กำลังแสดงผล 1 ถึง 9 จากทั้งหมด 9

หัวข้อ: มงคลแห่งชีวิต

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ญา ทิวาราช
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    825
    บล็อก
    17

    สว่างใจ มงคลแห่งชีวิต

    มงคลแห่งชีวิต

    ในชีวิตประจำวัน ต่างคนต่างพบเรื่องราวไม่เหมือนกัน เหตุการณ์การกระทำที่ถูกใจก็ว่าสุขใจหากตรงกันข้ามก็ว่าทุกข์ใจ ร่างกายได้รับตอบสนองทางบวกอยู่ดีสบายก็ว่าสุขกายหากไม่ก็ทุกข์กาย ทั้งสุขทั้งทุกข์จึงปนๆกันไปแล้วแต่ฐานะและใจจะปรุงแต่ง

    ในสังคมทุกวันนี้ถึงแม้จะมีสุขอยู่ในปริมาณที่มากกว่าคนอื่นก็ยังแสวงหาอีกอย่างคือ “มงคล” บ้างก็ได้จากการกราบไหว้บูชาต้นไม้สถานที่ บูชาวัตถุมงคล จัดบ้านต้นไม้สระน้ำเพื่อให้เป็นมงคล หลายต่อหลายคนล้วนหาสิ่งที่ตนคิดว่าเป็นมงคลให้เกิดมีกับตนแม้ยากจนสักปานใดก็ขอให้มีมงคลบ้างก็อุ่นใจ

    วิถีชีวิตของคนไทยเราจึงต่างคนต่างแสวงหาความเป็นมงคลให้กับตนเองทั้งที่เป็นนามธรรมเช่นการท่องคาถาอาคมหรือภาวนาต่างๆ ส่วนที่เห็นเป็นรูปธรรมวัตถุสิ่งของก็มีมากมาย นั้นเป็นความเชื่อส่วนบุคคลทำแล้วไม่เดือดร้อนใครก็ทำไป

    จะดีกว่าหรือไม่ถ้าสิ่งที่คิดว่าเป็นมงคลนั้นยึดถือปฏิบัติอยู่พร้อมกับทราบถึงความหมายของคำว่า “มงคล” ได้อย่างถูกต้อง

    แล้วมงคลที่มีความหมายถูกต้องนั้นว่าอย่างไร...?

    มีเรื่องเล่าว่า เมื่อประมาณ ๑๒ ปีก่อนพุทธกาล มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับมงคลเหมือนกันว่าคืออะไรกันแน่ เถียงกันอยู่นานบ้างว่าภูเขา ต้นไม้ บางคนก็บอกว่าเทวรูป ท้องฟ้าไม่มีข้อยุติ ความโต้เถียงกันเรื่องมงคลทราบไปถึงภูมิเทวดาท่านก็มาประชุมกันว่าที่มนุษย์เขาเถียงกันนั้นอะไรคือข้อยุติก็สรุปไม่ได้เมื่อทราบถึงอากาศเทวดาก็สรุปไม่ได้ผ่านไปหลายชั้นเทวดาแต่ละชั้นตอบไม่ได้สักชั้นเดียว ในที่สุดมาถึงชั้นที่เรียกว่า สวรรค์ชั้นสุธาวาสเป็นชั้นของ กลุ่มเทวดาที่เป็นมนุษย์บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามี ชั้นนี้ท่านทราบดีว่ามงคลคืออะไรแต่ไม่สามารถอธิบายได้ จึงได้ประกาศให้เทวดาทุกชั้นทราบว่าเราทราบแต่ไม่สามารถอธิบายได้อย่างไรเสียก็อย่าหมดหวังเพราะอีกสิบสองปีต่อจากนี้จะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาตรัสรูธรรมโปรดไปถามพระพุทธองค์ ครบสิบสองปี ณ คืนหนึ่งหลังจากที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้ว ท้าวสักเทวราชพาเหล่าเทวดาทั้งปวงมาเข้าเฝ้าแล้วให้เทพบุตรถามว่าอะไรคือมงคลแห่งชีวิต พุทธองค์จึงทรงแสดงหลักแห่งมงคลซึ่งมีทั้งหมด ๓๘ ประการ

    เรียกว่า “มงคล ๓๘” ประกอบไปด้วย

    ๑. การไม่คบคนพาล

    ๒. การคบบัญฑิต

    ๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา

    ๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร

    ๕. เคยทำบุญมาก่อน

    ๖. การตั้งตนชอบ

    ๗. ความเป็นพหูสูต

    ๘. การรอบรู้ในศิลปะ

    ๙. มีวินัยที่ดี

    ๑๐.กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต

    ๑๑.การบำรุงบิดามารดา

    ๑๒.การสงเคราะห์บุตร

    ๑๓.การสงเคราะห์ภรรยา

    ๑๔.ทำงานไม่ให้คั่งค้าง

    ๑๕.การให้ทาน

    ๑๖.การประพฤติธรรม

    ๑๗.การสงเคราะห์ญาติ

    ๑๘.ทำงานที่ไม่มีโทษ

    ๑๙.ละเว้นจากบาป

    ๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา

    ๒๑.ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย

    ๒๒.มีความเคารพ

    ๒๓.มีความถ่อมตน

    ๒๔.มีความสันโดษ

    ๒๕.มีความกตัญญู

    ๒๖.การฟังธรรมตามกาล

    ๒๗.มีความอดทน

    ๒๘.เป็นผู้ว่าง่าย

    ๒๙.การได้เห็นสมณะ

    ๓๐.การสนทนาธรรมตามกาล

    ๓๑.การบำเพ็ญตบะ

    ๓๒.การประพฤติพรหมจรรย์

    ๓๓.การเห็นอริยสัจ

    ๓๔.การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

    ๓๕.มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม

    ๓๖.มีจิตไม่เศร้าโศก

    ๓๗.มีจิตปราศจากกิเลส

    ๓๘.มีจิตเกษม

    จากทั้ง ๓๘ ประการนั้น มงคล คือเหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัติ นำมาจากบทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือมี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ๓๘ ประการข้างต้น

    พจนานุกรมนักเรียนฉบับเฉลิมพระเกียรติ พิมพ์ครั้งที่ยี่สิบเอ็ดกุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ (ปรับปรุง) ให้ความหมาย มงคล คือ สิ่งที่นำมาซึ่งความเจริญ,ด้ายที่สวมศีรษะเพื่อเป็นมงคล

    พระธรรมเทศนา สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ความว่า ...คำว่ามงคล ได้แก่เหตุให้ถึงความสุขความเจริญ ความสุขความเจริญนี้จะมีขึ้นได้ก็เพราะได้กระทำเหตุที่ทำให้ถึงความสุขความเจริญจึงเรียกมงคล...

    วันนี้คล้องวัตถุมงคลอยู่ราคาหลายบาท จัดบ้านเรือนตามโหราศาสตร์ ผูกดวงชะตาด้วยพิธีใหญ่โตปานใดหากไร้ซึ่งการปฏิบัติในใน ๓๘ ประการข้างตนก็หามีมงคลไม่ แต่จะมีหรือไม่มีวัตถุมงคลใด จัดบ้านเรือนตามใจสะดวก มิได้ผูกดวงชะตาใดๆเลยหากปฏิบัติแม้เพียงข้อใดข้อหนึ่งก็ถือเป็นมงคล ชีวิตมีมงคล เริ่มง่ายๆของการปฏิบัติตนให้มี “มงคล”คือไม่คบคนพาลคบแต่นักปราชญ์ ดังสุภาษิตอิศรญาณ เป็นเพลงยาวสอนไว้ว่า

    อย่าคบมิตรจิตพาลสันดานชั่ว

    จะพาตัวให้เสื่อมที่เลื่อมใส

    คบนักปราชญ์นั่นแหละดีมีกำไร

    ท่านย่อมให้ความสบายหลายประตู

    จาก “ธรรมะไทย” ก็มีอยู่กลอนหนึ่งว่า

    อย่าคบมิตร ที่พาล สันดานชั่ว

    จะพาตัว เน่าดิบ จนฉิบหาย

    แม้ความคิด ชั่วช้า อย่ากล้ำกราย

    เป็นมิตรร้าย ภายใน ทุกข์ใจครัน

    ลักษณะของคนพาล มี ๓ ประการคือ

    ๑.คิดชั่ว เช่นคิดอยากได้อยากมีในทางทุจริต คิดลามกอนาจาร

    ๒.พูดชั่ว พูดแล้วหาสาระไม่ได้เช่น พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ

    ๓.ทำชั่ว เช่นกระทำให้คนอื่นเดือดร้อนผิดศีล ผิดธรรม ลักขโมย ทำร้ายลูกเมีย

    จะเห็นว่าเพียงข้อแรกของมงคลทั้ง ๓๘ หากไม่ปฏิบัติโดยไปคบคนพาลแล้วชีวิตนี้มีแต่ยากลำบากกายใจทั้งสิ้นหากไม่ประสงค์จะคบคนพาลดูยากนักปัจจุบันเข้าทำนองหน้าเนื้อใจเสือพระท่านสอนเอาไว้ว่าลักษณะของคนพาลดูไม่ยากสังเกตง่ายๆคือ

    จุดสังเกตคนพาล ๕ ประการ

    ๑.ชอบแนะนำไปในทางที่ผิด เช่นแนะนำให้ไปลักของ ให้ลองยาเสพติด

    ๒.ชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ เช่นงานตนไม่ทำชอบก้าวก่ายหน้าที่ผู้อื่น

    ๓.ชอบทำผิด ประเภทเห็นกงจักรเป็นดอกบัว ช่วยเหลือคนชั่ว

    ๔.ใครเตือนทางที่ดีก็โกรธ

    ๕.ไม่มีระเบียบวินัย เช่นไม่ชอบเข้าแถวตามลำดับ เล่นเกมส์ในเวลางาน

    ของดีเมื่อได้มาก็ต้องรักษาเช่นกันมิตรภาพเพื่อนที่ดีได้คบหาแล้วต้องรักษาไว้ให้ดีเชียว ยิ่งหายากอยู่ด้วยในสังคมทุกวันนี้ด้วยคำกลอน (สุภาษิตอิศรญาณ)

    จะคบมิตรสนิทนักมักเป็นโทษ

    เกิดขึ้งโกรธต่างต่างเพราะวางจิต

    ทันระวังตัวที่ไหนไม่ทันคิด

    เหตุสักนิดแล้วก็ได้ขัดใจกัน

    ที่บ้าน หมู่บ้าน ในที่ทำงาน สังคมโดยส่วนรวมถึงแม้จะมีคำกล่าวที่ว่าไม่มีมิตรแท้หรือศัตรูที่ถาวรนั้น คงต้องกลับมาพิจารณาใหม่เสียแล้วหากเลือกคบหาสมาคมอย่างถูกต้องอย่างน้อยตามหลักมงคล ๓๘ ประการเกี่ยวกับการคบมิตร คงได้พบกับมิตรแท้และศัตรูที่ไม่ถาวรโดยจะเปลี่ยนมาเป็นมิตรแท้ในที่สุดจะเป็นเช่นว่านี้ได้ก็อยู่ที่เราได้เป็นมิตรแท้ของใครหรือยัง...?




    :heart::heart::heart::heart::heart::heart::heart::heart:






    ที่มา พลังจิต.คอม

  2. #2
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ เเมงสะดิ้ง
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    ที่อยู่
    ที่ชอบ
    กระทู้
    1,025
    บล็อก
    24
    มงคลที่ ๗. ความเป็นพหูสูตร

    การสนใจ ใฝ่คว้า หาความรู้
    ให้เป็นผู้ แก่เรียน เพียรศึกษา
    มีศีลดี สติมั่น เกิดปัญญา
    ย่อมนำพา ตัวรอด เป็นยอดดี


    คือ เป็นผู้ที่ฟังมาก เล่าเรียนมาก เป็นผู้รอบรู้ โดยมีลักษณะดังนี้
    ๑. รู้ลึก คือการรู้ในสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ อย่างหมดจดทุกแง่ทุกมุม อย่างมีเหตุมีผล รู้ถึงสาเหตุจนเรียกว่าความชำนาญ
    ๒. รู้รอบ คือการรู้จักช่างสังเกตในสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่นเหตุการณ์แวดล้อมเป็นต้น
    ๓. รู้กว้าง คือการรู้ในสิ่งใกล้เคียงกับเรื่องนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน สัมพันธ์กันเป็นต้น
    ๔. รู้ไกล คือการศึกษาถึงความเป็นไปได้ ผลในอนาคตเป็นต้น

    ถ้าอยากจะเป็นพหูสูตก็ควรต้องมีคุณสมบัติดังว่านี้คือ
    ๑. ความตั้งใจฟัง ก็คือชอบฟัง ชอบอ่านหาความรู้ และค้นคว้าเป็นต้น
    ๒. ความตั้งใจจำ ก็คือรู้จักวิธีจำ โดยตั้งใจอ่านหรือฟังในสิ่งนั้นๆ และจับใจความให้ได้
    ๓. ความตั้งใจท่อง ก็คือท่องให้รู้โดยอัตโนมัติ ไม่ลืม ในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ
    ๔. ความตั้งใจพิจารณา ก็คือการรู้จักพิจารณา ตรึกตรองในสิ่งนั้นๆอย่างทะลุปรุโปร่ง
    ๕. ความเข้าใจในปัญหา ก็คือการรู้อย่างแจ่มแจ้งในปัญหาอย่างถ่องแท้ด้วยปัญญา




    อัน อัน... เป็นสงสัยบ่เข้าใจ กะเลยแล่นไปถามอากู๋กูเกิ้ล
    อิอิ กะเลยยกมาตึ่มกันจ้า คะเถื่อมีไผสงสัยคือผู้ข้า สั่นดอกหวา

    ปล.ที่1
    ขอบคุณหลายๆ เด้อค่าญาอ้ายเทวารัญจวนจิต คริคริ
    เปี่ยนซื่อหนีหนี้บ่น๊อ ก๊าก ... ฮ่ะฮ่า เอิ๊ก
    เปี่ยนไปวาจั่งได๋กะเปี่ยนไปโลด ฟักใส่ไหมากะจำได้เด้อทางนี่
    มักแล่วล่ะเด้อ....อันๆ มักซื่อวา "เทวารัญจวนจิต" นั่นแหม่ะ

    ปล. สุดท้าย คั่นอิฉันกัดและสวบแอนด์แทะเล็มแรงไปหน่อย
    กรุณาอย่าถือสา....บักกอกลอยมาโลด จิแล่นหลบเองดอกเด้อค่า
    ชะแว๊บบบบบบ......................
    สะดิ้งคือน้องได้ยินเสียงฆ้องกะแล่นตำ

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวเมืองลำดวน
    วันที่สมัคร
    Sep 2009
    กระทู้
    598
    สาธุ สาธุ สาธุ สำหรับหลักธรรมนำชีวิตครับ

  4. #4
    Membership renewed สัญลักษณ์ของ บ่าวจ้ำ
    วันที่สมัคร
    Jan 2009
    ที่อยู่
    ขัวข้วมของหนองคาย
    กระทู้
    566
    บล็อก
    2

    คำถาม และรอคำตอบ จ้ำแจมจัง

    สงสัยข้อ ๒๙.การได้เห็นสมณะ

    เห็นเฉยๆก็เป็นมงคลหรือครับ

    กรูณาขยายความด้วย..แต๊งกิ้วว
    ..Dreams it, Believe it, Do it..

  5. #5
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ญา ทิวาราช
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    825
    บล็อก
    17

    เกาทัณฑ์ ถามมา ตอบไป-การได้เห็นสมณะ

    ถามมา ตอบไป-การได้เห็นสมณะ กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ บ่าวจ้ำ ถามมา ตอบไป-การได้เห็นสมณะ
    สงสัยข้อ ๒๙.การได้เห็นสมณะ

    เห็นเฉยๆก็เป็นมงคลหรือครับ

    กรูณาขยายความด้วย..แต๊งกิ้วว

    สมณคือใคร ?
    สมณ แปลว่า คนสงบ หมายถึงพระภิกษุที่ได้บำเพ็ญสมณธรรมฝึกฝนตนเองด้วยศีล สมาธิ ปัญญามาแล้วอย่างเต็มที่จนกระทั่งมีกายวาจาใจสงบแล้วจากบาป
    สมณะทุกรูปจึงต้องเป็นพระภิกษุ แต่พระภิกษุบางรูปอาจไม่ได้เป็นสมณก็ได้ “คนเราไม่ใช่จะเป็นสมณเพราะหัวโล้น คนที่ไม่ทำกิจวัตรมีแต่พูดพล่อยๆ มีความริษยากัน เป็นคนละโมบ จะจัดเป็นสมณะได้อย่างไร”
    คนที่เราตถาคตเรียกว่า “สมณะ” นั้น จะต้องเป็นผู้ระงับจากการทำบาปน้อยใหญ่เสีย
    ลักษณะของสมณ
    ๑.สมณะต้องสงบกาย คือ มีความสำรวม ไม่คะนอง ไม่มีกิริยาร้าย เช่น ทุบตี ชกต่อย ฆ่าฟัน สะพายดาบ พกมีดพกปืน เดินขบวน หรือเฮโลยกพวกเข้าชิงดีชิงเด่น แย่งที่อยู่ที่ทำกินกัน อันเป็นกิริยาของคนไม่สงบ คนที่เป็นสมณะไม่ว่าจะเข้าที่ไหนจะอยู่ที่ไหนย่อมจะไม่ทำความชอกช้ำแก่ใคร
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชมพระโมคคัลลานะในเรื่องนี้ว่า ท่านแม้นจะมีฤทธิ์เดชมาก แต่ไม่ว่าจะไปที่ใดก็ไม่เคยทำความช้ำชอกแก่ตระกูลนั้นเลย จะบิณฑบาตรับของถวายอะไรก็ตาม ก็คอยดูว่า เขาจะเดือดร้อนไหมรับแต่พอประมาณ เปรียบเหมือนแมลงภู่บินเข้าสวนดูดเกสรดอกไม้จนอิ่มหนำสำราญ แต่ไม่เคยทำความช้ำชอกให้แก่ดอกไม้เลย
    นอกจากนี้แล้วสมณะยังต้องคำนึงถึง “สมณสารูป” คือ จะทำอะไรต้องให้ควรแก่สมณวิสัย
    ๒.สมณะต้องสงบวาจา คือ ไม่เป็นคนปากร้าย ไม่นินทาว่าร้ายใคร ไม่ยุยงใส่ร้ายป้ายสีกัน จะเป็นระหว่างพระกับพระหรือพระกับฆราวาสก็ตามจะทำไปโดยอ้างคณะ อ้างนิกาย อ้างวัด อ้างพวกไม่ได้ทั้งนั้น มีแต่วาจาที่เป็นอรรถเป็นธรรมไม่ใช่วาจาเหมือนคมหอกคมดาบ แม้การพูดให้คนอื่นกระดากขวยเขิน เช่น พูดจาเกาะแกะผู้หญิงเล่นสนุกๆ ก็ผิดสมณสารูป
    ๓.สมณะต้องสงบใจ คือ ทำใจให้หยุดนิ่งเป็นสุขอยู่ภายในสงบจากบาปกรรม ตรึกนึกถึงธรรมเป็นอารมณ์ ไม่ใช่ทำเป็นสงบแต่เปลือกนอกเหมือนเสือเฒ่าจำศีล จิตใจของสมณะที่แท้ย่อมเต็มไปด้วยความเมตตากรุณา ไม่เป็นภัยต่อผู้ใด
    การที่มีความสงบกาย วาจา ใจ ทั้ง ๓ ประการนี้ ส่งผลให้สมณะมีความสง่างามอยู่ในตัว มีคำอยู่ ๒ คำที่ใช้ชมความงามคน คือ ถ้าชมชายหนุ่มหญิงสาวทั่วไปเราใช้คำว่า สวยงาม แต่ถ้าจะชมสมณะ เราใช้คำว่า สง่างาม เป็นความงามที่สง่า และยังมีคามสงบเสงี่ยมอยู่ในตัว ทั้งสง่างามและสงบเสงี่ยมแต่ไม่จ๋อง ไม่กระจอกงอกง่อย เพราะมีความเชื่อมั่นในคุณธรรมที่ตนเองปฏิบัติอยู่ มีความอิ่มเอิบอยู่ในธรรม เป็นตัวอย่างให้เห็นถึงอานิสงส์ของการประพฤติดีปฏิบัติชอบ “สมณเป็นมาตรฐานความประพฤติของชาวโลกทั้งหลาย” ลักษณะของสมณะในเชิงปฏิบัติ
    ๑.สมณะต้องไม่ทำอันตรายใคร ไม่ว่าทางกายหรือทางวาจาก็ไม่ทำความเดือดร้อนให้ใคร แม้ในความคิดก็ไม่คิดให้ร้ายใคร
    ๒.สมณะต้องไม่เห็นแก่ลาภ ดำรงชีพอยู่เพียงเพื่อทำความเพียร มีความสันโดษ ไม่เป็นคนเห็นแก่กิน เห็นแก่ปากแก่ท้อง
    ๓.สมณะต้องบำเพ็ญสมณธรรม พยายามฝึกฝนตนเองไม่เอาแต่นั่งๆ นอนๆ กิจวัตรของตน เช่น การสวดมนต์ ทำวัตร การศึกษาพระธรรมวินัย กิริยามารยาทต่างๆ ตั้งใจฝึกฝนอย่างเต็มที่
    ๔.สมณะต้องบำเพ็ญตบะ คือ ทำความเพียรเพื่อละกิเลสเป็นทหารในกองทัพธรรมอย่างเต็มที่ ตั้งใจรบเอาชนะกิเลสให้ได้ ไม่ว่าจะโดยการเดินจงกรม ทำสมาธิ ฝึกธุดงค์ ก็ตาม

    ชนิดของการเห็นสมณะ
    การเห็นของคนแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ
    ๑.เห็นด้วยตา เรียกว่า พบเห็น คือ เห็นถึงรูปร่าง ลักษณะกิริยา มารยาทอันสง่างาม และสงบของท่าน
    ๒.เห็นด้วยใจ เรียกว่า คิดเห็น คือ นอกจากจะเห็นตัวท่านซึ่งเป็นสมณบุคคลแล้ว ยังพิจารณาตรองดูด้วยใจจนสามารถคาดคะเนได้ถึงคุณธรรมภายใน ที่ทำให้ท่านสงบเสงี่ยม แต่สง่างามอย่างน่าอัศจรรย์ หรือเรียกว่าเห็นถึงสมณธรรมของท่าน
    ๓.เห็นด้วยญาณ เรียกว่า รู้เห็น คือไม่ใช่เป็นเพียงการคิดคาดคะเนถึงคุณธรรมของท่านเท่านั้น แต่เห็นด้วยญาณทัศนะ เห็นด้วยปัญญาทางธรรมทีเดียวว่า ท่านมีคุณธรรมมากเพียงใด เป็นการเห็นของผู้ที่ปฏิบัติมาดีแล้ว จนเข้าถึงธรรมกายในตัว แล้วก็อาศัยธรรมกายในตัวมองทะลุเข้าไปในใจคนอื่นได้ การเห็นชนิดนี้ชัดเจนถูกต้องแน่นอนไม่มีการผิดพลาด
    กิจที่ควรทำเพื่อให้เกิดประโยชน์จากการเห็นสมณะ
    ในการเห็นสมณะนั้น ถ้าหากเห็นเพียงชั่วขณะ เช่น เห็นท่านเดินผ่านไป หรือเราเผอิญเดินไปเห็นท่านแล้วก็ผ่านเลยไปอย่างนั้นได้ประโยชน์ไม่เต็มที่

    เพื่อให้ได้ประโยชน์เต็มที่จากการเห็นสมณะ พึงกระทำดังนี้
    ๑.ต้องเข้าไปหา หมายถึง เข้าไปช่วยทำกิจของท่าน เช่น ปัดกวาดเช็ดถูกุฏิของท่าน ช่วยซักสบง จีวรของท่าน เป็นต้น
    ๒.ต้องเข้าไปบำรุง หมายถึง จัดหาปัจจัย ๔ ไปถวายท่าน ท่านจะได้ไม่มีภาระมาก และจะได้มีเวลามีโอกาสได้สนทนาธรรมกันมากขึ้น
    ๓.ตามฟัง หมายถึง ตั้งใจฟังคำเทศน์ คำสอนของท่าน ด้วยใจจดจ่อ
    ๔.ตามระลึกถึงท่าน หมายถึง เมื่อพบท่านได้ฟังคำสอนของท่านแล้วก็ตามระลึกถึงทั้งกิริยามารยาทของท่าน คำสอน โอวาทของท่าน นำมาไตร่ตรองพิจารณาอยู่เสมอ
    ๕.ตามดูตามเห็น หมายถึง ดูท่านด้วยตาเนื้อของเราด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอย่างหนึ่ง และตามดูท่านด้วยความคิดและปัญญาทางธรรมให้เห็นตัวสมณธรรมของท่านอีกอย่างหนึ่ง เห็นทานอย่างไรเราก็ทำตามอย่างนั้น ไม่ดื้อรั้น

    เหตุที่ชาวโลกอยากให้สมณะหรือพระมีศีลไปเยี่ยมบ้าน
    เมื่อสมณะหรือพระผู้มีศีลบริสุทธิ์ เข้าสู่สกุลใดมนุษย์ทั้งหลายในสกุลนั้นย่อมประสบบุญเป็นอันมากด้วยฐานะ ๕ ประการ ดังนี้
    ๑.จิตของเราย่อมเลื่อมใสเพราะเห็นสมณะ เป็นผลให้สกุลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อสวรรค์
    ๒.เขาย่อมพากันต้อนรับกราบไหว้ให้อาสนะแก่สมณะซึ่งเข้าไปสู่สกุล เป็นผลให้สกุลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการเกิดในสกุลสูง
    ๔.เขาย่อมแจกจ่ายทานตามสติกำลังในสมณะผู้เข้าไปสู่สกุลเป็นผลให้สกุลนั้ชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการได้โภคะใหญ่
    ๕.เขาย่อมไต่ถาม สอบสวน ฟังธรรม จากสมณะซึ่งเข้าไปสู่สกุลเป็นผลให้สกุลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการได้ปัญญาใหญ่

    ข้อควรปฏิบัติเมื่อพบสมณะ
    ๑.ถ้าไทยธรรมมีอยู่ พึงต้อนรับด้วยไทยธรรมนั้น ตามสมควร
    ๒.ถ้าไทยธรรมไม่มี พึงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์
    ๓.ถ้าไม่สะดวกในการกราบ ก็ประนมมือไหว้
    ๔.ถ้าไหว้ไม่สะดวก ก็ยืนตรง หรือแสดงความเคารพด้วย วิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น หลีกทางให้
    ๕.อย่างน้อยที่สุด ต้องแลดูด้วยจิตเลื่อมใส

    อานิสงส์การเห็นสมณะ
    ๑.ทำให้ได้สติ ฉุกคิดถึงบุญกุศล
    ๒.ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำความดีตามท่าน
    ๓.ทำให้ตาผ่องใสดุจแก้วมณี
    ๔.ทำให้เป็นผู้ไม่ประมาท
    ๕.ชื่อว่าได้บูชาพระรัตนตรัยอย่างยิ่ง
    ๖.ทำให้ได้สมบัติ ๓ โดยง่าย
    ๗.ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย




    ที่มา...www1.freehostingguru.com/thaigenx/mongkhol/mk29.htm
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ญา ทิวาราช; 24-11-2009 at 17:52. เหตุผล: ........................

  6. #6
    Membership renewed สัญลักษณ์ของ บ่าวจ้ำ
    วันที่สมัคร
    Jan 2009
    ที่อยู่
    ขัวข้วมของหนองคาย
    กระทู้
    566
    บล็อก
    2

    กระพริบตา จ้ำแจมจัง

    สาธุ..อนุโมทามิ
    เข้าใจแจ่มแจ้งแล้วครับ
    ..Dreams it, Believe it, Do it..

  7. #7
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ นา ดอกจาน
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    FL,USA
    กระทู้
    229
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ ธุจ้าธุจ้าธุจ้า
    ขอขอบคุณมากๆสำหรับมงคลชีวิตทั้ง ประการนี้! สาธุ,ธุจ้า

  8. #8
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ กำลังใจ
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    1,529
    บล็อก
    1
    ถ้าทำได้ทุกข้อก็ดีที่สุดเลยจ้า

  9. #9
    Moderators สัญลักษณ์ของ สหายพง
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    ผมมากับรถผ้าป่า
    กระทู้
    1,369
    ดำเนินชีวิตอยู่บนความพอดี เพียงพอ มีความสุข และกลับคืนสู่ธรรมชาติได้
    นี้ละครับผม พหูสูตร ของผมโดยแท้ แต่ขันแปลตรงๆกะคือ ผู้รู้มาก.....
    แหม่นบ่ดอกความฮู้หน่อย..555

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •