กำลังแสดงผล 1 ถึง 8 จากทั้งหมด 8

หัวข้อ: ประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่ บุญคูณลาน

  1. #1
    นักการภารโรง สัญลักษณ์ของ บ่าวคนเดิม
    วันที่สมัคร
    Jan 2006
    ที่อยู่
    Amphoe Det Udom
    กระทู้
    3,148

    บ้านมหาโพสต์ ประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่ บุญคูณลาน

    ประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่(บูชาแม่พระโพสพ)และของดีอำเภอบ้านไผ่

    ประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่ของชาวอำเภอบ้านไผ่ เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน โดยชาวอีสานมีความเชื่อว่า การเก็บเกี่ยวข้าวขึ้นสู่ยุ้งฉาง มีความผูกพันกันแบบวิถีชุมชนของ คนไทอีสาน เริ่มจากการลงแขกดำนา ลงแขกเกี่ยวข้าว จน กลายเป็นคำขวัญประจำของชาวอีสานซึ่งเป็นคำที่มีความหมายแสดงถึงความรักความ สามัคคี ควบคู่ไปกับวิถีชีวิตและกิจกรรมงานประเพณีท้องถิ่น
    ประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่ บุญคูณลาน
    นายชาญชัย โฆศิรินนท์ นายอำเภอบ้านไผ่ เปิดเผยว่า ทางอำเภอบ้านไผ่และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับ ทางสภาวัฒนธรรมอำเภอบ้านไผ่ จะได้จัดงานบูชาแม่โพสพหรือพระแม่โพสพ โดยถือคติความเชื่อที่ว่าเมื่อนำข้าวในนาขึ้นสู่ยุ้งฉาง ควรจะมีการสรรเสริญบูชา และบวงสรวงคุณข้าวคุณน้ำ อันเป็นความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าหรือเทพาอารักษ์ เพราะข้าวมีคุณค่าอเนกอนันต์ต่อมวลมนุษย์ จนถือเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง โดยเรียกเทพเจ้าองค์นี้ว่า“แม่โพสพเป็นเทวีแห่งข้าว”ชาวอีสานจะบูชาก่อนการลงมือทำนา หรือระหว่างการตกกล้าและตลอดจนถึงการเก็บเกี่ยว เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จก็จะทำพิธีบายศรีข้าวที่ลานนวดข้าวที่เรียกว่า “พิธีรับขวัญข้าว”ชาวอำเภอบ้านไผ่ในพื้นที่ 10 ตำบล ได้จัดงานประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่ ติดต่อกันมาจากปี พ.ศ. 2540 ถึงปัจจุบัน 11 ปี การจัดงานจะใช้พิธีพราหมณ์ผสมผสานพิธีสงฆ์หรือพุทธเป็นไปตามความเชื่อและประยุกต์นิยม ทั้งนี้ชาวบ้านไผ่เชื่อว่าการทำบุญด้วยข้าวจะได้บุญมหากุศลสูงสุด การ บริโภคข้าวให้ทำอย่างประหยัดได้ประโยชน์ เมื่อบริโภคอิ่มแล้วให้ยกมือไหว้หรือบูชาเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูรู้คุณ ข้าวที่เป็นอาหารหลักของมนุษย์นั่นเองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอบ้านไผ่ จึงได้ร่วมมือกันจัดงานประเพณี บูชาแม่พระโพสพ อันเป็นการจัดงานสืบสานประเพณีท้องถิ่น ใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่และของดีอำเภอบ้านไผ่ในงานนอกจากจะมีพิธีกรรมทางศาสนาพุทธและพิธีพราหมณ์ เช่น การบายศรีสู่ขวัญข้าว การบูชาข้าว การรำถวายเทวดาฟ้าดิน ยังมีการแสดงนาฏดนตรีอีสานพื้นบ้าน การประกวดตีกลองยาวหรือการเส็งกลอง การประกวดเป่าแคน การขับร้องสรภัญญะ การจัดแสดงสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน สินค้า OTOP การประกวดธิดากุ้มข้าวใหญ่ ประกวดการปรุงอาหารพื้นบ้าน ขนมจีนน้ำยา ตลอดจนถึงการถนอมอาหารพื้นบ้าน การประกวดผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรกรรม ประกวดพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไก่พื้นบ้าน พ่อพันธุ์โค – กระบือ และอื่น ๆ อีกมากมายในบริเวณพื้นที่จัดงานสนามหน้าที่ว่าการอำเภอบ้านไผ่ ถึง 5 วัน 5 คืน โดยปัจจุบันได้มีการบรรจุในแผนพัฒนาการท่องเที่ยวและมีแห่งเดียวที่จัดได้ยิ่งใหญ่ มีนักท่องเที่ยวจากทุกทั่วสารทิศเดินทางมาเที่ยวชมมากมาย การจัดงานว่ามีเป้าหมาย คือ 1.เป็นการอนุรักษ์จารีตประเพณีที่ดีงามสืบทอดต่อจากบรรพบุรุษ 2. สร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ประกอบอาชีพทำนา และการเกษตรกรรม 3. แสดงความรัก ความสามัคคี ประกอบการทำบุญประเพณี 4. เพื่อสนองนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาลและโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

    นายพิศาล อิฐรัตน์ ไวยาวัจกรวัดคุ้มจัดสรรกล่าวว่า จะมีการทำพิธีพราหมณ์บายศรีสู่ขวัญข้าวทุกปี เพราะชาวอีอีสานเชื่อว่า แม่พระโพสพ มีอำนาจที่สามารถดลบันดาลให้ข้าวเจริญงอกงาม นำความอุดมสมบูรณ์มาให้ชาวนาที่บูชาเทวีแห่งข้าวด้วยเหตุนี้ ชาวนาจึงมีพิธีบูชาแม่พระโพสพ ก่อนที่จะลงมือทำนา หรือระหว่างตกกล้า จนข้าวตั้งท้องออกรวง ไป จนถึงการเก็บเกี่ยวในที่สุด การทำพิธีบูชาแม่พระโพสพนั้นในสมัยต่อมานิยมทำกันเมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ แล้วนำข้าวมากองไว้กลางลานนวดแล้วทำพิธีบายศรีข้าวหรือเมื่อนวดข้าวเสร็จจะได้ข้าวเปลือกกองใหญ่กลางลานนวด ชาวอีสานเรียกกองข้าวเปลือกใหญ่ว่า กุ้มข้าวใหญ่ และจะทำพิธีทางพราหมณ์ตาประเพณีปฏิบัติของบรรพชนเรียกว่า“พิธีรับขวัญข้าว เพราะ ถือคติความเชื่อว่าขณะที่เราทำนาเกี่ยวข้าวและนวดข้าว เราใช้เท้าเหยียบย่ำข้าวจึงมีความจำเป็นที่จะต้องร่วมทำพิธีบูชาแม่พระโพสพ เพื่อขอขมาจะได้เป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัวให้มีแต่ความผาสุก ทั้งนี้งานด้านวัฒนธรรมและประเพณีเป็นเรื่องของจิตใจที่มีความละเอียดอ่อน มากดังจะเห็นเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับ บุญกุ้มข้าวใหญ่ว่า การทำบุญด้วยข้าวจะได้บุญมหากุศลมาก เมื่อครั้งพุทธกาลมีเรื่องเล่าว่า มี พี่น้อง 2 คนเป็นชายช่วยกันทำนา เมื่อถึงช่วงข้าวเป็นน้ำนมน้องชายชวนพี่ทำข้าวมธุปายาสถวายพระภิกษุ แต่พี่ชายตอบปฏิเสธไม่ทำจึงแบ่งนากันคนละส่วน พอน้องได้ส่วนของตนมาจึงทำทานถวาย 9 ครั้งคือ ช่วงข้าวเป็นน้ำนมทำข้าวมธุปายาสคือยาคูถวาย ช่วงข้าวเม่าทำข้าวเม่าถวาย ช่วงเวลาเก็บเกี่ยว เวลาจักตอก มัด เวลามัดฟ่อนข้าว เวลากองในลาน เวลาทำลอมข้าว เวลาขึ้นยุ้งฉาง เวลา เก็บในยุ้งฉางแล้ว จนต่อมาผู้เป็นน้องได้เกิดในชาติตระกูลเป็นบุตรพราหมณ์มหาศาล มีนามว่า อัญญาโกณทัญญะและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก่อนสาวกทั้งปวงอีกทั้งยังได้เป็นปฐมสาวกที่ได้รับการยกย่องว่า รัตตัญญู คือ ผู้รู้ราตรีนาน ส่วนพี่ชายได้บังเกิดเป็นเพียง สุภัททปริพพาชก เท่านั้นเพราะทำทานน้อยกว่าน้องชาย ด้วยเหตุนี้ ชาวอีสานจึงนิยมทำทานด้วยการทานข้าวนั่นเอง

    นายชาญชัย โฆศิรินนท์ นายอำเภอบ้านไผ่ ยังบอกอีกว่า ปีนี้ฝนดี ชาวอำเภอบ้านไผ่ทำนากันถ้วนหน้ามีน้ำในนาอุดมสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นนาลุ่มนา ดอนได้ผลดีเกินคาด ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองท้องถิ่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจอำเภอบ้านไผ่ หรือ กรอ.บ้านไผ่ และทางสภาวัฒนธรรมบ้านไผ่ ได้ร่วมกันจัดงานติดต่อกันมาเป็นเวลา 11 ปี โดยบรรจุในแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว วันที่ 14-18 มกราคม ของทุกปีทั้งนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้การสนับสนุนประชาสัมพันธ์โดย จะมีนายปานชัย บวรรัตนปราณ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นจะได้มาเป็นประธานพิธี ซึ่งนอกจากผู้ชมงานจะได้ชมขบวนแห่ปราสาทข้าวที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสานแล้ว ในงานจะได้ชมการแสดงแสงสีเสียง “กุ้มข้าวใหญ่ไอศวรรย์ มหัศจรรย์เมืองบ้านไผ่”และ การแสดงเรื่องราวของสังคมเมืองบ้านไผ่ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันในสิ่งที่ชุมชน คนท้องถิ่นดำเนินการอยู่จะเป็นการเกื้อหนุนคุณค่าและสร้างผลิตภัณฑ์เชิง ประเพณี โดยไม่ต้องลงทุนอะไรมากนักเพราะเป็นความชำนาญของท้องถิ่นอยู่แล้ว นอกจากจะมีงานประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่ บูชาแม่พระโพสพแล้ว ยังมีของดีของอำเภออีกมากมาย มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงโบราณวัตถุโบราณสถาน พระธาตุเจดีย์ฟ้าระงึม พระเจ้าใหญ่ผือบัง พระเจ้าใหญ่มงคลหลวง พระพุทธหลวงปู่กุกุ ล้วนแต่มีอายุกว่า 800 ปี มีรอยพระพุทธบาท ภาพเขียนจิตรกรรมโบสถ์โบราณ และยังมีสถานท่องเที่ยวธรรมชาติ คือ อ่างเก็บน้ำนาโพธิ์ อ่างเก็บน้ำหนองนาวัว และแก่งละว้า พื้นที่กว่า 12,000 ไร่ มีผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่อันลือชื่อ และสินค้าท้องถิ่นอีกมากมาย จึงขอเชิญชวนชาวไทยและชาวต่างประเทศให้มาเที่ยวงานประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่และของดีอำเภอบ้านไผ่

    ที่มา www.oknation.net/blog/print.php?id=185109

    งานบุญกุ้มข้าวใหญ่และของดีอำเภอบ้านไผ่ ประจำปี 2552

    นายนวล สารสอน ผู้อำนวยการสำนักงาน ททท. สำนักงานขอนแก่น เปิดเผยว่า อำเภอบ้านไผ่ จังหวัขอนแก่น กำหนดจัดงาน “ บุญกุ้มข้าวใหญ่และของดีอำเภอบ้านไผ่ ” ณ บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอบ้านไผ่ จ.ขอนแก่น เพื่อสืบสานอนุรักษ์เผยแพร่ขนบธรรมเนียมประจำปี 2552 ขึ้นระหว่างวันที่ 18-22 มกราคม 2552 ประเพณีวัฒนธรรม “ ไทอีสาน ” ตามฮีต 12 ครอง 14 เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและสินค้าอันลือชื่อของอำเภอบ้านไผ่

    กิจกรรมภายในงานประกอบด้าย: ขบวนแห่ปราสาทข้าว (ปราสาทประดับตกแต่งด้วยเมล็ดข้าวอย่างประณีตบรรจง) พิธีสู่ขวัญข้าวอันยิ่งใหญ่ตระการตา การประกวดธิดาบุญกุ้มข้าวใหญ่ การประกวดสรภัญญะอีสาน ฯลฯ


    การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานขอนแก่น จึงขอประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวและผู้สนใจทั่วไป เที่ยวชมงาน “ บุญกุ้มข้าวใหญ่และของดีอำเภอบ้านไผ่ ” ประจำปี 2552 ที่มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

    * ที่ว่าการอำเภอบ้านไผ่ โทร. 043 – 272611 ( ในวันและเวลาราชการ )
    * ททท. สำนักงานขอนแก่น โทร.043-244498-9 ( ทุกวัน ในเวลาราชการ )

    ที่มา
    ททท. สำนักงานขอนแก่น
    ขอบพระคุณสมาชิกและทีมงานที่เคารพรักทุกท่าน

  2. #2
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    ประเพณีบุญคูณลาน/อำเภอลืออำนาจ/ จังหวัดอำนาจเจริญ เน้นกิจกรรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมแห่งข้าว แบบพื้นบ้านอีสานที่สมบูรณ์แบบ และชูให้เป็นงานเทศกาลประจำปีที่สำคัญของจังหวัด

    เป็นการทำบุญเพื่อรับขวัญข้าว เมื่อถึงเดือนยี่ หรือเดือนที่ 1 คือเดือนมกราคม ของทุกปี หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ชาวบ้านจะขนเอามัดรวงข้าวที่เกี่ยวเสร็จแล้ว นั้นไปกองรวมกันไว้ที่ลานเก็บข้าวด้วยมีความเชื่อว่าข้าวนั้นเป็นพืชเลี้ยงชีวิตที่มีเทพารักษา เทพองค์นั้นมีนามว่า "แม่โพสพ" ซึ่งเป็นขวัญข้าวที่เลี้ยงมนุษย์มา การทำบุญมีพระสวดมนต์เย็น ฉันเช้าเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวเปลือก เมื่อพระฉันเช้าแล้วก็ทำพิธีสู่ขวัญข้าว และผูกข้อต่อแขนกันในหมู่ชาวบ้านผู้ร่วมพิธี
    "แม่โพสพ"

    มูลเหตุที่ทำ

    เนื่องมาจากชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว จะหาบฟ่อนข้าวมารวมกันไว้ที่ลานนวดข้าว แล้วนำมาวางกองเรียงกันให้สูงขึ้นเรียก คูณลาน ชาวนาที่ทำนาได้ผลเมือต้องการจะทำบุญบำเพ็ญกุศลให้ทาน ก็จะสัดขึ้นที่ลานเป็นสถานที่ทำบุญทำทาน โดยมีญาติพี่น้องมาทำบุญ
    นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ปะพรมน้ำมนต์ ขึงด้ายสายสิญจน์ รอบกองข้าว เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์แล้ว
    ถวายอาหาร บิณฑบาตร เสร์จแล้วจึงเลี้ยงคนที่มาในงานมีเรื่องเล่าว่า พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ
    มีชาวบ้านสองพี่น้องทำนาร่วมกัน เมื่อข้าวเป็นน้ำนมน้องชายอยากทำข้าวมธุปายาส ถวายแด่พระสงฆ์มีพระกัสสปะ
    เป็นประธานชวนพี่ชาย แต่พี่ชายไม่ยอมจึงแบ่งนากันทำ พอน้องได้กรรมสิทธิ์ในที่นาแล้ว ก็เอาข้าวในนาของตนทำทานถึง 9 ครั้ง
    คือเวลาข้าวเป็นน้ำนม 1 ครั้งเป็นข้าวเม่า 1 ครั้ง เก็บเกี่ยวข้าว 1 ครั้ง จักตอกมัดหนึ่งครั้ง มัดฟ่อนครั้งหนึ่ง กองในลานครั้งหนึ่ง
    ทำเป็นลอมครั้งหนึ่ง เวลาฟาดครั้งหนึ่ง ขนใส่ยุ้งฉาง การถวายทานทุกครั้ง น้องชายปรารถนาเป็นพระอรหันต์ ครั้นมาถึงศาสนา
    พระโคดมน้องชายได้เกิดเป็นพราหมณ์ นามว่าโกญทัญญะได้ออกบวชเป็นพระภิกษุองค์แรก ได้สำเร็จพระอรหันต์เป็นองค์แรก
    ได้รับฐานันดรศักดิ์ที่รัตตัญญู ส่วนพี่ชายได้ถวายข้าวในนาข้าวเพียงครั้งเดียวคือในเวลาทำนาแล้วตั้งปณิธานขอให้สำเร็จเป็นอริยบุคคล
    ครั้นมาถึงศาสนาพระโคดมได้มาเกิดเป็นสุภัททปริพาชกบวชในพระพุทธศาสนา แต่ไม่มีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
    พระองค์ดับขันธ์ปรินิพพาน ได้เข้าไปทูลถามความสงสัยกับพระองค์ภายในม่าน เวลาจนเทศน์ได้สำเร็จเป็นอนาคามี
    เป็นอริยบุคคลองค์สุดท้าย เพราะถวายข้าวเป็นทานมีอานิสงฆ์มากจึงถือเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้

    พิธีกรรม

    ในการทำบุญคูณลาน จะต้องจัดเตรียมสถานที่ทำบุญที่ลานนวดข้าวของตน การนำข้าวที่นวดแล้วมากองขึ้นให้สูงเรียกว่า คูณลาน จากนั้นนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ จัดน้ำอบ น้ำหอมไว้ประพรมขึงด้ายสายสิญจน์รอบกองข้าวเมื่อพระภิกษุสงฆ์เจริญพระพุทธ มนต์จบแล้วถวายภัตตาหารเพลแก่พระภิกษุสงฆ์ จากนั้นนำข้าวปลาอาหาร มาเลี้ยงญาติพี่น้อง ผู้มาร่วมทำบุญ พระสงฆ์ฉันเสร็จก็จะประพรมน้ำพุทธมนต์ให้กองข้าว ให้เจ้าภาพและทุกคนที่มาในงาน เสร็จแล้วก็จะให้พรและกลับวัด เจ้าภาพก็จะนำน้ำพระพุทธมนต์ที่เหลือไปประพรมให้แก่วัว ควาย ตลอดจนเครื่องมือในการทำนาเพื่อความเป็น
    สิริมงคล ในปัจจุบันนี้ บุญคูณลานค่อยๆเลือนหายไป เนื่องจากไม่ค่อยมีผู้สนใจประพฤติ ปฏิบัติกัน ประกอบกับในทุกวันนี้
    ชาวนาไม่มีลานนวดข้าวเหมือนเก่าก่อน เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จ และมัดข้าวเป็นฟ่อนๆ แล้วจะขนมารวมกันไว้ ณ ที่ที่หนึ่งของนา โดยไม่มีลานนวดข้าว หลังจากนั้นก็ใช้เครื่องสีข้าวมาสีเมล็ดข้าวเปลือกออกจากฟางลงใส่ในกระสอบ และในปัจจุบันยิ่งมีการใช้รถไถนา เครื่องสีข้าว เป็นส่วนมากจึงทำให้ประเพณีคูณลานนี้เลือนหายไป แต่ก็มีบางหมู่บ้านบางแห่งที่ยังรวมกันทำบุญโดยนำข้าวเปลือกมา กองรวมกัน เรียก "กุ้มข้าวใหญ่" ซึ่งจะเรียกว่าบุญกุ้มข้าวใหญ่ แทนการทำบุญคูณลาน ซึ่งนับว่าเป็นการประยุกต์ใช้ "ฮีตสิบสอง คองสิบสี่" ให้เหมาะกับกาลสมัย

    ขอขอบคุณ http://www.lib.ubu.ac.th/

    ปล.ขอพื้นที่ให้พี่น้องไทอำนาจออกอากาศนำแหน่เด้อจ้า
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ชัย หมอแคน
    วันที่สมัคร
    Jan 2010
    ที่อยู่
    มณฑลอานสี
    กระทู้
    407
    บล็อก
    3
    มื้อนี่ ข้าน้อย ชัย หมอแคนกะได้มีโอกาสไปร่วมทำบุญกุ้มข้าวใหญ่ ซึ่งจัดโดยชาวอำเภออุบลรัตน์บรรยากาศเอาบุญสนุกสนาน มีการออกซุ้มแสดงผลิตภัณฑ์ตำบลต่างๆ แต่มื้อนี่เอาบรรยากาศบนเวทีมาฝากก่อนคับ ภาพแรกการแสดงดนตรีพื้นบ้านอีสาน รุ่นเล็ก

    ต่อมาเป็นรุ่นลายคราม

    อันนี้ข้องใหญ่เด้อ บ่แม่นของใหญ่ เอามาฝากบ่าวจัยโดยเฉพาะ

    มื้อหน้าสิเอาบรรยากาศซุ้มของดีตำบลต่างๆ มาสู่พี่น้องเบิ่งว่าเพิ่นมาอีหยังแน นี่กล้องจากโทรศัพท์ฮูปบ่งามป่านได๋ แต่ได้ลองใช้บริการเขียดบักเหลือง โอ๊ะ ตรากบ คาดว่าของเขาน่าสิดี อีหลี..อีหลี

    เดี๋ยวมื้อ

  4. #4
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9
    ท่านชัย บุญข้าวกุ้มบ่มีกองข้าวติ้ค่ะ อยากเบิ่งจ้า รูปกะน้อยโพดแหม๋....
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

  5. #5
    ติ๋มกะเฮ็ดนานะปีนี่ เทิงนาปี นาปลัง...ข้าวนาปีงามหลาย ได้ข้าวตั้ง150ถุง แต่บ่มีโอกาสเห็นกุ้มข้าวเลย...
    คนที่กล้าจะพ่ายแพ้เท่านั้น...ที่จะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่

  6. #6
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ชัย หมอแคน
    วันที่สมัคร
    Jan 2010
    ที่อยู่
    มณฑลอานสี
    กระทู้
    407
    บล็อก
    3
    ต้องขออภัยในความบกพร่องคับ ตอนแรกว่าจะรอภาพสวยๆจากกล้อง อื่น แต่ในขณะรอ กะเบิ่งภาพในไฟล์ที่มีอยู่ก่อนคับ .. อ้อ ปีนี้บุญเพิ่นกองข้าวแบบสมัยใหม่


    สำหรับต่อไปนี้ เป็นฮูปเก่าที่บ่เก่าป่านได๋ เป็นบรรยากาศก่อนเก็บเกี่ยวอยู่นาผมเองปีที่ผ่านมากะเฮ็ดนาเองคือกัน


    ชื่อนา กกสะแบงใหญ่ กะย้อนฮูปนี้


    ปีนี้ข้าวบ่งามป่านได๋ หว่านเอา แล้วกะให้เทวดารักษา แต่กะได้มา 160 สอบคือกัน




    สุดท้ายกองเอาะเยาะ เหลือแต่กองเฟือง..ปีหน้ามาซ่อยแนเด้อครับ

    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย pui.lab; 14-11-2010 at 06:39. เหตุผล: จัดรูป

  7. #7
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ GROOPPY
    วันที่สมัคร
    Nov 2009
    ที่อยู่
    Loei Thailand
    กระทู้
    663
    คือกันกับบุญแจกข้าวบ่น้อ จิเอาสอบไปรับแจก 555 เว้าเล่นเด้อขะน้อย เห็นข้องใหญ่ละอยากได้ ขัดแอวไปหว่านแหเด้ เนาะ 555

  8. #8
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ ขอจองในใจ
    วันที่สมัคร
    Mar 2010
    กระทู้
    149
    เดี๋ยวนี้ยังมีอยู่ไหมคะ น่าสนุกนะคะ อยากเห็นบ้าง ขอบคุณ สำหรับความรู้ดี ๆ ค่ะ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •