ธุจ้า ตั้งนะโม 3 จบ นบพุทธะ อารธนะศีลห้ามาใส่หัว ปฏิบัติ ตั้งใจมั่น ไม่มันมัว มงคลตัวมงคลตนกุศลการ

ความหมายของ “ศีล” แปลว่า “ ปกติ” คื่อสิ่งหรือกติกาที่บุคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ ศีลมีหลายระดับ คือ ศีล ๕ ศีล ๘ และศีล ๒๒๗
คนมีศีล ห้าข้อ บริสุทธิ์
เป็นมนุษย์ ดีเลิศ งามเฉิดฉาย
่ย่อมมีสุข ยั่งยืน มิคืนคลาย
ทรัพย์มากมาย เกิดมี บริบูรณ์

คำว่า “ มนุษย์ “ นั้น คือผู้ที่มีใจอันประเสริฐ คุณธรรมที่เป็นปกติของมนุษย์ ที่จะต้องทรงไว้ให้ได้ตลอดไป ก็คือ ศีล ๕ บุคคลที่ไม่มีศีล ๕ ไม่เรียกว่ามนุษย์ แต่อาจจะเรียกว่า “ คน “ ซึ่งแปลว่า “ ยุ่ง “ ในสมัยพุทธกาล ผู้คนมักจะมีศีล ๕ ประจำใจกันเป็นนิจ ศีล ๕ จึงเป็นเรื่องปกติของบุคคลในสมัยนั้น และจัดว่าเป็น “ มนุษย์ธรรม”
เป็นมนุษย์ เป็นได้ เพราะใจสูง เหมือนหนึ่งยูง มีดี ที่แววขน
ถ้าใจต่ำ เป็นได้ แต่เพียงคน ย่อมเสียที ที่ตน ได้เกิดมา
ใจสะอาด ใจสว่าง ใจสงบ ถ้ามีครบ ควรเรียก มนุสสา
เพราะทำถูก พูดถูก ทุกเวลา เปรมปรีดา คืนวัน ศุขสันติ์จริง
ใจสกปรก มึดมัว และร้อนเร่า ใครมีเข้า ควรเรียก ว่าผีสิง
เพราะพูดผิด ทำผิด จิตประวิง แต่ในสิ่ง นำตัว กลั้วอบาย
คิดดูเถิด ถ้าใครไม่อยากตก จงรีบยก ใจตน รีบขวนขวาย
ให้ใจสูง เสียได้ ก่อนตัวตาย ก็สมหมาย ที่เกิดมา อย่าเชือนเอยฯ

การรักษาศีล เป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกายและวาจา อันเป็นเพียงกิเลสหยาบ มิให้กำเริบขึ้นและเป็นการบำเพ็ญบุญ
ศีลธรรม ความปกติ ตามธรรมชาติ ศีลธรรม ตามอำนาจ คนจัดสรร
ศีลธรรม คือสุข-สะดวก บวกเข้ากัน ศีลธรรม คนทุกวัน หันหัวลง
ศีลธรรม นำปุถุชน ดลอริยะ ศีลธรรม รวมฐานะ ที่พึงประสงค์
ศีลธรรม ทุกทุกส่วน ล้วนเส้นตรง ศีลธรรม นำสูงส่ง ตรงต่อญาณ
ศีลธรรม ปริยัติ จัดฐานราก ศีลธรรม มีวิบาก ล้วนสุขศานติ์
ศีลธรรม สะอาด สว่าง สงบ บรรจบงาน ศีลธรรม ส่วนอวสาน นิพพานแล ฯ
ธุจ้า