มรรคแปดทางสู่การดับกิเลส


1.สัมมาทิฎฐิ คือความเห็นว่าสังสารวัฎเป็นทุกข์,เกิด,แก่,เจ็บ,ตาย และการเบียดเบียนกันเป็นที่มาของทุกข์(ท่านจัดเป็นปัญญาขั้นต้น)

2.สัมมาสังกัปปะ คือความคิดที่จะออกจากความทุกข์,ความคิดที่จะออกจากกาม,ความคิดในการไม่เบียดเบียนกัน(จัดไว้ในกุศลกรรมบทข้อที่เก้า)....เป็นการคิดดี

3.สัมมาวาจา คือการพูดแต่ความจริงไม่โกหก(ศีลข้อสี่)..ไม่พูดส่อเสียด(กุศลกรรมบทข้อห้า)...ไม่พูดคำหยาบ(กุศลกรรมบทข้อหก)...ไม่พูดเพ้อเจ้อ(กุศลกรรมบทข้อเจ็ด).....ท่านจัด"สัมมาวาจา"อยู่ในหมวดของศีล....เป็นการพูดดี

4.สัมมากัมมันตะ คือการประพฤติในทางที่ดี ไม่ทำลายชีวิตอื่น(ศีลข้อหนึ่ง,กุศลกรรมบทข้อหนึ่ง).........ไม่เบียดเบียนทรัพย์ของผู้อื่นด้วยการขโมย(ศีลข้อสอง,กุศลกรรมบทข้อสอง).........ไม่ประพฤติผิดในบุตร,ภรรยา,สามี ของผู้อื่น(ศีลข้อสาม,กุศลกรรมบทข้อสาม).........จัดอยู่ในหมวดของศีล เป็นการทำดี

5.สัมมาอาชีวะ คือการประกอบอาชีพที่สุจริตเป็นอาชีพที่ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น...ท่านจัดอยู่ในหมวดของศีล เป็นการทำดี

6.สัมมาวายามะคือการมีความเพียรในทางที่ถูก(สัมมัปธานสี่) ...เพียรรู้และเพียรละอกุศลธรรม....เพียรรู้และเพียรทำให้เจริญในกุศลธรรม......ท่านจัดอยู่ในหมวดสมาธิ

7.สัมมาสติ คือการมีสติระลึกรู้ในกาย,ในความรู้สึกสุขทุกข์,ในความคิด,และในตัวผู้รู้(สติปัฎฐานสี่).....ท่านจัดอยู่ในหมวดของสมาธิ

8.สัมมาสมาธิ คือการมีสมาธิที่ประกอบไปด้วยสติให้หนุนเนื่องกันตลอดโดยมีธรรมโพชฌงค์เจ็ดเป็นหลัก(สติ...การวิจัยธรรม...วิริยะ...ปิติ...ความสงบใจ...จิตตั้งมั่น...จิตวางเฉย)เมื่อถึงที่สุดให้ผลเป็นอุเบกขาจิต เป็นจิตที่พร้อมจะเอาไปใช้งานพิจารณาในไตรลักษณ์(อนันตลักขณะสูตร) ......ท่านจัดมรรคข้อแปดอยู่ในหมวดของปัญญา

ดังจะเห็นได้ว่า "มรรคแปด" ได้รวมหมวดธรรมที่จำเป็นในการปฏิบัติไว้ทั้งหมด ทั้งศีล-สมาธิ-ปัญญา,กุศลกรรมบทสิบ,สัมมัปปธานสี่,สติปัฎฐานสี่,โพชฌงค์เจ็ด....เมื่อนักธรรมปฏิบัติในมรรคจนมาถึงปลายทาง เฉกเช่นเดียวกับที่ท่านปัญจวัคคีย์ทั้งห้าได้ฟังธรรมจักรกัปวัตนสูตรต่อหน้าพระพุทธองค์ จิตจึงพร้อมที่จะเอามาพิจารณาในความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่มีตัวตนในขันธ์ห้าเป็นการขุดรากถอนโคนกิเลสไม่ให้เหลือเชื้ออีกต่อไป...ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นกับกำลังจิตและวาสนาบารมีของแต่ละคน






ที่มา พลังจิต คอม