หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 3 หน้า 123 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 25

หัวข้อ: เจ็ดราตรี..สมาธิของบ่าวจ้ำ

  1. #1
    Membership renewed สัญลักษณ์ของ บ่าวจ้ำ
    วันที่สมัคร
    Jan 2009
    ที่อยู่
    ขัวข้วมของหนองคาย
    กระทู้
    566
    บล็อก
    2

    คำถาม และรอคำตอบ เจ็ดราตรี..สมาธิของบ่าวจ้ำ

    เมื่อคืนเป็นวันที่นั่งสมาธิครบ..เจ็ดราตรี
    หลังจากฝันว่าตัวเองตาย..ท่านแม่บอกให้นั่งสมาธิ 7 วัน..ข้าพเจ้าก็ได้ทำตามดังนี้

    สมาธิวิธีของข้าพเจ้า

    ก่อนนั่ง..ไหว้พระสวดอิติปิโสสามจบ..หายใจเข้าเต็มท้องน้อยแล้วค่อยเต็มปอด
    หายใจออกหมดเกลี้ยงท้องน้อยแล้วค่อยหมดปอด...สามครั้ง

    ตอนนั่ง..บริกรรม ......ฑี มะ สัง อัง ขุ
    ...........................มะ สัง อัง ขุ ฑี
    ...........................สัง อัง ขุ ฑี มะ
    ...........................อัง ขุ ฑี มะ สัง
    ...........................ขุ ฑี มะ สัง อัง........

    อย่างนี้รวมเรียกเป็น 1 คาบ..
    ข้าพเจ้าบริกรรม 108 คาบ..ใช้ประคำ 108 ลูกเป็นตัวช่วยนับ

    หลังนั่ง...หายใจเข้าออกตามวิธีเหมือนก่อนนั่ง 3 ครั้ง สวดบทแผ่เมตตา
    ไหว้พระ..นอน..ก่อนนอนเอาใจไปจับที่มือ..กำมือรู้ แบมือรู้...ไม่เกิน 5 กำแบ..หลับ..


    1-2 คืนแรก
    ข้าพเจ้าใช้เวลาช่วง ตี 2-3 ของทุกวันเป็นเวลานั่ง..นั่งขัดสมาธิแบบ
    ขาไม่ทับกัน มือซ้ายนับลูกประคำวางบนเข่าซ้าย..มือขวาวางบนเข่าขวา..หลังตรง
    หน้าก้มนิด ๆ เพราะถ้าเงยจะทำให้ความคิดฟุ้งซ่านมากกว่าปกติ...วันสองวันแรกไม่สงบทรมานตัวมากคงเป็นที่นานแล้วไม่ได้นั่ง..บริกรรมได้ 54 คาบ

    คืนที่ 3
    บริกรรม 108 คาบ..เริ่มเห็นว่า..ทำไมใจเรามันพูดอยู่ตลอดเวลาพูดไม่หยุด
    บังคับให้หยุดพูดได้สักพักก็พูดอีก..พูดถึงแต่เขาคนนั้น..ชักรำคาญใจตัวเองนัก..
    แต่ก็พยายามดึงกลับมาอยู่กับบริกรรม..
    และ..น้องชาย(ความเป็นชาย)ไม่ยอมตื่น..ตกใจนิดๆ

    คืนที่ 4-5
    บริกรรม 108 คาบ เริ่มเบื่อ..เริ่มคิดมากเราจะทำไปทำไม...
    ใจคอยจะวิ่งไปคิดถึงแต่เขาคนนั้น..แต่ก็พยายามดึงกลับมาเข้าอยู่กับบริกรรม..
    การทำงานได้คล่องตัวขึ้น..แจ่มใสขึ้น..อารมณ์ดีขึ้นแต่ก่อนจะหงุดหงิดง่าย..
    นอนไม่เคยฝันเลย..หลับสนิท..นอนแค่ 4 ชั่วโมงต่อวัน
    แต่กลับสดชื่นเหมือนนอนสิบชั่วโมง..น้องชายไม่ยอมตื่น..ขี้เซาชะมัด

    คืนที่ 6
    บริกรรม 108 คาบ ใจเริ่มนิ่งมากขึ้น แจ่มชัดมากขึ้น..แต่ก็ยังแอบแว๊บไปคิดถึงคน ๆ นั้นอยู่
    ใจช่างแสนดื้อ..ทั้งที่พยายามบอกใจว่ามันเป็นไปไม่ได้เขาไม่รักเราหรอกมันเป็นไปไม่ได้ที่เขาจะมาสนใจคนอย่างเรา..ฤาจะข่มไม่อยู่
    ความคิดความคล่องตัวปราดเปรียวมากขึ้นนอน 4 ชั่วโมงต่อวันแต่หน้าตาแจ่มใสมาก
    แต่..น้องชายหลับสนิท

    คืนที่ 7
    อยากนั่งให้นานกว่าเก่าจากปกติทุกวัน หนึ่งชั่วโมง แต่ก็ไม่อยากให้ฝืนมากไปกว่านี้
    ...เวลาที่ข้าพเจ้านั่งอยู่เพื่อนตื่นมาคุยโทรศัพท์..
    ได้ยินเพียงแผ่ว ๆ แทบไม่ได้ยินเลยทั้งที่อยู่ข้าง ๆ กัน
    ......................................................................................................
    ผ่านไปแล้วเจ็ดราตรี..เกิดทางแยกขึ้นในใจ

    "จะนั่งต่อดีไหม"ถ้านั่งต่อ..ใจคงไม่คิดถึงเขาคนนั้นแน่นอน..น้องชายคงหลับยาวแน่
    "จะเลิกดีไหม"ถ้าเลิก..ใจคงคิดถึงเขามากขึ้น

    .................................จะเอายังไงกับชีวิตดี............................................


    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พล พระยาแล; 23-11-2009 at 16:28. เหตุผล: แก้คำ"เปน" เป็น "เป็น" แก้คำ "งัย" เป็น "ไง"
    ..Dreams it, Believe it, Do it..

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ญา ทิวาราช
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    825
    บล็อก
    17

    เกาทัณฑ์ ถามตัวเองก่อนว่า..ทำเพืออะไร..จุดหมายคืออะไร

    หลงอาการของขันธ์ ๕ จึงหลงคิด เมื่อหลงคิดจึงเกิดเป็นสุขเป็นทุกข์ขึ้นมา


    อาการของขันธ์ ๕ คืออะไร

    อาการที่สติของเราไปรับรู้ได้ในแวบแรกที่ตาเห็นรูป แวบแรกที่หูได้ยินเสียง แวบแรกที่จมูกได้กลิ่น แวบแรกที่ลิ้นรับรส แวบแรกที่มือ เท้า หรือส่วนต่างๆ ของร่างกายไปสัมผัส หรือถูกต้องกระทบ หรือการเกิดปฎิกิริยาทางกายต่างๆ เช่น เริ่มรู้สึกหิว เริ่มรู้สึกปวดท้อง เริ่มรู้สึกหัวใจเต้นแรง และแวบแรกที่รับรู้ได้ถึงพลังงานที่เกิดขึ้นภายในและภายนอกที่มากระทบจิตของเรา



    ทำไมต้องมีขันธ์ ๕ ไม่มีไม่ได้หรือ เป็นอาการอย่างอื่นได้มั้ยนอกจากอาการขันธ์ ๕

    ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่า ไม่จำเป็นต้องเรียกว่า อาการของขันธ์ ๕ ก็ได้ เพราะเป็นแค่สมมุติบัญญัติเรียกเพื่อให้สามารถสื่อและเข้าใจกันได้ เหมือนอย่างภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ก็สื่อกันได้ในกลุ่มคนที่เข้าใจในชาติในภาษานั้น ผมใช้คำว่า “ขันธ์ ๕” เพราะผมได้อ่านได้เรียนและซึมซับกับคำๆ นี้มานานแล้ว พอพูดถึงคำว่าขันธ์ ๕ ผมก็เข้าใจได้ในทันที เหมือนคำว่า จิต ฝรั่งมังค่า อาจจะเรียกอีกแบบตามภาษาของเขา หรือเรียกทับศัพท์เลยก็ไม่แปลก แต่เราก็ต้องเคารพในภาษาต้นแบบนั้นด้วย แต่ถ้าไม่เข้าใจหรืองง ก็เรียกว่าเป็นอาการที่รับรู้ได้เมื่อระบบประสาทสัมผัสทำงานก็ได้

    ช่องทางที่จะรับรู้เกิดเป็นอาการของขันธ์ ๕ นั้นมี 6 ช่องทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ใจนั้นไม่ได้ใช้ระบบประสาทสัมผัสจากกายหยาบของเราแบบช่องทางอื่นๆ เขามีช่องทางเฉพาะของเขา เรื่องนี้ถ้าเราฝึกสติให้ต่อเนื่อง และรู้จักหัดสังเกตสักหน่อย เราจะรู้ว่า ใจหรือจิตของเรานี้มันก็ทำหน้าที่ในการรับสัมผัสได้ไม่ต่างไปจากช่องทางอื่นๆ เลย ที่เขาเรียกว่า “สัมผัสที่ ๖” นั่นไง แล้วช่องทางทั้ง ๖ นี้แหละ คือ “โลก” ในความหมายที่พระพุทธองค์ทรงตรัสถึง อาศัยความเพลินจากการเห็น การได้ยิน ฯลฯ เหล่านี้แหละที่ร้อยรัดเราไว้ให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร

    ทำไมต้องมีขันธ์ ๕ อันนี้มันเป็นธรรมชาติของมันนะ ในเมื่อเราเกิดมามีกายมีใจ เราห้ามการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส หรืออื่นๆ ไม่ได้ ห้ามได้ก็ไม่ได้ตลอดหรอก เพราะธรรมชาติเขาเป็นของเขาอย่างนั้น มันต้องทำหน้าที่ของมันตามธรรมชาตินะ พอผัสสะมากระทบปั๊บเกิดวิญญาณการรับรู้ การจำการปรุงแต่งให้รู้ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ก็มีขึ้นมา นี่วงแรกของขันธ์ ๕ นะ แล้วทีนี้ถ้าสติเรารู้ไม่ทัน เราฝึกสติมาน้อยเรารู้ไม่ทัน พอเรารู้ไม่ทัน เราก็หลงขันธ์ ๕ อันนี้ที่มันเป็นธรรมชาติเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของมันอย่างนั้น แล้วเราก็ปรุงต่อก่อเติมตามความเคยชิน เกิดเป็นวงจรความคิดวงเล็กๆ สืบเนื่องต่อมา อันไหนเคยเห็นว่าสวยว่างามก็จะคิดจะปรุงไปตามทางที่เคยชอบนั้น อันไหนขี้เหร่ ไม่งามเราก็จะคิดจะปรุงต่อไปตามความเคยชินในทางที่ไม่ชอบ ที่ขัดใจ ตามความเคยชินทั้งหมด นี่แหละที่เขาเรียกว่า “อนุสัย” คือมันนอนเนื่องมาไม่รู้กี่พบกี่ชาติแล้ว ถ้าสติยังมาไม่ทัน ยังไม่รู้ทันช่วงนี้อีก นอกจากคิดปรุงไปต่างๆ นาๆ ตามความเคยชินแล้ว ทีนี้จิตมันก็จะหลงกับดักทางความคิดนี้ มันก็หลงอินหลงยึดถือกับเรื่องที่คิดนั้น เป็นจริงเป็นจัง กลายเป็นอารมณ์สุข อารมณ์ทุกข์ขึ้นมา เรียกว่า “จิตเกิด” คือจิตเกิดอาการสุขอาการทุกข์ อาการต่างๆ นั่นเอง ถ้าสติยังรู้ไม่ทันอีก อารมณ์พวกนั้นก็จะพุ่งแรงจากระดับ 1 ไป 2 ไป 3 จนในที่สุดก็ระงับไว้ไม่อยู่ ในขณะเดียวกันนั้นเองก็เกิดความคิดใหม่ที่ต่อเนื่องกันขึ้นมาตามอารมณ์พวกนั้นด้วย ผสมผเสกันไปหมดทั้งจิตกับความคิดวิ่งวุ่นกันไปหมด จากวงจรความคิดเล็กๆ ในตอนแรกพัฒนาจนมาเป็นวงจรความคิดวงใหญ่และใหญ่ขึ้น หมุนเวียนไปตลอด เกิดเป็นการกระทำทางกาย ทางวาจา ดีบ้าง ชั่วบ้างขึ้นอยู่กับว่าจะมีความคิดและอารมณ์แบบไหนในเวลานั้น กระบวนการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเร็วมาก

    คนที่ฝึกสติมาบ้างแต่ขาดความต่อเนื่องก็มักจะมารู้เอาตอนจิตเกิดแล้วนี่เอง หลงความคิดไปแล้ว แต่จะเห็นทันตอนอารมณ์แรงขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับว่า สติมีกำลังมากขนาดไหน ถ้ามีกำลังหน่อยก็เห็นได้เร็วได้ทัน แต่ถ้าสติอ่อนก็เห็นเอาตอนอารมณ์พุ่งแรงจัดๆ ไปแล้วก็จะควบคุมยาก เพราะเหตุที่เรามารู้เอาตอนจิตเกิดแล้วนี่เองจึงคิดไปว่าจิตเป็นผู้คิดผู้นึกเสมอ เราจึงต้องหมั่นฝึกสติให้มีความต่อเนื่องเสมอๆ เผลอแล้วให้รู้ทันบ่อยๆ เผลอแล้วรู้ ๆ ๆ เผลอก็เริ่มใหม่ ๆ ๆ ไม่เสียหายอะไร ค่อยๆ ฝึกไป อย่าทำด้วยความอยาก เพราะความอยากจะปิดกั้นเราไม่ให้เข้าถึงความจริง ความอยากนั่นแหละคืออาการที่จิตเกิดแล้ว ให้ดับความอยากนั้นเสีย ความคิดใดๆ ที่เป็นเหตุให้เกิดความอยากขึ้นมาให้หยุดความคิดนั้นเสีย

    เราสามารถหยุดความคิดได้นะ ถ้าความคิดนั้นเป็นความคิดที่เกิดจากจิตเป็นผู้คิดนึก แต่ความคิดที่เป็นกระบวนการทางธรรมชาติของขันธ์ ๕ เราหยุดเขาไม่ได้ ก็อย่างที่บอกไว้ว่า เราห้ามตาไม่ให้ดูไม่ให้รับรู้ไม่ได้ ห้ามหูไม่ให้ได้ยินก็ไม่ได้ นอกจากความอยากแล้ว พวกความโลภ ความโกรธ ความหลง ความชิงชัง ท้อแท้ เกียจคร้าน ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นในช่วงนี้ทั้งสิ้น มันคืออาการจิตเกิดนั่นเอง มันก่อให้เกิดความคิดที่เรียกว่า “คิดอย่างจิตเกิด” ขึ้นมา แล้วบางทีความคิดที่คิดขึ้นมาตอนจิตเกิดนี้ ก็เป็นเหตุให้จิตเกิดซ้ำซากต่อไปอีก เป็นอย่างนี้ไม่มีหยุด ปนเปกันไปหมด เรียกว่าทุกข์ซ้อนคิด คิดซ้อนทุกข์ ทุกข์ซ้ำทุกข์ซ้อนไปเรื่อยๆ


    ขอให้ไปอ่านทุกกระทู้คับในนี้คับhttp://www.baanmaha.com/community/groups/ธรรมรักษาจิต-วิปัสนากรรมฐาน/

    __________________
    จงมองตนเองก่อนมองผู้อื่น ความสุขอยู่คู่กับความทุกข์เสมอ
    ใครเห็นสรรพสิ่งว่าไม่จริง...นั้นคือ....ผู้รู้จริง
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ญา ทิวาราช; 23-11-2009 at 16:37. เหตุผล: .............................

  3. #3
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    ถ้าถึง 10 วัน สงสัยความเป็นชายของท่านคงหลับไหล แสดงถึงความสบาย ไม่ฟุ้งซ่าน

    สาธุ ครับท่าน

  4. #4
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ หนุ่มน้อย
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    กระทู้
    549
    บล็อก
    21
    ท่านบ่าวจ้ำทำดีแล้ว คิดว่าไปถูกทางแน่นอน เพียงแต่ระงับจิตไม่ต้องไปกังวลในเรื่องอื่น
    เขาคนนั้นก็ไม่ต้องไปคิดกังวลกับเขาปล่อยให้เป็นกรรมของเขาเอง เจ้าน้องชายก็ไม่ต้องไปกังวลด้วย
    ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ คำบริกรรมควรฝึกทุกขณะจิตทำให้เป็นนิสัยไม่ว่านั่งยืนเดินนอน
    ทำงานหรืออยู่ว่างๆควรให้มีคำบริกรรมในใจตลอด ถ้าทำได้ วันข้างหน้าท่านบ่าวจ้ำจะรู้ได้เองครับ

  5. #5
    Membership renewed สัญลักษณ์ของ บ่าวจ้ำ
    วันที่สมัคร
    Jan 2009
    ที่อยู่
    ขัวข้วมของหนองคาย
    กระทู้
    566
    บล็อก
    2

    รอบยิ้มพิมใจ ....(",)....

    ขอขอบคุณทุกคำแนะนำครับ

    .......ผมตัดสินใจจะนั่งต่อครับ.........

    จะอ่านคำแนะนำจากชมรมที่ท่าน ญา ทิวาราช แน่ะนำครับ

    สิ่งถูกผิดโปรดประคองจ้ำด้วยครับ......ขอบคุณยิ่ง
    ..Dreams it, Believe it, Do it..

  6. #6
    Membership renewed สัญลักษณ์ของ บ่าวจ้ำ
    วันที่สมัคร
    Jan 2009
    ที่อยู่
    ขัวข้วมของหนองคาย
    กระทู้
    566
    บล็อก
    2

    คำถาม และรอคำตอบ .

    . กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ ญา ทิวาราช .
    หลงอาการของขันธ์ ๕ จึงหลงคิด เมื่อหลงคิดจึงเกิดเป็นสุขเป็นทุกข์ขึ้นมา


    อาการของขันธ์ ๕ คืออะไร

    อาการที่สติของเราไปรับรู้ได้ในแวบแรกที่ตาเห็นรูป แวบแรกที่หูได้ยินเสียง แวบแรกที่จมูกได้กลิ่น แวบแรกที่ลิ้นรับรส แวบแรกที่มือ เท้า หรือส่วนต่างๆ ของร่างกายไปสัมผัส หรือถูกต้องกระทบ หรือการเกิดปฎิกิริยาทางกายต่างๆ เช่น เริ่มรู้สึกหิว เริ่มรู้สึกปวดท้อง เริ่มรู้สึกหัวใจเต้นแรง และแวบแรกที่รับรู้ได้ถึงพลังงานที่เกิดขึ้นภายในและภายนอกที่มากระทบจิตของเรา



    ทำไมต้องมีขันธ์ ๕ ไม่มีไม่ได้หรือ เป็นอาการอย่างอื่นได้มั้ยนอกจากอาการขันธ์ ๕

    ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่า ไม่จำเป็นต้องเรียกว่า อาการของขันธ์ ๕ ก็ได้ เพราะเป็นแค่สมมุติบัญญัติเรียกเพื่อให้สามารถสื่อและเข้าใจกันได้ เหมือนอย่างภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ก็สื่อกันได้ในกลุ่มคนที่เข้าใจในชาติในภาษานั้น ผมใช้คำว่า “ขันธ์ ๕” เพราะผมได้อ่านได้เรียนและซึมซับกับคำๆ นี้มานานแล้ว พอพูดถึงคำว่าขันธ์ ๕ ผมก็เข้าใจได้ในทันที เหมือนคำว่า จิต ฝรั่งมังค่า อาจจะเรียกอีกแบบตามภาษาของเขา หรือเรียกทับศัพท์เลยก็ไม่แปลก แต่เราก็ต้องเคารพในภาษาต้นแบบนั้นด้วย แต่ถ้าไม่เข้าใจหรืองง ก็เรียกว่าเป็นอาการที่รับรู้ได้เมื่อระบบประสาทสัมผัสทำงานก็ได้

    ช่องทางที่จะรับรู้เกิดเป็นอาการของขันธ์ ๕ นั้นมี 6 ช่องทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ใจนั้นไม่ได้ใช้ระบบประสาทสัมผัสจากกายหยาบของเราแบบช่องทางอื่นๆ เขามีช่องทางเฉพาะของเขา เรื่องนี้ถ้าเราฝึกสติให้ต่อเนื่อง และรู้จักหัดสังเกตสักหน่อย เราจะรู้ว่า ใจหรือจิตของเรานี้มันก็ทำหน้าที่ในการรับสัมผัสได้ไม่ต่างไปจากช่องทางอื่นๆ เลย ที่เขาเรียกว่า “สัมผัสที่ ๖” นั่นไง แล้วช่องทางทั้ง ๖ นี้แหละ คือ “โลก” ในความหมายที่พระพุทธองค์ทรงตรัสถึง อาศัยความเพลินจากการเห็น การได้ยิน ฯลฯ เหล่านี้แหละที่ร้อยรัดเราไว้ให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร

    ทำไมต้องมีขันธ์ ๕ อันนี้มันเป็นธรรมชาติของมันนะ ในเมื่อเราเกิดมามีกายมีใจ เราห้ามการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส หรืออื่นๆ ไม่ได้ ห้ามได้ก็ไม่ได้ตลอดหรอก เพราะธรรมชาติเขาเป็นของเขาอย่างนั้น มันต้องทำหน้าที่ของมันตามธรรมชาตินะ พอผัสสะมากระทบปั๊บเกิดวิญญาณการรับรู้ การจำการปรุงแต่งให้รู้ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ก็มีขึ้นมา นี่วงแรกของขันธ์ ๕ นะ แล้วทีนี้ถ้าสติเรารู้ไม่ทัน เราฝึกสติมาน้อยเรารู้ไม่ทัน พอเรารู้ไม่ทัน เราก็หลงขันธ์ ๕ อันนี้ที่มันเป็นธรรมชาติเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของมันอย่างนั้น แล้วเราก็ปรุงต่อก่อเติมตามความเคยชิน เกิดเป็นวงจรความคิดวงเล็กๆ สืบเนื่องต่อมา อันไหนเคยเห็นว่าสวยว่างามก็จะคิดจะปรุงไปตามทางที่เคยชอบนั้น อันไหนขี้เหร่ ไม่งามเราก็จะคิดจะปรุงต่อไปตามความเคยชินในทางที่ไม่ชอบ ที่ขัดใจ ตามความเคยชินทั้งหมด นี่แหละที่เขาเรียกว่า “อนุสัย” คือมันนอนเนื่องมาไม่รู้กี่พบกี่ชาติแล้ว ถ้าสติยังมาไม่ทัน ยังไม่รู้ทันช่วงนี้อีก นอกจากคิดปรุงไปต่างๆ นาๆ ตามความเคยชินแล้ว ทีนี้จิตมันก็จะหลงกับดักทางความคิดนี้ มันก็หลงอินหลงยึดถือกับเรื่องที่คิดนั้น เป็นจริงเป็นจัง กลายเป็นอารมณ์สุข อารมณ์ทุกข์ขึ้นมา เรียกว่า “จิตเกิด” คือจิตเกิดอาการสุขอาการทุกข์ อาการต่างๆ นั่นเอง ถ้าสติยังรู้ไม่ทันอีก อารมณ์พวกนั้นก็จะพุ่งแรงจากระดับ 1 ไป 2 ไป 3 จนในที่สุดก็ระงับไว้ไม่อยู่ ในขณะเดียวกันนั้นเองก็เกิดความคิดใหม่ที่ต่อเนื่องกันขึ้นมาตามอารมณ์พวกนั้นด้วย ผสมผเสกันไปหมดทั้งจิตกับความคิดวิ่งวุ่นกันไปหมด จากวงจรความคิดเล็กๆ ในตอนแรกพัฒนาจนมาเป็นวงจรความคิดวงใหญ่และใหญ่ขึ้น หมุนเวียนไปตลอด เกิดเป็นการกระทำทางกาย ทางวาจา ดีบ้าง ชั่วบ้างขึ้นอยู่กับว่าจะมีความคิดและอารมณ์แบบไหนในเวลานั้น กระบวนการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเร็วมาก

    คนที่ฝึกสติมาบ้างแต่ขาดความต่อเนื่องก็มักจะมารู้เอาตอนจิตเกิดแล้วนี่เอง หลงความคิดไปแล้ว แต่จะเห็นทันตอนอารมณ์แรงขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับว่า สติมีกำลังมากขนาดไหน ถ้ามีกำลังหน่อยก็เห็นได้เร็วได้ทัน แต่ถ้าสติอ่อนก็เห็นเอาตอนอารมณ์พุ่งแรงจัดๆ ไปแล้วก็จะควบคุมยาก เพราะเหตุที่เรามารู้เอาตอนจิตเกิดแล้วนี่เองจึงคิดไปว่าจิตเป็นผู้คิดผู้นึกเสมอ เราจึงต้องหมั่นฝึกสติให้มีความต่อเนื่องเสมอๆ เผลอแล้วให้รู้ทันบ่อยๆ เผลอแล้วรู้ ๆ ๆ เผลอก็เริ่มใหม่ ๆ ๆ ไม่เสียหายอะไร ค่อยๆ ฝึกไป อย่าทำด้วยความอยาก เพราะความอยากจะปิดกั้นเราไม่ให้เข้าถึงความจริง ความอยากนั่นแหละคืออาการที่จิตเกิดแล้ว ให้ดับความอยากนั้นเสีย ความคิดใดๆ ที่เป็นเหตุให้เกิดความอยากขึ้นมาให้หยุดความคิดนั้นเสีย

    เราสามารถหยุดความคิดได้นะ ถ้าความคิดนั้นเป็นความคิดที่เกิดจากจิตเป็นผู้คิดนึก แต่ความคิดที่เป็นกระบวนการทางธรรมชาติของขันธ์ ๕ เราหยุดเขาไม่ได้ ก็อย่างที่บอกไว้ว่า เราห้ามตาไม่ให้ดูไม่ให้รับรู้ไม่ได้ ห้ามหูไม่ให้ได้ยินก็ไม่ได้ นอกจากความอยากแล้ว พวกความโลภ ความโกรธ ความหลง ความชิงชัง ท้อแท้ เกียจคร้าน ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นในช่วงนี้ทั้งสิ้น มันคืออาการจิตเกิดนั่นเอง มันก่อให้เกิดความคิดที่เรียกว่า “คิดอย่างจิตเกิด” ขึ้นมา แล้วบางทีความคิดที่คิดขึ้นมาตอนจิตเกิดนี้ ก็เป็นเหตุให้จิตเกิดซ้ำซากต่อไปอีก เป็นอย่างนี้ไม่มีหยุด ปนเปกันไปหมด เรียกว่าทุกข์ซ้อนคิด คิดซ้อนทุกข์ ทุกข์ซ้ำทุกข์ซ้อนไปเรื่อยๆ


    ขอให้ไปอ่านทุกกระทู้คับในนี้คับhttp://www.baanmaha.com/community/groups/ธรรมรักษาจิต-วิปัสนากรรมฐาน/

    __________________
    จงมองตนเองก่อนมองผู้อื่น ความสุขอยู่คู่กับความทุกข์เสมอ
    ใครเห็นสรรพสิ่งว่าไม่จริง...นั้นคือ....ผู้รู้จริง
    โปรดขยายความ "หลงขันธ์ ๕" ด้วยครับ ข้าพเจ้าเข้าใจยากยิ่ง
    ..Dreams it, Believe it, Do it..

  7. #7
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ลาวดีน้อย
    วันที่สมัคร
    Jul 2009
    ที่อยู่
    อยู่ในใจเสมอ
    กระทู้
    1,175
    บล็อก
    3

    พบปะพูดคุย น้องลาว

    น้องลาวน้องลาวนังสมาธิเป็นเรื่องที่ดีค่ะ ทำให้จิตใจเราสงบขึ้น
    มา เอาใจช่วยพี่ชายค่ะ สู้ๆๆ จ้า พี่ชายที่ตาฮักของหล่าทำได้เสมอจ้า สาธุนำค่ะ น้องลาวน้องลาว

  8. #8
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ แจ่มใสยิ้มสวย
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    USA
    กระทู้
    961
    บล็อก
    18
    ก็พยายาม หนะ แต่ เหมือนความพยายาม อยู่ไหน ความพยายามก็ที่นั่น ความสำเร็จยังไม่ตื่น พี่แจ่มใสยังไม่พัฒนาอะไรเลย แต่ก็นิ่งขึ้นกว่าเมื่อก่อน เยอะค่ะ

  9. #9
    Membership renewed สัญลักษณ์ของ บ่าวจ้ำ
    วันที่สมัคร
    Jan 2009
    ที่อยู่
    ขัวข้วมของหนองคาย
    กระทู้
    566
    บล็อก
    2

    พบปะพูดคุย ..

    .. กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ พล พระยาแล ..
    ถ้าถึง 10 วัน สงสัยความเป็นชายของท่านคงหลับไหล แสดงถึงความสบาย ไม่ฟุ้งซ่าน

    สาธุ ครับท่าน
    ปกติมันก็ไม่ได้ใช้งานอยู่แล้วครับอ้าย

    ปล่อยมันหลับไหลสักพักคงไม่เป็นไร...ก๊ากกกกก
    ..Dreams it, Believe it, Do it..

  10. #10
    Membership renewed สัญลักษณ์ของ บ่าวจ้ำ
    วันที่สมัคร
    Jan 2009
    ที่อยู่
    ขัวข้วมของหนองคาย
    กระทู้
    566
    บล็อก
    2

    รอบยิ้มพิมใจ ...

    ... กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ หนุ่มน้อย ...
    ท่านบ่าวจ้ำทำดีแล้ว คิดว่าไปถูกทางแน่นอน เพียงแต่ระงับจิตไม่ต้องไปกังวลในเรื่องอื่น
    เขาคนนั้นก็ไม่ต้องไปคิดกังวลกับเขาปล่อยให้เป็นกรรมของเขาเอง เจ้าน้องชายก็ไม่ต้องไปกังวลด้วย
    ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ คำบริกรรมควรฝึกทุกขณะจิตทำให้เป็นนิสัยไม่ว่านั่งยืนเดินนอน
    ทำงานหรืออยู่ว่างๆควรให้มีคำบริกรรมในใจตลอด ถ้าทำได้ วันข้างหน้าท่านบ่าวจ้ำจะรู้ได้เองครับ
    ผมทดลองบริกรรมตลอดเวลาทั้งวันแล้วครับ
    แต่ปวดขมับข้างซ้ายมาก..ผมเลยหยุด
    คงเป็นเพราะผมเพิ่งเริ่มต้น..จิตคงยังไม่เข้าที่
    ผมกะจะทำให้ดีที่สุดช่วงที่นั่งก็พอก่อนครับ..แบบค่อยๆไปครับ

    ช่วงหลังมานี้..รู้สึกว่า 108 คาบเร็วมากนั่งแป๊ปเดียวเอง
    คืนนี้ผมว่าจะเพิ่มอีกเท่าตัวลองดูครับจาก1 ชั่วโมงเป็น 2 ชั่วโมงครับ
    ..Dreams it, Believe it, Do it..

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 3 หน้า 123 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •