กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: รอนแรมสู่ธิเบต ตอนที่ 4

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    รอนแรมสู่ธิเบต ตอนที่ 4

    รอนแรมสู่ธิเบต ตอนที่ 4



    รอนแรมเร่ มาถึง พระราชวัง
    ชื่อของวัง นอปูลินคา อันยิ่งใหญ่
    แสนคิดถึง ห่วงหา ยอดดวงใจ
    ไม่เคยวาย จากร้าง ยามแรมรอน

    อาณาเขต กว้างใหญ่ สมคำอ้าง
    สามหมื่นหก-พันตาราเมตร แสนกว้างใหญ่
    อาณาเขต ลื่อเลื่อง และเกรียงไกร
    ด้วยดาไล-ลามะที่เจ็ด สร้างให้ชม


    พระองค์สร้าง ไว้พัก ยามชรา
    แสนคิดถึง พี่ยา คงโศกขม
    ด้วยน้องนาง ไกลตา ร้างเชยชม
    นางอกตรม ร้างหวาน รักของเรา

    อยากชวนพี่ ชี้ชม ดอกไม้ป่า
    ในพนา มีทั่ว ทั้งหุบเขา
    มองความใหญ่ ใต้ฟ้า ป่าลำเนา
    สะท้อนเศร้า เพราะสงคราม ต้องหลบหนี


    ราชวัง ยิ่งใหญ่ แสนอ้างว้าง
    เนื่องด้วยสร้าง เสร็จสรรค์ ต้องหลบลี้
    ด้วยลามะ ต่อมา ถูกย่ำยี
    ต้องหลบลี้ ไปพัก ที่อินเดีย

    คิดถึงพี่ ยามที่ นางอ้างว้าง
    คิดถึงภัย สงคราม มีแต่เสีย
    เหมือนใจนาง ร้อนรุ่ม และอ่อนเพลีย
    โหยละเหี่ย เร่เร้า ยามจากไกล


    มาถึงยัง วัดเจ่อป่ง คิดถึงพี่
    อารามใหญ่ แห่งนี้ ถ้าพี่ใกล้
    คงชี้ชม เตรปง ที่เกรียงไกร
    องค์ดาไล ลามะสาม สร้างไว้งาม

    ถ้าพี่ใกล้ ใจเรา พะเน้าพะนอ
    ชี้ชวนพอ หยอกล้อ ตาประสาน
    อารามนี้ ยิ่งใหญ่ แสนงดงาม
    ลามะสถาน เคยอยู่ ถึงหมืนองค์


    มีโรงเรือน ที่ดิน ไว้เพาะปลูก
    พยากรณ์ เป็นศูนย์ ที่พระสงฆ์
    ใช้เป็นที่ อุปสมบท เพื่อปลดปลง
    อีกดำรง ศาสนา พุทธาไว้

    ผู้ที่บวช เป็นนักบวช พยากรณ์
    แบบทรงเจ้า อ้อนวอน เข้าทรงได้
    ลามะต่าง เคยอยู่ วัดเกรียงไกร
    ก่อนจะได้ สร้างตำหนัก โปตาลา


    เพราะสงคราม ลามะ ต้องหลีกหนี
    ไปพักที่ อินเดีย ถิ่นสถาน
    สงครามร้าว ทำให้ ร้างอาราม
    น้องอยากถาม ความรัก อย่ามีภัย

    เดินทางต่อ ด้วยใจ คิดถึงพี่
    ยังวัดที่ เซล่า ทางเหนือได้
    ห่างจากเมือง ลาซา มาอยู่ไกล
    กระท่อมไพร คือสถาน ที่แห่งนี้


    จากกระท่อม สู่วัด อารามสาน
    ปฏิบัติ กรรมฐาน แสนสุขศรี
    เพื่อดำรง คงธรรม คุณความดี
    สร้างในปี หนึ่งพันสี่-ร้อยสิบเก้า

    อยากชวนพี่ ชี้ชวน ใจประสาน
    ให้เบิกบาน สงบ คลายความเศร้า
    ร้อยรักรส รินร้อย ร่ายลำเนา
    กลางหุบเขา ป่าไพร ใจคะนึง


    สงครามนี้ ทำให้ ธิเบตสิ้น
    แทบแดดิ้น ปลดลง ให้คิดถึง
    บัดนี้ร้าง เวิ้งว้าง ใจรำพึง
    ให้คิดถึง ธิเบต แถบขาดใจ

    ฝากฟากฟ้า สีคราม ไปถามข่าว
    ยามนี้น้อง ทนเศร้า ด้วยห่างหาย
    มาร่อนเร่ แรมทาง อยู่ห่างกาย
    พี่อย่าวาย รักนาง ให้ว้างครวญ


    ป่านฉะนี้ คนดี เป็นไฉน
    คงเหงาใจ มองฟ้า ต้องกำสรวล
    เหมือนกับน้อง ใจร้าว ต้องคร่ำครวญ
    พี่อย่าด่วน ตัดรอน จากจรลา



    รอนแรมสู่ธิเบต ตอนที่ 4(จบ)



    ……………………………..




    รอนแรมสู่ธิเบต ตอนที่ 4


    รอนแรมสู่ธิเบต ตอนที่ 4


    รอนแรมสู่ธิเบต ตอนที่ 4


    รอนแรมสู่ธิเบต ตอนที่ 4



    - พระราชวังฤดูร้อนนอปูลินคา ซึ่งมีเนื้อที่ 36,000 ตรม. สร้างใน คศ. 1750 โดยดาไลลามะที่ 7 เพื่อเป็นที่พักในยามชรา ต่อมาลามะองค์ต่อๆมาได้สร้างต่อเติม ภายในพระราชวังแห่งนี้มี 370 ห้อง ตำหนักที่สำคัญมี 3 ส่วน รวมทั้งตำหนักของดาไลลามะองค์ที่ 14 ที่ใช้เงินส่วนตัวสร้างขึ้น และได้ประทับอยู่ 2 ปี ก่อนลี้ภัยไปอินเดีย ปัจจุบันพระราชวังแห่งนี้ได้เปิดเป็นสวนสาธารณะ เป็นที่พักผ่อนของประชาชน


    - วัดเจ่อป้ง หรือ วัดเตรปุง ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของเมืองลาซาก่อสร้างโดยดาไลลามะองค์ที่3 เชื่อว่าอารามเตรปุง เป็นอารามขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่รุ่งเรืองสุดขีดในอดีตเคยมีพระลามะอยู่รวมกันเป็นหมื่นองค์ ภายในประกอบด้วยสำนัก 7 สำนัก มีโรงเรือนที่ดินสำหรับเพาะปลูกและข้าทาสบริวาร เป็นที่ตั้งศูนย์พยากรณ์แห่งธิเบต เป็นสถานที่พระสงฆ์ และสามัญชนสามารเข้ารับการอุปสมบทเป็นนักบวชพยากรณได้ เป็นการพยากรณ์แบบเข้าทรง นักบวชพยากรณ์รุ่นสุดท้ายได้ลี้ภัยไปยังอินเดีย พร้อมกับองค์ดาไลลามะ และมรณภาพตรงที่นั่น เป็นศูนย์กลางการเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นเวลานาน อารามเตรปุงเคยเป็นที่พำนักขององค์ดาไลลามะก่อนที่พระตำหนักโปตาลาจะสร้างเสร็จสมบูรณ์ (ในช่วงสมัยดาไลลามะองค์ที่ 5 ) มีสถูปพระศพขององค์ดาไลลามะองค์ที่ 2 ที่ 4 ตั้งอยู่ในอารามนี้


    - วัดเซล่า ซึ่งอยู่ทางเหนือของลาซา สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1419 โดยอาจารย์พระชองฆาปา สร้างขึ้นบนพื้นที่ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของกระท่อม ที่พระชองฆาปา ศึกษาธรรม และปฏิบัติกรรมฐานอยู่หลายปี ในบริเวณเชิงเขาของหุบเขาลาซา อารามนี้อยู่ในสภาพดีไม่ถูกทำลาย ในสมัยปฏิวัติวัฒนธรรม และเป็นที่รู้จักกันดีทั่วธิเบต เนื่องจากมีสำนักสงฆ์ ที่มีคุณภาพชมการเรียนของพระธิเบต ที่เลียนแบบการเรียนของพุทธศาสนา ที่มีทั้งปุจฉาและ วิสัชนาที่ไม่เหมือนใครในโลก



    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 08-12-2009 at 06:03.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวเมืองลำดวน
    วันที่สมัคร
    Sep 2009
    กระทู้
    598
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลความรู้ครับ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •