ผู้บังคับกองโปลิศคนที่สี่แห่งสยาม




มหาอำมาตย์โท อีริก เซ็นต์ เย ลอสัน
MR.ERIC ST.J.LAWSON
อธิบดีกรมพลตระเวน ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง พ.ศ.2447 - 2456


ผู้บังคับกองโปลิศคนที่สี่แห่งสยาม


นาม

มิสเตอร์ อีริกเซ็นต์ เย ลอสัน


เกิด
กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในตระกูลแพทย์มีชื่อเสียง


บิดา

บิดาชื่อ เซอร์ จอร์ช ลอสัน เป็นจักษุแพทย์ประจำพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียแห่ง ประเทศอังกฤษ และเป็นอาจารย์สอน วิชาศัลยกรรม ที่โรงพยาบาลมิคเวสท์


การศึกษา
สำเร็จการศึกษา ที่ ร.ร.เวสท์มินเตอร์ ประเทศอังกฤษ


การรับราชการ

เป็นตำรวจที่ประเทศพม่า และย้ายไปเป็นตำรวจที่ ประเทศอินเดีย ทั้ง 2 ประเทศ ขณะนั้นเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ.2447 เดินทางเข้ามา ในประเทศไทย (สยาม) และได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็น ผู้บังคับการกรมกองตระเวน แทนนาย เอ.เย.ยาดิน ซึ่งได้ขอลาออก จากราชการเดินทางกลับประเทศอินเดีย



ปรับปรุงกิจการตำรวจ


ดำเนินการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลายประการ เช่น

- จัดตั้งกองพิเศษ ระบบการทำงานคล้ายคลึงกับ กองสืบสวนคดีของตำรวจ ในกรุงลอนดอน
- พิสูจน์วัตถุพยาน ด้วยระบบลายพิมพ์นิ้วมือ
- จัดพิมพ์กฎหมายโปลิศ เป็นภาษาไทย - อังกฤษ
- ตั้งโรงเรียนพลตำรวจ และโรงเรียนนายตำรวจ
- ใช้กฏหมายลักษณะอาญาพิจารณาลงโทษผู้กระทำผิด

ในปี พ.ศ. 2452 (ค.ศ.1909) ประกาศใช้ พ.ร.บ.เกณฑ์ทหารทั่วประเทศ อนุญาตให้ผู้ที่เกณฑ์ทหาร แล้วคัดเลือกให้เข้ารับราชการ เป็นตำรวจได้ โดยจะส่งตัวเข้ารับการ ฝึกอบรมใน ร.ร.พลตำรวจ 1 ปี จึงจะส่งไปรักษาการ เมื่อรักษาการครบกำหนด 2 ปีแล้ว จะพิจารณาผู้ที่มีความประพฤติดี มีคุณสมบัติเหมาะสม ให้รับราชการต่อไปได้ (หลักเกณฑ์นี้ ปรากฏว่าในปัจจุบันยังใช้อยู่)


การปกครอง

การปกครองประเทศสมัยนั้น แบ่งออกเป็น มณฑล, กระทรวง, ทบวง, กรม เช่น กระทรวงนครบาล ปกครองมณฑลกรุงเทพฯ โดยเฉพาะ กระทรวงมหาดไทย ปกครองมณฑลอื่นๆ ทั่วราชอาณาจักร


การรักษาความสงบภายใน

กระทรวงนครบาล ทำการควบคุมกรมกองตระเวน มีเจ้าหน้าที่รักษาความสงบ เรียกว่า "พลตระเวน" ต่อมาเรียกว่า "ตำรวจนครบาล" สำหรับกระทรวงมหาดไทย ทำการควบคุมกรมตำรวจภูธร มีเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียกว่า "ตำรวจภูธร"
กรมตำรวจภูธร มี ร.ร.ฝึกหัดอบรมผู้บังคับบัญชาตำรวจภูธร เรียกว่า "ร.ร.นายร้อยตำรวจภูธร" ส่วนกรมกองตระเวน ก็มี ร.ร.ฝึกหัดอบรม ผู้บังคับบัญชาพลตระเวน เรียกว่า "ร.ร.นายหมวด" ต่อมาเรียกว่า "ร.ร.นายร้อยตำรวจพระนครบาล" การเรียกชื่อ โรงเรียนตำรวจ และกระทรวงมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้


การปกครอง

การปกครองประเทศสมัยนั้น แบ่งออกเป็น มณฑล, กระทรวง, ทบวง, กรม เช่น กระทรวงนครบาล ปกครองมณฑลกรุงเทพฯ โดยเฉพาะ กระทรวงมหาดไทย ปกครองมณฑลอื่นๆ ทั่วราชอาณาจักร


การรักษาความสงบภายใน

กระทรวงนครบาล ทำการควบคุมกรมกองตระเวน มีเจ้าหน้าที่รักษาความสงบ เรียกว่า "พลตระเวน" ต่อมาเรียกว่า "ตำรวจนครบาล" สำหรับกระทรวงมหาดไทย ทำการควบคุมกรมตำรวจภูธร มีเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียกว่า "ตำรวจภูธร"
กรมตำรวจภูธร มี ร.ร.ฝึกหัดอบรมผู้บังคับบัญชาตำรวจภูธร เรียกว่า "ร.ร.นายร้อยตำรวจภูธร" ส่วนกรมกองตระเวน ก็มี ร.ร.ฝึกหัดอบรม ผู้บังคับบัญชาพลตระเวน เรียกว่า "ร.ร.นายหมวด" ต่อมาเรียกว่า "ร.ร.นายร้อยตำรวจพระนครบาล" การเรียกชื่อ โรงเรียนตำรวจ และกระทรวงมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

- กระทรวงนครบาล รวมกับกระทรวงมหาดไทย เรียกว่า "กระทรวงมหาดไทย"

- กรมกองตระเวน (หรือตำรวจนครบาล) รวมกับตำรวจภูธร เรียกว่า "กรมตำรวจ"

- ร.ร.นายร้อยตำรวจภูธร รวมกับ ร.ร.นายหมวด (หรือ ร.ร.นายตำรวจพระนครบาล) เรียกว่า "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ"

- เมื่อครั้งแยกกัน ยังไม่รวมกันนั้น ร.ร.นายร้อยตำรวจภูธร ตั้งอยู่ที่ จว.นครปฐม หรือที่เรียกกันว่า ร.ร.นายร้อยห้วยจรเข้

-ส่วน ร.ร.นายหมวด ตั้งอยู่ที่เชิงสะพานไผ่สิงห์โต ถนนราชดำริ กรุงเทพฯ ปัจจุบันคือซอยสารสิน ด้านหน้าติดถนนราชดำริ เป็นบ้านพักของ มิสเตอร์อีริกเซนต์ เย ลอสัน ผู้บังคับการกรมกองตระเวน ด้านหลังเป็น ร.ร.นายหมวด เรือนไม้ 2 ชั้น จำนวน 3 หลัง



การเรียกยศ ตำแหน่ง

นายหมวด เทียบกับยศทหารบก เท่ากับ ร้อยตรี
สารวัตรแขวง เทียบกับยศทหารบก เท่ากับร้อยโท
สารวัตรใหญ่ เทียบกับยศทหารบก เท่ากับ ร้อยเอก
ปลัดกรม เทียบกับยศทหารบก เท่ากับ พันตรี
เจ้ากรม เทียบกับยศทหารบก เท่ากับ พันโท
รองผู้บังคับการกรม เทียบกับยศทหารบก เท่ากับ พันเอก
ผู้บังคับการกรม เทียบกับยศทหารบก เท่ากับ นายพล



การแต่งเครื่องแบบ และการดำรงตำแหน่ง

เมื่อแต่งเครื่องแบบตำรวจ ในยุคของ อี ริก เซ็นต์ เย ลอสัน ได้ใช้ต่อเนื่องเช่นเดียวกับสมัยของ นาย เอ.เย.ยาดิน ทุกประการ นายอีริกเซ็นต์ฯ เป็นผู้รักษาระเบียบวินัยเคร่งครัด มีความเมตตาปราณี เป็นที่รักใคร่แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา การบริหารงานตำรวจ เจริญก้าวหน้าเป็นอันมาก จึงได้รับพระราชทานยศเป็น มหาอำมาตย์โท และนายพลตำรวจตรี ครั้งสุดท้ายได้ดำรงตำแหน่งเป็น อธิบดีกรมพลตระเวน และท่านได้พ้นหน้าที่ราชการ ไปเมื่อ พ.ศ.2456 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) อันสืบเนื่องมาจากข้าวยากหมากแพง เศรษฐกิจ ภายในประเทศตกต่ำทรุดโทรม แต่ท่านยังได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาราชการ ในกรมตำรวจภูธร และกรมพลตระเวน เมื่อ 21 ต.ค.2458 รวมเวลารับราชการของท่าน ได้ 11 ปีเศษ



ขอบคุณ sampran.go.th