กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: สดุดีวีรกรรม ท้าวคำผง หรือพระปทุมวรราชสิริยวงศ์ เจ้าเมืองอุบลฯ

  1. #1
    นักการภารโรง สัญลักษณ์ของ บ่าวคนเดิม
    วันที่สมัคร
    Jan 2006
    ที่อยู่
    Amphoe Det Udom
    กระทู้
    3,148

    สดุดีวีรกรรม ท้าวคำผง หรือพระปทุมวรราชสิริยวงศ์ เจ้าเมืองอุบลฯ

    สดุดีวีรกรรม ท้าวคำผง หรือพระปทุมวรราชสิริยวงศ์ เจ้าเมืองคนแรกของ จ.อุบลราชธานี
    สดุดีวีรกรรม ท้าวคำผง หรือพระปทุมวรราชสิริยวงศ์ เจ้าเมืองอุบลฯ
    เช้าวันที่ 10 พ.ย. 2552 นายชวน ศิรินันท์พร ผู้ว่าราชการ จ.อุบลฯ นำคณะพ่อค้า ประชาชน และองค์กรต่างๆ ร่วมบวงสรวงและสดุดีวีรกรรม ท้าวคำผง หรือพระปทุมวรราชสิริยวงศ์ เจ้าเมืองคนแรกของ จ.อุบลราชธานี โดยผู้ร่วมงานมีการแต่งกายด้วยชุดไทยย้อนยุคอย่างสวยงาม และมีขบวนอัญเชิญเครื่องยศเจ้าเมืองตามแบบโบราณเดินไปตามถนนหน้าศาลากลาง จังหวัดก่อนเข้าประกอบพิธีบวงสรวงและสักการะที่บริเวณหน้าอนุสาวรีท้าวคำผง ซึ่งตั้งอยู่ในทุ่งศรีเมืองอุบลฯ โดยในงานนี้ อบจ.อุบลราชธานี ได้มอบหมายให้ เจ้าหน้าที่จากสำนักปลัด และ กองการศึกษาฯ เข้าร่วมกิจกรรมด้วย

    สดุดีวีรกรรม ท้าวคำผง หรือพระปทุมวรราชสิริยวงศ์ เจ้าเมืองอุบลฯ

    สดุดีวีรกรรม ท้าวคำผง หรือพระปทุมวรราชสิริยวงศ์ เจ้าเมืองอุบลฯ

    สดุดีวีรกรรม ท้าวคำผง หรือพระปทุมวรราชสิริยวงศ์ เจ้าเมืองอุบลฯ

    ชมภาพทั้งหมด http://www.ubon.go.th/news/detail.php?id=4964
    [wma]paulpan/%E0%BE%C5%A7%C3%C7%C1%C1%D4%B5%C3/%E0%BE%C5%A7%A8%D1%A7%CB%C7%D1%B4%CD%D8%BA%C5%C3%D2%AA%B8%D2%B9%D5.wma[/wma]
    ขอบพระคุณสมาชิกและทีมงานที่เคารพรักทุกท่าน

  2. #2
    ศิลปิน,ช่างภาพอิสระ สัญลักษณ์ของ เพ็นนี
    วันที่สมัคร
    May 2009
    ที่อยู่
    Bangkok
    กระทู้
    1,308
    บล็อก
    2
    ธุจ้า ขอบคุณจ้าอ้ายบ่าวคนเดิมที่มอบสาระดีๆให้กับพี่น้องบ้านมหา...

  3. #3
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก เป็นบุตรของเจ้าพระตาและนางบุศดี เกิดเมื่อ พ.ศ. 2252 ณ นครเวียงจันทน์ ท่านเป็นหลานปู่เจ้าปางคำ ราชวงศ์เชียงรุ้ง ผู้สร้างเมืองหนองบัวลุ่มภู (จังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน) หรือนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน

    ในปี พ.ศ. 2311 เจ้าพระตากับเจ้าพระวอ เกิดผิดใจกันกับพระเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์ ฝ่ายเวียงจันทน์ได้ยกทัพมาตีเมืองหนองบัวลุ่มภู ต่อสู้กันอยู่ 3 ปี ฝ่ายเมืองหนองบัวลุ่มภูเห็นว่านานไปจะสู้ฝ่ายเวียงจันทน์ไม่ได้แน่จึงไปขอกองทัพจากพม่าที่เชียงใหม่มาช่วยรบ แต่กองทัพพม่าได้ยกมาสมทบกับกองทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหนองบัวลุ่มภูแตก เจ้าพระตาตายในสนามรบ เจ้าพระวอกับเจ้าคำผงและพวกจึงต้องทิ้งเมืองหนีไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จนได้ไปอาศัยพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารแห่งนครจำปาศักดิ์ โดยตั้งค่ายอยู่บ้านดู่บ้านแก แขวงเมืองจำปาศักดิ์ พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารได้ขอเอาเจ้านางตุ่ย พระธิดาของเจ้าอุปราชธรรมเทโว ให้เป็นชายาของเจ้าคำผง และทรงแต่งตั้งให้เจ้าคำผงเป็นพระปทุมสุรราช ผู้ช่วยเจ้าพระวอ นายกองนอก ต่อมาพระปทุมสุรรราชจึงขออพยพมาอยู่ดอนมดแดง

    ต่อมาเมื่อพระเจ้าสิริบุญสารได้ทราบว่า เจ้าพระวอกับพวกมาตั้งอยู่ที่ค่ายบ้านดู่บ้านแกแขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ และเจ้าพระวอมีกำลังพลน้อย จึงให้พระยาสุโพยกทัพมาตีค่ายบ้านดู่บ้านแกแตก เจ้าพระวอตายในที่รบ พระปทุมสุรราช (เจ้าคำผง) เห็นว่าจะสู้กองทัพเวียงจันทน์ไม่ได้ จึงขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์จีงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพมาช่วย เมื่อทราบสาเหตุจากพระปทุมสุรราชแล้ว จึงยกทัพตามตีทัพพระยาสุโพไปจนถึงเวียงจันทน์ ได้รบกันอยู่ 4 เดือน เวียงจันทน์จึงแตกเมื่อ พ.ศ. 2322 (สงครามครั้งนี้ส่งผลให้อาณาจักรล้านช้างทั้ง 3 แห่ง ตกเป็นประเทศราชของไทยสืบมา จนกระทั่งไทยเสืยดินแดนเหล่านี้ให้แก่ฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วย)

    ในปี พ.ศ. 2319 เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่ดอนมดแดง พระประทุมสุรราชจึงทรงพาไพร่พลอพยพหนีน้ำมาอยู่ที่ดอนริมห้วยแจระแม (อยู่เหนือตัวเมืองอุบลราชธานีปัจจุบันประมาณ 8 ก.ม.) เมื่อน้ำลดจึงย้ายไปที่ดงอู่ผึ้งริมแม่น้ำมูลเพื่อสร้างเมืองใหม่ เมื่อแล้วเสร็จจึงมีใบบอกลงไปกราบทูลพระเจ้ากรุงธนบุรีขอตั้งเป็นเมืองอุบล พระเจ้ากรุงธนบุรีให้ตั้งเมืองตามที่ขอไป โปรดเกล้าฯ ให้พระปทุมสุรรราชเป็น "พระปทุมราชวงศา" เจ้าเมืองอุบลองค์แรกเมื่อ พ.ศ. 2321

    ต่อมาเมื่อพระประทุมราชวงศาร่วมมือกับเจ้าฝ่ายหน้าผู้เป็นน้องชาย ซึ่งไปตั้งกองนอกเก็บส่วยอยู่ที่บ้านสิงห์ท่า (เมืองยโสธรในเวลาต่อมา) และกองทัพเมืองนครราชสีมาช่วยกันปราบกบฏอ้ายเชียงแก้วได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระประทุมราชวงศา เป็น "พระประทุมวรราชสุริยวงศ์" และเสริมนามเมืองอุบลขึ้นเป็น "เมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลประเทศราช" ขึ้นตรงต่อกรุงเทพ เมื่อวันจันทร์ แรม 13 ค่ำ เดือน 8 จุลศักราช 1154 (พ.ศ. 2335) ส่วนเจ้าฝ่ายหน้าก็ได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ มีบรรดาศักดิ์เป็นพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช

    พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ครองเมืองอุบลราชธานีมาตั้งแต่ตั้งเมืองมาเป็นเวลา 17 ปี จนถึง พ.ศ. 2338 จึงถึงแก่อนิจกรรม สิริรวมอายุได้ 85 ปี มีการทำพิธีเผาศพด้วยเมรุนกสักกะไดลิงก์ที่ทุ่งศรีเมือง แล้วเก็บอัฐิบรรจุธาตุไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองตรงบริเวณที่เป็นธนาคารออมสิน สาขาอุบลฯ ทุกวันนี้ ต่อมาภายหลังมีสร้างเรือนจำขึ้นในบริเวณนั้น จึงย้ายอัฐิไปไว้ที่วัดหลวง และยังอยู่จนปัจจุบัน

    ปัจจุบันมีอนุสาวรีย์ของพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ ประดิษฐานอยู่ที่ริมทุ่งศรีเมือง กลางเมืองอุบลราชธานี

    --------------------------------------------------------------------------
    ที่มา : วิกิพีเดีย

    ปล. เวลา พล พระยาแล ไปราชการ ที่ จ.อุบลราชธานี ก็จะแวะไปวิ่งเล่น และเดินดูรอบ ๆ ทุ่งศรีเมืองทุกครั้งครับ

    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พล พระยาแล; 11-11-2009 at 16:02.

  4. #4
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    ทุ่งศรีเมือง ตั้งอยู่ใจกลางเมือง บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด เป็นสวนสาธารณะประจำเมืองที่มีสภาพภูมิทัศน์งดงาม มีประตูทางเข้า 4 ทิศ 4 ประตู คือ อุบลเดชประชารักษ์ อุบลศักดิ์ประชาบาล อุบลการประชานิตย์ และอุบลกิจประชากร ภายในสวนมีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ คือ

    อภิมหาเทียนพรรษาเฉลิมพระเกียรติ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ.2542 และเป็นที่หล่อหลอมจิตศรัทธาของชาวอุบลราชธานีให้เป็นหนึ่งเดียว

    ศาลหลักเมืองอุบลราชธานี เป็นสถานที่สักการะของชาวเมืองและผู้มาเยี่ยมเยือน ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี 2515

    อนุสาวรีย์พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเมืองอุบลฯ

    ปฏิมากรรมสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) พระเถระที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นนักปราชญ์แห่งภาคอีสาน

    ปฏิมากรรมพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) พระเถระที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ

    อนุสาวรีย์แห่งความดี (Monument of Merit) เป็นเชลยศึกชาวต่างประเทศ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงความเมตตาปราณี และคุณงามความดีของชาวเมืองอุบลาชธานี

    ปฏิมากรรมร่วมใจก้าวไปข้างหน้า สร้างขึ้นตามโครงการปฏิมากรรม กับสิ่งแวดล้อมเพื่อเยาวชน ซึ่งแสดงถึง ความสมานฉันท์แห่งความเป็นพี่น้องระหว่าง 4 ประเทศ คือ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

    ----------------------------
    ที่มา-ท่องเที่ยวเมืองอุบล
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พล พระยาแล; 11-11-2009 at 16:01.

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •