เจ้าภาพของกฐิน พร้อมด้วยผู้ร่วมงานจะพากันไปยังโบสถ์ เมื่อถึงหน้าโบสถ์เจ้าหน้าที่จะนำผ้าพระกฐินไปรอส่งให้ประธาน ประธานรับผ้าพระกฐินวางบนมือถือประคอง นำคณะเดินเข้าสู่โบสถ์ แล้วนำผ้าพระกฐินไปวางบนพานที่จัดไว้หน้าพระสงฆ์ และหน้าพระประธานในโบสถ์ คณะที่ตามมาเข้านั่งที่ ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วกราบพระพุทธรูปประธานในโบสถ์แบบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วลุกมายกผ้าพระกฐินในพานขึ้น ดึงผ้าห่มพระประธานมอบให้เจ้าหน้าที่ รับไปห่มพระประธานทีหลัง แล้วประนมมือวางผ้าพระกฐินบนมือทั้งสอง หันหน้าตรงพระสงฆ์แล้วกล่าวคำถวายผ้าพระกฐิน จบแล้วพระสงฆ์รับ สาธุการ ประธานวางผ้าพระกฐินลงบนพานเช่นเดิม แล้วกลับเข้านั่งที่ ต่อจากนี้ไปเป็นพิธีกรานกฐินของพระสงฆ์
    กฐินของประชาชน หรือ กฐินสามัคคี หรือในวัดบางวัดนิยมถวายกันที่ศาลาการเปรียญ หรือวิหารสำหรับทำบุญ แล้วเจ้าหน้าที่จึงนำผ้ากฐินที่ถวายแล้วไปถวายพระสงฆ์ ทำพิธีกรานกฐินในโบสถ์เฉพาะพระสงฆ์อีกทีหนึ่ง
    การทำพิธีกฐินัตการกิจของพระสงฆ์ เริ่มจากการกล่าวคำขอความเห็นที่เรียกว่า อปโลกน์ และการสวดญัตติทุติยกรรม คือการยินยอมยกให้ ต่อจากนั้นพระสงฆ์รูปที่ได้รับความยินยอม นำผ้าไตรไปครองเสร็จแล้วขึ้นนั่งยังอาสนเดิม ประชาชนผู้ถวายพระกฐินทาน ทายกทายิกา และผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล ณ ที่นั้น เข้าประเคนสิ่งของอันเป็นบริวารขององค์กฐินตามลำดับจนเสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นจับพัด ประธานสงฆ์เริ่มสวดนำด้วยคาถาอนุโมทนา ประธานหรือเจ้าภาพ กรวดน้ำ และรับพรจนจบ เป็นอันเสร็จพิธี
    คำถวายกฐิน มีอยู่สองแบบด้วยกันคือ แบบเก่า และแบบใหม่ ดังนี้ คำถวายแบบเก่า อิมํ สปริวารํ กฐินจีวรทสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม (กล่าวสามหน)
    ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน พร้อมกับของบริวารนี้แก่พระสงฆ์ (กล่าวสามหน)
    คำกล่าวแบบใหม่ อิมํ มยํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินจีวรทสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ
    ปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ อมฺหากํ ฑีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับของบริวารนี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐิน พร้อมกับของบริวารของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้งรับแล้วจงกราลกฐินด้วยผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ ฯ
    ธุจ้าธุจ้าธุจ้า

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ แจ่มใสยิ้มสวย
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    USA
    กระทู้
    961
    บล็อก
    18
    กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ เทวารัญจวนจิต


    ๓) ฉันคณะโภชน์ได้
    ธุจ้าธุจ้าธุจ้า
    ขอบคุณค่ะ สงสัย ข้อนี้ค่ะ ว่า พระท่าน ฉัน อะไรได้บ้าง

  3. #3
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ญา ทิวาราช
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    825
    บล็อก
    17

    สว่างใจ

    กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ แจ่มใสยิ้มสวย
    ขอบคุณค่ะ สงสัย ข้อนี้ค่ะ ว่า พระท่าน ฉัน อะไรได้บ้าง
    คณะโภชน์ คือไปฉันในบ้าน 4 รูปขึ้นไปเจ้าภาพ ระบุเมนูได้ (ปกติห้ามระบุเมนู)

    :l-

  4. #4
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197
    ขอบคุณสาระดีๆๆ มากนะคะ
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  5. #5
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    ห้ามพระฉันเนื้อสัตว์ 10 อย่าง หากฉันจะต้องอาบัติ

    พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อมนุษย์,เนื้อช้าง,เนื้อม้า,เนื้อสุนัข,เนื้องู,เนื้ออราชสีห์,เนื้อเสือโคร่ง,เนื้อเสือเหลือง,เนื้อหมี,เนื้อเสือดาว

    "มื่อนี่ยายเหงี่ยมบ้านมหา สิมานิมนต์พระคุณท่านไปฉันเพล บ้านผุข้าซั่นดอก พอดี ดีเจพล เลาเฮ็ดขนมเส้น, ลาบหมู, ก้อยงัว,
    ตำซั่วเมรี ต้มปลาบ่าวจัย และกะปิ้งกบคนภูไท ที่เลาเลี้ยงในบ้านเลานั่นล่ะ เป็นตาแซบนิกะจั่งว่า พระคุณท่าน" ฮ่า ๆ ๆ ๆ

    เวลาไปนิมนต์พระ อย่าไประบุรายการอาหารเด้อ บอกว่านิมนต์ไปฉันเพลที่บ้านซือ ๆ


    อ้างอิง////

    คณโภชน์ (คะ-นะ-โพด)

    หมายถึง การฉันอาหารเป็นหมู่ ใช้เฉพาะพระภิกษุ ถ้ามีคนนิมนต์พระภิกษุไป ฉันอาหาร โดยบอกชื่ออาหารให้พระภิกษุทราบด้วย เช่น บอกว่า นิมนต์ไปฉันขนมจีน นิมนต์ไปฉันข้าวแช่ เป็นต้น ดังนี้หากพระภิกษุที่จะไปฉันด้วยนั่งเป็นวงตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป เรียกว่า ฉันคณโภชน์ พระภิกษุเหล่านั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์ (เว้นแต่กรณีพิเศษ) คือ ๑. อาพาธ (ป่วย) ๒. อยู่ในระหว่างได้รับอานิสงส์กฐิน ๓. ในระหว่างทำจีวร ๔. ในระหว่างเวลาเดินทางไกล ๕. ในคราว เดินทางเรือ ๖. ผู้นิมนต์เป็นพระภิกษุด้วยกัน ๗. คราวมีงานใหญ่ (พระภิกษุมาก) วินัยข้อนี้ทำให้เกิดธรรมเนียม ๒ อย่าง คือ พระภิกษุนิยมฉันอาหารองค์ละที่และนั่งเรียงแถว หากนั่งล้อมวง ก็ใช้ชามแบ่ง และผู้นิมนต์พระภิกษุก็บอกท่านเพียงว่านิมนต์ฉันจังหัน ฉันบิณฑบาต ฉันเช้า ฉันเพล ไม่ให้ออกชื่ออาหาร.
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พล พระยาแล; 13-10-2009 at 07:04.

  6. #6
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ลาวดีน้อย
    วันที่สมัคร
    Jul 2009
    ที่อยู่
    อยู่ในใจเสมอ
    กระทู้
    1,175
    บล็อก
    3
    ขอบคุณ สำหรับประเพณี ที่หาข้อมูล มาให้อ่านจ้า ทำแล้วยังช่วยให้จิตใจดี ได้บุญ ด้วยค่ะ
    แล้วกะม่วนนำจ้าบุญทอดกฐิน แห่ขบวนยาวๆ ไปวัด

  7. #7
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ อหิงสา
    วันที่สมัคร
    Nov 2009
    กระทู้
    58
    ได้ความรู้ ขึ้นมาอีกแล้วครับ ขอบคุณครับ

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •