กำลังแสดงผล 1 ถึง 9 จากทั้งหมด 9

หัวข้อ: กรุงศรีอยุธยา

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    กรุงศรีอยุธยา

    กรุงศรีอยุธยา



    ชื่อและที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยา

    "จากพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์"


    กรุงศรีอยุธยา


    กรุงศรีอยุธยา


    จุลศักราช ๖๘๖ ชวดศก (พ.ศ. ๑๘๖๗) แรกสถาปนาพระพุทธเจ้า เจ้าพแนงเชิง


    ศักราช ๗๑๒ ขาลศก (พ.ศ. ๑๘๙๓) วัน (๖ ฯ ๕) ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๙ บาท แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา



    ศักราช ๗๓๑ ระกาศก (พ.ศ. ๑๙๑๒) แรกสร้างวัดพระราม ครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จนฤพาน จึงพระราชกุมารท่านสมเด็จพระ (ราเม) ศวรเจ้าเสวยราชสมบัติ


    เรื่องสร้างกรุงศรีอยุธยา มีในจดหมายเหตุของโหรว่า พระเจ้าอู่ทองสร้าง ๒ ครั้ง ครั้งหนึ่งเมื่อปีขาล จุลศักราช ๗๑๒ อีกครั้งหนึ่งเมื่อปีกุน จุลศักราช ๗๒๑ สร้างทีหลังนี้ดูไม่มีมูลในเรื่องพงศาวดารทีเดียว ข้าพเจ้าเข้าใจว่าโหรวางศักราชปีกุนนั้นผิด ถ้าปีกุนจุลศักราช ๗๐๙ จึงจะได้ความ คือพระเจ้าอู่ทองย้ายมาจากเมืองอู่ทองมาสร้างเวียงเหล็กในแขวงเมืองอโยธยา เมื่อปีกุน จุลศักราช ๗๐๙ พ.ศ. ๑๘๙๐ อยู่ ๓ ปีจึงสร้างกรุงศรีอยุธยา ซึ่งหนังสือพงศาวดารทุฉบับ และจดหมายเหตุของโหรยุติต้องกันว่า ฝังหลักเมืองเมื่อ ณ วันศุกร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๕ เพลาเช้า ๓ นาฬิกา ๙ บาท ปีขาล (น่าจะเป็นปีเถาะยังเป็นโทศก) จุลศักราช ๗๑๒ พ.ศ. ๑๘๙๒ นับอายุกรุงศรีอยุธยาแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีสร้างกรุงศรีอยุธยา พระชันษาได้ ๓๖ พรรษา สมเด็จพระรามาธิบดีเสวยราชสมบัติอยู่กรุงศรีอยุธยา ๑๙ ปี สวรรคตเมื่อปีระกา จุลศักราช ๗๑๓ พ.ศ. ๑๙๑๒ พระชันษาได้ ๕๕ ปี






    ชื่อกรุงศรีอยุธยา


    กรุงศรีอยุธยา


    กรุงศรีอยุธยาที่สมเด็จพระรามาธิบดีสร้าง ขนานนามโดยพิสดารว่า กรุงเทพมหานคร (บวร) ทวาราวดีศรีอยุธยา

    หนังสือพระราชพงศาวดารอธิบายนามทั้งปวงนี้ว่า ที่เรียกว่า กรุงเทพมหานคร เพราะเอาชื่อเมืองเทพนครเดิมของพระเจ้าอู่ทองมาใช้ ข้อนี้ข้าพเจ้าเข้าใจว่ายังไม่ตรงดี ที่จริงชื่อกรุงเทพมหานครนั้น เห็นจะหมายความว่าเป็นราชธานี เมืองใดเป็นราชธานีเมืองนั้นก็มีชื่อว่ากรุงเทพมหานคร ชื่อนี้ยังได้เอาลงใช้จนกรุงเทพฯมหานครอมรรัตนโกสินทร์นี้ ชื่อ ทวาราวดี ที่อธิบายว่าเพราะมีลำแม่น้ำล้อมรอบนั้นถูกต้อง กรุงศรีอยุธยาที่พระเจ้าอู่ทองสร้างมีลำแม่น้ำล้อมรอบจริง ด้านเหนือซึ่งเรียกว่าคลองเมืองเดี๋ยวนี้ เวลานั้นสายน้ำลำแม่น้ำลพบุรียังไหลลงมาทางนั้นเป็นลำน้ำใหญ่ ด้านตะวันออกมีลำแม่น้ำสัก แต่เวลานั้นสายน้ำยังลงมาทางบ้านม้า ด้านใต้ ด้านตะวันตก ลำแม่น้ำเจ้าพระยาลงมาทางหัวแหลม ออกบางกระจะวัดพระเจ้าพนัญเชิงอย่างทุกวันนี้ ที่เรียกนามว่า ศรีอยุธยานั้น เอาชื่อเมืองอโยธยาเดิมมาใช้มิใช่คิดขึ้นใหม่



    ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยา


    กรุงศรีอยุธยา


    ตัวเมืองที่สมเด็จพระรามาธิบดีสร้าง เข้าใจว่ากำแพงเมืองยังใช้เพียงหลักไม่ระเนียดปักบนเชิงเทินดิน เพราะได้ความในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐว่า พึ่งมาก่อกำแพงด้วยอิฐเมืองแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แนวกำแพงเมืองสร้างครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีนั้น ด้านเหนือ ด้านตะวันตก ด้านใต้ ตั้งลงมาถึงริมลำน้ำทั้ง ๓ ด้าน แต่ด้านตะวันออกลำน้ำสักยังอยู่ห่างมาก แนวกำแพงเมืองอยู่หลังวัดจันทรเกษมเข้าไป ลำน้ำแต่หัวรอลงมาจนวัดพระเจ้าพนัญเชิง ในเวลานั้นขุดเป็นแต่คูเมืองเรียกว่า ขื่อหน้า พึ่งมาขุดขยายเป็นลำน้ำใหญ่เมื่อแผ่นดินสมเด็จพระธรรมราชาธิราช พระราชวังที่สร้างครั้งสมเด็จพระรามาธิบดี สร้างริมหนองโสนคือ บึงพระราม ห่างแม่น้ำ อยู่ที่วัดพระศรีสรรเพชญเดี๋ยวนี้ ปราสาทราชมณเฑียรสร้างด้วยไม้ทั้งนั้น พระราชมณเฑียรย้ายลงมาตั้งริมน้ำ เมื่อแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปราสาทก็เห็นจะพึ่งมาก่อเป็นตึกเมื่อย้ายพระราชมณเฑียรคราวนั้น


    กรุงศรีอยุธยา

    เขตแดนกรุงศรีอยุธยา


    ในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ มีพระยาประเทศราชขึ้นกรุงศรีอยุธยา ๑๖ เมือง พิเคราะห์เห็นว่าเมืองเหล่านั้นไม่ได้ขึ้นกรุงศรีอยุธยาอย่างเดียว เมืองพิษณุโลก (คือเมืองสระหลวงสองแคว) เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก (คือเมืองศรีสัชนาลัย) เมืองพิจิตร เมืองกำแพงเพชร เมืองนครสวรรค์ ๗ เมืองนี้ยังอยู่ในอาณาเขตของพระมหาธรรมราชาลิไทย จะเป็นเหตุด้วยพระมหาธรรมราชายอมถวายบรรณาการขอเป็นไมตรีดังกล่าวมาแล้ว ผู้แต่งหนังสือพระราชพงศาวดารภายหลังจึงถือว่า เมื่อเหล่านี้ขึ้นกรุงศรีอยุธยา เมืองเมาะตะมะ เมืองเมาะลำเลิ่ง ๒ เมืองนี้ แต่เดิมเคยขึ้นกรุงสุโขทัยจริง แต่เวลานั้นอยู่ในอาณาเขตของพระยาอู่ เมืองหงสาวดีเป็นอิสระมาแต่ครั้งสุโขทัย เมืองจันทบุรี เมืองนครศรีธรรมราช เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย เมืองมะละกา เมืองชวา (ได้ความตามหนังสือเรื่องเมืองไทยของมองสิเออร์ลาลูแบร์ เข้าใจว่าเมืองยะโฮนั้นเอง) ๕ เมืองนี้มีหลักฐานเชื่อได้ว่า ครั้งนั้นขึ้นกรุงศรีอยุธยาอาณาเขตของสมเด็จพระรามาธิบดี ข้างเหนือน่าจะอยู่เพียงเมืองชัยนาท ข้อนี้มีพยานที่ให้พระราเมศวรไปครองเมืองลพบุรี ครั้งนั้นคงจะเป็นเมืองหน้าด่านอยู่ต่อแดนขอมและแดนนคร



    คัดจากบางส่วนของ พระอธิบายท้ายพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

    และ ขอบคุณ student.chula.ac.th/



    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 24-11-2009 at 11:44.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    กรุงศรีอยุธยา ครั้งบ้านเมืองดี

    กรุงศรีอยุธยา ครั้งบ้านเมืองดี


    จากหนังสือ คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม



    กรุงศรีอยุธยา ครั้งบ้านเมืองดี


    คำนำ


    คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์และจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายอยู่เสมอมาที่จะจัดพิมพ์เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่เป็นมรดกของชาติไทยออกเผยแพร่เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการค้นคว้าวิจัยของนักวิชาการไทยศึกษาโดยทั่วไป การจัดพิมพ์ “เอกสารจากหอหลวง” เรื่อง คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ในครั้งนี้ ก็นับเป็นความพยายามที่จะตอบสนองจุดประสงค์ดังกล่าว

    เอกสารที่มาเรียกกันว่า คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม นั้น ได้เคยตีพิมพ์ลงในวารสาร แถลงงานประวัติศาสตร์เอกสารโบราณคดี เป็นตอนย่อยๆ ติดต่อกัน ๖ ฉบับ เริ่มตั้งแต่ฉบับปีที่ ๓ เล่ม ๑ เดือนมกราคม ๒๕๑๒ จนถึงฉบับปีที่ ๕ เล่ม ๒ เดือนพฤษภาคม ๒๕๑๔ ครั้นล่วงมาถึงปัจจุบันนี้ คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ก็ยังเป็นเอกสารสำคัญเกี่ยวกับปลายอยุธยา ซึ่งนักปราชญ์และผู้สนใจประวัติศาสตร์ไทยจำเป็นต้องใช้ศึกษาอ้างอิงอยู่มาก ติดอยู่เพียงว่าหาอ่านยากขึ้นและใช้เอกสารกระจายอยู่ในแถลงงานประวัติศาสตร์ฯ เล่มต่างๆ ไม่สะดวก การจัดพิมพ์เนื้อความทั้งหมดเป็นเล่มเดียวจึงจะช่วยเผยแพร่เอกสารชิ้นนี้ออกไปกว้างขวางยิ่งขึ้น


    สำหรับที่มาของ คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม นั้น นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ได้เขียนเล่าไว้ในคำนำใน แถลงงานประวัติศาสตร์เอกสารโบราณคดี ฉบับปีที่ ๓ เล่ม ๑ เดือนมกราคม ๒๕๑๒ มีความตอนหนึ่งว่า


    สมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๕ กรมราชเลขาธิการในพระองค์ซึ่งมีกรมขึ้นอยู่ ๓ กรม ได้แก่ กรมบัญชาการ กรมราชเลขานุการในพระองค์ กรมอาลักษณ์ มีเอกสารหลายหลากชนิดเก็บรักษาไว้มากมาย และเก็บรักษามาตั้งแต่ต้นทุกๆ รัชกาล เอกสารลางเรื่องเก่าถึงสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อได้ประกาศยุบกรมราชเลขานุการในพระองค์ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ งานในหน้าที่กรมราชเลขาธิการในพระองค์ จึงโอนมาเป็นของกรมเลขาธิราชคณะรัฐมนตรี กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้รับมอบเอกสารมาเก็บรักษาไว้เฉพาะสมุดไทย (ข่อย) ประมาณ ๑๒๙๖๙ สมุดไทย ใบลาน ๒๘๔ ผูก แฟ้ม ๔๔๐ แฟ้ม ฯลฯ ต่อมากรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งเอกสารดังกล่าวไปให้กรมศิลปากรเก็บรักษา จึงได้พบ “คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม” รวมมาในกลุ่มเอกสารที่ส่งมาให้กรมศิลปากรนั้นด้วย กรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ท่านหนึ่ง คือ คุณปรีดา ศรีชลาลัย อดีตข้าราชการกรมศิลปากรได้อ่านพบ จึงได้เสนอเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการ ที่ประชุมลงมติให้พิมพ์ได้ เพื่อรักษาไว้ซึ่งประวัติภูมิศาสตร์กรุงพระนครศรีอยุธยาทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ โดยอนุมัติให้นำลางตอนที่ยังไม่เคยพิมพ์มาลงพิมพ์....


    ถ้า คำให้การ มีความหมายว่า “บันทึกเรื่องจากความทรงจำ” อย่างเช่นที่ใช้กับกรณี คำให้การชาวกรุงเก่า หรือ คำให้การขุนหลวงหาวัด แล้ว คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมคงจะมิได้มีลักษณะการเล่าเรื่องจากความทรงจำเสียทั้งหมด และการเรียกชื่อเอกสารชุดนี้โดยชื่อดังกล่าว ก็อาจมีผลทำให้เกิดเข้าใจผิดได้ เป็นต้นว่า ทำให้ผู้ที่มิได้อ่านอรรถความคิดว่าเป็นคำให้การของพระเจ้าอุทุมพร ทั้งๆ ที่เอกสานนี้น่าจะได้รับการคัดลอกและเรียบเรียงมาจากต้นฉบับในหอหลวง


    คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เป็นเอกสารที่เกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในช่วงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งคนสมัยต้นรัตนโกสินทร์มองว่าเป็น “ครั้งบ้านเมืองดี” เมื่อพิจารณาลักษณะโครงสร้างแล้ว คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน


    ส่วนที่ ๑ เป็นคำพรรณนาภูมิสัณฐานของพระนครศรีอยุธยาซึ่งจบลงด้วยหัวข้อ “ว่าด้วยเรื่องพระราชวังน่า” ข้อความโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับเอกสารเรื่อง “ว่าด้วยแผนที่กรุงศรีอยุธยา” ซึ่งตีพิมพ์อยู่ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๓ เล่มที่ ๓๗ (ฉบับคุรุสภา พ.ศ. ๒๕๑๒) เพียงแต่ คำให้การฯ มีความละเอียดลออมากกว่า และลักษณะภาษาที่ใช้เรียบเรียงก็ดูใหม่กว่า อย่างไรก็ตาม เอกสารทั้งสองชิ้นนี้น่าจะมีที่มาจากต้นฉบับเดียวกัน และเป็น ตำราโบราณ ที่พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เตชะคุปต์) ได้ใช้ในการแต่ง ตำนานกรุงศรีอยุธยา ทูลเกล้าฯ ถวายในพระราชพิธีรัชมงคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. ๒๔๕๐


    ส่วนที่ ๒ เป็นบันทึกเกี่ยวกับวัฒนธรรมความเชื่อ กรมจัดการพระศาสนาและพระราชพิธี การเล่าเรื่องพระราชพิธีลงสรงเจ้าฟ้าและพิธีโสกันต์เจ้าฟ้า ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับเจ้าฟ้าอุทุมพรบวรราชกุมาร อาจเป็นที่มาของการเรียกเอกสารชุดนี้ว่า คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม รายละเอียดเกี่ยวกับพระราชพิธีแสดงว่าน่าจะได้คัดลอกมาจากจดหมายเหตุโบราณมากกว่าจะมีที่มาจากการบอกเล่า


    ส่วนที่ ๓ เป็นตำราสอนข้าราชการชั้นสูง เรียกในที่นี้ว่า “เรื่องพิไชยเสนา เป็นตำราสำหรับข้าราชการควรประพฤติ” เรื่องส่วนนี้นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความเข้าใจ สิ่งที่เป็นแนวทาง จิตวิทยาการปกครอง และข้อพุงปฏิบัติในระบบราชการแบบเดิมของไทยและสะท้อนให้เห็นอิทธิพลของพุทธศาสนาอยู่มิใช่น้อยในมาตราต่างๆ


    ส่วนที่ ๔ เป็นเหตุการณ์สมัยปลายกรุงศรีอยุธยา อาจแบ่งออกได้เป็นสองตอน ตอนต้นเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือ จนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งได้รวมตำนานศรีปราชญ์ไว้ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือด้วย จัดว่าอยู่ในประเภท “คำให้การ” ตอนหลังเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร จนถึงช่วยต้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ข้อความนำตอนนี้ที่ว่า “พงศาวดารทอดหลัง นับตั้งแต่พระเจ้าอุทุมพรได้ราชสมบัติไปจนถึงเมืองสิ้นกรุงสิ้นเรื่อง” แสดงว่า เอกสารที่ตกทอดมาถึงชั้นตีพิมพ์นี้ไม่สมบูรณ์ เหตุที่ทราบว่าตอนต้นและตอนหลังมีที่มาแตกต่างกันและเป็นเอกสารคนละฉบับ เพราะในท้ายตอนต้นบอกวันเวลาสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไว้อย่างหนึ่ง แต่ถัดมาเพียงสองบันทัดเมื่อเริ่มตอนที่สอง บอกวันเวลาสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไปอีกอย่างหนึ่ง


    ในการตีพิมพ์ คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ครั้งนี้ กระผมใคร่เรียนชี้แจงว่า ได้คงลักษณะอักขรวิธีของต้นฉบับไว้ทั้งหมด แต่ได้จัดทำหัวข้อเรื่องแทรกไว้และจัดแบ่งย่อหน้า ให้อ่านและค้นคว้าได้สะดวกยิ่งขึ้น คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า นักวิชาการไทยศึกษาในด้านต่างๆ คงจะได้ประโยชน์จากเอกสารนี้สมเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้



    ภูมิสัณฐาน

    จะกล่าวถึงภูมิลำเนากรุงเทพมหานคร บวรทวาระวดีศรีอยุธยาราชธานี พระนครตั้งอยู่บนเกาะหนองโสนในประเทศสยาม มีแม่น้ำล้อมรอบเกาะ เกาะนั้นมีสัณฐานคล้ายสำเภานาวา พระนครนั้นมีนามปรากฏว่า กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธย่ มหาดิลกภพนพรัตนราชธานี บุรีรมย์อุดมพระราชนิเวศน์มหาสฐ้าน มีสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามเสด็จดำรงราชสมบัติในพระมหานคร เปนพระบรมราชาธิราชใหญ่ในสยามประเทศ มีพระราชอาณาเขตรกว้างขวาง ทิศเหนือถึงแดนลาว ทิศใต้ถึงแดนมลายู ทิศตะวันออกถึงแดนเมืองเขมร ทิศตะวันตกถึงแดนมอญ มีเจ้าประเทศราชลาวพุงขาว ลาวพุงดำ เขมร แขกมลายู มาถวายดอกไม้ทองเงินเสมอมิได้ขาด มีพระราชอภินิหารเดชานุภาพล้ำเลิศประเสริฐยิ่งนักหนา ทรงรักษาไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินโดยทางทศพิตรราชธรรม ทรงทำนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนา และสมณพราหมณจาริยแลไพร่ฟ้าประชากร ให้อยู่เย็นเป็นสุขสโมสรหาสิ่งเสมอมิได้ พวกพานิชนานาประเทศทราบเหตุว่ากรุงศรีอยุทธยาผาศุกสมบูรณด้วยสินค้าอุดมดี พวกพานิชก็แตกตื่นกันเข้ามาถวายบรรณาการ ขอพระราชทานพึ่งพระบรมโภธิสมภาร ค้าขายในพระมหานครเปนอันมากจะนับคณะนามิได้ กรุงศรีก็ไพศาลสมบูรณเป็นรัตนธานี ศรีสวัสดิ พิพัฒมงคลแก่ชนชาวสยามความเจริญทั่วพระนคร


    อนึ่งกรุงศรีอยุธยา มีด่านขนอนคอยเหตุการต่างๆ ตั้งอู่ตามลำแม่น้ำรอบกรุงทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งเปนทางแม่น้ำใหญ่จะเข้ามาในพระนครนั้น ทิศตะวันออกตั้งด่านที่ตำบลบ้านเข้าเม่าด่าน ๑ ทิศใต้ตั้งด่านที่ตำบลบ้านบางตะนาวศรีด่าน ๑ ทิศตะวันตกตั้งด่านที่ตำบลบ้านปากคูด่าน ๑ ทิศเหนือตั้งด่านที่ตำบลบ้านบางหลวงด่าน ๑ รวมเปนด่าน ๔ ตำบล เรียกว่าขนอนหลวง ๔ ทิศ รอบกรุงมีขุนด่านหมื่นขนอน แลไพร่หลวงรักษาด่าน นาย ๒ ไพร่ ๒๐ ในเดือน ๑ ผลัดเปลี่ยนเวียเวรละ ๑๕ วัน สำหรับตรวจตราของต้องห้ามตามกฎหมายแลเครื่องงสาตราวุธที่แปลกปลาด แลผู้คนที่แปลกปลอมเข้าออก ต้องทักท้วงไต่ถามตามเหตุการ ที่ด่านทั้ง ๔ ตำบลนั้นมีม้าใช้ เรือเร็วไว้สำหรับคอบบอกเหตุการมาในกรุง



    จากหนังสือ คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  3. #3
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ว่าด้วยเรือจ้างรอบกรุง

    ว่าด้วยเรือจ้างรอบกรุง


    ว่าด้วยเรือจ้างรอบกรุง



    อนึ่งกรุงศรีอยุทธยานั้นมีแม่น้ำล้อมรอบกำแพงพระมหานคร มีทำนบรอฃ้ามแม่น้ำมาแต่ฝั่งฟากตะวันออกเฉียงเหนือ เข้ามาที่ชานกำแพงพระนครตรงพระราชวังจันทน์บวร ริมป้อมมหาไชยใกล้ฉางวังน่า ทำนบรอนั้นกว้างสามวา มีช่องกลางแม่น้ำสำหรับเรือใหญ่น้อยไปมาได้ในระหว่างนั้น บนทำนบรอทั้งสองฝั่งมีกระดานปูเป็นพื้น มีลูกฟูกไม้ห่างศอกหนึ่งเป็นที่ลาดลงมาถึงตลิ่งทั้งสองฟาก ที่กลางนั้นปูกระดารเปนเหมือนตะพานช้าง ทำนบรอนี้สำหรับสมณพราหมณจาริยอณาประชาราษฎร และช้างม้าเกวียนต่างเดินเข้าออกในพระนครแต่ทางเดียว เรียกกันว่าหัวรอ ที่เชิงลาดตะพานทำนบนั้นมีเจ้าพนักงานกรมพระนครบาลรักษาอยู่ที่ศาลาเชิงทำนบ ห้ามไม้ให้ช้างม้าเกวียนกระบือต่างโคเดินเลยเป็นอันขาด ยกเว้นไว้แต่ราชการหลวงเท่านั้นเดินได้ แต่มีบาดหมายมาบอกก่อน



    ทำนบรอนี้มีขึ้นเมืองจุลศักราช ๙๑๘ ปีมะโรงอัฐศก ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช พระเจ้าแผ่นดินที่ ๑๖ ในกรุงศรีอยุทธยา เพราะครั้งนั้นพระเจ้ากรุงหงษาวดียกกองทัพมาทำสงครามล้อมกรุง แล้วมอญเอาไม้ตาลโตนดมาปักเปนทำนบรอถมดินทำตะพานเรือ ฃ้ามแม่น้ำเข้ากรุงได้ ภายหลังต่อมาก็ไม่ได้รื้อทำลาย เอาไว้ใช้เปนตะพานใหญ่ฃ้ามแม่น้ำเข้ากรุงได้โดยสดวก เมื่อทำนบรอเก่าของพวกมอญพุพังไป ไทยก็ทำซ่อมแปลงผลัดเปลี่ยนต่อมาเนืองๆ เปนตะพานใหญ่


    กรุงศรีอยุทธยาด้านกว้างตะวันออก มท่าเรือจ้างข้ามรับส่งคนไปมาเข้าออก ๕ ตำบล คือตั้งแต่หัวรอมาถึงวัดตะพานเกลือ มีเรืองจ้างฃ้ามเข้ากรุงที่ท่า ๘ ตำรวจท้ายวังน่าตำบล ๑ เรือจ้างฃ้ามเข้ากรุงที่ท่าช่างวังน่าแลมาท่าวิลันดา ๑ เรื่องจ้างฃ้ามออกจากกรุงไปวัดนางชี ๑ เรืองจ้างฃ้ามออกจากกรุงไปวัดพิไชย ๑ เรือจ้างฃ้ามออกจากกรุงไปวัดเกาะแก้ว ๑ เรือจ้างฃ้ามรับส่งคนเข้าออกกรุงด้านตะวันออก ๕ ตำบล


    กรุงศรีอยุทธยาด้านยาวทิศใต้นั้น มีท่าเรือจ้างฃ้ามรับส่งคนเข้าออกที่กรุงหกตำบล คือเรืองจ้างท่าประตูช่องกุตหัวตลาดโรงเหล็ก ฃ้ามออกจากกรุงไปน่าวัดเจ้าพระนางเชิง ๑ เรือจ้างท่าหอยฃ้ามออกจากรุงไปวัดป่าจาก ๑ เรือจ้างท่าพระยาราชวังสันฃ้ามออกจากกรุงไปขึ้นวัดขุนพรม ๑ เรือจ้างท่าด่านชีฃ้ามออกไปวัดสุรินทราราม ๑ เรือจ้างท่าฉะไกรน้อยข้ามออกจากกรุงไปวัดทาราม ๑ เรือจ้างท่าว้งไชยฃ้ามออกไปจากกรุงไปวัดนาดปากคลองลคอนไชย ๑ รวมท่าเรือจ้างด้านยาวกรุงทิศใต้ ๖ ตำบล


    กรุงศรีอยุทธยาด้านกว้างตะวันตกนั้น มีท่าเรือจ้าง ๔ ตำบล คือเรือจ้างท่าบ้านชีฃ้ามออกจากกรุงไปวัดไชยาราม ๑ เรือจ้างท่าพระราชวังหลังฃ้ามออกจากกรุงไปวัดลอดช่อง ๑ เรือจ้างท่าด่านลมฃ้ามออกจากกรุงไปวัดกระษัตรา ๑ เรือจ้างท่าบ้านเจ้าพระยาพลเทพฃ้ามออกจากกรุงไปวัดธรมา ๑ รวมท่าเรือจ้างด้านกว้างกรุงทิศตะวันตก ๔ ตำบล


    กรุงศรีอยุทธยาด้านยาวทิศเหนือนั้น มีท่าเรือจ้างเจดตำบล คือเรือจ้างท่าปตูสัตกปฃ้ามออกจากกรุงไปวัดฃุนญวน ๑ เรือจ้างท่าม้าอาบน้ำฃ้ามออกจากกรุงไปวัดตินท่า ๑ เรือคอยราชการประจำทั้งกลางวันแลกลางคืนที่ท่าขุนนางพระราชวังหลวง ฃ้ามออกจากกรุงไปขึ้นท่าศาลากระเวรฟากสระบัวหลวง ๑ เรือจ้างท่าช้างวังหลวง คือท่าสิบเบี้ยนั้น ฃ้ามออกจากกรุงไปวัดสีโพ ๑ เรือจ้างท่าทราบฃ้ามออกจากกรุงไปวัดโรงฆ้อง ฃ้างบ้านเจ้าพระยาจักรีที่ท่าทรายนั้น มีศาลาคู่อยู่สองหลังสำหรับคนไปมาภักอาไศรยเปนศาลาฉ้อทาน ๑ เรือจ้างท่าวัดชรองตรงภนนโรงช้างพระราชวังน่านั้น ฃ้ามออกจากกรุงไปวัดป่าคนที ตรงถนนปั้นม่อ ๑ เรือคอยราชการประจำทั้งกลางวันกลางคืนที่ท่าขุนนางวังน่า ริมป้อมมหาไชยน่าพระราชวังจันทน์บวร ฃ้ามออกจากกรุงไปขึ้นที่วัดนางปลื้มแลท่าโขลน ๑ รวมท่าเรือจ้างด้านยาวกรุงทิศเหนือ เปนเรือจ้างแท้ ๕ ตำบล เรือคอยราชการ ๒ ตำบล รวมเปนเจดตำบล


    แม่น้ำล้อมรอบกรุงทั้ง ๔ ด้าน มีตะพานใหญ่ทำนบรอตำบล ๑ มีท่าเรือคอยราชการ ๒ ตำบล มีท่าเรือจ้างยี่สิบตำบล รวมทางคนฃ้ามแม่น้ำเข้าออกในกรุง ๒๓ ตำบล



    มีตลาดเรือที่แม่น้ำรอบกรุงเปนตลาดท้องน้ำ เปนตลาดใหญ่ในท้องน้ำ ๔ ตลาด คือตลาดน้ำวนบางกะจะน่าวัดเจ้าพระนางเชิง ๑ ตลาดปากคลองคูจามท้ายสู่เราแขก ๑ ตลาดปากคลองคูไม้ร้อง ๑ ตลาดปากคลองวัดเดิมใต้ศาลเจ้าปูนเท่าก๋ง ๑ เปนตลาดเอกในท้องน้ำ ๔ ตลาดเท่านี้


    มีตลาดบนบกนอกกำแพงพระนคร ตามชานพระนครบ้าง ตามฝั่งฟากกรุงบ้าง ติดแต่ในรอบบริเวณในขนอนใหญ่ทั้ง ๔ ทิศรอบกรุงเข้ามาจนฟากฝั่งแม่น้ำตรงกรุง และชานกำแพงกรุงนั้นด้วยรวมเปน ๓๐ ตลาด คือตลาดน่าวัดน่าพระธาตุหลังขนอนบางหลวง ๑ ตลาดชาวลาวเหนือวัดคูหาสวรรค์ ๑ ตลาดริมคลองน้ำยา ๑ ตลาดป่าปลาเชิงทำนบรอ ๑ ตลาดน่าวัดแคลงแลวัดตะพานเกลือ ๑ ตลาดท่าเรือจ้างวัดนางชีน่าบ้านโปรตุเกต ๑ ตลาดบ้านบาตร์วัดพิไชย ๑ ตลาดวัดจันทนารามหลังวัดกล้วย ๑ ตลาดหลังตึกห้างวิลันดาแถววัดหมู ๑ ตลาดวัดสิงหน่าตึกญี่ปุ่น ๑ ตลาดวัดทองถนนลายสอง ๑ ตลาดวัดท่าราบน่าบ้านเจ้าสัวซีมีตึกแถวยาว ๑๖ ห้องสองชั้นๆล่างตั้งร้านฃายของ ชั้นบนคนอยู่ หัวตลาดนี้มีโรงตีเหล็กแลโรงเยบรองท้าว ทำยาแดงสูบกล้องฃายตลาด ๑ ตลาดบ้านปูนวัดเขียนลายสอง ๑ ตลาดบ้านจีนปากคลองขุนละครไชย มีหญิงละครโสเภณีตั้งโรงอยู่ท้ายตลาด ๔ โรง รับจ้างทำชำเราแก่บุรุษ ตลาดนี้เปนตลาดใหญ่ใกล้ทางเรือแลทางบก มีตึกกว้านร้านจีนมาก ฃายของงจีนมากกว่าของไทย มีศาลเจ้าจีนศาลหนึ่งอยู่ท้ายตลาด ๑ ตลาดบ้านกวนลอดฉ้อง ๑ ตลาดท่าเรือจ้างวัดธรมา ๑ ตลาดบ้านป้อมตรงขนอนปากคู ๑ ตลาดแหลมคลองมหานาคถนนบัณฑิตย์ ๑ ตลาดวัดขุนญวนศาลาปูน ๑ ตลาดคูไม้ร้องหลังโรงเรือพระที่นั่ง ๑ ตลาดน่าวัดตะไกรลงมาน่าวัดพระเมรุ ๑ ตลาดฃ้างวัดควายวัดวัวถนนบ้านทำม่อ ๑ ตลาดป่าเหลกหลังบ้านเฃมรโยมพระ ๑ ตลาดวัดครุธ ๑ ตลาดคลองผ้าลายริมวัดป่าแดงหลังวังฟักเจ้าลาว ๑ ตลาดริมบ้านโรงกูบน่าวัดกุฎีทอง ๑ ตลาดวัดโรงฆ้อง ๑ ตลาดน่าวัดป่าคนที ๑ ตลาดบ้านป่าเหลกท่าโขลง ๑ ตลาดวัดมะพร้าวริมบ้านญวนทะเล ๑ รวมตลาดบกนอกกำแพงพระนคร ๓๐ ตลาดเป็นตลาดใหญ่


    จากหนังสือ คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 24-11-2009 at 11:56.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  4. #4
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ว่าด้วยการค้าขายนอกกรุง

    ว่าด้วยการค้าขายนอกกรุง



    ว่าด้วยการค้าขายนอกกรุง



    อนึ่ง ริมแม่น้ำทั้งสองฝั่งฟากรอบกรุงศรีอยุทธยานั้น ข้าทูลละอองธุลีพระบาทแลราษฎรทำของต่างๆ ขายแลประกอบการค้าขายต่างๆ กัน เปนหมู่เปนย่านเปนตำบลมากมาย ย่านสำพนีตีสกัดน้ำมันงาน้ำมันลูกกะเบา น้ำมันสำโรง น้ำมันถั่วขาย ๑ บ้านหมู่หนึ่งทำฝาเรือนอยู่แลเรือนหอด้วยไม้ไผ่กรุกระแซงบ้าง กรุแผงกำบ้าง ทำไว้ฃายแลรับจ้างบ้าง ๑ บ้านหมู่หนึ่งทำการหล่อเหลกเปนครกสากเหลกฃาย แลตั้งเตาตีมีดพร้าแลรูปพรรณต่างๆ รับจ้างแลทำไว้ฃาย ๑ บ้านทั้งสามพวกนี้อยู่ย่านสัมพนี


    บ้านม่อ ปั้นม่อเข้าม่อแกงใหญ่เลก แลกะทะเตาขนมครกขนมเบื้อง เตาไปตะเกียง ใต้ตะคันเชิงไฟ พานภู่มสีผึ้งถวายพระเข้าวษา บาตร์ดินกระโถนดิน ๑ บ้านกระเบื้องทำกระเบื้องผู้เมีย แลกระเบื้องเกล็ดเต่ากระเบื้องขอกระเบื้องลูกฟูกฃาย ๑ บ้านศาลาปูนตั้งเตาทำปูนแดงฃาย ๑ บ้านเขาหลวงพวกจีนตั้งโรงต้มสุราฃาย ๑ บ้านห้าตำบลนี้อยู่ในแขวงเกาะทุ่งขวัญ


    บ้านเกาะขาดหล่อผอบยาเต้าปูนทองเหลือง แลเท้าพานไม้ควักปูนลนหงษฃาย ๑ บ้านวัดครุธปั้นนางเลิ้งสำหรับใส่น้ำฃาย ๑ บ้านริมวัดธรณีเลื่อยกระดานไม้งิ้วไม้อุโลกฃาย ๑ บ้านริมวัดพร้าวพวกกราหมณ์แลไทยทำแป้งหอมน้ำมันหอม กระแจะน้ำอบ ธูปกระแจะ ธูปกระดาษและเครื่องหอมทาฃาย ๑ บ้านท่าโขลงตั้งเตาตีเหลกตะปูตะปลิงใหญ่น้อยฃาย ๑ บ้านคนทีปั้นกระโถนดินกระถางดินปลูกต้นไม้ แลตะคันเชิงไฟเตาไฟ แลปั้นรูปช้างรูปม้าตุกตาต่างๆ ฃาย ๑ บ้านริมโรงฆ้องแถวถนนน่าบ้านเจ้าพระยาจักรีนั้น พวกหมู่นั้นเปนแม่ค้าซื้อกล้วยดิบมาบ่มแลต้มฃาย ๑ บ้านเจดตำบลนี้อยู่ในเกาะทุ่งแก้ว


    บ้านนางเลิง บ้านหอแปลพระราชสาสนนั้น ทำกระดาษข่อยแลสมุดดำฃาวฃาย ๑ บ้านคลองธนูเอกพะเนียด ชาวบ้านนั้นตั้งโรงร้านเรือนแพฃายไม้ไผ่ป่าไม้ไผ่สีสุกไม้รวกฃาย เสาใหญ่น้อยเป็นไม้แก่น แลไม้พรึงรอด ๑ บ้านรามเซาระบุบาตรเหลกน้อยใหญ่ฃาย ๑ บ้านริมวัดพอไชยต่อหุ่นตลุ่มพานแว่นฟ้าสองชั้นฃาย ๑ บ้านนางเอียนฝั่งกำแพงกรุงเลื่อยไม้สักทำฝาเรือนปรุงเรือน ฝากระดานและเครื่องสับฝาสำรวดฃาย ๑ บ้านวัดน้ำวนพวกจีนตั้งโรงตีเหลก ทำขวานหับเหลกป้านแลขวานมะลูฃาย ๑


    อนึ่ง เรือใหญ่ท้ายแกว่งชาวเมืองพระพิศณุโลกยฝ่ายเหนือ บันทุกน้ำอ้อยยาสูบขี่ผึ้งน้ำผึ้งสินค้าต่างๆ ฝ่ายเหนือล่องเรือลงมาจอดฃาย ตั้งแต่น่าวัดกล้วยลงมาจนปากคลองเกาะแก้ว ที่ใต้ปากคลองเกาะแก้วลงมาหน่อยหนึ่งนั้น เรือมอญใหญ่ปากกว้าง ๖ – ๗ ศอก พวกมอญบันทุกมะพร้าวห้าว แลไม้แสมทเลแลเกลือฃาวมาจอดฃาย ๑


    อนึ่งที่บ้านศาลาเกวียนนั้นมีศาลาใหญ่ห้าห้องสองหลัง สำหรับเกวียนเมืองนครราชสีหมาแลเมืองพระตะบองมาจอดที่ศาลานั้น ในระดูเดือนสามเดือนสี่ ต่างแลเกวียนเมืองนครราชสีหมาบันทุกสินค้าต่างๆ คือน้ำรักขี้ผึ้งปีกนก ผ้าตรางผ่าสายบัวสี่คืบน่าเกบทอง แลผ้าตาบัวปอกตาเลดงา แลหนังเนื้อ เอนเนื้อ เนื้อแผ่น ครั่งไหม กำยาน ดีบุก หน่องาของป่าต่างๆ เกวียนเมืองพระตะบองพวกเขมรบันทุกลูกเร่วกระวานไหมกำยาน ครั่งดิบุกหน่องาแลผ้าปูมแพรญวนทองพรายพลอยแดง แลสินค้าต่างๆ ตามอย่างเมืองเขมร พวกโคราชและพวกเขมรเอาสินค้ามาฃายที่ศาลาเกวียน ถ้ามามากศาลาไม่พออยู่ต้องปลูกกระท่อมอยู่ตามแถบนั้น ศาลานั้นเปนของเรี่ยไร พวกลูกค้าเกวียนแลลูกค้ารับรวมกันทำขึ้นแลซร้อมแซรมต่อๆ มา ในระดูลูกค้าต่างแลเกวียนมานั้น ชาวบ้านนั้นทำฃองกินต่างๆ ออกนั่งร้านขายเปนตลาดคราวหนึ่ง


    แถวน่าวัดสมอวัดขนุนวัดขนาน สามวัดนั้น ชาวเมืองอ่างทองแลเมืองลพบุรี เมืองอินทร์ เมืองพรหม เมืองสิงห เมืองสรรค เมืองสุพรรณ เอาข้าวเปลือกบันทุกเรือใหญ่น้อยมาจอดฃายที่นั้น ๑ แลชาวบ้านแถวน่าวัดทั้งสามนั้นตั้งโรงสีโรงกระเดือ่งสีเข้าซ้อมเข้าฃาวชาวพระนคร แลขายพวกโรงต้มสุรา ถึงระดูสำเถาเข้าทำเข้าสารฃายจีนในสำเภาเป็นเสบียง ๑ บ้านปากเข้าสารพวกจีนตั้งโรงต้มสุรา แลเลี้ยงสุกรฃาย ๑


    อนึ่ง เรือระแหงแขวงเมืองตาก แลเรือหางเหยี่ยวเมืองเพชรบูรณ์นายม บันทุกครั่งกำยานเหลกหางกุ้ง เหลกล่มเลยเหลกน้ำภี้ ใต้หวายชันน้ำมันยางยาสูบ เขาหนัง หน่องาสรรพสินค้าตามเพศบ้านเพศเมือง มาจอดฃายตามแถวปากคลองสวนพลู ตลอดมาจนน่าวัดเจ้าพระนางเชิง ๑ บ้านในคลองสวนพลู พวกจีนตั้งเตาต้มสุราเลี้ยงสุกรฃาย แลทำเส้นหมี่แห้งฃาย ๑ บ้านขนมตาล ชาวบ้านนั้นรับเรือเถาเรือพ่วงไว้ฃาย ๑ บ้านสกัดน้ำมันหุงขี้ผึ้งแดงแดงแลขี้ผึ้งขาว เชยน้ำมันงาฃาย ๑ บ้านคลองเกลือ ชาวบ้านนั้นตั้งโรงสีเข้า ซ้อมเข้าฃายพวกโรงสุราแลสำเภาจีน ๑ บ้านยี่ปุ่น ชาวบ้านนั้นเปนชาวไทย ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังตึกยี่ปุ่น ชาวบ้านนั้นรับกงเรือน้อยใหญ่แลกงสำเภาไว้ฃาย แลรับไม้กงกางไว้ขายพวกทำฟันสีเข้า ๑ บ้านข้างกำแพงนอกกรุงตรงหัวเลี้ยวตำบลสารพานั้น จีนตั้งโรงย้อมครามผ้าแลด้ายแลผ้าฃาย ๑


    บ้านน้ำวนบางกะจะมีเรือปากใต้ปากกว้างสามวาสิบศอก พวกลูกค้าจีนแลแขกจามทอดสมอขายน้ำตาลขายน้ำตาลกรวด สาคูเมดใหญ่เลก กำมถันจันทน์แดง หวายตะค้ากระแซงเตยแลสินค้าต่างๆ ข้างปากใต้ ๑ แลแถวนั้นมีแพลอย พวกลูกค้าไทยจีนแขกเทศแขกจาม นั่งร้านแพฃายสรรพสิ่งของต่างๆ กันทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำ ตั้งแต่ท้ายปากคลองวัดสุวรรณดาราราม ตลอดลงมาจนน่าพระราชวังหลัง แถวนี้เปนฝั่งพระนคร แต่ฝั่งตรงพระนครนั้นแพจอดตั้งแต่ท้ายวัดเจ้าพระนางเชิง ตลอดมาจนท้ายวัดพุทไธยสวรรค์แลเลยไปจอดเปนระยะจนน่าวัดไชยวัฒนาราม แลแม่น้ำตรงตลอดมีแพลูกค้าพานิชจอกฝั่งตระวันตก ตั้งแต่ปากคลองตะเคียนเรี่ยรายขึ้นมาถึงน่าวัดแขกตะเกียมีชุกชุมมากขึ้นมาจนถึงท้าววัดกุฎบางกะจะ ตรงวัดเจ้าพระนางเชิงฝั่งตะวันออกตั้งแต่ท้ายเกาะเรียนมีแพรจอดเรี่ยรายขึ้นมาจนถึงท่าเสือข้าม มีแพชุกชุมมากขึ้นมาจนถึงท้ายวัดเจ้าพระนางเชิง ประมาณแพแต่บริเวณกรุงศรีอยุทธยารอบพระนครนั้น ราวสักสองหมื่นเสศพันปลายเปนแน่ ทั้งแพอยู่แลแพค้าขายในแขวงจังหวัดรอบกรุง ไม่น้อยตำลงมาจากสองหมื่นเสศพันเลยเป็นแน่


    ครั้นถึงระดูลมสำเภาพัดเข้ามาในกรุง เปนมรสุมเทศกาลพวกลูกค้าพานิชสำเภาจีนแลลูกค้าแขกสลุป ลูกค้าฝรั่งกำปั่น ลูกค้าแขกกุศราช และพวกลูกค้าแขกสุรัดแขกชวามาลายูแขกเทศฝรั่งเศสฝรั่งโลสงโปรตุเกศวิลันดาอิศปันยอนอังกฤษ แลฝรั่งดำฝรั่งเมืองลังกุนีแขกเกาะ เปนพ่อค้าพานิชคุมสำเภาสลุปกำปั่นแล่นเข้ามาทอกสมออยู่ท้ายคู ขนสินค้าขึ้นมาไว้บนตึกห้างในกำแพงพระนครกรุงศรีอยุทธยา ตามที่ของตนซื้อแลเช่าต่างๆ กัน เปิดร้านห้างตึกขายของตามเพศตามภาษา ๑


    อนึ่ง ที่น่าท่าประตูหอยนั้นมีเรือลูกค้าชาวทเล มาจอดฃายหอยแมงพู่หอยตะพงปูทเลแมงดาปลาทเลย่างแลสดบ้าง ๑ ย่านป่าจากฃายเชือกกระแซงหวายใต้ชันน้ำมันยางหมันเรือตามเรือเรือนแพ แลมีเรือปากกว้างแปดศอกสิบศอกบันทุกจากมาจอกฃาย ๑ ย่านบ้านริมวัดขุนพรม ชาวบ้านย่านนั้นเอาผ้าฃาวเทศมาเขียนพิมพ์ตีพิมพ์เปนดอกผ้าลายน้ำจืดฃาย บ้างต่อโลงไม้อุโลกสำหรับใส่สพไว้ฃายก็หลายบ้าน ๑ ย่านบ้านท่ากายีนอกกำแพงกรุง เปนบ้านแขกเก่า พวกแขกนั้นฟั่นเชือกเปลือกมะพร้าวตีเปนสายสมอ ยาวเส้นหนึ่งบ้าง ยาวสามสิบวาบ้าง ลางทีทำยาวถึงห้าสิบวา ฃายแก่นายกำปั่นสลุปสำเภา แลฟั่นชุดจุดบุหรี่ด้วยเปลือกมะพร้าวฃายขุนนางแลราษฎร ที่ต้องการใช้แลทำบุญ ๑ บ้านท้ายคูพวกแขกจามสานเสื่อลันไตผืนใหญ่น้อยฃายแลสมุกฃาย ๑


    อนึ่งเรือปากใต้ปากกว้าง ๖ ศอก ๗ ศอก ชาวบ้านยี่สารบ้านแหลม เมืองเพชรบุรี แลบ้านตะบูนบ้านบางทะลุบันทุกกะปิน้ำปลาปูเคมปลากุเราปลากะพงปลาทูปลากะเบนย่าง มาจอดเรือฃายแถววัดเจ้าพระนางเชิง ๑ บ้านปูนริมวัดเขียนทำปูนแดงฃาย ๑ บ้านพระกราน ชาวบ้านนั้นจับปลาหมอเกราะหามมาเร่ฃายบ้าง ใส่เรือมาเร่ฃายบ้าง ในระดูกรุตน์สงกรานต์ ชาวกรุงซื้อปล่อยทำบุญ ๑ บ้านริมวัดลอกช่อง พวกแขกตานีทอผ้าไหมผ้าด้ายเป็นผ้าพื้นม่วงเกลี้ยงม่วงดอกฃาย ๑ บ้านน่าวัดราชพรีวัดธรมานอกนั้น ทำโลงไม้ศักไม้อุโลกและเครื่องศพสำหรับศพต่างๆ ไว้ฃาย ๑ บ้านป้อมหัวแหลมพวกแขกเก่าแลลาวเก่า จับนกอันชังแลนกกระจายฆ่าตายเที่ยวเร่ฃาย ๑ แลจับนกสีชมภูนกปากตะกั่ว นกแดงอิฐ นกกระทินกกระจาบเปน ใส่กรงเที่ยวเร่ฃาย ให้ชาวพระนครซื้อปล่อย เมื่อระดูเทศกาลกรุศน์สงกรานต์ที่แม่น้ำหัวแหลมน่าวัดภูเขาทอง ใต้ศาลเจ้านางหินลอยนั้น พวกจีนตั้งโรงต้มสุราแลเลี้ยงสุกรฃาย ๑


    อนึ่ง เรือใหญ่ท้ายแกว่งชาวเมืองสวรรคโลกย์ แลหัวเมืองฝ่ายเหนือ บันทุกสินค้าต่างๆ ฝ่ายเหนือมาจอดฃายริมแม่น้ำแลในคลองใหญ่วัดมหาธาตุในเทศกาลน่าน้ำ ๑ รวมที่ค้าฃายนอกกำแพงกรุง ๕๒ ตำบล



    จากหนังสือ คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  5. #5
    Membership renewed สัญลักษณ์ของ siranee
    วันที่สมัคร
    Jul 2008
    ที่อยู่
    ลาดกระบัง54(วัดศรีวารีน้อย)
    กระทู้
    909
    ขอบคุณคุณครูเล็กจ้าที่นำเรื่องประวัติศาศตร์มาปันให้อ่าน
    ตอนนี้หน่อยกะลังอ่านจดหมายเหตูของลาลูแบร์ ช่วงที่เข้า
    มาในสมัยอยุธยาคือกันจ้า......

  6. #6
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    โอ้ ป๊าด แน่นด้วยเนื้อหาสาระ

  7. #7
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ว่าด้วยเรือต่างๆ ในโรงเรือ

    ว่าด้วยเรือต่างๆ ในโรงเรือ



    ว่าด้วยเรือต่างๆ ในโรงเรือ



    อนึ่ง กรุงศรีอยุทธยานั้นมีโรงเรือต่างๆ อยู่นอกกำแพงพระนครเป็นอันมาก อนึ่ง ที่ย่านบ้านวัดท่าการ้องนั้น ตั้งโรงเรือรบน้ำจืดแถวหนึ่งสามสิบหลัง เสาไม้มะค่าหลังคากระเบื้องลูกฟูก หลังหนึ่งไว้เรือรบได้ ๑๐ ลำบ้าง ๖ ลำบ้าง ตามเรือใหญ่เรือเล็กมีขุนหมื่นแลไพร่หลวงรักษาทุกเดือน ถ้ามีราชการสงครามก็ยาแลเขนออกจากอู่ในโรง ไปใช้ราชการได้พร้อมเพรียง ๒๐๐ ลำ อนึ่ง ใต้ปากคลองตะเคียนนั้นมีโรงเรือรบทเลใหญ่น้อยต่างๆ ไว้ในโรงในอู่เรียงกันตามแม่น้ำใหญ่ ท้ายเรืออยู่ปากอู่ลำเรือขวางแม่น้ำทุกลำใส่โรงละลำบ้าง โรงละสองลำบ้าง มีเรือใหญ่ท้ายสำเภา เปนเรือรบทเลสามสิบลำ เรือเล็กท้ายปลา เรือรบทะเลร้อยลำทำด้วยไม้ตะเคียนทั้งสิ้น โรงนั้นปักเสาไม้มะค่าหลังคามุงกระเบื้องลูกฟูก มีฝาแลประตูมีผู้รักษาทั้งนายแลไพร่ พระยาราชวังสันได้ว่ากล่าวดูแลเปนแม่กอง แต่เรือรบน้ำจืดนั้น พระยามมหาอำมาตย์ได้ว่ากล่าวดูแลรักษา ที่ท้ายบ้านท่าเสือข้ามนั้น มีอู่สำหรับต่อกำปั่นแลสำเภาหลวงเรียงกันสิบแปดอู่ แลสำเภาที่อยู่ริมกำแพงพระนครมีอยู่ ๔ อู่ ที่ใต้ประตูไชยสองอู่ ที่ป่าตองสองอู่ เปนอู่หลวงเก่ามาแต่เดิม


    อนึ่ง โรงเรือนพระที่นั่งซ้ายโรง ๑ ขวาโรง ๑ แต่ละโรงนั้นยาวเส้นหนึ่งก็มี ยาวห้าเส้นก็มี ยาวเส้น ๑๐ วาก็มี โรงนั้นเสาไม้มะค่าแปดเหลี่ยมหลังคามีพไลสองข้างซ้ายขวา มีช่อฟ้าหางหงษทุกโรง ฝาก่อเปนผนังอิฐโบกปูนมีช่องลม โรงเรือขวาเรียงมาตามน้ำถึงน่าวัดตินท่า ไว้เรือรูปสัตว์แลเรือต้นเรือไชย ทั้งสิ้นถึงยี่สิบโรงๆ ละห้าลำบ้างสิบลำบ้าง แต่โรงเรือที่อยู่บนบกริมศาลากระเวนนั้น เสาก่ออิฐฝาอิฐหลังคามุงกระเบื้องมีฉ้อฟ้าโรง ๑ ใส่เรือศีศะพระครุธพาหนะพระที่นั่งกำปาง ๑ ใส่เรือศีศะรูปยักษ์มีปีกเรียกว่าพระที่นั่งงอสุราวายุภักษลำ ๑ โรงเรือซ้ายอยู่บนบกที่คูไม้ร้องเรียงกันมาจนถึงวัดตินท่า ใส่เรือพระที่นั่งศีศะหงษพาหนะ พระที่นั่งกำปางลำ ๑ เริอพระครุธพาหนะสองลำ ๑ สำหรับทรงเสด็จไปประพาษทรงเบดปลาฉนากฉลามตามชายทเล


    อนึ่ง เรือพระที่นั่งกิ่งใหญ่ชื่อแก้วจักรมณีขวาลำ ๑ ชื่อสุวรรณจักรรัตนซ้ายลำ ๑ เรือพระที่นั่งกิ่งรองทรงชื่อสุวรรณพิมานไชยขวาลำ ๑ ชื่อสุมมุติพิมานไชยซ้ายลำ ๑ เรือแก้วตอกกรองขวาลำหนึ่ง ๑ เรือสาลิกาล่องลมซ้ายลำ ๑ เรือทองแผ่นฟ้าซ้ายลำ ๑ เรือทองแผ่นขวาลำ ๑ เรือเอกไชยซ้าย ๔ ลำ ชื่อสีเทพพายกรลำ ๑ ชื่ออำมรรัตนาศนลำ ๑ ชื่อปราสาทอำมรินทรลำ ๑ ชื่อสินธุประเวศลำ ๑ เรือเอกไชยขวา ๔ ลำ ชื่อรัตนพิมานอำมเรศลำ ๑ ชื่อพิเศศบันลังก์ลำ ๑ ชื่ออาศนภุชฌงลำ ๑ ชื่อบันยงนาเวศลำ ๑ แลเรือพระที่นั่งศีศะนาคเจดเศียร ๒ ลำ ชือพิมานวาสุกรีลำ ๑ อีกลำ ๑ ชื่อศรีมงคลนาคินทรลำ ๑ มีบุษบกอยู่กลางลำทุกลำเปนพระแท่นบันลังก์พระที่นั่งทรง ลางลำก็มีจตุมุขแลยอกมณฑป ลางลำก็มีแต่มณฑปบุษบกเปล่าไม่มีมุข แลเรือเหราลอยล่องสมุทลำ ๑ มีหลังคาบัญลังก์สีมุขฉ้อฟ้า แลเรือรูปสัตว์ต่างๆ มากมายเหลือที่จะพรรรณา


    เรือเหล่านี้อยู่ในโรงฉ้อฟ้าทั้งสิ้น ในโรงเรือนั้นขุดอู่ทุกโรงมีทำนบน่าโรงสำหรับปิดน้ำใน โรงนั้นมีเสาเตาม่อทุกโรง ถ้าจะเอาเรือขึ้นคานก็เปิดทำนบน่าโรงเสีย ให้น้ำไหลเข้าไปในอู่เตมแล้ว เอาคานพาดเสาเตาม่อไว้ ครั้นน้ำลงแห้ง ท้องเรือก็ตั้งอยู่อยู่บนคาน แล้วปิดทำนบไว้ไขน้ำออกให้หมดในอู่ แต่เรือพระนั่งสักลาดแลเรือพระที่นั่.กราบซ้ายขวาทั้งปวงนั้นอยู่ตามโรงแถววัดติท่าเรียงต่อมา แลเรือดั้งเรือกั้น เรือกระบวนต่างๆ ก็อยู่ในโรงแถวขวาแลซ้ายเปนอันมาก


    ฝีพายเรือพระที่นั่งนั้น คือพวกบ้านโพเรียงบ้านพุทเลาเป็นพนักงานพาย มีเจ้ากรม ปลัดกรม ปลัดกองนายหมู่นายหมวด แต่พระอินทรเทพได้ว่าพวกฝีพายซ้าย พระพิเรนทรเทพได้ว่าพวกฝีพายขวา ตามตำราในโบราณราชประเพณีสืบมา พวกฝีพายนั้นได้พระราชทานตราภูมคุ้มห้าม ด่านขนอนอากรตลอดไม่ต้องเสีย โปรดพระราชทานให้เปนกำลังราชการ ปีหนึ่งใช้ราชการสามเดือน แต่ฝีพายลำทรงทุกหมู่




    จากหนังสือ คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  8. #8
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ว่าด้วยในพระนครกรุงศรีอยุธยา

    ว่าด้วยในพระนครกรุงศรีอยุธยา



    ว่าด้วยในพระนครกรุงศรีอยุธยา


    ว่าด้วยในพระนครกรุงศรีอยุธยา



    จะกล่าวถึงภูมลำเนาพระนคร ตั้งอยู่บนเกาะหนองโสนในประเทศสยาม มีแม่น้ำล้อมรอบเกาะ เกาะนั้นมีสันถานคล้ายรูปสำเภานาวา ด้านยาวอยู่ทิศเหนือแลทิศใต้ ด้านกว้างข้างรูปศีศะสำเภานั้นอยู่ทิศตะวันออก ด้านกว้างข้างท้ายสำเภาอยู่ทิศตะวันตก มีกำแพงก่อด้วยอิฐบ้างศิลาแลงบ้าง ก่อด้วยอิฐแดงบ้างล้อมรอบเปนพระนคร พระนามกรปรากฏว่า กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยา กำแพงตั้งแต่พื้นดินสูงสุดใบเสมาสามว่า มีชานเชิงเทินช่องเนินบันพทโดยสูง ๘ ศอก มีป้อมค่ายคูประตูใหญ่น้อยเรียงรายล้อมรอบพระนคร พระนครด้านยาวร้อยเส้นเสศ ด้านกว้างห้าสิบเส้นเสศ

    พรรณาตามมีในฉบับพระตำหรับหอหลวงท่านกล่าวว่า กรุงศรีอยุทธยานั้นตั้งต้นทิศตะวันออกเวียนขวาตั้งแต่ป้อมมหาไชยท้ายทำนบรอมาถึงประตูใหญ่ ชื่อประตูท่าช้างวังจันทนบวร คือท่าช้างวังน่า ๑ แลจึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูฉนวนน้ำ ประจำท่าพระราชวังจันทนบวร คือประตูฉนวนวังน่า ๑ จึ่งมาถึงประตูช่องกุฎสามช่อง แล้วจึงมาถึงป้อมวัดฝาง ๑ แล้วจึงมาถึงประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงประตูใหญ่คลองน้ำชื่อประตูหอรัตนไชย ๑ แล้วจึ่งมาถึงประตูช่องกุฎสามช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่ ห้ามไม่ให้เอาศพออกชื่อประตูเจ้าจันทน ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎสองช่อง จึ่งมาถึงป้อมปืนตรงเกาะแก้ว ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงมุมกรุงศรีอยุทธยาด้านตะวันออกเฉียงใต้นั้น โลกยสมมุติเรียกว่า หัวสาระพา ที่ตำบลตรงนั้นคล้ายกับที่ถอกสมอสำเภา สุดท้ายด้านตระวันออกเพียงนี้

    กรุงศรีอยุทธยาด้านยาวทิศใต้ ตั้งแต่มุมกรุงที่ตำบลหัวสาระพามานั้น มีประตูช่องกุฎหนึ่ง จึ่งมาถึงป้อมปืนใหญ่ ๑ แล้วมามีประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงประตูป้อมปืนใหญ่ก่อด้วยศิลาแลงมั่นคงแข็งแรงสูง ๓ วาสองศอก ป้อมนี้สูงกว่ากำแพงกรุง ๒ ศอก มีชานชาลารอบป้อมกว้างสามวา มีกำแพงแก้วล้อมรอบชานป้อม มีปืนแซกตามช่องแปดกระบอก ชั้นล่างปืนใหญ่รางเกวียนบันจุทุกช่อง ๑๖ กระบอก ป้อมใหญ่นี้มีชื่อป้อมเพชร ตั้งอยู่ตรงแม่น้ำตะลาดบางกระจะป้อม ๑ แล้วจึ่งมาถึงประตูคลองน้ำชื่อในไก่ ๑ แล้วประตูช่องกุฎ ๕ ช่อง จึ่งมาถึงป้อมอกไก่ ๑ แล้วมาถึงประตูช่องกุฎ ๒ ช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่คลองน้ำชื่อประตูจีน ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๒ ช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่คลองน้ำชื่อปะตุเทศมี ๑ จึ่งมาถึงท่าด่านชีมีประตูช่องกุฎสองช่อง จึ่งมาถึงป้อมปืนตรงปากคลองคูจาม แล้วมีประตูช่องกุฎ ๑ อยู่ในด่านท่าชี แล้วถึงประตูใหญ่คลองน้ำชื่อประตูไชย ๑ แล้วมาถึงประตูใหญ่คลองน้ำชื่อประตูชะไกรใหญ่ ๑ แล้วมาถึงประตูช่องกุฎ ๒ ช่อง จึงมาถึงป้อมปืนตรงปากคลองลครไชย ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎช่อง ๑ สุดด้านยาวทิศใต้เพียงนี้

    กรุงศรีอยุทธยาด้านกว้างทิศตะวันตก ตั้งแต่เลี้ยววังไชยมาบ้านชี มีประตูช่องกุฎ ๓ ช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูคลองน้ำแกลบ ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๒ ช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูท่าพระราชวังหลัง ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๒ ช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูคลองฉางมหาไชย ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๓ ช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูคลองฝาง ๑ แล้วมาถึงป้อมปืนตรงแม่น้ำหัวแหลม

    กรุงศรีอยุทธยาด้านยาวฝ่ายทิศเหนือนั้น ตั้งแต่ป้อมสัดกบนั้นมาตามด้านเหนือมีประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงประตูใหญ่ออกไปตลาดขายปลาสดชื่อประตูสัดกบ ๑ แล้วมามีประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงป้อมปืนใหญ่ก่อใหม่ชื่อป้อมสุพรัตน ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูห่าน ๑ แล้วมาถึงประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อหมูทะลวง ๑ ประตูนี้สำหรับเชิญพระศพพระเจ้าลูกเธอ แลพระเจ้าหลานเธอลงเรือขบวนแห่ไปถวายพระเพลิงที่ในพระเมรุวัดไชยวัฒนาราม แล้วมีประตูช่องกุฎ ๑ แล้วจึ่งมาถึงประตูใหญ่คลองน้ำอยู่ตรงมุมกำแพงพระราชวังหลวงนั้นชื่อประตูปากท่อ แต่มุมกำแพงพระราชฐานด้านตะวันตกไปจนมุมกำแพงพระราชฐานด้านตวันออกนั้น มีประตูใหญ่ชื่อประตูท่าขันธ ๑ แล้วมามีประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูท่าชัก ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎสามช่อง จึงมาถึงประตูใหญ่ช้างลงอาบน้ำชื่อประตูท่าสิบเบี้ย ๑ ที่ริมท่าสิบเบี้ยนั้น มีโรงช้างระหว่างค่ายนอกกำแพงกรุงริมน้ำโรงสี่ห้องใส่ช้างพลายห้องละช้างสี่ช้าง แล้วถัดมามีประตูช่องกุฎ ๑ ริมกำแพงออกไปทุ่ง จึ่งมาถึงประตูช่องกุฎมหาเถรไม้แซ ๑ ที่ตรงนั้นเขาคิดอ่านแบ่งน้ำให้ไหลเข้ามาใต้ถนนหลวง น้ำนั้นไหลทลุเลยมาตามลำคูปากสระ คิดฝังท่อดินเผามุดมาใต้ถนน ตะพานนาด กระแสน้ำไหลเข้าในท่อที่ฝังนั้นโดยแรง น้ำในท่อไหลออกมาบันจบคลองประตูเขาสมี ถัดนั้นมามีประตูช่องกุฎสองช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูท่ากระลาโหม แล้วมีประตูช่องกุฎอีกสองช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่คลองน้ำชื่อประตูเข้าเปลือก ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงป้อมปืนชื่อป้อมจำปาพล ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๒ ช่อง จึงมาถึงป้อมปืนใหญ่ชื่อป้อมมหาไชย ๑ อยู่ตรงมุมกำแพงพระนครด้านเหนือ สุดด้ายยาวทิศเหนือเท่านี้


    ตามกำแพงรอบกรุงศรีอยุทธยานั้น มีป้อมปืนใหญ่น้อยยี่สิบสามป้อม มีประตูใหญ่มียอดทาแดงยี่สิบสามประตู มีประตูช่องกุฎหกสิบเอดประตู




    จากหนังสือ คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  9. #9
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ว่าด้วยในกำแพงพระนคร ตั้งค่ายผนบบ้านหล่อรักษาพระนคร

    ว่าด้วยในกำแพงพระนคร ตั้งค่ายผนบบ้านหล่อรักษาพระนคร




    ว่าด้วยในกำแพงพระนคร ตั้งค่ายผนบบ้านหล่อรักษาพระนคร


    ว่าด้วยในกำแพงพระนคร ตั้งค่ายผนบบ้านหล่อรักษาพระนคร




    ภายในกำแพงพระนครศรีอยุทธยา มีถนนหลวงชื่อมหารัฐยา อยู่กลางพระนคร กว้างหกวาปูศิลาแลงเรียบร้อยสำหรับมีการใหญ่ ได้ตั้งกระบวนแห่พยุหยาตรา และสะฃนานช้างม้าพระที่นั่งต่างๆ แลแห่กระบวนกฐินบกเปนการแห่ด้วยช้างบ้างแห่ด้วยคานหามบ้าง เปนพระราชกฐินหลวงประจำปีแห่ผ้าไตรยแล้วเจดวัน จึ่งได้เสดจพระราชทานพระกฐินตามพระอารามหลวงทั้งทางบกทางเรือ ถนนหลวงนี้เป็นที่แห่นาคหลวง แลแห่พระบรมศพแลพระศพต่างๆ ตั้งต้นกระบวนแต่ประตูไชยทิศใต้พระนคร



    อนึ่ง ค่ายผนบนั้นตั้งแต่ถนนน่าวังตรา ๑ มาปลายถนนวังตราตั้งค่ายผนบบ้านหล่อตรงตรงประตูท่าสิบเบี้ย ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งสุดหัวถนนป่าตะกั่ว ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งที่หัวเลี้ยวถนนป่าโทน ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั่งหัวถนนป่าเกรียบท่าพระประเทียบ ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งท้านถนนป่าเกรียบ ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนนป่าชมภู ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนนบ้านขันเงิน ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งท้ายถนนป่ายา ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนนป่าฟูก ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งกลางถนนผ้าเขียว ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนนตะแลงแกง ๑ ท้ายถนนตะแลงแกง ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนนป่าตองตรงจวนเจ้าพระยาพระคลัง ๑ ตั้งท้ายถนนป่าตองตรงท่าฉางประตูไชย ๑



    ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งรอบพระราชวังหลวงนั้นคือ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนนโรงม้าไชยฤกษ ตรงประตูจักรมหิมา ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งมุมวัดธรรมิกราช ตรงกำแพงคั่นท้องสนามน่าจักรวัติ ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนนตลาดเจ้าพรม ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งตรงศาลาสารบาญชีริมโรงสัก ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งตรงป้อมกลางตรงวัดสีเชียง ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งตรงมุมจะเลี้ยวมาน่าวัดระฆัง ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งตรงมุมป้อมจะเข้ามาท้ายสระแก้วในพระราชสถาน ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งมุมป้อมปากท่อ จะเลี้ยวมาถนนประตูดินมาหยุดจนพระฉนวนน้ำประท่า ๑ ตั้งค่ายผนบบ้านหล่อล้อมพระราชวังหลวงแปดตำบล ตามถนนหลวงในกำแพงพระนครสิบหกตำบล รวมทั้งสินเป็นยี่สิบสี่ตำบลค่ายผนบบ้านหล่อ



    จากหนังสือ คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •