กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ปวดประจำเดือน

  1. #1
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9

    ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ปวดประจำเดือน

    ปวดท้องน้อย ปวดท้องประจำเดือน ปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ ปวดหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ปวดบีบๆ ร่วมกับอาการปวดของลำไส้แปรปรวน เช่น ปวดบีบ ท้องอืด ท้องผูก ท้องเสีย เวลาที่มีการเคลื่อนไหวของลำไส้มีอาการปวด ปวดเสียด ปวดหลัง ปวดร้าวลงขา ปัสสาวะบ่อย รวมถึงมีบุตรยาก

    อาการเหล่านี้มักจะรบกวนต่อการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การทำกิจวัตรประจำวัน บางครั้งสามารถจะตรวจหาสาเหตุของโรคได้ ด้วยวิธีง่ายๆ เช่น ตรวจภายใน หรือ ทำ Ultrasound บางครั้งอาการปวดเหล่านี้ไม่สามารถที่จะหาสาเหตุได้ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจ Ultrasound หรือ X-Ray ซึ่งจะพบว่าปกติ จึงทำให้ผู้หญิงมีความทุกข์ทรมาน จากความเจ็บปวด ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ สูญเสียตำแหน่ง หน้าที่ การงาน เพราะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เต็มที่

    อาการทั้งหลายเหล่านี้ บอกอะไรเรา เราจะสามารถตรวจหาสาเหตุได้อย่างไร รวมถึงมีการรักษาอย่างไร

    อาการเหล่านี้ เมื่ออธิบายรวมๆ กันก็จะพบว่า เป็นอาการแสดงอย่างหนึ่ง เรียกว่า Endometriosis (เอ็นโดเมททริโอซิส) ผังผืด หรือ Chocolate Cyst (ช็อคโกแล็ตซิสต์) และ Adenomyosis (แอดดีโนมัยโอซิส)

    ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ปวดประจำเดือน

    ทำไมเรียกชื่อต่างกัน

    Endometriosis คือ ภาวะของเยื่อบุโพรงมดลูกซึ่งเจริญผิดที่ ปกติแล้วเยื่อบุโพรงมดลูกจะอยู่ภายในโพรงมดลูก แต่ในกรณีนี้จะมีการไหลย้อนของเยื่อบุโพรงมดลูกเข้าไปในช่องเชิงกราน ไปฝังตัวบริเวณด้านหลังมดลูก, รังไข่, ลำไส้, ขาของตัวมดลูก (Utero-Sacral Ligament), ตัวมดลูก, ไต, ปอด เมื่อมีการไหลย้อนออกไป และมาฝังตัวภายนอก บริเวณที่พบได้บ่อย คือ รังไข่ เนื่องจากบริเวณรังไข่ เป็นบริเวณที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง (Estrogen) จึงเหมาะในการเจริญเติบโต เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะถูกกระตุ้นเหมือนกับเยื่อบุโพรงมดลูกที่อยู่ในโพรงมดลูกเช่นกัน และเมื่อถึงเวลาที่พร้อมจะมีเลือดออกและเป็นประจำเดือน ก็จะมีเลือดออก แต่จะไม่มีทางออก เพราะภายในช่องท้องเป็นช่องที่ตัน ไม่มีทางติดต่อภายนอกได้ ก็จะทำให้เกิดการคั่งสะสมของเลือดบริเวณรังไข่ และจะโตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อปล่อยทิ้งไว้ สีเลือดในรังไข่ก็จะเปลี่ยนสี เนื่องจากเป็นเลือดเก่า เปรียบเหมือนสีช็อคโกแล็ต จึงเรียกว่า ช็อคโกแล็ตซีสต์ (Chocolate Cyst)

    ส่วนเยื่อบุโพรงมดลูกที่แทรกเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูกก็จะกระตุ้นให้เกิดเป็นผังผืด หรือ ก้อนในกล้ามเนื้อมดลูก เนื่องจากกล้ามเนื้อมดลูกค่อนข้างแข็ง เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็น Cyst เราเรียกภาวะนี้ว่า Adenomyosis ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง ประจำเดือนมามาก มีบุตรยาก ตามมา

    ในกรณีที่เยื่อบุโพรงมดลูกฝังตัวบริเวณขาของตัวมดลูก (Utero-Sacral ligament) ถึงจะมีการฝังรากลึกลงไปก่อให้เกิดผังผืด ปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง ปวดหลัง ปวดร้าวลงขา ปวดเวลาขับถ่าย ซึ่งในบางครั้ง เราไม่สามารถตรวจพบโดยการ Ultrasound นอกจาก MRI หรือตรวจภายใน แล้วสงสัยและใช้วิธีส่องกล้องเข้าไปในช่องท้องเพื่อวินิจฉัยภาวะนี้

    ปกติแล้วส่วนใหญ่เวลาเป็นประจำเดือนมักมีเลือดเข้าไปในช่องเชิงกราน แต่ภาวะ Endometriosis นี้ ไม่ได้เกิดกับทุกคน อาจเกิดเนื่องจากภาวะภูมิคุ้มกันบางอย่าง ความเครียด ขนาดของพยาธิสภาพ (cyst) ไม่สัมพันธ์กับอาการที่ปวด บางคนมีก้อนซีสต์โตมาก แต่ไม่มีอาการเลยก็ได้

    ทำอย่างไร เราจึงจะทราบว่าเรามีโรคชนิดนี้

    การสืบค้นหาโรคนี้สามารถทำได้โดยการ

    1.ซักประวัติ โดยมีอาการที่กล่าวถึง คือ
    ◦ปวดท้องน้อยเป็น ๆ หาย ๆ
    ◦ปวดท้องประจำเดือน ปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือปวดมากจนรบกวนต่อการดำรงชีวิตและการทำงาน เช่น ปวดแล้วต้องหยุดงาน ปวดจนเป็นลม
    ◦มีบุตรยาก แท้งบ่อย ตั้งครรภ์นอกมดลูก
    ◦มีอาการของลำไส้แปรปรวน IBS คือ ปวดท้องบีบ ๆ ท้องอืด ท้องเสีย ท้องผูก ปวดมากเวลาขับถ่าย ปวดเสียดในท้อง
    ◦ปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ ปวดหลังจากมีเพศสัมพันธ์
    ◦ปวดหลัง
    ◦ปวดร้าวลงขา
    ◦ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
    ◦ปัสสาวะเป็นเลือด, ปัสสาวะบ่อย
    2.ตรวจภายใน เจ็บบริเวณปากมดลูกเมื่อโยกมดลูก เจ็บด้านหลังของตัวมดลูก, ปรุประ, คลำก้อนได้
    3.Ultrasound พบมดลูกโต, มีก้อนที่ปีกมดลูก หรือ Ultrasound แล้วปกติ
    4.MRI
    5.Diagnostic Laparoscopy ส่องกล้องเข้าไปในช่องท้อง เพื่อตรวจวินิจฉัยว่ามีก้อนงอกบริเวณมดลูก ปีกมดลูก รังไข่ ลำไส้ หรือ Ultrasound Ligament หรือไม่

    การรักษา

    ขึ้นอยู่กับอายุ พยาธิสภาพ ความต้องการมีบุตร ซึ่งอาจเป็นการใช้ยาแก้ปวด ฮอร์โมน หรือการผ่าตัด ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง และส่องกล้องผ่าตัด ขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้ทำการรักษา



    พญ. กิตติกานต์ นิ่มตระกูล
    คลินิกสูตินรีเวช
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ชิงช้าชาลี
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    กระทู้
    644
    บล็อก
    1
    ขอบคุณพี่ปุ้ยค่ะสำหรับข้อมูลดีๆ ตอนนี้น้องกำลังรักษาตาม พยาธิสภาพ โดยการฉีดยาสลาย (Chocolate Cyst) เพิ่งผ่านไป 2 เข็ม ผลข้างเคียงคือ ไม่มีประจำเดือน (สรุป หนูเข้าสู่วัยทองโดยไม่ได้ตั้งใจ 555++ )

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •