กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: โอวาทปาฏิโมกข์

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ญา ทิวาราช
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    825
    บล็อก
    17

    สว่างใจ โอวาทปาฏิโมกข์

    โอวาทปาฏิโมกข์


    โอวาทปาติโมกข์ หรือ โอวาท ๓ คือ หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา เรียกว่า เป็นคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาก็ว่าได้ โอวาท ๓ นี้ เป็นพระพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑๒๕๐ รูป ที่มาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุวนาราม ในวันเพ็ญ เดือน ๓ (วันมาฆบูชา) ในครั้งนั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ โดยตรัสเป็นพระคาถา รวม ๓ พระคาถาครึ่งดังต่อไปนี้ขันติคือความทนทานเป็นตบะอย่างยิ่ง
    พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า พระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง

    ผู้ทำร้ายผู้อื่น ผู้เบียดเบียนผู้อื่น
    ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ไม่ชื่อว่าเป็น สมณะเลย

    การไม่ทำบาปทั้งสิ้น
    การยังกุศลให้ถึงพร้อม
    การทำจิตของตนให้ผ่องใส
    นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

    การไม่กล่าวร้าย ๑
    การไม่ทำร้าย ๑
    ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑
    ความเป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร ๑
    ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑
    การประกอบความเพียรในอธิจิต ๑
    หกอย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
    หลักการ ๓
    โอวาทปาติโมกข์ หมายถึง หลักคำสอนคำสำคัญของพระพุทธศาสนาอันเป็นไปเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น หรือคำสอนอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ วิธีการ ๖ ดังนี้

    หลักการ ๓

    ๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น การลด ละเลิก ทำบาปทั้งปวง ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งความชั่ว มีสิบประการ อันเป็นความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจความชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม
    ความชั่วทางวาจา ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ
    ความชั่วทางใจ ได้แก่ การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม

    ๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดี ทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี ๑๐ อย่าง อันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจการทำความดีทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายเบียดเบียน ผู้อื่นมีแต่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการไม่ประพฤติผิดในกาม
    การทำความดีทางวาจา ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อพูดแต่คำจริง พูดคำอ่อนหวาน พูดคำให้เกิดความสามัคคีและพูดถูกกาลเทศะ
    การทำความดีทางใจ ได้แก่ การไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่นมีแต่คิดเสียสละการไม่ผูกอาฆาตพยาบาทมีแต่คิดเมตตาและปรารถนาดีและมีความเห็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

    ๓. การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบ มี ๕ ประการ ได้แก่
    ๑). ความพอใจในกาม (กามฉันทะ)
    ๒). ความอาฆาตพยาบาท (พยาบาท)
    ๓). ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน (ถีนะมิทธะ)
    ๔). ความฟุ้งซ่าน รำคาญ (อุทธัจจะกุกกุจจะ) และ
    ๕). ความลังเลสงสัย (วิกิจฉา) เช่น สงสัยในการทำความดี ความชั่วว่ามีผลจริงหรือไม่





    อุดมการณ์ ๔
    ๑. ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกายวาจา ใจ
    ๒. ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้ายรบกวน หรือ เบียดเบียนผู้อื่น
    ๓. ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ
    ๔. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จาการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘



    วิธีการ ๖

    ๑. ไม่ว่าร้าย ได้แก่ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือ กล่าวโจมตีใคร
    ๒. ไม่ทำร้าย ได้แก่ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
    ๓. สำรวมในปาติโมกข์ ได้แก่ ความเคารพระเบียบวินัย กฎ กติกา กฎหมาย รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของสังคม
    ๔. รู้จักประมาณ ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหาร หรือการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ
    ๕. อยู่ในสถานที่ที่สงัด ได้แก่ อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
    ๖. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ ได้แก่ ฝึกหัดชำระจิตให้สงบมีสุขภาพ คุณภาพและประสิทธิภาพที่ดี


    ข้อมูลจาก watpaknam.net

  2. #2

    สว่างใจ บทสวดโอวาทปาฏิโมกข์

    บทสวดโอวาทปาฏิโมกข์


    สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง,
    การไม่ทำบาปทั้งปวงหนึ่ง,


    กุสะลัสสู ปะสัมปทา,
    การทำบุญทำกุศล, ให้บริบูรณ์หนึ่ง,


    สะจิตตะ ปะริโยทะปะนัง,
    การทำจิตใจให้สะอาด, ผ่องใสหนึ่ง,


    เอตัง พุทธานะสาสะนัง,
    สามอย่างดังที่ว่ามานี้, เป็นยอดคำสอน, ของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์


    ขันตีปะระมัง ตะโปตีติกขา,
    ความอดทนคือความอดกลั้น, เป็นความเพียรเครื่องเผากิเลส, อย่างยอดเยี่ยม


    นิพพานังปะระมัง วะทันติพุทธา,
    พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์, กล่าวพระนิพพาน, ว่าเป็นธรรมยอดเยี่ยม


    นะหิปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี,
    ผู้ยังทำร้ายบุคคนอื่น และสัตว์อื่นไม่ชื่อว่าเป็นพรรพชิต, ผู้ออกบวช


    สะมะโณโหติ ปะรังวิเหฐะยันโต,
    ผู้ยังเบียดเบียนบุคคลอื่น, และสัตว์อืนไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ, ผู้สงบ


    อะนูปะวาโท,
    การไม่นินทาว่าร้ายผู้อื่นหนึ่ง


    อะนูปะฆาโต
    การไม่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นหนึ่ง


    ปาฏิโมกเข จะ สังวะโร,
    การสำรวมในสกขาวินัยหนึ่ง,


    มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง
    การรู้จักประมาณ ในการบริโครอาหารหนึ่ง


    ปันตัญ จะ สะยะนาสะนัง
    การนั่งและการนอน บนที่นั่งที่นอน อันสงบ สงัดหนึ่ง


    อะธิจิตเต จะ อาโยโค
    การประกอบความเพียร ในการทำจิตให้ประเสริฐสูงสุดหนึ่ง


    เอตัง พุทธา นะสาสะนัง
    หกอย่างดังที่ว่ามานี้ เป็นยอดคำสอนของ พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์


Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •