มื้อคืนนินั่งเบิ่งหนังเรื่อง "ครูบ้านนอก" เป็นต้นฉบับที่ปิยะเล่นเป็นพระเอก
เป็นหนังอีกเรื่องหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของครูบ้านนอกฯ และการต่อสู้
เพื่อส่งลูกศิษย์ให้ถึงฝั่ง ในฐานะเรือจ้างฯ เบิ่งหนังสามเรื่องนิ "ครูบ้านนอก" "ลูกอีสาน" และ "กล่องข้าวน้อยฆ่าแม่" ผมกะอดน้ำตาซึมๆ บ่ได้ย้อนว่าสะท้อนชีวิตความทุกข์ความยากได้ลึกซึ้งอิหลี...


“ครูบ้านนอก” อุดมการณ์ในวัยหนุ่มของครูปิยะ

ครูบ้านนอก

วันครู ปีนี้เวียนมาอีกครั้ง หน่วยงานหลายแห่งทางด้านการศึกษาทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ต่างจัดกิจกรรมเพื่อประกอบพิธีระลึกถึงพระคุณของคุณครูในฐานะของศิษย์มีครู
หาก ย้อนกลับไปยังความเป็นมาของการจัดงานวันครูของเมืองไทยพบว่าเมื่อปี 2499 ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้เห็นความสำคัญและบุญคุณของคุณครูในฐานะเป็นผู้ที่ให้ความรู้และแนะนำสั่ง สอนลูกศิษย์ตลอดมา คุรุสภาจึงได้พิจารณาและมีมติให้จัดงานวันครูครั้งแรกขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2500 ทั้งนี้โดยถือเอาวันที่มีการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2488 เป็นวันครูของเมืองไทย
ครูบ้านนอก
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผมมีโอกาสดูภาพยนตร์เรื่อง “ครูบ้านนอก” ในรายการแกะกล่องหนังไทย ทางทีวีไทย ทีวี สาธารณะ นับว่าเป็นช่วงจังหวะที่ใกล้กับช่วงการจัดงานวันครูพอดี และภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวถือว่ามีคุณค่าด้านเนื้อหาที่สะท้อนถึงวิถีชีวิต ของชาวชนบทอีสาน ผ่านฉากและการดำเนินเรื่องอย่างตรงไปตรงมา
ภาพยนตร์เรื่อง “ครูบ้านนอก” สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2521 โดยบริษัทดวงกมลมหรสพ มีกมล กุลตังวัฒนา เจ้าของโรงภาพยนตร์ “เพชรรามา” ที่จังหวัดมุกดาหารในยุคนั้นเป็นผู้อำนวยการสร้าง มีสุรสีห์ ผาธรรมเป็นผู้กำกับการแสดง โดยนำเนื้อหาจากงานประพันธ์ของ “ครูคำหมาน คนไค” นักเขียนชื่อดังเมืองอำนาจเจริญมาดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์
ครูบ้านนอก
นิยายเรื่อง "ครูบ้านนอก" ผลงานของ "ครูคำหมาน คนไค"
คำหมาน คนไค เป็น นามปากกาของสมพงษ์ พละสูรย์ เป็นชาวบ้านดอนเมย ตำบกนาจิก อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดอำนาจเจริญ) โดยกำเนิด หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนเบญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี จึงได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักเรียนทุนเข้ามาเรียนต่อที่โรงเรียนฝึกหัดครู บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ธนบุรี จนสำเร็จชั้นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง แล้วจึงเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร จากนั้นบินลัดฟ้าไปศึกษาระดับปริญญาโทที่ Colorado stae College รัฐ Colorado ประเทศสหรัฐอเมริกา

ครูบ้านนอก
สมพงษ์ พละสูรย์ หรือ "ครูคำหมาน คนไค" ผู้เขียนเรื่อง "ครูบ้านนอก"
ภายหลังสำเร็จการศึกษา “คำหมาน คนไค” รับ ราชการเป็นครูประถมศึกษาที่บ้านเกิด ก่อนที่จะโอนเข้ามาทำงานเป็นศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 10 และดำรงตำแหน่งนักวิชาการที่กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ตำแหน่งสุดท้ายก่อนที่จะเกษียณอายุราชการคือที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการประชา สัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ในปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษมาหาวิทยาลัยราชธานี และเป็นวิทยากรตามรับเชิญในหน่วยงานทางการศึกษาทั้งในท้องถิ่นและระดับ ประเทศ
ในด้านงานเขียน คำหมาน คนไค” เริ่มต้นงานเขียนเมื่อนครั้งเป็นนักเรียนชั้น ม. 6 ที่จังหวัดอุบลราชธานี มีผลงานตีพิมพ์ในวารสาร “กระดึงทอง” และ “ชาวกรุง” มา ตั้งแต่ปี 2510 มีจากนั้นมีผลด้านการเขียนบทความ สารดี หนังสือเด็กและเยาวชน และนวนิยายเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีผลงานรวมเล่มเล่มแรกคือ “จดหมายจากครูคำหมาน คนไค”
สำหรับภาพยนตร์เรื่อง “ครูบ้านนอก”เป็นการร่วมมือกันครั้งแรกของสองนักพากย์เมืองอีสานคือ กมล กุลตังวัฒนา” หรือ “ดวงกมล” และสุรสีห์ ผาธรรม หรือ“สกุลรัตน์” ทั้ง สองคนมีแนวความคิดที่จะสร้างภาพยนตร์ที่มีการดำเนินเรื่องและใช้ฉากในชนบท อีสานโดยฝีมือของคนอีสาน ซึ่งก่อนหน้าที่จะสร้างภาพยนตร์เรื่อง “ครูบ้านนอก” นั้นดวงกมลมหรสพได้ประสบความสำเร็จในด้านรายได้และคำนิยมจากการสร้างภาพยนตร์เรื่อง“มนต์รักแม่น้ำมูล” และ “ลูกทุ่งเพลงสวรรค์” โดยการกำกับการแสดงของ “ครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา”
ครูบ้านนอก
สุรสีห์ ผาธรรม ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง "ครูบ้านนอก" ในวัยหนุ่ม
หลังจากประสบความสำเร็จจากภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องดวงกมลมหรสพจึงได้สร้างภาพยนตร์เรื่องต่อมาคือ “ครูบ้านนอก” มอบหมายหน้าที่ให้สุรสีห์ ผาธรรม เป็นผู้กำกับการแสดง มีปิยะ ตระกูลราษฏร์ และวาสนา สิทธิเวช เป็นดารานำ นอกจากนั้นยังมีสมชาติ ประชาไท, เพียงพธู อำไพ และนพดล ดวงพร ร่วมแสดง โดยใช้สถานที่คือบ้านดอนเมย ตำบลนาจิก อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดอำนาจเจริญ) ซึ่งเป็นบ้านเกิดของ “คำหมาน คนไค” เป็นสถานที่ถ่ายทำ


ครูบ้านนอก
ครูปิยะเดินทางสู่บ้านหนองหมาว้อในวันแรก
ครูบ้านนอก
“ครูบ้านนอก” เป็น ภาพยนตร์แนวสะท้อนสังคมชนบทอีสาน และได้สร้างปรากฎการณ์ในวงการภาพยนตร์เมื่อสามสิบปีก่อน ในด้านรายได้ในประเทศ และได้รับความชื่นชมจากนักวิจารณ์ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ในขณะที่กระทรวงศึกษาธิการและผู้ที่เกี่ยวข้องมีการคัดค้านการนำภาพยนตร์ เรื่องนี้ไปฉายยังต่างประเทศ ด้วยกลัวว่าจะเสียภาพพจน์อันดีงามของประเทศ เพราะมีเนื้อหาแสดงแสดงออกถึงวิถีการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ของชนบทอีสาน ที่ไม่พัฒนาทัดเทียมกับนานาประเทศ

ครูบ้านนอก
ครูพิศิษฐ์ในวันแรกที่สู่บ้านหนองหมาว้อ
ครูบ้านนอก
ครูดวงดาวในวันเดินทางสู่บ้านหนองหมาว้อ
เนื้อหาในภาพยนตร์เรื่อง “ครูบ้านนอก” กล่าว ถึงเรื่องราวของหนุ่มสาวที่สำเร็จการศึกษาสู่โลกภายนอกเพื่อพัฒนาคุณภาพการ ศึกษาในชนบทภาคอีสาน ซึ่งนอกจากจะต้องเผชิญกับปัญหาจากธรรมชาติ ความแห้งแล้ง แล้วยังประสบกับปัญหาของผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ภาพยนตร์ เปิดเรื่องในงานเลี้ยงส่งนักศึกษาในวิทยาลัยครูแห่งหนึ่ง ทุกคนสนุกสนานกับการสังสรรค์จากการจัดงานอำลาสถานบันจากวงดนตรีสมัยใหม่ ในขณะที่ครูปิยะเดินเลี่ยงออกจากงานมายืนชมนิทรรศการวิถีชีวิตของชาว อีสานอย่างสนใจ นับเป็นแรงบันดาลใจให้เขาตัดสินใจ สอบบรรจุเป็นเพื่อรับราชการครูที่ภาคอีสาน โดยบรรจุครั้งแรกที่โรงเรียนบ้านหนองหมาว้อ พร้อมกับครูดวงดาวหญิงสาวรูปร่างบอบเบา และครูพิสิษฐ์ ครูหนุ่มมาดสำอางค์ โดยมีครูคำเม้าเป็นครูใหญ่
ครูบ้านนอก
ครูบ้านนอก
ครูบ้านนอก
สภาพโรงเรียนบ้านหนองหมาว้อ ตำบลผักอีฮีน
โรงเรียน บ้านหนองหมาว้อมีเพียงอาคารเรียนชั่วคราวชั้นเดียวพื้นติดดิน นักเรียนต้องเรียนรวมกันโดยไม่มีการแบ่งกั่นห้องเป็นพื้นที่เป็นสัดส่วนใน แต่ละห้อง สภาพนักเรียนสวมเสื้อผ้าขาด ร่างกายมอมแมม
ครู ปิยะคือตัวแทนของหนุ่มสาวที่มีความมุ่งมั่นในอุดมการณ์เพื่อพัฒนาการศึกษา และสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้า มีการนำความรู้ภูมิปัญญาการเล่านิทานในท้องถิ่นของผู้เฒ่าแห่งหมู่บ้าน มาเป็นประยุกต์เป็นการสอนการท่องจำในชั้นเรียน ในขณะที่ครูใหญ่คำเม้าครูรุ่นเก่าที่ทำหน้าที่สอนหนังสือโดยยึดหลักปรัชญา “เลข คัด เลิก” ส่วน ครูพิสิษฐ์ครูหนุ่มเจ้าสำราญที่เคยใช้ชีวิตในสังคมเมืองที่ต้องจำใจมาสอบ บรรจุครู ต่อมาครูพิสิษฐ์มีคำสั่งให้ย้ายไปสอนในเมืองเพราะมีเรื่องชกต่อยกับเจ้า หน้าที่ที่มาตรวจราชการที่โรงเรียนลวนลามครูดวงดาว
ครูบ้านนอก
ครูบ้านนอก
ครู ปิยะได้เก็บความสงสัยไว้ในใจเกี่ยวกับรถขนไม้ที่วิ่งผ่านเข้ามาในหมู่บ้าน เพราะครั้งหนึ่งเกิดเหตุการณ์ท่อนซุงขนาดใหญ่หล่นจากรถบรรทุกตกลงมาในสนาม โรงเรียน ครูปิยะจึงพบว่าทั้งหมดเป็นไม้เถื่อน จึงแอบเข้าไปถ่ายรูปในปางไม้ของผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นเพื่อส่งข่าวไปให้ หนังสือพิมพ์ จึงทำให้ครูปิยะต้องหนีภัยมืดออกจากบ้านหนองหมาว้อไปอาศัยอยู่กับหลวงตาอยู่ ในเมือง
แต่ ด้วยอุดมการณ์และจิตสำนึกของความเป็นครู ครูปิยะจึงกลับคืนมาสอนที่โรงเรียนโรงเรียนบ้านหนองหมาว้ออีกครั้งท่ามกลาง การต้อนรับของครูและนักเรียน เพียงแต่ครูปิยะขี่จักรยานเข้าสู่รั้วโรงเรียนเท่านั้นมือปืนหน้าเหี้ยมได้ สาดกระสุนสู่ร่างของครูปิยะจนจักรยานล้มลงสู่พื้นดิน ท่ามกลางความตกตะลึงของครูและนักเรียน
ครูบ้านนอก ครูบ้านนอก
ครูบ้านนอก ครูบ้านนอก
ดารานำจากภาพยนตร์เรื่อง "ครูบ้านนอก" ปิยะ ตระกูลราษฏร์, นพดล ดวงพร, สมชาติ ประชาไท และวาสนา สิทธิเวช
ภาย หลังครูปิยะเสียชีวิตครูคำเม้า และครูดวงดาวยังคงสานต่ออุดมการณ์ของครูปิยะ และหนุ่มสาวที่มีอุดมการณ์แรงกล้าเหมือนกับครูปิยะในภาพยนตร์เรื่องกดัง กล่าว นับวันที่จะหาได้ยากในสังคมไทย ท่ามกลางกระแสสังคมที่สับสนและวุ่นวาย สังคม ชุมชน และโรงเรียนยังรอครูพันธุ์ใหม่เช่นเดียวกันกับครูปิยะพันธุ์ใหม่มาคอยเยียว

ครูบ้านนอก
วาระสุดท้ายแห่งชีวิตของครูปิยะ
“ครูบ้านนอก” นับ เป็นภาพยนตร์ที่ทรงคุณค่าที่แหวกการสร้างหนังไทยในยุคนั้นผ่านนักแสดงหน้า ใหม่นำเสนอผ่านเรื่องราววิถีชีวิตของชาวอีสานตามความเป็นจริง จึงไม่แปลกที่ภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถทำรายได้สูงถึง 9 ล้านบาท เมื่อปี 2521 และยังได้รับรางวัล “ภาพยนตร์สร้างสรรค์” และ “ผู้กำกับยอดเยี่ยม” จากประเทศรัสเซีย คือรางวัลแห่งคนกล้าในอุดมการณ์ในวัยหนุ่มของสุรสีห์ ผาธรรม และไม่แปลกเลยหากจะกล่าวว่าครูบ้านนอก เป็นภาพยนตร์ในดวงใจของผู้ชมหลายคนรวมทั้งผมด้วย

ครูบ้านนอก
โปสเตอร์ภาพยนตร์ที่กำกับการแสดงโดยสุรสีห์ ผาธรรม (ยกเว้นมนต์รักแม่น้ำมูล)
ภายหลังที่ภาพยนตร์เรื่อง “ครูบ้านนอก” ประสบผลสำเร็จ ดวงกมลมหรสพได้สร้างภาพยนตร์ในยุคต่อมาคือ “หนองหมาว้อ” “7 สิงห์ตะวันเพลิง” “ทุ่งกุลาร้องไห้” “ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่” แต่ ก็ไม่ประสบความสำเร็จในด้านรายได้ จึงยุติงานสร้างภาพยนตร์ในเวลาต่อมา ส่วน สุรสีห์ ผาธรรม ได้ผันตัวเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ให้กับผู้อำนวยการสร้างรายอื่นในยุคต่อมา เช่น ครูวิบาก, ครูดอย, ผู้แทนนอกสภา, หมอบ้านนอก, ครูชายแดน, สวรรค์บ้านนา รวมทั้งเป็นนักแสดงในเรื่อง “15 ค่ำ เดือน 11” และผลิตสารคดีเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวอีสานมาจนถึงปัจจุบัน


[MUSIC]http://www.isanradio.com/krubannong.wpl[/MUSIC]
ชีวิตครูบ้านนอก ตอน 1 - ฉวีวรรณ ดำเนิน
ชีวิตครูบ้านนอก ตอน 2 - ฉวีวรรณ ดำเนิน
แม่พิมพ์ของชาติ-วงจันทร์-ไพโรจน์

ขอบคุณข้อมูลจาก
โค้ด HTML:
http://www.oknation.net/blog/numsunjon/2009/01/15/entry-3
http://www.onsorn.com/kommarn.html
http://www.thaifilm.com/
http://www.geocities.com/huangua2546/pic0m.html