กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: การปลูกข้าวแบบล้มตอซัง

  1. #1
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ คน ตจว.
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    67

    การปลูกข้าวแบบล้มตอซัง

    การปลูกข้าวแบบล้มตอซัง



    " การปลูกข้าวแบบล้มตอซัง " เป็นเทคโนโลยีชาวบ้านซึ่งเกิดจาก " ภูมปัญญาท้องถิ่น " (Local Wisdom หรือ Indigenous Knowledge)เกษตรกรเป็นผู้ค้นพบโดยบังเอิญ มีเทคนิคและวิธีการปฏิบัติโดยไม่ต้องเตรียมดิน และไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ปลูก อาศัยหลักการปฏิบัติ โดยเกลี่ยฟางข้าวให้กระจายทั่วแปลง และย่ำตอซังให้ราบติดกับพื้นนา ในขณะที่ดินต้องมีความชื้นหมาด ๆ การปลูกข้าวด้วยวิธีนี้เกษตรกรบางพื้นที่เรียกว่า " การปลูกข้าวด้วยตอซัง " และนักวิชาการด้านข้าวเรียกว่า " การปลูกข้าวข่มตอ " (Lodge Ratoon Rice)



    ที่มาของการปลูกข้าวล้มตอซัง



    ในปี 2539 นายละเมียด ครุฑเงิน อายุ 43 ปี อยู่บ้านเลขที่ 46 หมู่ 9 ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เป็นเกษตรกรที่ชั่งสังเกต และสะสมประสบการณ์จากการทำนามาเป็นเวลานาน ได้สังเกต เห็นว่าตอซังของข้าวที่ถูกล้อรถเก็บเกี่ยว (combine) เหยียบย่ำล้มลงราบกับพื้นนาในขณะที่ดินมีความชื้นหมาด ๆ คือ ไม่แห้งและเปียกเกินไป หลังจากการเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จประมาณ 7 - 10 วันนั้นจะมีหน่อข้าวแทงขึ้นมาจาก โคนตอซังในส่วนที่ติดอยู่กับดินและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง เท่าที่ดินยังมีความชื้นเพียงพอ ในขณะที่ตอซังข้าวที่ไม่ถูกล้อรถเก็บเกี่ยวทับ ก็จะมีหน่อแตกงอกออกจากข้อของต้นตอซังข้าว แต่สังเกต เห็นว่าหน่อข้าวนี้จะงอกช้ากว่า และมีขนาดเล็กกว่าหน่อที่งอกออกจากตอซังที่ล้มลง ด้วยล้อรถเก็บเกี่ยวทับอย่างมาก
    ดังนั้นเพื่อเป็นการตอบสนองต่อความอยากรู้ของเกษตรกรเอง และคิดว่าหากสามารถปลูกข้าวจากตอได้ ก็น่าจะช่วยลดต้นทุนการทำนาได้หลายอย่าง เช่น ค่าเมล็ดพันธุ์ค่าเตรียมดิน นายละเมียด ครุฑเงิน จึงได้ทำการทดสอบ 4ฤดูการผลิตโดยใช้ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1ผลปรากฏว่า ได้ผลผลิตสูงไม่แตกต่างจากการใช้เมล็ดหว่าน ซึ่งวิธีการปลูกข้าวเช่นนี้เกษตรกรเรียกว่า " การปลูกข้าวด้วยตอซัง " ปี 2543 มีเกษตรกรในอำเภอลาดหลุมแก้วหลายรายทำนาตามกรรมวิธีของ นายละเมียด ครุฑเงิน รวมพื้นที่ 45,000 ไร่/ฤดูการผลิต และยังได้ขยายผลไปสู่เกษตรกรจังหวัดอื่นๆ เช่น สิงห์บุรี ชัยนาท เป็นต้น



    แหล่งขยายผลและพัฒนาการปลูกข้าวแบบล้มตอซัง


    ปี 2542 เกษตรกรบ้านจ่า ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี นำวิธีการปลูกข้าวด้วยตอซังมาปฏิบัติและพัฒนาเทคนิคบางอย่าง เช่น ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 แทนสูตร 46-0-0 (ปุ๋ยยูเรีย) คิดค้นเครื่องเกลี่ยฟางข้าวติดท้ายรถแทรกเตอร์ เพื่อเกลี่ยฟางข้าวให้กระจายคลุมตอซังทั่วทั้งแปลง และประดิษฐ์เครื่องมือย่ำล้มตอซังขึ้นมาใช้ โดยนำยางล้อรถยนต์ที่เสื่อมสภาพ มาประดิษฐ์เป็นชุดพวงล้อยาง จำนวน 8-10 เส้น ลากทับตอซังโดยติดท้ายรถแทรกเตอร์ เพื่อย่ำล้มตอซังให้ติดแนบกับพื้นนา และรับจ้างเกษตรกรรายอื่น ได้ค่าจ้างไร่ละ 100 บาท ค่าเกลี่ยฟางข้าวไร่ละ 50 บาท โดยเรียกวิธีการนี้ว่า" การปลูกข้าวแบบล้มตอซัง "
    ปี 2543 พื้นที่อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี มีเกษตรกรปลูกข้าวแบบล้มตอซัง พื้นที่ปลูกมากกว่า 10,000 ไร่ และขยายผลไปยังพื้นที่ใกล้เคียง เช่น จังหวัดชัยนาทและจังหวัดสุพรรณบุรี


    ขั่นผู้ได๋ขยัน ไปอ่านต่อหม่องนี่เด้อครับ
    ��û�١����Ẻ���ͫѧ

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวเมืองลำดวน
    วันที่สมัคร
    Sep 2009
    กระทู้
    598
    ขอบคุณสำหรับสาระดีๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆครับ

  3. #3
    แตงโมแคมทาง24
    Guest
    นาโนนดินทรายบายข่อยเฮ็ดได้บ่นอ

  4. #4
    ศิลปิน นักแต่งเพลง สัญลักษณ์ของ thedon
    วันที่สมัคร
    Aug 2007
    กระทู้
    1,421
    บล็อก
    1
    ขอบคุณสำหรับความรู้คร้บ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •