กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: เกร็ดประวัติศาสตร์ ๑ ตอน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ เกร็ดประวัติศาสตร์ ๑ ตอน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี

    พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี

    เกร็ดประวัติศาสตร์ ๑ ตอน  พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี

    พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีเป็นพระคู่หมั้นในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า “หม่อมเจ้าหญิงวรรณวิมล” เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และหม่อมอิน วรวรรณ ประสูติเมื่อวันอังคารที่ ๒๕ ตุลาคม ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๓๕ เวลา ๐๕.๒๙ น. พระบิดาทรงเรียกพระนามเล่นว่า “แม่ขาว”

    แต่บรรดาพระญาติวงศ์สนิทเรียกว่า “ท่านหญิงขาว” หรือ “ท่านหญิงเดอะ” นับเป็นองค์ที่ ๕ แห่งราชสกุล “วรวรรณ” ในจำนวนทั้งสิ้น ๒๖ พระองค์ มีพี่น้องร่วมพระมารดาเดียวกันรวม ๕ พระองค์ โดยเป็นพระธิดาองค์แรก องค์ที่สองเป็นชายถึงชีพิตักษัยแต่ทรงพระเยาว์ อีกสามองค์ ได้แก่ หม่อมเจ้าหญิงวรรณพิมล หรือ หม่อมเจ้าหญิงนันทนามารศรี (พระขนิษฐภคินีที่รักใคร่ตลอดพระชนมชีพ) หม่อมเจ้าชายดุลภากร วรวรรณ และหม่อมเจ้าหญิงวัลลีวรินทร์หรือหม่อมเจ้าหญิงศรีสอางค์นฤมล เกษมสันต์ (เสกสมรสกับหม่อมเจ้าลักษณากร เกษมสันต์)

    ขณะยังทรงพระเยาว์พระบิดาได้ถวายให้อยู่ในความอุปการะของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารีซึ่งเป็นพระปิตุจฉา จนถึงวัยสมควรจะศึกษาเล่าเรียนพระบิดาจึงทรงจัดให้ศึกษาตอนต้น ณ วังวรวรรณ จากนั้นทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยในปัจจุบัน) และทรงสำเร็จการศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนราชินี
    เมื่อหม่อมเจ้าหญิงวรวรรณวิมลมีพระชันษา ๒๘ ปี ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ณ เต็นท์เล่นไพ่บริดจ์ในงานประกวดภาพเขียนสมัครเล่น ณ โรงละครหลวงพระราชวังพญาไท (โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในปัจจุบัน) และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเจ้าอยู่หัวได้รับสั่งชวนหม่อมเจ้าหญิงวรรณวิมลแสดงละครเรื่อง “โพงพาง” โดยพระราชทานพระราชวโรกาสให้ทรงแสดงเป็น “คุณหญิงสมุทรโยธิน” ส่วนพระองค์ทรงแสดงเป็น “พระยาสมุทรโยธิน” ได้เริ่มซ้อมการแสดงเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ และทรงแสดงในวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นเหตุให้ละครพูดในวังหลวงมีผู้หญิงร่วมแสดงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คือเป็นการแสดงแบบชายจริงหญิงแท้


    หลังจากนั้นได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเป็นการส่วนพระองค์อีกหลายคราวจนกระทั่งถึงวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จออกขุนนาง ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมมหาราชวัง ประทับในที่ประชุมองคมนตรีและได้มีกระแสพระราชดำรัสต่อไปนี้

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ๒

    .......ด้วยข้าพเจ้ามีประสงค์ต่อไป ว่าจะให้ทำพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสด้วยกับหม่อมเจ้าหญิงวัลลภาเทวี ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ ข้าพเจ้าได้ทราบอยู่ในใจอันฦกซึ้งแล้ว ว่าการที่ข้าพเจ้าได้กระทำมั่นสัญญาอย่างนี้เปนการสำคัญใหญ่ยิ่งนัก....๑

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี
    จากนั้นได้มีประกาศพระราชพิธีหมั้นเป็นทางราชการ พร้อมทั้งทรงประกาศสถาปนาเลื่อนหม่อมมเจ้าหญิงวัลลภาเทวีเป็น “พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี” ดังความตอนหนึ่งว่า :-
    ......อีกประการหนึ่ง ตามเหตุที่ได้ทรงมั่นดังกล่าวมานี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมเจ้าหญิงวัลลภาเทวีเปนพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ตั้งแต่นี้สืบไปจนถึงเวลาที่จะได้ทำพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในภายน่า....๒
    งานฉลองหมั้นเรียกว่า “สัปเปอร์เจ้าฟ้า” ๓ ได้จัดขึ้น ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน๙ นอกจากนี้บรรดาข้าราชการ พ่อค้า และนักเรียนเก่าอังกฤษยังได้จัดงานถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระคู่หมั้นด้วย
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์บทละครร้องเรื่อง “ศกุนตลา” เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๕ ได้ทรงพระราชนิพนธ์คำนำแสดงพระราชประสงค์เรื่องดังกล่าวพระราชทานแก่พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี เพื่อแสดงความรักของพระองค์ความว่า :-

  3. #3
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ๓

    สุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระองค์เจ้าวัลลภาเทวี

    พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ๓


    อย่างไรก็ตามหลังจากทรงประกอบพระราชพิธีหมั้นได้ ๔ เดือน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีประกาศพระบรมราชโองการ “เลิกการพระราชพิธีหมั้น” กับพระองค์เจ้าวัลลภาเทวีเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ดังความตอนหนึ่งว่า :-

    ….มีความเสียพระราชหฤทัยเปนอย่างยิ่งที่ได้มาทรงทรงตระหนักแน่ชัดขึ้นว่าการจะไม่เปนไปได้โดยเรียบร้อยสมพระราชประสงค์อันดีที่กล่าวมาแล้ว เพราะเหตุที่พระราชอัธยาศัยและพระอัธยาศัยของพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีมิได้ต้องกัน....และโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศยกเลิกข้อความตามประกาศพระราชพิธีมั่นซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๓ นั้น เสียและโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาคำนำพระนามแทน “พระวรกัญญาปทาน” นั้นเปลี่ยนเปน “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี” ตั้งแต่นั้นเปนต้นมา....

    บั้นปลายแห่งพระชนมชีพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีได้ประทับ ณ “พระกรุณานิวาสน์” ๖ ถนนพิชัย และทรงสนพระทัยในพระพุทธศาสนาตลอดมา
    พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีประชวรด้วยโรคพระวักกะพิการ ประทับรักษาพระองค์ที่โรงพยาบาลศิริราช ๖๐ วัน ก็สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการอันสงบ เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๔ เวลา ๐๖.๐๘ น. รวมพระชันษาได้ ๕๘ ปี ๕ เดือน และทรงได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดเบญจมบพิตร เมื่อวันจันทร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๕

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •