1. แก่นของพระพุทธศาสนา คือ อายตนะนิพพาน อันไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ขึ้น

ชื่อว่า "อายตนะ" ก็แสดงว่า สิ่งนั้นต้องมีอายตนะภายใน และอายตนะภายนอก

อายตนะภายใน ในโลก คือ กายหรือขันธ์ 5

อายตนะภายนอก ในโลก คือ บ้านช่อง ข้าวของ ฯลฯ


ในจักรวาลและในโลก สรรพสิ่งเหล่านี้ วิญญาณธาตุอันติดอวิชชา ดึง

เอาธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ เข้ามาป็นปัจจัยร่วมสร้างให้เกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปบาท) แต่ทุกสรรพ

สิ่งก็ต้อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งนั้น จึงเรียกว่า= ขันธ์ 5 และทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นอนัตตา

(ไม่เที่ยง ทุกข์ แปรปรวนเป็นธรรมดา)



แต่ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ทางอันนำไปสู่ อายตนะนิพพาน อัน ไม่เกิด

ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย หรือ ทางที่ไปสู่สิ่งที่เที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา


ในปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร พระอวโลกิเตศวร ตรัสสอน พระ

สารีบุตรว่า" ธรรมกาย ก็คือปรัชญาปารมิตาซึ่งเป็นสภาวธรรมแห่งพระตถาคตตรัสรู้ ก็คือ

อายตนะนิพพานนั้นเอง ย่อมปราศจากการมาในอดีต ฤาการไปในอนาคต แลในปรัตยุบัน

กาลเล่าก็ปราศจากการตั้งอยู่มั่นคง "



2. อายตนะนิพพาน หรือธรรมกาย เป็นอย่างไร?

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

มหาวรรค ญาณกถา



[COLOR="Green"][๒๘> ควรรู้ยิ่งว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน ความไม่เป็นไป

เป็นนิพพาน ความไม่มีเครื่องหมายเป็นนิพพาน ความไม่ประมวลมาเป็นนิพพาน

ความไม่สืบต่อเป็นนิพพาน ความไม่ไปเป็นนิพพาน ความไม่บังเกิดเป็นนิพพาน ความไม่

อุบัติเป็นนิพพาน ความไม่เกิดเป็นนิพพาน ความไม่แก่เป็นนิพพาน ความไม่ป่วยไข้เป็น

นิพพาน ความไม่ตายเป็นนิพพาน ความไม่เศร้าโศกเป็นนิพพาน ความไม่รำพันเป็น

นิพพาน ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน ฯ

.....................................................................................

ความไม่เกิด ความไม่แก่ ความไม่เจ็บ ความไม่ตาย = ความไม่บังเกิดเป็นนิพพาน ความ

ไม่อุบัติเป็นนิพพาน ความไม่เกิดเป็นนิพพาน ความไม่แก่เป็นนิพพาน ความไม่ป่วยไข้เป็น

นิพพาน ความไม่ตายเป็นนิพพาน ความไม่เศร้าโศกเป็นนิพพาน

ความไม่เกิด ความไม่แก่ ความไม่เจ็บ ความไม่ตาย มีอายตนะด้วย เรียกว่า "อายตนะ

นิพพาน"



พระผู้มีพระภาค ยืนยันว่า อายตนะนิพพานนั้นมีอยู่:

"ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ (นิพพาน) นั้นมีอยู่. ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญา

ณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ

โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มี ในอายตนะนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่

เป็นการจุติ เป็นการอุบัติ. อายตนะนั้นหาที่ตั้ง อาศัยมิได้ มิได้เป็นไป

หาอารมณ์มิได้ นั้นแลเป็นที่สุดแห่งทุกข์."




ที่มา http://www.larnbuddhism.com/

http://img97.google.co.th/img97/148/11337617.png