กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: การขัดกันแห่งกฎหมาย

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430

    บ้านมหาโพสต์ การขัดกันแห่งกฎหมาย

    เราได้อ่านเรื่องราวของช่องว่างของกฎหมายมาแล้ว วันนี้ พล พระยาแล จะได้นำเอาความขัดกันของกฎหมายมาให้อ่านเล่น ๆ กัน หากกำลังตั้งหม้อนึ่งอยู่ ให้อาหารสุกก่อนแล้วค่อยมาอ่านเด้อ ระวังหม้อนึ่งสิไหม้ซั่นดอก เอิ๊ก ๆ

    กฎหมายขัดกันของไทย คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481
    คือ ใช้เมื่อมีการขัดกันของกฎหมาย 2 ประเภทขึ้นไป และมีการเลือกว่าจะใช้กฎหมายอะไรแล้วแต่กรณี

    ขั้นตอนของการใช้กฎหมายขัดกัน

    ขั้นตอนที่ 1 ต้องใช้กฎหมายขัดกัน
    ข้อยกเว้นของการใช้กฎหมายขัดกัน
    1.กฎหมายพึงบังคับใช้ทันที
    2.กฎหมายแพ่งสารบัญญัติพิเศษ
    2.1พระราชบัญญัติการรับขนทางทะเล
    2.2พระราชบัญญัติการรับขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
    3.อนุสัญญาระหว่างประเทศที่ผูกพันรัฐเจ้าของศาล
    4.การที่คู่ความไม่กล่าวอ้างความเป็นระหว่างประเทศของนิติสัมพันธ์ของเอกชน

    ขั้นตอนที่ 2 การให้ลักษณะข้อกฎหมายแก่ข้อเท็จจริง
    1.บุคคล
    2.หนี้
    3.ทรัพย์
    4.ครอบครัว
    5.มรดก

    ขั้นตอนที่ 3 การทดสอบจุดเกาะเกี่ยว
    1.ขาดจุดเกาะเกี่ยวหรือไม่
    2.จุดเกาะเกี่ยวขัดกันหรือไม่
    3.จุดเกาะเกี่ยวถูกสร้างขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายหรือไม่
    4.จุดเกาะเกี่ยวเคลื่อนที่หรือไม่
    5.มีการขัดกันของการตีความจุดเกาะเกี่ยว
    จุดเกาะเกี่ยวที่แท้จริง คือ จุดเกาะเกี่ยวที่ใกล้ชิดกับนิติสัมพันธ์ที่สุด
    จุดเกาะเกี่ยวในกฎหมายขัดกัน คือ ข้อเท็จจริงที่ชี้ว่าปัญหากฎหมายหนึ่งๆมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับนิติสัมพันธ์ที่สุด

    พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481
    มาตรา 3 เมื่อใดไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นใด แห่งประเทศสยามที่จะยกมาปรับกับกรณีขัดกันแห่งกฎหมายได้ ให้ใช้กฎเกณฑ์ทั่วไปแห่ง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
    มาตรา 4 ถ้าจะต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับและตามกฎหมายต่างประเทศ นั้น กฎหมายที่จะใช้บังคับได้แก่กฎหมายแห่งประเทศสยาม ให้ใช้กฎหมายภายในแห่งประเทศ สยามบังคับ มิใช่กฎเกณฑ์แห่งกฎหมายสยามว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย
    มาตรา 6 ถ้าจะต้องใช้กฎหมายสัญชาติบังคับ และบุคคลมีสัญชาติตั้งแต่สอง สัญชาติขึ้นไปอันได้รับมาเป็นลำดับ ให้ใช้กฎหมายสัญชาติที่บุคคลนั้นได้รับครั้งสุดท้ายบังคับ
    ถ้าจะต้องใช้กฎหมายสัญชาติบังคับ และบุคคลมีสัญชาติตั้งแต่สองสัญชาติขึ้นไป อันได้รับมาคราวเดียวกัน ให้ใช้กฎหมายสัญชาติของประเทศซึ่งบุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่บังคับ ถ้าบุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศอื่นนอกจากประเทศซึ่งตนมีสัญชาติสังกัดอยู่ ให้ใช้กฎหมาย ภูมิลำเนาในเวลายื่นฟ้องบังคับ ถ้าภูมิลำเนาของบุคคลนั้นไม่ปรากฏ ให้ใช้กฎหมายของประเทศ ซึ่งบุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่บังคับ
    ในกรณีใด ๆ ที่มีการขัดกันในเรื่องสัญชาติของบุคคล ถ้าสัญชาติหนึ่งสัญชาติใด ซึ่งขัดกันนั้นเป็นสัญชาติไทย กฎหมายสัญชาติซึ่งจะใช้บังคับได้แก่กฎหมายแห่งประเทศสยาม
    สำหรับบุคคลผู้ไร้สัญชาติ ให้ใช้กฎหมายภูมิลำเนาของบุคคลนั้นบังคับ ถ้า ภูมิลำเนาของบุคคลนั้นไม่ปรากฏ ให้ใช้กฎหมายของประเทศซึ่งบุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่บังคับ
    ถ้าในการใช้กฎหมายสัญชาติบังคับ จะต้องใช้กฎหมายท้องถิ่น กฎหมาย เหล่าประชาคม หรือกฎหมายศาสนาแล้วแต่กรณี ก็ให้ใช้กฎหมายเช่นว่านั้นบังคับ
    มาตรา 7 ในกรณีที่มีการขัดกันในเรื่องสัญชาติของนิติบุคคล สัญชาติของ นิติบุคคลนั้นได้แก่สัญชาติแห่งประเทศซึ่งนิติบุคคลนั้นมีถิ่นที่สำนักงานแห่งใหญ่หรือที่ตั้ง ทำการแห่งใหญ่

    ขั้นตอนที่ 4 การปรับใช้กฎหมายที่มีผลต่อคดี
    มาตรา 5 ถ้าจะต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับ ให้ใช้กฎหมายนั้นเพียงที่ไม่ขัด ต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแห่งประเทศสยาม
    มาตรา 8 ในกรณีที่จะต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับ ถ้ามิได้พิสูจน์กฎหมาย นั้นให้เป็นที่พอใจแก่ศาล ให้ใช้กฎหมายภายในแห่งประเทศสยาม

    เรื่องความสัมพันธ์ของบุคคล
    มาตรา 10 ความสามารถและความไร้ความสามารถของบุคคลย่อมเป็นไปตาม กฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น
    แต่ถ้าคนต่างด้าวทำนิติกรรมในประเทศสยาม ซึ่งตามกฎหมายสัญชาติคนต่างด้าว นั้นย่อมจะไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจำกัดสำหรับนิติกรรมนั้น ให้ถือว่าบุคคลนั้น มีความสามารถทำนิติกรรมนั้นได้เพียงเท่าที่จะมีความสามารถตามกฎหมายสยาม ความในวรรคนี้ ไม่ใช้แก่นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวและกฎหมายมรดก
    ในกรณีที่เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ความสามารถของบุคคลที่จะทำ นิติกรรมเช่นว่านั้นย่อมเป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่

    --------------------------------------------------------------------------
    ที่มา: กฎหมายที่ประชาชนควรรู้, กฎหมายไทย, การขัดกันของกฎหมาย
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พล พระยาแล; 05-11-2009 at 18:57.

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวจอหอ
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    ayutthaya
    กระทู้
    316
    บ่แม่นธรรมดาเด้เนาะอ้ายพลกฎหมายระหว่างประเทศนี่ บ่คือผมดอกครับตกแล้วตกอีก
    ลงทะเบียนหลายๆรอบมันยังจิแหน่น 5555

  3. #3
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    จักแหล่ว ไปเลี้ยงไก่อยู่นาพุ่นเด้ล่ะ กะคือพอผ่านอยู่หือ แต่บ่จบแมะ อิอิ อาศัยอ่านเอากะได้ดอกเนาะครับ จอหอ เอิ๊ก ๆ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •