สาเหตุที่ทำให้ภูมิคุ้มกันคนและสัตว์แต่งต่างกัน...



ระบบภูมิคุ้มกันของคน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่แตกต่างกัน

ระบบภูมิคุ้มกันของคน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (และสัตว์อื่นๆ เช่นสัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน ฯ) โดยรวมแล้วคล้ายกัน คือมีระบบภูมิคุ้มกันที่มาจากเม็ดเลือดขาว และซีรั่ม (และ interferons ฯ ที่จะไม่กล่าวถึงในรายละเอียด เพราะจะทำให้สับสน) ซึ่งจะทำงานเมื่อได้รับเชื้อโรค หรือสารแปลกปลอม


สาเหตุทำให้ดูราวกับว่าสัตว์มีภูมิคุ้มกันดีกว่าคนก็อาจจะเป็นเพราะมีการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ ต้องต่อสู้เพื่อหาอาหาร ผสมพันธุ์ ฯลฯ


แต่เมื่อมาพิจารณาเรื่องการติดโรค ตามที่ จขกท เขียนว่า มาลาเรีย ติดคน ไม่ติดสัตว์ จริงๆ แล้ว ก็มีมาลาเรียในสัตว์ด้วย (เชือ Plasmodium เหมือนกัน) แต่คนละสายพันธุ์กับที่ติดคน) เช่น มาลาเรียในลิง (สัตว์กลุ่ม Primate ที่ใกล้เคียงคนมากที่สุด) ในไก่และสัตว์ปีกบางชนิด (เรียกว่า Plasmodium infection in avian)


ส่วนประเด็นที่เขียนว่าโรคติดแต่คน แต่สัตว์ไม่เป็นโรคนั้น ไม่ถูกต้องนัก ขอยกตัวอย่างโรคติดต่อจากเชื้อไวรัส ซึ่งทางแพทย์เรียกว่าเป็นโรคติดเชื้อจำเพาะชนิดของคนหรือสัตว์ (host-specific infections) และตัวไวรัสนั้นๆ จะมี specificity ที่จะเข้าจู่โจมคนหรือสัตว์ โดยจะเข้าสู่ร่างกายและไปจับกับ receptor cells ในร่างกายของคนหรือสัตว์ ทำให้เกิดโรค (ยกตัวอย่างเช่น เชื้อไวรัสหวัดนก - H5N1 ที่ receptor cells อยู่ในปอดส่วนล่าง หากเมื่อใดเชื้อนี้สัมผัสกับ receptor cells เหล่านี้ คน และ/หรือ สัตว์ปีกก็จะเป็นโรค) นั่นคือเป็นโรคติดเชื้อจำเพาะของคน และ/หรือ สัตว์แต่ละชนิด


โรคที่ติดได้ทั้งในคนและสัตว์ แต่คนเราเหมาเอาว่าเป็นโรคสัตว์สู่ (ติด) คน ทางวิชาการเรียกว่าโรค zoonotic diseases เช่นโรคพิษสุนัขบ้า โรคหวัดนก ฯลฯ