กำลังแสดงผล 1 ถึง 5 จากทั้งหมด 5

หัวข้อ: คลิป แผ่นดินไหวรุนแรง 7.0 ริกเตอร์ ที่ถล่มเฮติ

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    คลิป แผ่นดินไหวรุนแรง 7.0 ริกเตอร์ ที่ถล่มเฮติ

    คลิป แผ่นดินไหวรุนแรง 7.0 ริกเตอร์ ที่ถล่มเฮติ
    ประเทศหมู่เกาะแถบทะเลแคริบเบียนใน





    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=0LiKfAbua2U&hl



    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=8IySBl2aq-A



    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=k9J36eR7V14



    จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรง 7.0 ริกเตอร์ ที่ถล่มเฮติ ประเทศหมู่เกาะแถบทะเลแคริบเบียนในวันอังคาร (12) ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งทำให้อาคาร บ้านเรือนพังพินาศเสียหายอย่างกว้างขวาง และสร้างความตื่นตระหนกไปทั่วเมือง และต่อไปนี้คือการย้อนลำดับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ รวมถึงสึนามิ ที่เกิดขึ้นรอบโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

    • 30 กันยายน 2009 แผ่นดินไหว 7.6 ริกเตอร์ถล่มเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,100 คน


    • 29 กันยายน 2009 คลื่นยักษ์สึนามิ ซึ่งเกิดขึ้นหลังแผ่นดินไหวรุนแรง 8.0 ริกเตอร์ ได้ซัดเข้ากวาดหมู่บ้าน และรีสอร์ตจำนวนมากในซามัว และหมู่เกาะข้างเคียงในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมถึงตองกาทางตอนเหนือ จนราบเป็นหน้ากลอง มีผู้เสียชีวิต 186 คน


    • 2 กันยายน 2009 เกาะชวา ซึ่งเป็นเกาะหลักของอินโดนีเซียถูกเขย่าด้วยแผ่นดินไหว 7.0 ริกเตอร์ คร่าชีวิตผู้คนไป 123 คน ทั้งยังทำให้เกิดโคลนถล่มอีกด้วย


    • 6 เมษายน 2009 ธรณีพิโรธ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.8 ริกเตอร์ สังหารผู้คนไปเกือบ 300 คนในเมืองลาควิลา และเมืองใกล้เคียงของอิตาลี


    • 29 ตุลาคม 2008 แผ่นดินไหว 6.4 ริกเตอร์ ถล่มทางตะวันตกเฉียงใต้ของปากีสถาน ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 300 คน และอีกหลายหมื่นคนต้องไร้ที่อยู่อาศัย


    • 12 พฤษภาคม 2008 ธรณีพิโรธรุนแรงครั้งใหญ่ 8.0 ริกเตอร์โจมตีมณฑลเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีผู้คนต้องล้มตาย และสูญหายไม่น้อยกว่า 87,000 ชีวิต


    • 3 กุมภาพันธ์ 2008 แผ่นดินไหว ที่ความรุนแรง 6.1 ริกเตอร์ เกิดขึ้นที่ทางตะวันออกของประเทศคองโก และทางตะวันตกของรวันดา มีผู้เสียชีวิต 45 คน และอีกหลายพันคนไร้ที่อยู่อาศัย


    • 2 เมษายน 2007 หมู่เกาะโซโลมอนตะวันตกเจอภัยสึนามิ จากแผ่นดินไหวรุนแรง 8.0 ริกเตอร์ คร่าชีวิตชาวเกาะไปมากกว่า 50 คน และอีกนับพันคนต้องอพยพย้ายถิ่น


    • 6 มีนาคม 2007 แผ่นดินไหว 6.3 ริกเตอร์ ถล่มเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ทำให้บ้านเรือนพังราบ และมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 70 คน


    • 17 กรกฎาคม 2006 แผ่นดินไหวใต้ทะเลรุนแรง 7.7 ริกเตอร์ นอกชายฝั่งเกาะชวาของอินโดนีเซีย ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ สังหารผู้คนไปไม่ต่ำกว่า 596 คน บาดเจ็บอีกกว่า 9,500 คน ผู้คนต้องไรที่อยู่อาศัยอีกร่วม 74,000 คน


    • 27 พฤษภาคม 2006 ธรณีพิโรธ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.3 ริกเตอร์ในยอร์กยาการ์ตา ของอินโดนีเซีย คร่าชีวิตผู้คนไปถึง 6,000 คน และอีก 1.5 ล้านคนต้องกลายเป็นคนไร้ที่อยู่


    • 8 ตุลาคม 2005 แผ่นดินไหว 7.5 ริกเตอร์คร่าชีวิตชาวปากีสถานมากกว่า 75,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวจังหวัดนอร์ท เวสต์ ฟรอนเทียร์ และรัฐแคชเมียร์ โดยอีกกว่า 3.5 ล้านคนกลายเป็นคนไม่มีที่อยู่


    • 28 มีนาคม 2005 แผ่นดินไหวรุนแรง 8.6 ริกเตอร์ในเกาะเนียส นอกชายฝั่งเกาะสุมาตรา มีผุ้เสียชีวิตอย่างน้อย 900 คน


    • 26 ธันวาคม 2004 แผ่นดินไหวใต้ทะเล ความรุนแรงถึง 9.1 ริกเตอร์ เกิดขึ้นนอกชายฝั่งเกาะสุมาตรสุมาตรา และยังก่อให้เกิดสึนามิคร่าชีวิตคนไปถึง 220,000 คนในหลายๆ ประเทศแถบมหาสมุทรอินเดีย โดยเฉพาะที่ในอินโดนีเซียมีผู้เสียชีวิตถึง 168,000 คน


    • 26 ธันวาคม 2003 แผ่นดินไหวเมืองแบม ของอิหร่าน วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.7 ริกเตอร์ มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 31,884 คน บาดเจ็บอีกว่า 18,000 คน


    • 26 มกราคม 2001 ภาคตะวันตกของรัฐคุชราต อินเดีย ถูกถล่มด้วยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ มีผู้เสียชีวิต 25,000 คน บาดเจ็บอีก 166,000 คน

    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197




    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=-IbTzsD5riM



    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=E_EjgUwx1DM




    แผ่นดินไหวเกิดจากกระบวนการปลดปล่อยพลังงานจากภายในของโลกเอง
    ปัจจัยภายนอกโลกเพียงอย่างเดียวที่เป็นสาเหตุแผ่นดินไหวได้
    คือการถูกชนด้วยวัตถุขนาดใหญ่เท่านั้น

    กระบวนการปลดปล่อยพลังงานจากเนื้อในของโลก
    เกิดจากการที่ภายในเนื้อโลกมีสภาพเป็นหินหลอมเหลว
    มีความร้อนและแรงดันสูง
    ในขณะที่เปลือกโลกเย็นตัวลง
    กลายเป็นเปลือกแข็งห่อหุ้มเนื้อในที่ยังร้อนเอาไว้
    ทำให้สภาพของโลกทั้งใบไม่ต่างจากหม้อตุ๋นอัดความดัน

    เนื้อในของโลกที่มีทั้งความร้อนและแรงดันสูง
    ต้องหาทางระบายออกตามธรรมชาติ
    ธรรมชาติได้สร้างระบบระบายความร้อนและแรงดัน
    โดยที่เปลือกโลกจะมีแนวสำหรับระบายพลังงานและเนื้อในของโลก
    เรียกว่าแนวตะเข็บเปลือกโลก
    เป็นลักษณะแนวตะเข็บโค้งไปโค้งมาโอบตลอดรอบโลก
    ลักษณะคล้ายลายตะเข็บบนลูกเบสบอล

    แนวตะเข็บนี้จะเป็นแนวบริเวณที่เปลือกโลกมีความบอบบางที่สุด
    คลื่นความดันจากภายในเนื้อโลกจะเคลื่อนไปตามแนวตะเข็บเปลือกโลก
    พร้อมกับระบายพลังงานความร้อนและแรงดันออกมาตามแนวรอยตะเข็บ
    ในรูปของหินหนืด(ลาวา)
    ทำให้เกิดการสร้างเนื้อโลกที่เป็นเปลือกแข็ง
    ตามแนวตะเข็บนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

    เนื้อเปลือกโลกที่เพิ่มขึ้นมานี้
    จะดันเปลือกโลกออกทั้ง2ด้าน
    เกิดเป็นแรงเค้นสะสมในเปลือกโลก

    ทีนี้เปลือกโลกมีลักษณะเป็นแผ่นเปลือกที่ประกอบเข้าด้วยกันประมาณ20แผ่น
    ตามแนวรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกนี้จะเป็นจุดที่แรงเค้นมาสะสมกระทำ
    เมื่อแรงเค้นสะสมมากขึ้นจนถึงจุดที่แนวรอยต่อบางจุดทนต่อแรงเค้นไม่ได้
    มันก็จะเกิดการลั่นและเลื่อนตัวขึ้นมาทีหนึ่ง
    เป็นการช่วยลดแรงเค้นในเปลือกโลกลง

    แต่ความที่เปลือกโลกนั้นมีขนาดหนามากนับสิบๆกิโลเมตร
    การขยับตัวจากการเลื่อนของรอยต่อเปลือกโลกแต่ละครั้ง
    จึงเกิดคลื่นแรงสั่นสะเทือนออกไปตามเนื้อเปลือกโลก

    จุดศูนย์กลางแรงสั่นสะเทือน
    สามารถเกิดขึ้นที่ระดับความลึกใดในเนื้อเปลือกโลกก็ได้
    ตั้งแต่จุดที่ลึกสุดใกล้กับเนื้อในที่เป็นหินหลอมเหลว
    จนถึงจุดที่ตื้นที่สุดใกล้กับผิวโลก

    และเนื่องจากคลื่นสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวเป็นคลื่นที่กระจายตัวในลักษณะ3มิติ
    ความรุนแรงของแรงสั่นสะเทือนจึงลดลงเร็วมากตามระยะมางที่แรงถูกส่งออกมา
    (ให้นึกถึงภาพลูกโป่ง
    แรงที่กระจายออกจากศูนย์กลาง
    กระจายออกมาในลักษณะที่เหมือนลูกโป่งที่พองออก
    ผิวลูกโป่งคือแรงที่ถูกส่งออกมา
    ยิ่งลูกโป่งใหญ่ขึ้นเท่าใด
    ผิวของมันก็ยิ่งบางลงเท่านั้น
    ความหนาบางของลูกโป่งแทนขนาดของแรงที่แสดงออกมา
    ผิวลูกโป่งยิ่งบางแรงยิ่งอ่อนลง)


    นั่นหมายความว่า
    ยิ่งศูนย์กลางแรงสั่นทะเทือนอยู่ลึกลงไปเท่าไหร่
    แรงที่ส่งมาถึงพื้นผิวข้างบนก็ยิ่งน้อยลงมากเท่านั้น
    และยิ่งศูนย์กลางแรงสั่นสะเทือนอยู่ใกล้พื้นผิว(ตื้น)มากเท่าไหร่
    ก็ยิ่งส่งผลเสียหายต่อพื้นผิวข้างบนมากเท่านั้น



    ขอบคุณ เอเอสทีวีผู้จัดการ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 19-01-2010 at 15:40.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  3. #3
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    ประเทศไทยเกิดสึนามิได้ ไม่แน่นะครับ อาจเกิดแผ่นดินไหวได้เช่นกัน

    อ่า เอ่อ ขอตัวไปเจิมปากก่อนนะครับ ฮ่า ๆ ๆ ๆ ๆ

  4. #4
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ หนุ่มน้อย
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    กระทู้
    549
    บล็อก
    21
    ข้อปฏิบัติในการป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหว
    ก่อนเกิดแผ่นดินไหว
    1 เตรียมเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เช่น ถ่านไฟฉาย ไฟฉาย อุปกรณ์ดับเพลิง น้ำดื่ม น้ำใช้ อาหารแห้ง ไว้ใช้ในกรณีไฟฟ้าดับหรือกรณีฉุกเฉินอื่น ๆ
    2 จัดหาเครื่องรับวิทยุ ที่ใช้ถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่ สำหรับเปิดฟังข่าวสารคำเตือน คำแนะนำและสถานการณ์ต่าง ๆ
    3 เตรียมอุปกรณ์นิรภัย สำหรับการช่วยชีวิต
    4 เตรียมยารักษาโรค และเวชภัณฑ์ให้พร้อมที่จะใช้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    5 จัดให้มีการศึกษาถึงการปฐมพยาบาล เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรืออันตรายให้พ้นขีดอันตรายก่อนที่จะถึงมือแพทย์
    6 จำตำแหน่งของวาล์ว เปิด-ปิดน้ำ ตำแหน่งของสะพานไฟฟ้า เพื่อตัดตอนการส่งน้ำ และไฟฟ้า
    7 ยึดเครื่องเรือน เครื่องใช้ไม้สอย ภายในบ้าน ที่ทำงาน และในสถานศึกษาให้ความมั่นคงแน่นหนา ไม่โยกแยกโคลงแคลงไปทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
    8 ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ๆ ไว้ในที่สูง เพราะอาจร่วงหล่นมาทำความเสียหายหรือเป็นอันตรายได้
    9 เตรียมการอพยพเคลื่อนย้าย หากถึงเวลาที่จะต้องอพยพ
    10 วางแผนป้องกันภัยสำหรับครอบครัว ที่ทำงาน และสถานที่ศึกษา มีการชี้แจงบทบาทที่สมาชิกแต่ละบุคคลจะต้องปฏิบัติ มีการฝึกซ้อมแผนที่จัดทำไว้ เพื่อเพิ่มลักษณะและความคล่องตัวในการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
    ขณะเกิดแผ่นดินไหว
    1 ตั้งสติ อยู่ในที่ที่แข็งแรงปลอดภัย ห่างจากประตู หน้าต่าง สายไฟฟ้า เป็นต้น
    2 ปฏิบัติตามคำแนะนำ ข้อควรปฏิบัติของทางราชการอย่างเคร่งครัด
    3 ไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป
    4 ไม่ควรทำให้เกิดประกายไฟ เพราะหากมีการรั่วซึมของแก๊สหรือวัตถุไวไฟ อาจเกิดภัยพิบัติจากไฟไหม้ ไฟลวก ซ้ำซ้อนกับแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นอีก
    5 เปิดวิทยุรับฟังสถานการณ์ คำแนะนำคำเตือนต่าง ๆ จากทางราชการอย่างต่อเนื่อง
    6 ไม่ควรใช้ลิฟต์ เพราะหากไฟฟ้าดังอาจมีอันตรายจากการติดอยู่ภายใต้ลิฟต์
    7 มุดเข้าไปนอนใต้เตียงหรือตั่ง อย่าอยู่ใต้คานหรือที่ที่มีน้ำหนักมาก
    8 อยู่ใต้โต๊ะที่แข็งแรง เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งปรักหักพังร่วงหล่นลงมา
    9 อยู่ห่างจากสิ่งที่ไม่มั่นคงแข็งแรง
    10 ให้รีบออกจากอาคารเมื่อมีการสั่งการจากผู้ที่ควบคุมแผนป้องกันภัย หรือผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้
    11 หากอยู่ในรถ ให้หยุดรถจนกว่าแผ่นดินจะหยุดไหวหรือสั่นสะเทือนหลังเกิดแผ่นดินไหว
    12 ตรวจเช็คการบาดเจ็บ และการทำการปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพื่อให้แพทย์ได้ทำการรักษาต่อไป
    13 ตรวจเช็คระบบน้ำ ไฟฟ้า หากมีการรั่วซึมหรือชำรุดเสียหาย ให้ปิดวาล์ว เพื่อป้องกันน้ำท่วมเอ่อ 14 ยกสะพานไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูด หรือไฟฟ้าช็อต
    15 ตรวจเช็คระบบแก๊ส โดยวิธีการดมกลิ่นเท่านั้น หากพบว่ามีการรั่วซึมของแก๊ส (มีกลิ่น) ให้เปิดประตูหน้าต่าง แล้วออกจากอาคาร แจ้งเจ้าหน้าที่ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนผู้ที่รับผิดชอบได้ทราบในโอกาสต่อไป
    16 เปิดฟังข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำ จากทางราชการโดยตลอด
    17 ไม่ใช้โทรศัพท์โดยไม่จำเป็น
    18 อย่ากดน้ำล้างส้วม จนกว่าจะมีการตรวจเช็คระบบท่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะอาจเกิดการแตกหักของท่อในส้วม ทำให้น้ำท่วมเอ่อหรือส่งกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
    19 ออกจากอาคารที่ชำรุดโดยด่วน เพราะอาจเกิดการพังทลายลงมา
    20 สวมรองเท้ายางเพื่อป้องกันสิ่งปรักหักพัง เศษแก้ว เศษกระเบื้อง
    21 รวมพล ณ ที่หมายที่ได้ตกลงนัดหมายกันไว้ และตรวจนับจำนวนสมาชิกว่าอยู่ครบหรือไม่
    22 ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปปฏิบัติงานในบริเวณที่ได้รับความเสียหาย และผู้ไม่มีหน้าที่หรือไม่เกี่ยวข้อง ไม่ควรเข้าไปในบริเวณนั้น ๆ หากไม่ได้รับการอนุญาต
    23 อย่าออกจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นใต้น้ำซัดฝั่งได้ แม้ว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม
    (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)

  5. #5
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    รัฐบาลเฮติเผยยอดฝัง150,000คนในเมืองหลวง

    รัฐบาลเฮติเผยยอดฝัง150,000คนในเมืองหลวง



    รัฐบาลเฮติระบุฝังศพชาวเฮติแล้วกว่า 150,000 คนเฉพาะในเมืองหลวง ยังไม่รวมศพ ที่ฝังอยู่ใต้ซากปรักหักพังและอื่นๆ



    รัฐบาลเฮติเผยยอดฝัง150,000คนในเมืองหลวง



    มารี โลรองซ์ โจเซลีน แลสเซกู รัฐมนตรีคมนาคมเฮติ แถลงว่า ยอดผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยันจากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ริคเตอร์เมื่อวันที่ 12 มกราคม เพิ่มเป็นกว่า 150,000 คนแล้ว เฉพาะในเขตกรุงปอร์โตแปรงซ์และรอบข้าง อันเป็นตัวเลขที่นับโดยบริษัท CNE ของรัฐบาลซึ่งทำหน้าที่เก็บรวบรวมศพและนำไปฝังในหลุมฝังศพหมู่แห่งหนึ่งทางเหนือของกรุงปอร์โตแปรงซ์


    ตัวเลข 150,000 คนนี้ ยังไม่รวมตัวเลขผู้เสียชีวิตในเมืองอื่นๆที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งรวมทั้งเมืองแจคเมล ที่เชื่อว่ามีผู้เสียชีวิตหลายพันคน, ไม่รวมศพที่ญาติๆช่วยกันเผา และไม่รวมศพจำนวนมากในซากอาคารที่พังถล่มลงมาทั่วเมือง ซึ่ง แลสเซกูกล่าวว่า ไม่มีใครรู้ได้ว่ามีศพจำนวนมากเท่าใดที่ฝังอยู่ใต้ซากปรักหักพัง อาจจะมากถึง 200,000- 300,000 คนก็เป็นได้ และว่าไม่อาจรู้ได้ว่ายอดรวมจริงๆทั้งหมดมีมากแค่ไหนด้วย
    ตัวเลขที่มีการเปิดเผยในครั้งนี้มีแนวโน้มที่จะยืนยันตัวเลข 200,000 คน ที่คณะกรรมาธิการยุโรปรายงานเมื่อสัปดาห์ที่ปีแล้วโดยอ้างแหล่งข่าวในรัฐบาลเฮติ ขณะที่สหประชาชาติยังยึดตัวเลขอย่างน้อย 111,481 คนที่มีการรายงานเมื่อวันอาทิตย์ และสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาแถลงเมื่อวันอาทิตย์ว่า นับจาก 12 มกราคม เกิดอาฟเตอร์ช็อคที่รุนแรงกว่า 4.5 ริคเตอร์มากถึง 52 ครั้งแล้ว


    รายงานยอดผู้เสียชีวิตล่าสุดนี้ รวมทั้งยอดผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 250,000 คนที่รายงานโดยคณะกรรมาธิการยุโรป ทำให้นับเป็นหนึ่งในมหันตภัยทางธรรมชาติที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากสุดครั้งหนึ่งในช่วงไม่นานมานี้ ซึ่งรวมทั้งเหตุไซโคลนถล่มที่บังคลาเทศปี 2513 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 300,000 คน เหตุแผ่นดินไหวทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีนเมื่อปี 2517 ที่มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 242,000 คน และเหตุมหันตภัยสึนามิในมหาสมุทรอินเดียปี 2547 ซึ่งมียอดผู้เสียชีวิต 226,000 คน





    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=189SIjHUBeg




    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=aBniRVL6gLg
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •