หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 13

หัวข้อ: ยาด "มรดก" กันเฮ็ดหยังน้อ

  1. #1
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430

    บ้านมหาโพสต์ ยาด "มรดก" กันเฮ็ดหยังน้อ

    เมื่อบุคคลใดตาย มรดกจักตกทอดแก่ทายาททันทีตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก หลายคนมีความเข้าใจคลาดคลื่อนเกี่ยวกับมรดกของผู้ตายว่า หมายถึงทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนตายเท่านั้น อันที่จริงแล้วหลักกฎหมายกำหนดชัดว่า กองมรดกได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบต่างๆด้วย จึงหมายความว่าทายาทของผู้ตายต้องรับสืบทอดหนี้สินของผู้ตายไปพร้อมกับทรัพย์สิน

    แต่เพื่อความเป็นธรรมกฎหมายจึงมีขอบเขตความรับผิดชอบไว้เพียงไม่เกินมูลค่าของมรดกที่ตนได้รับมา เช่น ทายาทรับที่ดินมรดกมูลค่า 1 ล้านบาทและหนี้สินจำนวน 1.5 ล้านบาท เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระหนี้จากทายาทได้เพียงเท่ามูลค่าของที่ดิน คือ 1 ล้านบาท ส่วนที่เหลือตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้ หรือ เจ้ามรดกไม่มีทรัพย์สินเหลืออยู่เลย เหลือเพียงหนี้สินอย่างเดียว เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์ทวงหนี้จากทายาทซึ่งไม่ได้รับทรัพย์สินจากกองมรดก เป็นต้น

    ประเภทของทายาทและทายาทโดยธรรม
    กฎหมายมรดกยังแบ่งทายาทแห่งกองมรดกไว้สองแบบ คือ ทายาทโดยธรรม กับ ทายาทตามพินัยกรรม ซึ่งมีที่มาและข้อกำหนดรับมรดกแตกต่างกัน กรณีที่ผู้ตายหรือเจ้ามรดกมีเจตนาแตกต่างจากที่กฎหมายกำหนดไว้ ย่อมมีอำนาจแบ่งสัดส่วนในมรดกได้เองโดยพินัยกรรม หากเขามิได้ทำพินัยกรรม การแบ่งมรดกต้องเป็นไปตามกฎหมายมรดกเท่านั้น ทายาทประเภทแรกคือ ทายาทโดยธรรมซึ่งกฎหมายจัดลำดับชั้นไว้โดยคำนึงถึงประเพณีทางสังคมและความเกี่ยวพันทางสายเลือดกับเจ้ามรดกเป็นหลัก ดังนี้

    ทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับเท่านั้น ตาม ป.แพ่ง ม.1629 ได้แก่
    1.ผู้สืบสันดาน เช่น ลูก หลาน เหลน โหลน ต่อเนื่องไปจนสุดสาย
    2.บิดา มารดา
    3.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
    4.พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
    5.ปู่ ย่า ตา ยาย
    6.ลุง ป้า น้า อา

    นอกจากนั้นกฎหมายยังกำหนดให้คู่สมรสที่มีทะเบียนถูกต้อง ถือเป็นทายาทโดยธรรมเป็นกรณีพิเศษ เมื่อมีการแบ่งมรดกต้องจัดให้คู่สมรสอยู่ในลำดับเดียวกับผู้สืบสันดานด้วย

    ความสำคัญของลำดับทายาท
    การแบ่งมรดกระหว่างทายาทโดยธรรมมีหลักโดยสังเขป คือ ถ้ามีทายาทลำดับต้นแล้ว พวกที่อยู่ถัดไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกเลย ตัวอย่างเช่น เจ้ามรดกมีลูกซึ่งถือเป็นทายาทลำดับที่ 1 คือ ผู้สืบสันดาน ย่อมทำให้พี่น้อง ปู่ย่า ลุงป้าน้าอา ของคนตายหมดสิทธิ์รับมรดกอย่างเด็ดขาด เป็นต้น

    แต่กฎหมายมีข้อยกเว้นเพื่อส่งเสริมความกตัญญูต่อบุพการีของเจ้ามรดก โดยกำหนดว่าถ้ามีผู้สืบสันดานรับมรดกแล้ว ห้ามตัดสิทธิ์การแบ่งมรดกแก่บิดามารดาเจ้ามรดกซึ่งต้องมีชีวิตอยู่ในขณะแบ่งมรดกกันด้วย โดยให้ถือว่ามีส่วนแบ่งเท่ากับทายาทชั้นบุตร แม้ว่าลำดับของบิดามารดาจะอยู่ที่สองก็ตาม แม้จะมีการจัดลำดับทายาทโดยธรรมแล้ว กฎหมายมรดกยังกำหนดสัดส่วนที่คู่สมรสพึงได้รับร่วมกับทายาทลำดับต่างๆด้วย เช่น เจ้ามรดกมีลูก ซึ่งเป็นทายาทลำดับที่ 1 คู่สมรสจะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับพวกเขา ถ้ามีแต่ทายาทชั้นพี่น้อง หรือไม่มีลูก แต่มีพ่อแม่ซึ่งเป็นทายาทลำดับที่ 2 คู่สมรสจะได้รับมรดกครึ่งหนึ่ง เป็นต้น

    ทายาทตามพินัยกรรม
    ทายาทประเภทต่อมา คือ ทายาทตามพินัยกรรม ซึ่งเกิดจากเจตนาของเจ้ามรดกในการจัดแบ่งทรัพย์สินตามที่ตนต้องการเองและไม่จำกัดว่าต้องแบ่งให้ลูกหลานของเขาเท่านั้น บุคคลภายนอกอาจเป็นทายาทตามพินัยกรรมก็ได้ การเขียนพินัยกรรมจักทำด้วยตนเองหรือให้ทนายความช่วยจัดการก็ได้ แล้วยังสามารถลงทะเบียนพินัยกรรมไว้กับหน่วยงานรัฐเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันเจตนาก่อนตายของตนซึ่งป้องกันการโต้แย้งเรื่องเอกสารปลอมระหว่างทายาทด้วยกันได้

    เมื่อเจ้ามรดกตาย การแบ่งมรดกต้องกระทำตามพินัยกรรมเท่านั้น จะไม่มีการนำวิธีแบ่งของกฎหมายมาใช้เด็ดขาด ยกเว้นมีทรัพย์สินนอกพินัยกรรมซึ่งคนตายมิได้เขียนไว้ จึงต้องนำการแบ่งมรดกตามกฎหมายไปใช้กับทายาทโดยธรรม ตัวอย่างเช่น เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกที่ดินให้ลูกคนโตเพียงคนเดียว ลูกที่เหลือจะไม่ได้รับมรดกเลย ต่อมาก่อนตายวันเดียวเขาซื้อที่ดินอีกแปลง แต่ยังไม่ได้เขียนเพิ่มเติมในพินัยกรรม ที่ดินแปลงนี้จะต้องจัดแบ่งแก่ทายาทโดยธรรมตามลำดับชั้นที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ ลูกทั้งหมดของเจ้ามรดกมีสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้เท่าเทียมกัน เพราะมันไม่อยู่ในพินัยกรรม เป็นต้น

    ทางเลือกของเจ้ามรดก กฎหมายกำหนดประเภทและลำดับทายาท วิธีแบ่งมรดกไว้ชัดเจน แล้วยังเปิดโอกาสให้แสดงเจตนาที่แตกต่างจากกฎหมายได้ด้วย ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดความวุ่นวายในสังคมและสร้างระบบครอบครัวให้มีระเบียบมากขึ้น นอกจากนั้นยังกำหนดว่าผู้ใดไม่มีทายาทรับสืบทอดมรดกตามกฎหมาย ให้ทรัพย์สินของเขาตกแก่แผ่นดินด้วย จึงไม่มีวันที่ทรัพย์มรดกจะขาดผู้สืบทอดได้เลย ทายาทโดยธรรมลำดับต้นจะตัดสิทธิ์การสืบทอดมรดกของทายาทลำดับถัดไปเสมอ

    หากทายาทลำดับใดกำจัดผู้อยู่ลำดับต้นด้วยความละโมบ กฎหมายจะตัดสิทธิ์ของพวกเขาทันที ทุกคนจึงควรพึงพอใจต่อสถานภาพของตนและเคารพเจตนาของคนตายให้มาก ส่วนเจ้าของทรัพย์สินต้องการแบ่งสัดส่วนมรดกแตกต่างจากกฎหมาย ควรทำพินัยกรรมอย่างถูกต้องและชัดเจน เพื่อป้องกันมิให้ทายาทขัดแย้งและระแวงใจต่อกันว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่

    จึงควรศึกษารูปแบบและวิธีทำพินัยกรรม จากนั้นเลือกทำอย่างเหมาะสมกับตน โดยเฉพาะควรเปลี่ยนแนวคิดเรื่องเตรียมเจตนาก่อนตายใหม่ว่า มิใช่การแช่งตัวเองให้อายุสั้นตามที่คนโบราณเชื่อถือกันมา เนื่องเพราะเจ้ามรดกย่อมรู้จักทายาทของตนเป็นอย่างดี จึงคาดหวังได้ว่าทรัพย์สินแต่ละชิ้นควรอยู่กับผู้ใดจึงสร้างประโยชน์สูงสุด หรือรักษามันไว้ได้ตามวัตถุประสงค์ของเจ้ามรดก ความรักชอบทายาทย่อมมีไม่เท่ากัน

    พินัยกรรมถือเป็นการแสดงความปรารถนาสุดท้ายของคนตายและช่วยจัดระเบียบทรัพย์สินสิทธิ์ต่างๆด้วยตัวเอง ส่วนวิธีจัดแบ่งมรดกของกฎหมายยึดถือลำดับทายาทเป็นหลักใหญ่โดยไม่คำนึงถึงความสามารถหรือข้อดี ข้อด้อยของทายาท ซึ่งย่อมมีผลต่อมรดกที่รับทอดไปอย่างมาก มันอาจเป็นการทำลายสมาชิกครอบครัวที่ยังมีชีวิตอยู่หากมรดกตกแก่ทายาทที่ไม่ใช่คนดีก็ได้

    ดังนั้น การแสดงเจตนาเกี่ยวกับทรัพย์สินล่วงหน้าของเจ้ามรดกโดยทำพินัยกรรมไว้น่าจะเป็นการดูแลหรือรับผิดชอบต่อครอบครัวครั้งสุดท้ายของเจ้ามรดกเพื่อมิให้ต้องมีห่วงกังวลทิ้งไว้บนโลกใบนี้อีก

    --------------------------------------------------------------------------
    ที่มา: กฎหมายมรดก, วิกิพีเดีย
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พล พระยาแล; 05-11-2009 at 22:01.

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวจอหอ
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    ayutthaya
    กระทู้
    316

    ทายาทโดยธรรม

    ขออนุญาตเสริมจักหน่อครับอ้ายพล
    ทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับเท่านั้น ตาม ป.แพ่ง ม.1629 ได้แก่
    1.ผู้สืบสันดาน เช่น ลูก หลาน เหลน โหลน ต่อเนื่องไปจนสุดสาย
    2.บิดา มารดา
    3.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
    4.พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
    5.ปู่ ย่า ตา ยาย
    6.ลุง ป้า น้า อา
    ส่วนภรรยา มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกเทียบเท่าชั้นบุตร ตาม ป.แพ่ง ม.1635(1)
    บิดามาดาก็มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกเทียบเท่าชั้นบุตรเช่นกัน
    ส่วนบุตรนอกสมรสที่บิดาที่เป็นเจ้ามรดกรับรองแล้ว ก็มีสิทธิรับมรดกเช่นเดียวกัน ตาม ป.แพ่ง ม.1627

  3. #3
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    โอ้ ครับ บ่าว จอหอ (แปลว่าหยังน้อ จอหอเนี่ย อิอิ) ขอบคุณครับ ขอยกอุทาเห่า โอ๊ะ ๆ อุทาหรณ์ให้เห็นภาพประกอบน้อครับผม

    อุทาหรณ์ที่ 1
    นาย ก. ขณะตายมีบุตรอยู่สองคน ภริยาตายไปก่อนแล้ว บิดามารดาของนาย ก. ก็ตายไปนานแล้ว นาย ก. มีทรัพย์สินอันเป็นกองมรดกทั้งบ้านเรือนและที่ดินรวมทั้งเงินสด คือคำนวณเป็นเงินรวมเบ็ดเสร็จ 101,000 บาท ดังนี้ ทายาทของนาย ก. ก็คือบุตรสองคน ซึ่งเป็นทายาทอันดับ


    1 มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเท่ากัน มีอยู่สองคนก็แบ่งทรัพย์มรดกออกเป็นสองส่วนเท่ากันบุตรของนาย ก. ได้ไปคนละหนึ่งส่วนเท่ากันคือ คนละ 50,500 บาท

    อุทาหรณ์ที่ 2
    นาย ก. มีนาง ข.เป็นภริยา ยังไม่มีบุตรไม่มีทายาทอื่นๆ เลย บิดามารดาของนาย ก.ตายไปนานแล้ว ดังนี้ ถือว่านาย ก. มีทายาทเฉพาะนาง ข. ที่ เป็นคู่สมรสเท่านั้น มรดกของนาย ก. ทั้งหมดจึงตกได้แก่ นาง ข. คนเดียว

    อุทาหรณ์ที่ 3
    นาย ก. แต่งงานกับนาง ข. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันมาได้ 15 ปี แล้ว มีลูกด้วยกันสามคน ซึ่ง นาย ก. ก็อุปการะเลี้ยงดู ส่งเสียค่าเล่าเรียนและอยู่ร่วมบ้านเดียวกันตลอดมาแสดงให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายว่า บุคคลเหล่านี้เป็นภริยาและบุตรของตน นาย ก. ตายลงโดยไม่มีทายาทอื่นอีกเลย มีทรัพย์มรดกคิดเป็นเงิน 1,200,000 บาท ดังนี้ สำหรับนาง ข. ภริยานั้นเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับนาย ก. ตามกฎหมายปัจจุบันบังคับไว้ จึงไม่ใช่ภริยาถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ถือว่าเป็นทายาทที่เป็นคู่สมรส ไม่มีสิทธิรับมรดกนาย ก. ส่วนบุตรสามคนก็เป็นบุตรนอกกฎหมายของนาย ก. ไม่ได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรจึงเป็นบุตรไม่ชอบด้วยกฎหมาย เรียกว่าเป็นดอกผลของข้าวนอกนา แต่กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นการรับรองโดยพฤติการณ์ มีสิทธิรับมรดกบุตรทั้งสามของนาย ก. จึงมีสิทธิรับมรดกโดยได้รับส่วนแบ่งเท่ากันคนละ 400,000 บาท

    อุทาหรณ์ที่ 4
    นาย ก. มีบุตรสองคน ภริยาและบิดามารดาของนาย ก. ยังมีชีวิตอยู่ นาย ก. ตายมีทรัพย์มรดกคิดเป็นเงิน 500,000 บาท ดังนี้ ทายาท ของนาย ก. ได้แก่บุตรบิดามารดาและภริยาของนาย ก. โดยบิดามารดาและภริยา นาย ก. ได้รับส่วนแบ่งเหมือนทายาทชั้นบุตรของนาย ก. ดังนั้นบุตรสองคนเป็น 2 ส่วน ภริยา 1 ส่วน รวมเป็น 5 ส่วน มรดกรายนี้จึงตกได้แก่บุตรคนละ 100,000 บาท บิดามารดาคนละ 100,000 บาท และภริยาได้ 100,000 บาท

    อุทาหรณ์ที่ 5
    นาย ก. มีบิดามารดาและภริยา แต่ไม่มีบุตร ดังนี้ หากนาย ก. มีมรดก 200,000 บาท ภริยาก็ได้ไปก่อนครึ่งหนึ่ง คือ 100,000 บาท อีก 100,000 บาท ได้แก่บิดามารดาไป หากมีแต่บิดาหรือมารดาก็ได้ไปคนเดียว

    อุทาหรณ์ที่ 6
    นาย ก.มีบิดามารดาและพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน ทายาทอื่นไม่มีอีก ดังนี้บิดามารดาของนาย ก. ซึ่งเป็นทายาทอันดับสองได้มรดกไป ส่วนพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของนาย ก. ซึ่งเป็นทายาทลำดับสามไม่มีสิทธิ

    อุทาหรณ์ที่ 7
    นาย ก. ทายาทของนาย ข. ผู้ตาย นาย ข.ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้นาย ก. ห้าแสนบาท แต่ยังมีทรัพย์สินที่ยังไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมอีกประมาณหนึ่งล้านบาท นาย ข.ยังมีทายาทอื่นอีก ดังนี้ ปัญหามีว่านาย ก. จะมีสิทธิในส่วนแบ่งของทรัพย์สินก้อนหลังนี้หรือไม่ ดังนั้นถือว่านาย ก.เป็นทายาทสองฐานะคือผู้รับพินัยกรรม 500,000 บาท และทายาทโดยธรรมอีกฐานะหนึ่ง มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์สินหนึ่งล้านบาทด้วย โดยได้รับแบ่งตามหลักเกณฑ์และอุทาหรณ์ในตอนต้น

    10. ถ้าไม่มีทายาทมรดกได้แก่ใคร
    ถ้าไม่มีทายาท มรดกตกได้แก่แผ่นดิน คือตกเป็นของรัฐบาลไป แต่จริงๆ แล้วก็มักจะมีทายาทมาขอรับจนได้

    11. อายุความมรดก
    อายุความมรดก โดยทั่วไปแล้วควรถือหนึ่งปีเป็นเกณฑ์ไว้ก่อน คือต้องดำเนินการอะไรให้แล้วเสร็จเสียภายในหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตายเป็นการดีที่สุด ถึงแม้อาจมีข้อยกเว้นว่ามีอายุความ สิบปีหรือไม่มีอายุความ ซึ่งก็มักมีปัญหามาก หากรีบจัดการภายในหนึ่งปี นับแต่เจ้ามรดกตาย ก็จะปลอดภัย

  4. #4
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวจอหอ
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    ayutthaya
    กระทู้
    316
    อย่าลืมอีกอย่างนึงเด้อครับอ้าย กรณีพระภิกษุในฐานะเจ้ามรดก และ พระภิกษุในฐานะผู้รับมรดก นั่น

  5. #5
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญติไว้ในมาตรา ๑๖๒๓ ว่า “ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุจะได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม”

    หมายความว่าในขณะที่เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา หากได้ทรัพย์สินอะไรมา และไม่มีการจำหน่าย จ่าย โอนไปซึ่งทรัพย์สินที่ได้มา หรือมิได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด เมื่อมรณภาพ ทรัพย์สินทั้งหมดที่ได้มาก็จะตกเป็นของวัดที่พระภิกษุนั้นมีภูมิลำเนา จะไม่ตกเป็นของทายาท

    ส่วนทรัพย์สินที่ได้มาก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุนั้น เมื่อมรณภาพ จะไม่ตกเป็นของวัดซึ่งเป็นภูมิลำเนา แต่ตกเป็นของาทยาทโดยธรรม และขณะที่อยู่ในสมณเพศเป็นระภิกษุก็สามารถจำหน่าย จ่าย โอนประการใดตามกฎหมายก็ได้

    ในกรณีที่ พระภิกษุเป็นทายาทโดยธรรม และมีสิทธิรับมรดก พระภิกษุในขณะที่อยู่ในสมณเพศ จะฟ้องเรียกร้องเอามรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ ต้องสึกจากสมณเพศก่อน แล้วจึงมีอำนาจฟ้องร้องเรียกเอาทรัพย์มรดกได้ภายในกำหนดหนึ่งปีนับจากเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ถึงอย่างไรจะฟ้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เจ้ามรดกตายไม่ได้

    สำหรับพระภิกษุซึ่งเป็นทายาทในฐานะผู้รับพินัยกรรม กฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องสึกก่อน ดังนั้น หากเป็นทายาทในฐานะผู้รับพินัยกรรม ย่อมมีอำนาจฟ้องเรยกทรัพย์มรดกได้โดยไม่ต้องสึกจากสมณเพศ

    ส่วนในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา การที่สามีไปบวชเป็นพระภิกษุ หาทำให้ขาดจากการสมรสไม่ แต่ทรัพย์ที่พระภิกษุได้มาในระหว่างสมณเพศ ไม่ถือเป็นสินสมรส ดังนั้นภรรยาก็ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างสมณเพศ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๕/๒๔๙๘)

    ที่กล่าวมาหมายถึงทรัพย์สินส่วนตัวของพระภิกษุ ถ้าเป็นของวัดแล้วเอาไปหรือเบียดบังเป็นของตนก็จะเอาผิดอาญาฐานลักทรัพย์หรือยักยอก ถ้าเป็นเจ้าอาวาสซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญาเบียดบังทรัพย์สินของวัดเป็นของตน ก็จะเป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ซึ่งรับโทษสูงกว่าความผิดฐานยักยอกทรัพย์..
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พล พระยาแล; 05-11-2009 at 22:02.

  6. #6
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    (1) พระภิกษุในฐานะทายาท

    มาตรา 1622 พระภิกษุจะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่สึกออกมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตาม ม.1754
    แต่พระภิกษุอาจเป็นผู้รับพินัยกรรมได้
    ข้อสังเกต

    (1) คำว่า พระภิกษุ หมายถึงบุคคลที่อุปสมบทในพระพุทธศาสนา(ไม่รวมแม่ชีและสามเณร ทั้งพระจีนหรือนักพรตไม่ใช่พระสงฆ์ ฎ.504/2461)

    (2) คำว่า เรียกร้อง หมายถึงการเรียกร้องให้ปันส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกให้ในฐานะที่พระภิกษุเป็นทายาทโดยธรรม รวมถึงการฟ้องร้องคดีต่อศาล

    มาตรา 1622 พระภิกษุจะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่สึกออกมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตาม ม.1754
    แต่พระภิกษุอาจเป็นผู้รับพินัยกรรมได้

    2.พระภิกษุในฐานะที่เป็นเจ้ามรดก

    ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาระหว่างบวช
    มาตรา 1623 ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ เมื่อพระภิกษุนั้นมรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นแต่จะได้จำหน่ายไปในระหว่างมีชีวิตหรือโดยพินัยกรรม

  7. #7
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวจอหอ
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    ayutthaya
    กระทู้
    316
    โอ้ สุดยอดเลยครับอ้ายพล เป็นประโยชน์มาเลยครับ

  8. #8
    ศิลปิน,ช่างภาพอิสระ สัญลักษณ์ของ เพ็นนี
    วันที่สมัคร
    May 2009
    ที่อยู่
    Bangkok
    กระทู้
    1,308
    บล็อก
    2
    เข้ามาเรียนกฏหมู่
    เอ้ยกฏหมายจ้า
    เผื่อว่าต่อไปสิได้ยกมรดกให้ถูกต้องตามลำดับ บ่ต้องยาดกัน

  9. #9
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    ทำงานที่อำเภอพรเจริญ จ.หนองคาย
    กระทู้
    107
    ขอเสริมนำแน่
    ยังคามันบ่ดี ฮ่าๆๆๆ
    ทายาท มี ๒ ประเภท
    คือทายาทโดยธรรม และทายาทโดยคู่สมรส
    ที่อ้ายพล และจอหอ ๕๒
    เว้ามาถูกแล้ว
    ขอเสริมตรงว่า
    ก่อนตาย
    เจ้ามรดก
    เขียนพินัยกรรม
    ถิ่บไว้ ถูกต้องตามแบบพินัยกรรม
    ฉบับล่าสุด
    ให้ อ้ายพล ผู้เดียว
    ทายาทอื่นๆ
    หมดสิทธิในการรับมรดก (ญาติซิเฮ็ดบุญให้บ่ กะบ่ฮู้นำกัน)
    เสริมแค่เนี่ยละ

  10. #10
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    ฮ่า ๆ ๆ อ้ายบุญมี สงสัยสิผู้ตายคือสิบ่ได้เกิดอีกแล้วล่ะครับ เพราะโดนแช่งหลาย ฮ่า ๆ ๆ

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •