กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: จิตผู้รู้

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    จิตผู้รู้

    จิตผู้รู้



    เรื่องจิตผู้รู้

    จิต เป็นตัวธรรมทรงตัวอยู่ทุกสมัย เป็นอสังขตธาตุ ไม่มีเหตุปรุงสร้าง เป็นอมตะไม่ตาย เป็นมูลฐานแห่งนามธรรมทั้งปวง เป็นธรรมชาติที่รู้อะไรได้

    ธรรมชาติจิตที่รู้อะไรได้นี้ ย่อมมีถูกมีผิดแล้วแต่กำลังแห่งจิตที่มีความรู้
    รู้ถูก หรือ เห็นถูก เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
    รู้ผิด หรือ เห็นผิด เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ


    จะพูดว่าดินรู้ถูกเห็นถูกและรู้ผิดเห็นผิด หรือน้ำรู้ถูกเห็นถูกและรู้ผิดเห็นผิด นั้นไม่ได้เพราะสิ่งใดๆ เช่น ดินและน้ำ เป็นต้น นอกจากจิตแล้ว เป็นธรรมชาติรู้อะไรไม่ได้


    จิตเท่านั้นรู้อะไรได้
    จิตนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พุทธะ หรือ พุทโธ คือ ผู้รู้ มี ผู้รู้ ก็ต้องมี สิ่งที่ถูกรู้ เป็นคู่กัน


    สิ่งที่ถูกรู้นั้น ได้แก่ อารมณ์และเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งปวง ณ ภายนอกแห่งจิตซึ่งเข้ามาโดยวิถีทางทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสรุปลง คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นเครื่องรู้ของจิต


    จิต คือ ผู้รู้ นี้ น่าจะสมกับพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชาว่า
    จิตนี้เพ็ญสืบสร้าง โพธิญาณ
    พูนเพิ่มบารมีชาญ ฉลาดรู้
    เป็นใหญ่แห่งจักรวาล ทั้งหมด
    ก่อเกิดไตรโลกกู้ พิภพพื้นสังขารฯ


    พุทธะ ผู้รู้ นี้ น่าจะกำเนิดเดียวกับคำว่า วิชชา ที่แปลว่า ความรู้ พินิจแล้วได้ผลเป็นอย่างนี้ คือ เอาสระอิที่ วิ เป็นสระอุ เปลี่ยนเป็น วุ แล้วแปลง ว ที่ วุ เป็น พ สระอุ เป็น พุ ส่วนชะตัวหลังแปลงเป็นทะซ้อนธะ ก็แปรรูปวิชชา เป็นพุทธะ หรือ พุทโธ ผู้รู้


    พุทโธ ผู้รู้ นี้ หมายถึง การรู้เรื่องภายในของตนเอง คือ รู้อริยสัจจ์ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

    รู้ยิ่งเห็นจริง รู้แล้วไม่ติดอยู่ในสิ่งซึ่งจะต้องรู้ ถูกรู้ นั้น หมดความอยากความต้องการเรียกว่า สิ้นตัณหา ไม่ยึดถือไม่ติดเรียกว่าหมดอุปาทาน


    พุทโธ ผู้รู้นี้ พูดสั้นๆว่า หมายเอาตัวจิตนั้นเองก็ได้ เป็นจิตบริสุทธิ์พิเศษได้นามว่าพุทธะ หรือพระพุทธเจ้า ออกนอกโลก อยู่เหนือโลก


    ส่วนจิตของคนธรรมดาสามัญที่ไม่รู้อริยสัจย์ ๔ ก็เป็นพวกอวิชชา คือ พวกไม่รู้ เป็นคน หรือ สัตว์โลก ติดข้องอยู่ในโลก
    โลก คือ อารมณ์ทั้งปวง สัตว์ แปลว่า ติดข้อง เรียกว่า สามัญญสัตว์ คนธรรมดาสามัญ


    คนธรรมดาสามัญนั้น ถึงจะมีวิชชาความรู้ในทางโลกมากสักเพียงใดก็ตาม วิชชาความรู้นั้นถอนตัวออกจากทุกข์ไม่ได้ เพราะไม่รู้จักตนเอง เอาโลกมาเป็นตัวตน กลับจะจมหนักลงไปอีก เพราะฉะนั้นเมื่อไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ แล้ว ถึงมีวิชชาความรู้มาก ก็จัดเป็นพวกอวิชชาโง่หมด


    มีผู้รู้ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ ครั้นต่อๆมา คำว่าวิชชากลับไปเป็นชื่อของสิ่งที่ถูกรู้ สิ่งต่างๆในภายนอกจิต เป็นเรื่องซึ่งจิตจะต้องศึกษาต้องรู้ เรียกว่า วิชชาความรู้


    วิชชาที่จะต้องศึกษาให้รู้ให้เข้าใจนั้นจัดเป็น ๒ คือ
    วิชชาในทางโลก ๑ วิชชาในทางธรรม คือ อริยสัจจ์ สี่ ๑


    วิชชาในทางโลก เรียนรู้แล้วทำให้ผู้รู้ติดแน่นอยู่ในโลกมากขึ้น ถอนตัวออกจากโลกออกจากกองทุกข์ไม่ได้


    ส่วนวิชชาในทางธรรม เป็นความรู้ๆ เรื่องภายในของตนเอง คือ รู้อริยสัจจ์ ๔ เรียนรู้แล้วถอนตัวออกจากโลกออกจากกองทุกข์ได้ จึงเป็นพวกวิชชาหรือพุทธะ


    คนธรรมดาสามัญที่ไม่รู้อริยสัจ ๔ เป็นพวกอวิชชาหมด


    วิชชา ปัญญา เปรียบหมือนแสงสว่างส่องให้ปรากฏแห่งสิ่งต่างๆ
    ส่วนอวิชชา อัปปัญญา เปรียบเหมือนความมืดตื้อ


    คนรู้เรื่องของตนเองดี เหมือนอยู่ในที่สว่างกระจ่างแจ้ง
    ส่วนคนไม่รู้เรื่องของตนเองเหมือนอยู่ในที่มืดตื้อ


    ต้องตามพระพุทธภาษิตว่า
    อวิชชาย นิวุโต โลโก โลก คือ หมู่ชนอันอวิชชาคลุมมิดแล้ว ดังนี้ อวิชชา คือ ไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ อันเป็นเรื่องภายในของตนเองฯ


    พื้นพิภพ มืดมั่ง เป็นครั้งคราว
    ไม่ยืดยาว มืดจิต ฤทธิ์โมหันธ์
    อันมืดจิต มืดเป็น นิตย์นิรันดร์
    ไม่เป็นวัน เป็นคืน จะตื่นตา


    มืด************ ไม่รู้จัก ตัวเองซ้ำ
    เที่ยวงมคลำ หาสุข ได้ทุกขา
    น้อยนัก ผู้สว่าง กระจ่างจ้า
    เชิญท่านหา ปัญญา มาส่องเอยฯ


    ------- เปมงฺกโร ภิกฺขุ--------



    จากหนังสือชุมนุมบทความของ
    หลวงปู่เปรม (เปมงฺกโร ภิกขุ)
    วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร




    จิตผู้รู้



    *************************
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ นา ดอกจาน
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    FL,USA
    กระทู้
    229
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ ธุจ้าธุจ้าธุจ้า
    ขอขอบคุณสำหรับธรรมะดีๆ และมีประโยชน์ค่ะ!
    ธุจ้า

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •